๑๐. ธัมมัทธชชาดก ว่าด้วยผู้ถึงธรรมของสัตบุรุษ
โดย บ้านธัมมะ  22 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35638

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 365

๑๐. ธัมมัทธชชาดก

ว่าด้วยผู้ถึงธรรมของสัตบุรุษ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 365

๑๐. ธัมมัทธชชาดก

ว่าด้วยผู้ถึงธรรมของสัตบุรุษ

[๒๘๙] ท่านอยู่เป็นสุขแล้ว ได้ออกจากแว่นแคว้น มาสู่ป่าอันสงัดเงียบ ท่านนั้นนั่งซบเซาอยู่โคนต้นไม้แต่ผู้เดียว เหมือนคนกำพร้า.

[๒๙๐] เราอยู่เป็นสุขแล้ว ได้ออกจากแว่นแคว้น มาสู่ป่าสงัดเงียบ ระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษอยู่ นั่งซบเซาอยู่ที่โคนต้นไม้แต่ผู้เดียว เหมือนคนกำพร้า.

จบ ธัมมัทธชชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาธัมมัทธชชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัตพยายามปลงพระชนม์พระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุขํ ชีวิตรูโปว ดังนี้.

ความย่อว่า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพยายามฆ่าเรา ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้เมื่อก่อนก็พยายามฆ่าเราเหมือนกัน แต่ไม่อาจทำแม้เพียงความสะดุ้งสะเทือน จึงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 366

ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า ยศปาณีเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี. มีเสนาบดีชื่อ กาฬกะ ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้ายศปาณีนั้น ชื่อ ธรรมธัช. ส่วนกัลบกผู้แต่งพระศกของพระองค์ชื่อ ฉัตตปาณี. พระราชาทรงครองราชสมบัติโดยธรรม. แต่เสนาบดีของพระองค์ เมื่อจะวินิจฉัยคดีย่อมกินสินบน รับสินบนแล้ว ย่อมทำผู้ที่มิใช่เจ้าของให้เป็นเจ้าของดุจคนคอยกินเนื้อสันหลังของผู้อื่น.

อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์คนหนึ่งถูกตัดสินให้แพ้คดีที่ศาล ประคองแขนสะอึกสะอื้นออกจากศาล เห็นพระโพธิสัตว์กำลังไปทำราชการ จึงซบลงที่เท้าพระโพธิสัตว์เล่าเรื่องที่ตนแพ้คดีว่า ข้าแต่นาย เมื่อคนเช่นท่านถวายอรรถและธรรมแด่พระราชายังอยู่ กาฬกะเสนาบดีรับสินบนทำผู้ที่ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ. พระโพธิสัตว์เกิดความสงสารกล่าวว่า มาเถิดพ่อหนุ่ม เราจักวินิจฉัยคดีของท่านเอง แล้วพามนุษย์ผู้นั้นไปยังศาล มหาชนประชุมกัน. พระโพธิสัตว์กลับตัดสินให้เจ้าของนั้นแหละเป็นเจ้าของ. มหาชนต่างแซ่ซร้องสาธุการ. เสียงนั้นได้อึกทึกสนั่นไป. พระราชาทรงสดับเสียงนั้นตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไร ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ธรรมธัชบัณฑิตตัดสินคดีที่กาฬกะเสนาบดีตัดสินไว้ผิดให้ถูก นั่นเป็นเสียงแซ่ซร้องสาธุการ ณ ที่นั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงโสมนัสตรัสให้หาพระโพธิสัตว์มาตรัสถามว่า ท่านอาจารย์ได้ยินว่า ท่านตัดสินคดี


