ข้อความบางตอนจากการสนทนาธรรม ณ "บ้านมิ่งโมฬี" อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรีวันที่ ๗-๘ กันยายน ๒๕๕๓ ถอดเทปบันทึกเสียงโดยคุณย่าสงวน สุจริตกุล
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ท่านผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ และวิทยากรทุกท่าน ขออนุญาตถามท่านอาจารย์เรื่อง "สมาธิ" เพราะว่า จากการศึกษาธรรมจากหลายๆ ที่ จะมีการฟังธรรม แล้วก็จะมีการที่เรียกว่า "ปฏิบัติธรรม" คือ "การนั่งสมาธิ" ด้วย ในประเทศไทย ประมาณ ๙๐% ที่จะมีการฟังธรรมแล้วก็ "เจริญสมาธิ" ไปด้วย
เมื่อเช้า ท่านอาจารย์นิภัทร ท่านกล่าวถึง "การสำรวมจิต" ฯ ในการปฏิบัติธรรม จะมีการกล่าวถึง "การเจริญสมาธิ" เพื่อคล้ายๆ จะให้ "จิตสำรวม" หรือให้ "จิตตั้งมั่น" ซึ่งก็ไม่แน่ใจ ว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง จะเจริญสมาธิอย่างไร เนื่องจากในบ้านเรา มีครูบาอาจารย์ที่เป็นพระภิกษุ ที่ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเห็นผลหลายท่านจึงได้นำเอาผลของการปฏิบัติมาเผยแพร่และสั่งสอนแก่ผู้ที่ศึกษาธรรมว่า การเจริญสมาธินี้ค่อนข้างสำคัญเพราะว่าจิตของเรามักจะกวัดแกว่งไป เปรียบเสมือนลิง ซึ่งไม่อยู่นิ่ง ดังนั้น การเจริญสมาธิ จะทำให้จิตสำรวม เมื่อจิตสำรวมแล้ว การพิจารณาธรรมจะชัดเจนขึ้น เปรียบเสมือนน้ำที่ขุ่น จะไม่เห็นอะไร แต่การเจริญสมาธิ เปรียบเสมือนน้ำใส ท่านกล่าวว่า จะทำให้เห็นสัจจธรรม ดีขึ้น บางที ท่านก็กล่าวว่า การที่จิตรวมเป็นหนึ่งนี้ จะทำให้สามารถพิจารณาสัจจธรรมได้ ในที่นี้ หมายถึง พระธรรมที่ได้ศึกษามาและนำมาพิจารณา ตอนที่จิตเป็นสมาธิ ท่านกล่าวว่าอย่างนั้น. ในการปฏิบัติธรรม หลายๆ แห่ง ก็จะแนะนำให้เจริญสมาธิประกอบไปด้วย
ผมอยากเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ที่ถูกต้อง ในการเจริญสมาธินั้น ควรจะปฏิบัติอย่างไร จึงจะเรียกว่า "ปฏิบัติถูกต้อง"
ท่านอาจารย์ การศึกษาพระพุทธศาสนา หรือ การประพฤติ-ปฏิบัติ นี้ ต้องเป็น "ผู้ตรง" ตั้งแต่ต้นเลย ต้องทราบว่า ที่กล่าวถึง "การปฏิบัติ" หมายความถึงอะไร และ เพื่ออะไร
"พระพุทธศาสนา" คือ คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอด ๔๕ พรรษาเพื่อให้ผู้ฟังเกิด "ความรู้-ความเข้าใจถูก ของตนเอง" นี่เป็นพระมหากรุณา ไม่เพียงแต่สอน แล้วให้ผู้อื่นเชื่อ แต่ต้องเป็น "คำพูดที่จริง ในสิ่งกำลังมีจริงๆ ในขณะนี้" ประโยชน์สูงสุด ก็คือ เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่มีจริง ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ นี่คือ "ความตรง"
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ชื่อว่า ศึกษาพระพุทธศาสนา ก็ต้องเป็นผู้ที่รอบคอบ ไม่ประมาทในขณะที่ฟัง ก็ต้องรู้ว่า มีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ฟัง มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นเรื่องที่ละเอียดนะคะแต่ละคำ เช่นคำว่า "ปฏิบัติ" หรือคำว่า "สมาธิ"
แต่ก่อนอื่นค่ะ ศึกษาธรรม ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม เพื่ออะไร นี่เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อที่จะได้ "ตรงต่อจุดประสงค์" พอจะทราบไหมคะ
ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติธรรม ตอนที่ ๒
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