[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 340
๙. จันทิมสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 340
๙. จันทิมสูตร
[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ... กรุงสาวัตถี สมัยนั้น จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น จันทิมเทวบุตรระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแต่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึงแห่งข้าพระองค์นั้น.
[๒๔๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภจันทิมเทวบุตร ได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์โลก.
[๒๔๓] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยจันทิมเทวบุตรแล้ว เร่งรีบเข้าไปหาท้าวเวปจิตติจอมอสูร แล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๒๔๔] ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้กล่าวกะอสุรินทราหูด้วยคาถาว่า
ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงเร่งรีบปล่อยพระจันทร์เสีย ทำไมหนอท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 341
[๒๔๕] อสุรินทราหูกล่าวว่า
ข้าพเจ้าถูกขับ ด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยจันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้ความสุข.
อรรถกถาจันทิมสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในจันทิมสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
บทว่า จนฺทิมา คือ เทพบุตรผู้สถิตอยู่ ณ จันทรวิมาน.
บทว่า สพฺพธิ ได้แก่ ในขันธ์อายตนะ เป็นต้นทั้งหมด.
บทว่า โลกานุกมฺปกา ได้แก่ เป็นผู้อนุเคราะห์ ทั้งท่าน ทั้งจันทรเทพบุตร เช่นเดียวกัน.
บทว่า สนฺตรมาโน ได้แก่ ดุจรีบด่วน.
คำว่า ปมุญฺจสิ เป็นปัจจุปันกาลลงในอรรถอดีตกาล.
จบอรรถกถาจันทิมสูตรที่ ๙