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 367

หรือ กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถูกแล้วพระเจ้าข้าท่านกาฬกะเสนาบดี ตัดสินไว้ไม่ดี ข้าพระพุทธเจ้าจึงวินิจฉัยเสียใหม่ แล้วตรัสว่าตั้งแต่นี้ไป ขอให้ท่านจงตัดสินคดีเถิด เราจะได้สบายหู ทั้งประชาชนจะได้มีความเจริญ แล้วทรงขอร้องว่า ท่านจงนั่งที่ตัดสินคดี เพื่ออนุเคราะห์ต่อราษฎรเถิด แม้พระโพธิสัตว์ไม่ ปรารถนาก็ได้ทำตามพระประสงค์. ตั้งแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์ก็ นั่ง ณ ที่ตัดสินคดี. กระทำผู้เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ. กาฬกะเสนาบดี เมื่อไม่ได้รับสินบนตั้งแต่นั้นมาก็เสื่อมจากลาภ จึงเพ็จทูลพระราชาให้บาดหมางพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมธัชบัณฑิต ปรารถนาราชสมบัติของพระองค์. พระราชาไม่ทรงเชื่อ ทรงห้ามว่าท่านอย่าพูดอย่างนั้น เมื่อเสนาบดีกราบทูลอีกว่า หากพระองค์ไม่ทรงเชื่อข้าพระองค์ ขอจงทรงคอยทอดพระเนตรทางพระแกลในเวลาที่ธรรมธัชบัณฑิตมาเถิด ที่นั้นพระองค์จะทรงเห็นพระนครทั้งสิ้นถูกธรรมธัชบัณฑิต กำไว้ในเงื้อมมือของตน พระราชาทอดพระเนตรขบวนพวกลูกความของธรรมธัชบัณฑิต ทรงเข้าใจว่าเป็นพวกของธรรมธัชบัณฑิตทั้งสิ้น ทรงแหนงพระทัย ตรัสถามว่า เราจะทําอย่างไร เสนาบดี. กราบทูลว่า ขอเดชะควรฆ่าธรรมธัชบัณฑิตพระเจ้าข้า. ตรัสว่า เรายังไม่เห็นโทษร้ายแรงจะฆ่าเขาอย่างไรได้. กราบทูล ว่า มีอุบายอย่างหนึ่งพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่าอุบายอย่างไร. กราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงยกกรรมอันให้แก่ธรรมธัชบัณฑิต


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 368

นั้น แล้วฆ่าเขาผู้ไม่สามารถทำกรรมนั้นได้เสีย โดยความผิดนั้นเถิดพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ก็กรรมอันเหลือวิสัยของธรรมธัชบัณฑิตเป็นอย่างไร. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ธรรมดาอุทยานที่ปลูกสร้างในพื้นดินแข็งบำรุงอยู่ จะให้ผลใน ๓ - ๔ ปี ขอพระองค์ ตรัสเรียกธรรมธัชบัณฑิตนั้นมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต เราประพาสอุทยานเก่ามานานแล้ว บัดนี้ประสงค์จะประพาสอุทยานใหม่ พรุ่งนี้เราจะไปประพาสอุทยาน ท่านจงสร้างอุทยานให้เราเถิด ธรรมธัชบัณฑิตนั้น คงสร้างไม่ได้เป็นแน่ ทีนั้นแหละ พระองค์จักสำเร็จโทษธรรมธัชบัณฑิตเสีย. พระราชาตรัสเรียก พระโพธิสัตว์มาตรัสตามที่กาฬกะเสนาบดีทูลอุบายทุกประการ.

พระโพธิสัตว์ทราบว่า พระราชาถูกกาฬกะเสนาบดีผู้ไม่ได้รับสินบนเพ็จทูลยุยงแล้ว กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์สามารถจักรู้เอง กลับไปเรือน บริโภคโภชนะอย่างดี นอนคิดตรองอยู่บนที่นอน พิภพของท้าวสักกะได้แสดงอาการร้อน. ท้าวเธอตรวจดูก็รู้ความคิดของพระโพธิสัตว์ รีบเสด็จมาเข้าห้อง อันมีสิริประทับยืนอยู่บนอากาศ ตรัสถามว่า บัณฑิตท่านคิดอะไร พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านเป็นใคร ตอบว่าเราเป็นท้าวสักกะ พระโพธิสัตว์จึงบอกว่า พระราชาให้ข้าพระองค์สร้างอุทยานใหม่ ข้าพระองค์คิดว่า จักทำอย่างไรจึงจะสร้างได้ ท้าวสักกะตรัสว่า บัณฑิตท่านอย่าคิดเลย เราจักเนรมิตอุทยานเช่นกับสวนนันทวันและจิตรลดาให้ท่าน ท่านจะให้สร้างที่ไหน. พระโพธิ-


