จาก... การเกิดอีกของอรหันต์
จากหัวข้อที่อ้างถึง ผู้กล่าวอ้างถึง ยมกสูตร เพื่อยืนยันความเห็นของตนว่า พระอรหันต์เกิดอีกได้ ผมได้อ่านสูตรดังกล่าวแล้ว เข้าใจว่า ภิกษุผู้กล่าวว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ผมเข้าใจว่าภิกษุมีความเห็นเช่นนั้นผิดเพราะ มีความเห็นว่าเดิมเป็นอัตตา แล้วอัตตานั้นแหละที่ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก จึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อมีผู้อ้างสูตรนี้ว่าเมื่อคำกล่าวนั้นผิด พระอรหันต์ก็เกิดอีกได้ ผมเห็นว่าไม่ถูกต้องเหมือนคนกล่าวว่าไปทางซ้ายผิด ก็สรุปว่าไปทางขวาถูก แต่จริงๆ แล้วอยู่ที่เดิมไม่ไปซ้ายหรือขวาต่างหากที่ถูก ผู้ที่กล่าวผมนับถือมากในแง่การสร้างสรรค์ เป็นผู้นำในการทำความดี และดูเหมือนว่าทั่วๆ ไป มีความรู้มากในพระศาสนา แต่เหตุไรสูตรนี้ซึ่งชัดเจนว่ามิได้ยืนยันการเกิดอีกพระอรหันต์ จึงเห็นว่าเป็นข้อความยืนยันไปได้
ผมเข้าใจเช่นนี้ถูกหรือไม่ครับ
ถูกแล้วครับ ถ้ากล่าวว่าพระอรหันต์ตายแล้วสูญ ก็ผิด (อุทเฉททิฏฐิ) ถ้ากล่าว่าพระอรหันต์ตายแล้วเกิดอีก ก็ผิด (สัสสตทิฏฐิ) ดังข้อความจากยมกสูตรบางตอนดังนี้
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ -
๓. ยมกสูตร
ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่
[๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแลยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่าได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ เมื่อตายไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ฯลฯ สา. ดูก่อนท่านยมกะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่าพระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้อย่างนี้ จึงได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้าอย่างนั้น แต่เดี๋ยวนี้ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้ว เพราะฟังธรรมเทศนานี้ของท่านพระสารีบุตร. [๒๐๔] สา. ดูก่อนท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลายพึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้วย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้นจะพึงกล่าวแก้ว่าอย่างไร? ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น. ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่า รูปแลไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้. [๒๐๕] สา. ดีละๆ ยมกะ ฯลฯ ข้อความบางตอนจากอรรถกถา บทว่า ยํ ทุกฺขํ ตํ นิรุทฺธํ ความว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นแลดับไปแล้ว ไม่มีสัตว์ที่จะชื่อว่าดับต่างหาก ข้าพเจ้าพึงพยากรณ์อย่างนี้. ฯลฯ
ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย
จากสูตรนี้ ท่านพระยมก มีความเห็นผิดว่า มีสัตว์บุคคล (พระขีณาสพหรือพระอรหันต์) ที่ขาดสูญ เมื่อตายไป แต่จริงๆ แล้ว สัตว์บุคคลไม่มี มีแต่ธรรม คือ ขันธ์ 5 ต่างหาก ดัง นั้น ที่ท่านพระยมกมีความเห็นว่า พระอรหันต์ ตายแล้วขาดสูญ จึงเป็นความเห็นผิด เพราะท่านยึดถือว่า มีสัตว์ บุคคล ตัวตนจริงๆ ที่ตาย ที่ขาดสูญ ดังนั้นความเห็นถูกก็คือ ไม่ใช่พระอรหันต์ที่ตายแล้วขาดสูญ แต่ ขันธ์ 5 ต่างหาก เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดอีก (คือดับกิเลสหมด) ก็ย่อมไม่เกิดขันธ์ 5 อีก ไม่ใช่ พระอรหันต์ ไม่เกิดหรือขาดสูญ แต่ เป็น ขัฯธ์ 5 ไม่เกิดเพราะดับเหตุ ปัจจัยที่จะไม่เกิดครับ ดังนั้น เมื่อเราเข้าใจว่าทุกอย่าง เป็นธรรม ทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัย และดับไปก็เพราะเหตุปัจจัย จึงเป็นความเห็นถูก สรุปคือ ที่เรากล่าวว่า พระอรหันต์ปรินิพพานแล้วไม่เกิด คือ มีความเข้าใจเบื้องต้นถูก ต้องอยู่แล้วว่า ที่ไม่เกิดคือขันธ์ 5 แต่เราใช้สมมติโวหาร เรียกกันแต่ก็มีความเข้าใจ ถูกอยู่แล้วว่า ไม่มีสัตว์บุคคลที่ไม่เกิด แต่ท่าน ยมก มีความเห็นผิดว่ามีสัตว์ บุคคล ที่ ไม่เกิดอีกครับ จึงเป็นความเห็นผิด
ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
พระอรหันต์ท่านปรินิพพานแล้ว ดับกิเลสหมด ดับเหตุปัจจัยไม่เกิดอีกแน่นอนค่ะ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