ในทางพุทธศาสนานั้นการฆ่าผู้อื่นนั้นผิดศีลข้อปาณาแน่นอนอยู่แล้ว แต่ด้วยหน้าที่เจ้าหน้าที่ต้องลั่นไกปืนจะผิดศีลหรือเปล่าครับ เพราะทำตามหน้าที่ ไม่ ได้มีจิตคิดฆ่าเอง และกรณีที่คนชั่วมากๆ มีโทษถึงประหารหากปล่อยไว้ก็จะไปก่อความวุ่นวายอีก หรือจะให้จำคุกตลอดชีวิตได้อย่างเดียว แต่อีกหน่อยก็จะได้รับ การอภัยโทษนะครับ และขอความเห็นว่าควรมีโทษประหารในเมืองพุทธ หรือไม่ครับ
ตามหลักพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ทรงแนะนำสาวกทั้งหลายเว้นจากการคิดร้ายโกรธเคืองหรือพยาบาทผู้อื่น เว้นจากการทำร้ายเบียดเบียน และฆ่าสัตว์อื่น เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมรักความสุข รังเกียจความทุกข์ ควรมีเมตตาต่อกัน สำหรับ ผู้ที่มีเจตนาฆ่าสัตว์อื่นให้ตาย ไม่ว่าจะทำเพื่อกรณีใดๆ ก็ตามย่อมเป็นปาณาติบาต คือ ไม่มีการยกเว้นว่า เพราะหน้าที่ หรือเพราะอาชีพ หรือ เพราะเขาเป็นคนที่สมควรถูก ประหารก็ตาม เมื่อมีเจตนาฆ่าได้กระทำการฆ่า และสัตว์นั้นตายด้วยการพยายามนั้น ชื่อว่าปาณาติบาต
ถ้าเราเปลี่ยนอาชีพไม่ได้จริงๆ เช่น คนทีเรียนหมอ ต้องทำการทดลองฆ่าสัตว์ กว่าจะจบเป็นหมอก็ฆ่าสัตว์ไปมากมาย ก็ต้องทำความดีมากๆ และอบรมปัญญาด้วย ในครั้งพุทธกาลก็มีโจรเคราแดง เป็นเพชฌฆาตฆ่าโจรที่ต้องประหารชีวิตเป็นเวลา 55 ปี เป็นอกุศลกรรม หลังจากที่เขาเกษียณแล้ววันหนึ่งเขาเห็นพระสารีบุตรได้มีจิต เลื่อมใส ถวายภัตแก่พระสารีบุตรด้วยผลบุญนั้นท่านจึงเกิดในภพดุสิต เพราะฉะนั้นการคบกัลยาณมิตรเป็นเหตุให้เกิดในสุคติภูมิค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นพระราชา พระภิกษุ ทหาร ตำรวจ ชาวบ้าน กระทำปาณาติบาต เช่นฆ่ายุง ไป 1 ตัว เป็นอกุศลกรรมบถ ครบองค์ สามารถให้ผล ปฏิสนธิ ในนรกได้ ผู้ใดจะเกิดในสิ่งแวดล้อมแบบไหน หรือจะประกอบอาชีพอะไร ย่อมเป็นไปตามผลของกรรม บางคนเห็นโทษในการทำอกุศลกรรมก็งดเว้น หรือเปลี่ยนอาชีพไป บางคนถึงแม้ไม่เปลี่ยนอาชีพแต่ก็ยังมีการฟังพระธรรม อบรมเจริญกุศลทุกประการด้วย เมื่อบรรลุเป็นพระอริยบุคคลก็ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิอีก
แม้ว่าจะครบองค์ของกรรมบท แต่ถ้าสัตว์นั้นมีคุณน้อยโทษย่อมน้อย ถ้าสัตว์นั้นมีคุณมาก โทษย่อมมาก เช่นการฆ่าพระอรหันต์ การฆ่าบิดามารดา จัดเป็นอนันตริยก รรมซึ่งให้ผลในชาติถัดไปทันที กั้นทั้งสุคติและมรรคผล ตัวอย่างท่านพระองคุลีมาล แม้ท่านจะได้ฆ่าผู้คนมาแล้วมากมายด้วยความเห็นผิด แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการ บรรลุพระอรหันต์ในชาตินั้นท่านต้องได้รับวิบากกรรมก็ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น แต่ เมื่อท่านดับขันธปรินิพพานไปแล้ว กรรมย่อมตามไปให้ผลไม่ได้ จึงเป็นอโหสิกรรม ส่วนปุถุชนนั้นยังมีคติไม่แน่นอน จึงไม่ควรประมาทแม้แต่อกุศลเพียงเล็กน้อย