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 369

สัตว์ทูลว่า ขอจงสร้างที่โน้นเถิด. ท้าวสักกะเนรมิตแล้วก็เสด็จกลับเทพนคร. รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์เห็นอุทยานโดยประจักษ์แล้ว จึงไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช อุทยานสำหรับ พระองค์สำเร็จแล้ว ขอจงเสด็จประพาสเถิด พระราชาเสด็จไป ทอดพระเนตรเห็นอุทยานแวดล้อมด้วยปราการมีสีดังมโนสิลา สูง ๑๘ ศอก มีประตูหอรบครบครัน ประดับด้วยรุกขชาตินานาพรรณ ผลิดอกออกผลสะพรั่ง จึงตรัสถามกาฬกะเสนาบดีว่า บัณฑิตได้ทำตามคำสั่งของเราแล้ว บัดนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บัณฑิตสามารถสร้างอุทยานได้โดยคืนเดียว จะไม่สามารถชิงราชสมบัติหรือ. พระราชาตรัสถามว่า บัดนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป. กราบทูลว่า จะให้ทำกรรมที่สุดวิสัยอย่างอื่น พระเจ้าข้า. ตรัสถาม กรรมอะไร. กราบทูลว่า ขอจงโปรดให้สร้างสระโบกขรณีอันแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ พระราชารับว่า ดีละ จึงตรัสเรียกพระโพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอาจารย์ อุทยานท่านได้สร้างเสร็จแล้ว ท่านจงสร้างสระโบกขรณีอันแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ อันสมควรแก่อุทยานนี้เถิด ถ้าไม่สามารถสร้างได้ ชีวิตท่านจะหาไม่. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์ สามารถจักสร้างถวายได้ พระเจ้าข้า. ลำดับนั้นท้าวสักกะจึง เนรมิตสระโบกขรณีอันงดงามยิ่งมีท่าสนานร้อยหนึ่ง มีเขาวงกตพันหนึ่ง ดาดาษไปด้วยดอกปทุมห้าสีเช่นกับสระโบกขรณี


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 370

นันทา. รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์ได้ทำสระนั้นให้ประจักษ์แล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้าสร้างสระโบกขรณีเสร็จแล้วพระเจ้าข้า. พระราชาทอดพระเนตรเห็นสระโบกขรณีนั้น จึงตรัสถามกาฬกะว่า เราจะทำอย่างไรต่อไป. กราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์จงสั่งให้สร้างคฤหาสน์อันคู่ควรแก่อุทยานเถิด. พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์บัดนี้ท่านจงสร้างคฤหาสน์อันล้วนแล้วไปด้วยงาช้าง สมควรแก่อุทยานนี้ และสระโบกขรณีเถิด หากสร้างไม่ได้ชีวิตของท่านจะหาไม่. ครั้นแล้วท้าวสักกะก็เนรมิตคฤหาสน์ให้แก่พระโพธิสัตว์. รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์ทำคฤหาสน์นั้นให้ประจักษ์ แล้วกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นคฤหาสน์นั้นแล้ว จึงตรัสถามกาฬกะว่า บัดนี้จะทำอย่างไรต่อไป. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงรับสั่งให้สร้างแก้วมณีอันสมควรแก่คฤหาสน์นั้นเถิดพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้พระโพธิสัตว์มาหาตรัสว่า บัณฑิตท่านจงสร้างแก้วมณีอันสมควรแก่คฤหาสน์ล้วนแล้วไปด้วยงานี้เถิด เราจักเที่ยวเดินด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณี หากท่านสร้างไม่ได้ ชีวิตของท่านจะไม่มี. ครั้งนั้น ท้าวสักกะเนรมิตแก้วมณีให้พระโพธิสัตว์. รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์กระทำแก้วมณีนั้นให้ประจักษ์ แล้วกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นแก้วมณีนั้น ตรัสถามกาฬกะ บัดนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป. กาฬกะกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เห็นจะ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 371

