Thai-Hindi 21 January 2023
- (อยากให้สนทนาเรื่องกิจของจิต)
- กี่จิตแล้วที่เขาทราบ (๔ กิจ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ อาวัชชนะ)
- อาวัชชนกิจคืออะไร (เป็นกิริยาจิตที่เริ่มรู้ว่าอารมณ์ใดมากระทบ)
- กิริยาจิตคืออะไร (เป็นจิตที่ไม่ใช่เป็นกุศล อกุศล หรือวิบาก)
- ทำไมไม่ใช่กุศล อกุศลหรือวิบาก
- เพราะถ้าเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตต้องเป็นเหตุที่จะให้เกิดผลคือ อกุศลกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิบากจิตและกุศลกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบากจิต เพราะฉะนั้นอาวัชชนจิตหรือจิตที่ทำอาวัชชนกิจไม่ใช่ผลโดยตรงของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมเพราะสามารถที่จะรู้อารมณ์ได้ที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นอารมณ์ที่เป็นผลหรือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้จิตรู้อารมณ์นั้น
- อาวัชชนจิตไม่รู้อารมณ์ที่กระทบตา ไม่เห็นแต่สามารถที่จะรู้เพียงมีอารมณ์ที่กระทบทวารนั้นๆ เพียงแต่เกิดขึ้นรู้ว่ามีสิ่งหนึ่งกระทบทวารนั้นแต่ไม่สามารถที่จะรู้หรือเห็นหรือได้ยินอารมณ์นั้นที่ดีหรือไม่ดีได้
- เพราะฉะนั้นไม่ว่าอารมณ์นั้นแป็นอารมณ์ที่ดีเป็นผลของกุศลจิตที่จะเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นหรืออารมณ์นั้นไม่น่าพอใจเป็นสิ่งที่อกุศลวิบากจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นแต่ปัญจทวาราวัชชนะรู้เพียงมีอารมณ์กระทบทวารแต่ละทวารนั้นๆ
- เพราะฉะนั้นอย่างย่อๆ อาวัชชนจิตรู้อารมณ์ที่มากระทบไม่ว่าอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่ดีหรือไม่น่าพอใจจึงเป็นกิริยาจิต
- เดี๋ยวนี้มีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม เมื่อไหร่ (ตอนนี้เห็นอยู่ จิตก่อนที่เห็นเป็นปัญจทวาราวัชชน) เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตไม่ใช่ภวังคจิต
- เพราะฉะนั้นก่อนเห็นมีจิตอะไร (จักขุทวาราวัชชนะ) ก่อนจักขุทวาราวัชชนมีจิตอะไร
- นี่แสดงให้เห็นว่า ฟังธรรมไม่ไตร่ตรองให้ละเอียดให้ลึกซึ้งไม่ได้เพราะจะปะปนกับความคิดของตัวเองซึ่งธรรมเปลี่ยนไม่ได้ใครก็คิดให้เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้
- เพราะฉะนั้น ภวังค์สุดท้ายก่อนปัญจทวาราวัชชนะมีไหม เพราะฉะนั้นมีชื่อว่า “ภวังคุปัจเฉทะ” ตัดกระแสภวังค์ ถ้าภวังคจิตนี้เกิดแล้วจิตต่อไปจะเป็นภวังค์ไม่ได้
- ก่อนภวังคุปัจเฉทะมีภวังค์ไหม มากไหม ไม่มีใครรู้ได้ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงว่า ขณะไหนภวังค์น้อยกว่าขณะไหน เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ให้รู้ว่า ไม่ได้มีเห็นตลอดเวลาอย่างที่ “เรากำลังคิด” ว่าเป็นอย่างนี้เลย
- เพราะฉะนั้นภวังค์เกิดแล้วดับต่อจากนั้นเป็นอะไร ฟังคำถาม ภวังค์เกิดแล้วดับๆ ต่อจากนั้นเป็นอะไร (ภวังคุปัจเฉทะ) ถูกต้อง ต้องมีภวังคุปัจเฉทะสุดท้ายเสมอแล้วต่อจากนั้นเป็นอะไร (อาวัชชนจิต) ปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้วอะไรเกิดขึ้น (ปัญจวิญญาณแล้วแต่ว่าทางทวารไหน)
