สมาธิ
โดย yuphin  22 ก.พ. 2552
หัวข้อหมายเลข 11316

สมาธิ ในความหมายของพระไตรปิฏกคืออะไรค่ะ เอี้อต่อการเจริญสติเช่นไรคะ ดิฉันไม่เคยปฏิบัติสมาธิทั้งๆ ที่เพื่อนๆ ชวนไปสถานที่ฝึกสมาธิ เพราะดิฉันไม่เข้าใจว่า สามารถนำมาใช้ในการข่มกิเลสในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เพราะลืมตาขึ้นมาแต่ละวัน ก็เห็นกิเลสรายล้อมทั้ง 6 ทาง ยากจะดับได้ ดูเหมือนสติมีกำลังน้อยมากแม้นจะฟังพระธรรมพอสมควร ทำให้ต้องพิจารณาถึงเหตุที่เป็นเช่นนั้น เท่าที่สังเกต กลางวันมักเกิดกิเลสมากมาย เพราะต้องคลุกคลีกับผู้คนซึ่งมีกิเลสต่างๆ นานา สติไม่เกิด คอยแต่ปกป้องผลประโยชน์ทางวัตถุ พอตกค่ำอยู่คนเดียวมีโอกาสทบทวน เรื่องราวอกุศลเกิดมากเหลือเกิน หากวันใดนั่งทำงานคนเดียว อกุศลเกิดน้อยลง จึงอยากสอบถามว่า สมาธิที่กล่าวข้างต้น ฝึก แล้วทำให้การเจริญสติเกิดบ่อยหรือไม่

ขอบพระคุณค่ะ

ยุพิน สุชลธาดา



ความคิดเห็น 1    โดย orawan.c  วันที่ 22 ก.พ. 2552

ขอเชิญคลิกอ่าน....

การอบรมปัญญา ไม่ใช่การนั่งสมาธิ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 22 ก.พ. 2552

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ....ทำไมไม่เห็นด้วยกับสมาธิ


ความคิดเห็น 3    โดย ajarnkruo  วันที่ 22 ก.พ. 2552

สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง ซึ่งตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้อารมณ์ที่ปรากฏนั้น สมาธิเกิดเป็นปกติกับจิตทุกๆ ขณะ แต่สมาธิที่จะเอื้อต่อการเจริญสติ ต้องเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับจิตฝ่ายดี ไม่ใช่สมาธิที่เกิดกับอกุศลจิต ถ้ายังไม่รู้ว่า กุศลคืออย่างไร ขณะไหน อกุศลคืออย่างไร ขณะไหน ย่อมไม่สามารถที่จะเจริญสมาธิที่จะเป็นไปเพื่อความสงบของจิต โดยปลอดจากเครื่องกลุ้มรุม คือ กิเลสได้ถ้าไม่รู้จักความต่างของกุศลและอกุศล ก็ย่อมจะหลงผิด ไปเจริญสมาธิที่เกิดกับอกุศล
เพราะฉะนั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ที่จะไม่ตามๆ กันไป โดยที่ยังไม่ได้เข้าใจเหตุผลโดยชัดเจน ต้องเป็นผู้ที่ไม่เผิน คือ ต้องละเอียดที่จะพิจารณาทุกๆ คำที่ได้ยิน เช่น ได้ยินคำว่า "สมาธิ" ก็จะต้องอบรมความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น ตั้งแต่เบื้องต้นว่า แล้ว"สมาธิ" คืออะไร อยู่ที่ไหน มีในขณะไหน เป็นธรรมะ ไม่ใช่เราอย่างไร เกิดกับกุศลได้ไหม แล้วเกิดกับอกุศลได้ด้วยหรือไม่ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตาอย่างไร เป็นต้นครับ

...ขออนุโมทนาครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย pornpaon  วันที่ 22 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย choonj  วันที่ 23 ก.พ. 2552

ที่ได้ยินว่าไปฝึกปฏิบัติสมาธิ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อข่มกิเลสนั้น ไม่ได้ครับ ขณะที่นั่งสมาธิ จิตมีอารมณ์เดียว ขณะนั้นกิเลสไม่เกิด จึงเรียกว่าข่มกิเลส จึงเอาตรงนั้นมาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้ ผู้ที่อยากจะหนีพ้นจากกิเลส แต่ยังดับกิเลสไม่ได้และสามารถนั่งสมาธิให้อยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่ได้ ก็นั่งเพื่อจะข่มกิเลสขณะที่นั่งเท่านั้น เมื่อออกจากการนั่งแล้วก็มีกิเลสเหมื่อนเดิม แต่เราที่นั่งไม่เป็น นั่งไปก็เปล่าประโยชน์ มีแต่จะทำให้อกุศลเกิดเพิ่มขึ้น และที่กล่าวว่าวันๆ มีอกุศลมากมาย พอตกค่ำมาทบทวน และรู้ว่าอกุศลเกิดมากมายเหลือเกิน ขณะที่ทบทวนนั้นมีสมาธิเกิดด้วยครับ และสมาธินี่แหละเป็นสัมมาสมาธิเกิดกับสติ ควรแก่การเจริญ เมื่อทบทวนมากๆ เข้า รู้ว่าจิตเป็นกุศล,อกุศลมากๆ เข้า สมาธิก็จะมีกำลังมากขึ้น เป็นการฝึกสมาธิที่ถูกต้อง ครับ


ความคิดเห็น 6    โดย พุทธรักษา  วันที่ 24 ก.พ. 2552

อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดจากความเยื่อใย คือ ตัณหาเกิดขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย.

เหมือนย่านไทร เกิดแต่ลำต้นไทรแล้วแผ่ซ่านไปในป่า ฉะนั้น.ชนเหล่าใด ย่อมรู้อัตภาพนั้น ว่าเกิดแต่สิ่งใด ชนเหล่านั้น ย่อมบรรเทาเหตุเกิด นั้นเสียได้.

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 8    โดย booms  วันที่ 25 ก.พ. 2552

สมาธิในความหมาย ทางอภิธรรม หมายถึง เอกัคคตา เจตสิก เป็นสัพพจิตตสาธารณะเจตสิก ที่ ประกอบ กับจิตทุกดวง ทั้ง กุศล และ อกุศล

เอกัคคตา คือ การตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวมีเครื่องแสดงคือ ความไม่ฟุ้งซ่าน มีหน้าที่รวบรวม จิต เจตสิก และ รูป มีอาการปรากฎผลคือ ความสงบ มีเหตูใกล้ให้เกิดคือ สุขเวทนา

หากคุณต้องการใช้ สมาธิ เพื่อดับกิเลส....คุณก็ต้องรู้ว่าสมาธิ (เอกัคคตาเจตสิก) นั้นประกอบกับ จิตทางฝ่าย กุศล หรือ อกุศล..... หากแม้นว่า จิตของตัวเอง ในขณะนี้ ก็ยังไม่รู้ว่า เป็น กุศล หรือ อกุศล แล้วละก้อการหวังจะใช้สมาธิ (โดยนัย ของสัมมาสมาธิ) เพื่อ ดับกิเลส ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไกลเกินไป...


ความคิดเห็น 9    โดย คุณ  วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