มีเทวดาคอยเนรมิตให้สิ่งที่ปรารถนาแก่พราหมณ์ธรรมธัชเป็นแน่ คราวนี้สิ่งใดแม้เทวดาก็ไม่สามารถเนรมิตได้ ขอพระองค์จงรับสั่งสิ่งนั้นเถิด แม้เทวดาก็ไม่สามารถเนรมิตมนุษย์ผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๔ ได้ เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงรับสั่งกะธรรมธัชว่า ท่านจงสร้างคนรักษาอุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ เถิด. พระราชา ตรัสเรียกพระโพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอาจารย์ อุทยาน สระโบกขรณีและปราสาท อันแล้วด้วยงา และแก้วมณีสำหรับส่องแสงสว่างแก่ปราสาท ท่านสร้างให้แก่เราเสร็จแล้ว บัดนี้ท่านจงสร้างคนรักษาอุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ ทำหน้าที่ รักษาอุทยานแก่เราเถิด หากท่านสร้างไม่ได้ชีวิตจะไม่มี. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอจงยกไว้เป็นพนักงานเถิด เมื่อข้าพระองค์ได้ จักรู้เอง จึงกลับไปบ้านบริโภคอาหารอย่างดีแล้ว นอนตื่นขึ้นในตอนรุ่ง นั่งคิดอยู่บนหลังที่นอนว่า ท้าว สักกเทวราชสามารถเนรมิตแต่สิ่งที่ตนเนรมิตได้ แต่คงไม่สามารถเนรมิตคนเฝ้า อุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ การตายอย่างอนาถาในป่านั่นแลดีกว่าการตายในเงื้อมมือของผู้อื่น. พระโพธิสัตว์มิได้บอกเล่าแก่ใครๆ ลงจากเรือนออกจากพระนครทางประตูใหญ่ เข้าป่านั่งรำพึงถึงธรรมของสัตบุรุษ ณ โคน ต้นไม้ต้นหนึ่ง. ท้าวสักกะทราบเหตุนั้น จึงแปลงเป็นพรานไพร เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ เมื่อจะตรัสถามความนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเป็นผู้แบบบางประหนึ่งว่าจะไม่เคยเห็นทุกข์ยากมาก่อนเลย


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 372

ท่านอยู่เป็นสุขแล้ว ได้ออกจากแว่นแคว้น มาสู่ป่าอันสงัดเงียบ ท่านนั้นนั่งซบเซาอยู่ที่โคนต้นไม้แต่ผู้เดียว เหมือนคนกำพร้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ ชีวิตรูโปสิ ความว่า ท่านดำรงอยู่ในความสุข เช่นกับมีชีวิตอยู่ด้วยความสุข คือดุจบริหารให้มีความสุข. บทว่า รฏฺา คือ จากที่ที่วุ่นวายด้วยมนุษย์. บทว่า วิวนมาคโต คือ เข้าป่าอันเป็นที่ไม่มีน้ำ. บทว่า รุกฺขมูเล คือ ใกล้ต้นไม้. บทว่า กปโณ วิย ฌายสิ ความว่า ท่านนั่งซบเซาอยู่ผู้เดียวเหมือนคนกำพร้า. ท้าวสักกะตรัสถามว่า ท่านคิดอะไร

พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

เราอยู่เป็นสุขแล้ว ได้ออกจากแว่นแคว้น มาอยู่ป่าสงัดเงียบ ระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษอยู่ นั่งซบเซาอยู่ที่โคนต้นไม้แต่ผู้เดียว เหมือน คนกำพร้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สตํ ธมฺมํ อนุสฺสรํ ความว่า ดูก่อนสหาย นั่นเป็นความจริง เราอยู่เป็นสุขแล้ว ได้จากบ้านเมืองมาสู่ป่า เราผู้เดียวเท่านั้นนั่งที่โคนต้นไม้ในป่านี้ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า ท่านได้ถามว่า ท่านคิดเรื่องอะไร ข้าพเจ้าขอตอบแก่ท่าน. บทว่า สตํ ธมฺมํ ความว่า ก็ข้าพเจ้านั่งอยู่ที่นี้ รำพึงถึงธรรมของสัตบุรุษผู้สงบ ผู้เป็นบัณฑิต คือพระพุทธเจ้า


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 373

พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย แท้จริงโลกธรรม ๘ ประการนี้ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ แต่สัตบุรุษทั้งหลาย ถูกโลกธรรม ๘ นี้ กระทบย่อมไม่หวั่น ไม่ไหว ธรรมของสัตบุรุษอัน ได้แก่ ความไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ๘ นี้ ข้าพเจ้านั่งระลึกถึงธรรมนี้ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้นท้าวสักกะจึงตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุใดท่านจึงนั่งอยู่ที่นี่เล่า. พระโพธิสัตว์ตอบว่า พระราชารับสั่งให้หาบุคคลผู้รักษาสวนประกอบด้วยองค์ ๔ แต่ข้าพเจ้าไม่อาจหาบุคคลเช่นนั้นได้ จึงคิดว่าจะมีประโยชน์อะไรด้วยความตายในเงื้อมมือของผู้อื่น เราจักเข้าป่าไปตายอย่างอนาถา จึงได้มานั่งอยู่ที่นี่. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราคือท้าวสักกะ เราเนรมิตสวนให้ท่านแล้ว แต่ไม่สามารถจะเนรมิตผู้รักษาสวนซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ได้. ช่างกัลบกผู้แต่งพระศกของพระราชาท่านชื่อว่า ฉัตตปาณี เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ เมื่อมีความต้องการผู้รักษาสวน ท่านจงกราบทูลให้ทรงแต่งตั้งช่างกัลบกนั้นเป็นผู้รักษาสวนเถิด. ท้าวสักกเทวราชประทานโอวาทแก่พระโพธิสัตว์แล้ว ทรงปลอบโยนว่า อย่ากลัวเลย แล้วเสด็จคืนสู่เทพบุรีของพระองค์. พระโพธิสัตว์ไปบ้าน บริโภคอาหารแล้วไปถึงประตูพระราชวัง พบฉัตตปาณีที่ประตูพระราชวังนั้น จับมือฉัตตปาณีแล้วถามว่า สหายฉัตตปาณีได้ข่าวว่าท่านประกอบด้วยองค์ ๔ หรือ เมื่อฉัตตปาณีถามว่า