- กี่กิจแล้ว (๔ + ๕ เป็น ๙) นับใหม่ (ปฏิสนธิ ๑ ภวังค์ ๒ จุติ ๓ อาวัชชนะ ๔ ปัญจวิญญาณ ๕๔+๕ เป็น ๙ เหลือ ๕)
- เราจะพูดถึงปัญจทวารก่อน พอจิตเห็นดับแล้วรูปที่กระทบตายังไม่ดับเป็นปัจจัยให้จิตที่เกิดต่อรู้อารมณ์เดียวกับจิตเห็นที่เห็นรูปแต่ไม่ได้ทำหน้าที่เห็น
- จิตนี้ทำสัมปฏิจฉันนกิจรับรู้อารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะเป็นวิบากจิตเกิดขึ้นจากกรรมเดียวกับที่ทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น
- สัมปฏิจฉันนะเป็นวิบากจิตเป็นผลของกรรมเดียวกันกับกรรมที่ทำให้จักขุวิญญาณเกิดรู้รูปที่ยังไม่ได้ดับ สัมปฏิจฉันนจิตดับไหม (ต้องดับ)
- เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะทำกิจเพียงรับอารมณ์โดยการรู้อารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณเท่าน้ัน จิตที่เกิดต่อรู้อารมณ์ที่สัมปฏิจฉันนะรู้ดับ เพราะฉะนั้นเขาพิจารณา มีโอกาสที่จะรู้ขึ้นอีกนิดนึงต่อจากสัมปฏิจฉันนะ หมดหน้าที่ของกรรมที่ทำให้จิตเห็นเกิดขึ้นดับไป “สัมปฏิจฉันนะ” เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ดับไป “สันตีรณ” รับต่อรู้อารมณ์นั้นอีกนิดนึงดับไปเป็นปัจจัยให้เกิดขณะจิตที่ “เปิดทาง” ให้กุศลหรืออกุศลที่สะสมอยู่ในจิตเกิดในอารมณ์นั้นได้
- กี่กิจแล้วอะไรบ้าง (ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ อาวัชชนะ ปัญจวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ ๑๑ แล้ว)
- หลังจากนั้นมีจิต ๑ ที่ต้องเกิดรู้อารมณ์ที่เป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ แล้วก็เป็นจิตที่ถ้าจิตนี้ไม่เกิด กิเลสทั้งหลายและสิ่งที่สะสมมาเป็นกุศลและอกุศลเกิดต่อไม่ได้แต่เพราะเหตุว่าสะสมมาที่จะเกิดอย่างเร็วมาก เพราะฉะนั้นทันทีที่สันตีรณะดับไปมีจิตที่เกิดขึ้นทำ “โวฏฐัพพนกิจ” หมายความว่า เปิดทางให้กุศลหรืออกุศลเกิดขึ้นเป็นทาง
- อารมณ์ที่กระทบตายังไม่ดับ อารมณ์ที่กระทบหูยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นจิตเป็นธรรมที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ ไม่มีใครไปหยุดยั้งการเกิดดับสืบต่อของจิตได้ เพราะฉะนั้นทันทีที่สันตีรณะดับจิตนี้เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นโดยกระทำทางให้กุศลหรืออกุศลเกิดขึ้นได้
- ฟังธรรม คุณอาช่าเหนื่อยมั้ย เบื่อมั้ย พูดถึงสิ่งที่ไม่ได้ปรากฏใช่ไหม (ไม่ปรากฏก็จริงแต่ได้ฟังก็มีประโยชน์ เคยอ่านตัวอย่างของคนนอนใต้ต้นมะม่วง วันนี้ได้ฟังก็เข้าใจดีขึ้น) เพราะเหตุว่า นั่นเป็นตัวอย่างที่เราพอจะคิดตามแต่ความจริงละเอียดลึกซึ้งกว่านั้นมาก
- เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจพระธรรม เริ่มรู้จักพระพุทธเจ้า เริ่มเห็นพระพุทธเจ้า “ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา” ถ้าไม่เข้าใจธรรมจะไม่รู้เลยว่า นี่คือสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ทรงแสดงให้คนอื่นเริ่มรู้ความจริง