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 374

ใครเป็นผู้บอกท่านว่า ข้าพเจ้าประกอบด้วยองค์ ๔. ตอบว่า ท้าวสักกเทวราช. ถามว่า เหตุใดจึงบอก. พระโพธิสัตว์จึง เล่าเรื่องทั้งหมดว่า บอกด้วยเหตุนี้. ฉัตตปาณีกล่าวว่า ถูกแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔. ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงจับมือฉัตตปาณีไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ฉัตตปาณีนี้เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ เมื่อมีความต้องการผู้รักษาสวน ขอจงทรงตั้งฉัตตปาณีนี้เป็นผู้รักษาสวนเถิด พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ได้ยินว่าท่าน เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ หรือ กราบทูลว่าถูกแล้ว พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คืออะไรบ้าง. ฉัตตปาณีทูลว่า :-

ขอเดชะ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ริษยา เป็นผู้ไม่ดื่มน้ำเมา เป็นผู้ไม่ติดในความรัก เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในความไม่โกรธ.

ข้าแต่มหาราช ชื่อว่าความริษยาไม่มีแก่ข้าพระองค์ น้ำเมาข้าพระองค์ไม่เคยดื่ม ความรักก็ดี ความโกรธก็ดี ไม่เคยมีในผู้อื่น ข้าพระองค์ประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้.

ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนฉัตตปาณี ท่านเป็นผู้ไม่ริษยา หรือ. กราบทูลว่า ขอเดชะ ถูกแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ริษยา. ท่านเห็นเหตุอะไรจึงเป็นผู้ไม่ริษยา.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 375

ฉัตตปาณีกราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงโปรดสดับเถิด เมื่อจะกล่าวถึงเหตุของการไม่ริษยา จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่ราชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งให้จองจำปุโรหิต เพราะหญิงเป็นเหตุ ปุโรหิตนั้นให้ข้าพระองค์ตั้งอยู่ในประโยชน์แล้ว เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ริษยา.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า ข้าพระองค์นี้แหละ เมื่อก่อนเป็นพระราชาในกรุงพาราณสีนี้เอง เช่นกับพระองค์ ให้จองจำปุโรหิต เพราะสตรีเป็นเหตุ คือ ครั้งหนึ่งช่างกัลบกฉัตตปาณีนี้เป็นพระราชา ถูกพระเทวีผู้ลักลอบกับพวกข้าบาทมูล ๖๔ นาย ผู้หวังจะให้พระโพธิสัตว์ ซึ่งไม่สนใจตนให้พินาศ ทูลยุยงให้จองจำตามนัยที่มาแล้วในชาดกนี้ว่า :-

คนพาลแย้มพรายออกมาในที่ใด คนที่ไม่ถูกจองจำ ก็ย่อมถูกจองจำในที่นั้น ส่วนนักปราชญ์แย้มพรายออกมาในที่ใด ถึงคนที่ถูกจองจำแล้ว ก็ย่อมหลุดออกมาได้ในที่นั้น.

ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ถูกจองจำนำไปเฝ้า จึงกราบทูลโทษของพระเทวีตามเป็นจริง ได้รอดพ้นเอง ได้ทูลให้ปลดปล่อยพวกข้าบาทมูลที่รับสั่งให้จองจำนั้นทั้งหมด ถวายโอวาทว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรงนิรโทษให้แก่พวกข้าบาทมูล


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 376

เหล่านั้น และพระเทวีเถิด พระเจ้าข้า. เรื่องราวทั้งหมดพึงทราบโดยพิสดารตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

ฉัตตปาณีหมายถึงความข้อนั้น จึงกล่าวว่า :-

ข้าแต่ราชะ เพราะหญิงเป็นเหตุฯ ลฯ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ริษยา.

ก็ในกาลนั้นพระราชาฉัตตปาณีนั้น คิดว่าเราละเลยสนมหนึ่งหมื่นหกพัน คลอเคลียอยู่กับพระเทวีเพียงนางเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจกิเลส ยังไม่สามารถจะให้นางอิ่มหนำได้ ขึ้นชื่อว่า การโกรธต่อหญิงทั้งหลายที่ให้เต็มได้ยาก อย่างนี้ก็เช่นกับการโกรธผ้านุ่งที่เศร้าหมองว่า เหตุใดจึงเศร้าหมอง และเป็นเช่นกับการโกรธอาหารที่บริโภคแล้วกลับเป็นคูถ ว่าทำไมจึงกลับเป็นคูถ. ต่อแต่นี้ไปเราขออธิษฐานว่า ยังไม่บรรลุอรหัตตราบใด ขอความริษยาจงอย่าเกิดแก่เราเพราะอาศัยกิเลสตราบนั้น. ตั้งแต่นั้นมาพระราชามิได้ทรงริษยาเลย ฉัตตปาณีกัลบกกล่าวว่า เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงไม่ริษยา หมายถึงความข้อนี้.

ลําดับนั้นพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนท่านฉัตตปาณี ท่านเห็นอารมณ์อันใดจึงเป็นผู้ไม่ดื่มน้ำเมา. ฉัตตปาณีเมื่อจะกราบทูล ถึงเหตุนั้นจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าเมาแล้ว จึงได้กินเนื้อบุตร ข้าพระพุทธเจ้าถูกความโศกถึงบุตรนั้นกระทบแล้ว จึงเว้นการดื่มน้ำเมา.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 377

อธิบายความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเมื่อครั้งก่อน ข้าพระองค์เป็นพระเจ้าพาราณสีเช่นเดียวกับพระองค์ ขาดน้ำเมาเสียแล้วก็ไม่สามารถจะดำเนินชีวิตไปได้ แม้อาหารที่ไม่มีเนื้อก็ไม่สามารถบริโภคได้. ที่พระนครไม่มีการฆ่าสัตว์ในวันอุโบสถ. พ่อครัวซื้อเนื้อมาเก็บไว้แต่วัน ๑๓ ค่ำแห่งปักษ์. เนื้อนั้นเก็บไว้ไม่ดี สุนัขจึงกินเสียหมด. พ่อครัวหาเนื้อในวันอุโบสถไม่ได้ จึงปรุงอาหารมีรสเลิศต่างๆ สำหรับพระราชายกขึ้นไปบนปราสาท แต่ไม่อาจนำเข้าไปได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวีวันนี้ข้าพระองค์หาเนื้อไม่ได้ จึงไม่อาจนำพระกระยาหารที่ไม่มีเนื้อเข้าไปถวายได้ ข้าพระองค์จะทำอย่างไรดี. พระเทวีตรัสว่า นี่แน่ะเจ้าโอรสของเราเป็นที่รักโปรดปรานของพระราชา. พระราชาทรงเห็นโอรสของเราแล้วก็จะทรงจุมพิตสวมกอดโอรสนั้นเพลินจนไม่ทรงทราบว่า เนื้อมี หรือไม่มีสำหรับพระองค์. เราจะแต่งตัวโอรสแล้วให้นั่งบนพระเพลาของพระราชา เวลาที่พระองค์ทรงหยอกล้อพระโอรส ท่านจึงค่อยนำพระกระยาหารเข้าไปถวาย. พระเทวีตรัสดังนั้นแล้ว จึงตกแต่งพระราชกุมารโอรสของพระองค์ให้นั่งบนพระเพลาของพระราชา. ในเวลาที่พระราชาทรงหยอกล้อเล่นกับพระโอรส พ่อครัวจึงนำพระกระยาหารเข้าไปถวาย. พระราชาทรงเมาสุรา ไม่ทรงเห็นเนื้อในถาด จึงตรัสถามว่า เนื้ออยู่ที่ไหน พ่อครัวกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์หาเนื้อไม่ได้


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 378

เพราะวันนี้เป็นวันอุโบสถ ไม่มีการฆ่าสัตว์ จึงตรัสว่า ชื่อว่า เนื้อสำหรับเราหาได้ยากนัก หรือ จึงทรงหักคอพระโอรสที่นั่งอยู่บนพระเพลา จนถึงสิ้นชีพิตักษัย โยนไปข้างหน้าพ่อครัว ตรัสว่า จงไปปรุงมาโดยเร็ว. พ่อครัวได้ทำตามรับสั่ง. พระราชาได้เสวยพระกระยาหารด้วยเนื้อพระโอรสแล้ว. มิได้มีผู้สามารถร่ำไห้ทัดทานแม้แต่คนเดียว เพราะกลัวพระราชา. พระราชาครั้นเสวยเสร็จแล้วเสด็จเข้าห้องบรรทม ทรงตื่นบรรทมตอนใกล้รุ่ง ทรงสร่างเมาแล้วรับสั่งว่า จงนำโอรสของเรามา. ในกาลนั้นพระเทวีหมอบกันแสงร่ำไห้อยู่ ณ แทบพระบาท เมื่อพระราชาตรัสถามว่า กันแสงเรื่องอะไร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เมื่อวานนี้พระองค์ทรงฆ่าพระโอรสแล้วเสวยพระกระยาหารกับเนื้อพระโอรสเพคะ. พระราชาทรงกันแสงด้วยความโศกถึงพระโอรส ทรงเห็นโทษในการดื่มน้ำเมาว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแก่เรา เพราะอาศัยการดื่มน้ำเมา แล้วทรงกำฝุ่นขึ้นมาทาพระพักตร์ ทรงอธิษฐานว่า ตั้งแต่นี้ไปเรายังไม่บรรลุพระอรหัตตราบใด เราจักไม่ดื่มสุราอันทำความพินาศเช่นนี้ตราบนั้น. ตั้งแต่นั้นมาพระองค์มิได้ทรงดื่มน้ำเมาอีกเลย. ฉัตตปาณีกัลบกกล่าวคาถานี้ว่า ปมตฺโตหํ มหาราช หมายถึงความนี้.

ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ฉัตตปาณีท่านเห็นอารมณ์อะไร หรือ จึงไม่มีความรัก. ฉัตตปาณีเมื่อจะทูลเหตุนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 379

ข้าพระองค์เป็นพระราชาพระนามว่า กิตวาส โอรสของข้าพระองค์ทำลายบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วสิ้นชีวิต ข้าพระองค์ไม่มีความรักเพราะโอรสนั้นเป็นเหตุ.

ความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเมื่อครั้งก่อนข้าพระองค์เป็นพระราชาพระนามว่า กิตวาส ในกรุงพาราณสี. โอรสของข้าพระองค์ได้ประสูติ. ครั้นประสูติแล้ว โหรเห็นลักษณะพระโอรสแล้วทํานายว่า ข้าแต่มหาราช พระอาญาไม่พ้นเกล้า พระโอรสนี้จักอดน้ำสิ้นพระชนม์ พระเจ้าข้า. พระชนกชนนีทรง ขนานนามพระโอรสนั้นว่า ทุฏฐกุมาร. กุมารนั้นครั้นเจริญวัยแล้ว ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช. พระราชาโปรดให้พระกุมารตามเสด็จ ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเสมอ. และเพราะเกรงพระโอรสจะอดน้ำตาย จึงรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีไว้ในที่นั้นๆ ภายในพระนครในประตูทั้งสี่ด้าน. รับสั่งให้สร้างมณฑปไว้ตามสี่แยกเป็นต้น แล้วให้ตั้งตุ่มน้ำดื่มไว้. วันหนึ่งพระกุมารแต่งพระองค์เสด็จประพาสอุทยานแต่เช้าตรู่ พบพระปัจเจกพุทธเจ้าในระหว่างทาง. มหาชนเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วต่างก็กราบไหว้สรรเสริญ และประคองอัญชลีแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น. พระกุมารนั้นคิดว่า พวกที่ไปกับคนเช่นเราพากันกราบไหว้สรรเสริญประคองอัญชลีแด่สมณะโล้นนี้ ทรงพิโรธ ลงจากช้าง เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสถามว่า สมณะท่านได้ภัตตาหาร


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 380

แล้ว หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า ได้แล้วพระกุมาร. พระกุมารจึงแย่งบาตรจากมือพระปัจเจกพุทธเจ้าทุ่มลงบนพื้นดิน เหยียบย่ำยีภัตตาหารให้แหลกไป. พระปัจเจกพุทธเจ้าแลดูหน้าพระกุมารนั้น คิดว่าสัตว์ผู้นี้ทีจะวอดวายเสียแล้วหนอ. พระกุมารตรัสว่า สมณะเราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวาส มีนามว่า ทุฏฐกุมาร ท่านโกรธเรา มองดูตาเรา จะทำอะไรเรา. พระปัจเจกพุทธเจ้า บาตรแตกแล้วจึงเหาะขึ้นสู่เวหาไปสู่เงื้อมเขานันทมูล ณ หิมวันตประเทศ เบื้องทิศอุดร. ขณะนั้นเองกรรมชั่วของพระกุมารก็ให้ผลทันตา. พระกุมารมีพระวรกายเร่าร้อน พลุ่งพล่าน ตรัสว่า ร้อนเหลือเกินล้มลง ณ ที่นั้นเอง. น้ำทั้งหมด ที่มีอยู่ ณ ที่นั้นๆ ก็เหือดแห้ง. สระทั้งหลายก็แห้งผาก. พระกุมารสิ้นชีพิตักษัยในที่นั้นเอง ไปบังเกิดในนรกอเวจี.

พระราชาทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว ถูกความโศกถึงพระโอรสครอบงำ ทรงดำริว่า ความโศกของเรานี้เกิดขึ้นแต่สิ่งที่เรารัก หากเราจะไม่มีความรักแล้ว ความโศกก็จะไม่เกิดขึ้น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขึ้นชื่อว่าความรักในสิ่งใดๆ ทั้งที่มีวิญญาณ หรือไม่มีวิญญาณ อย่าได้เกิดขึ้นแก่เราเลย ทรงอธิษฐานดังนี้แล้ว. ตั้งแต่นั้นไปก็ไม่มีความรักเลย. ฉัตตปาณีกล่าวคาถาว่า กิตวาโส นามาหํ หมายถึงเนื้อความนั้น.

ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ดูก่อนฉัตตปาณี ท่านเห็นอารมณ์อันใดเล่า จึงเป็นผู้ไม่โกรธ. ฉัตตปาณีเมื่อจะ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 381

กราบทูลความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ข้าพระองค์เป็นดาบสชื่อว่าอรกะ เจริญเมตตาจิตเจ็ดปี อยู่ในพรหมโลกเจ็ดกัป เพราะฉะนั้นจึงเป็นผู้ไม่โกรธ.

ความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เป็นดาบส ชื่ออรกะ เจริญเมตตาจิต เจ็ดปี แล้วอยู่ในพรหมโลกถึงเจ็ดสังวัฏฏกัป วิวัฏฏกัป ข้าพระองค์นั้นจึงไม่เป็นผู้ไม่โกรธ เพราะประพฤติสั่งสมเมตตาภาวนาสิ้นกาลนาน.

เมื่อฉัตตปาณีกราบทูลองค์ ๔ ของตนอย่างนี้แล้ว พระราชาได้ทรงให้สัญญาที่นัดหมายไว้แก่บริษัท. ทันใดนั้นเอง เหล่าอำมาตย์มีพราหมณ์ และคหบดีเป็นต้น ต่างลุกฮือกันขึ้น กล่าวว่า แน่ะ เจ้าคนกินสินบน โจรผู้ชั่วร้าย เจ้าไม่ได้กินสินบนแล้ว จึงคิดจะฆ่าบัณฑิต ต่างช่วยกันจับมือ และเท้ากาฬกะเสนาบดี พาลงจากพระราชนิเวศน์ ทุบศีรษะด้วยก้อนหิน และไม้ค้อนคนละไม้คนละมือ จนถึงแก่ความตาย จึงจับเท้าลากไปทิ้งไว้ที่กองหยากเยื่อ. ตั้งแต่นั้นมาพระราชาทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ครั้นสวรรคตแล้วก็เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก. กาฬกะเสนาบดีในครั้งนั้นได้เป็น เทวทัตในครั้งนี้.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 382

ฉัตตปาณีอุบาสกได้เป็นสารีบุตร ส่วนธัมมัทธชปุโรหิต คือเรา ตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาธัมมัทธชชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสมทัตตชาดก ๒. อุจฉิฏฐภัตตชาดก ๓. ภรุราชชาดก ๔. ปุณณนทีชาดก ๕. กัจฉปชาดก ๖. มัจฉชาดก ๗. เสคคุ- ชาดก ๘. กูฏวาณิชชาดก ๙. ครหิตชาดก ๑๐. ธัมมัทธชชาดก.

จบ พีรณัตถัมภกวรรคที่ ๗