- หลับสนิทไม่มีอาช่า ไม่มีอินเดีย ไม่มีเมืองไทย ไม่มีโลก ไม่มีอะไรเลย แต่ขณะที่ตื่นเป็นขณะที่รู้ว่า ไม่ใช่ขณะที่หลับเพราะขณะที่หลับไม่มีอะไรปรากฏเลยทั้งสิ้น แต่สะสมความคิดความจำทุกอย่างที่จะมีสิ่งที่ปรากฏและก็มีความรู้สึกตามที่ได้สะสมมา
- ทางตาเห็น ทางหูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายกระทบสัมผัส ที่รู้ได้ ๕ ทางแต่ว่ามีจิตมากมายสืบต่อกันแต่ที่ปรากฏจริงๆ ที่เห็นเดี๋ยวนี้หรือว่าได้ยินเดี๋ยวนี้ ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แล้วหลังจากนั้นกิเลสที่สะสมมาหลังจากที่จิตเกิดขึ้นทำหน้าที่เปิดทาง“โวฏฐัพพนกิจ” เกิดขึ้นต่อจากนั้นก็เป็นกุศลหรืออกุศล
- กำลังมีสิ่งที่ปรากฏ ชอบหรือไม่ชอบสิ่งที่กำลังปรากฏ เดี๋ยวนี้มีมั้ย
- มีเห็นแล้วชอบหรือไม่ชอบสิ่งที่เห็นแต่จิตก่อนนั้นหลังนั้นไม่ปรากฏ ที่เห็นเป็นจิตประเภท ๑ เท่านั้นเกิดขึ้นทำกิจเห็น จิตอื่นสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ทำกิจ "เห็น” ไม่ได้ เฉพาะจิต ๑ ที่เกิดขึ้นทำกิจเห็นแจ้งสิ่งที่ปรากฏจึงทำ “ทัสสนกิจ” จักขุวิญญาณรู้ได้เพราะกำลังเห็นหลังจากนั้นชอบหรือไม่ชอบที่รู้ได้ว่า ชอบหรือไม่ชอบเกิดดับสืบต่อ ๗ ขณะจึงรู้ได้ว่า ชอบหรือไม่ชอบเพราะเกิดซ้ำๆ กัน ๗ ขณะ
- เพราะฉะนั้นวันนึงๆ หลับสนิทแล้วก็ตื่นขึ้นเห็นแล้วก็ชอบหรือไม่ชอบสิ่งที่เห็น ได้ยินชอบหรือไม่ชอบเสียงที่ได้ยิน ได้กลิ่นชอบหรือไม่ชอบกลิ่น กระทบสัมผัสชอบหรือไม่ชอบเท่านั้นในวันหนึ่งที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย
- คุณอาช่าเห็นคุณสุคินมั้ยคะ (เห็น) เห็นอะไรที่เป็นคุณสุคิน (เห็นสีต่างๆ กัน) เห็นคิ้วคุณสุคินมั้ยคะ (ถ้าสังเกตก็เห็น) แต่ความจริงเห็นอะไร ไม่ใช่คิ้วหรือเป็นคิ้ว (ความจริงเห็นแต่สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสีใดสีหนึ่ง
- เพราะฉะนั้นเห็นคุณสุคินหรือเห็นเพียงสิ่งที่ปรากกทางตาขณะที่เห็น เคยรู้อย่างนี้มาก่อนไหมอะไรเป็นความจริง
- มีคุณสุคินไหม มีอาช่าไหม เริ่มรู้ความจริง ไม่มีอะไรนอกจากธรรมที่เกิดขึ้นทำกิจต่างๆ
- เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง ทรงแสดงความจริงถึงที่สุดให้คนอื่นสามารถรู้ความจริงด้วยได้
- ความไม่รู้มีจริงๆ ไหม ความรู้มีจริงไหม ความรู้เป็นคนรึเปล่า ความรู้ความเข้าใจเป็นจิตหรือเปล่า เป็นอะไร (เจตสิก) หมายความว่า? (เป็นเจตสิกเพราะเข้าใจว่า ไม่ได้เป็นจิตแต่เกิดกับจิตรู้อารมณ์เดียวกับจิต ทำกิจของตัวเอง)
- เดี๋ยวนี้มีความเข้าใจไหม เป็นคุณอาช่าเข้าใจรึเปล่า เป็นอะไร (เป็นเจตสิก) ไม่ใช่เป็นชื่อ เป็นสิ่งที่มีจริงที่มีลักษณะต่างกับสภาพที่มีจริงอื่นๆ ไม่อยากจะให้เขาจำชื่อแล้วตอบชื่อ
- เข้าใจมีจริงๆ กำลังเข้าใจแต่ตอบว่า “เข้าใจเป็นเจตสิก” ทำให้ขณะนั้นไม่รู้ลักษณะความจริงของความเข้าใจ
- เห็นมีจริงๆ ถามว่า “เห็นคืออะไร” ตอบว่า “เห็นคือจิต” กับเห็นมีจริงๆ เป็นธาตุรู้ที่กำลังเห็นอะไรจะชัดเจนกว่ากัน
- ศึกษาธรรมไม่ใช่ศึกษาชื่อและเรื่องของสิ่งที่มีจริงแต่ศึกษาเพื่อรู้จัก รู้จริงๆ ว่า สิ่งที่มีจริงๆ คืออะไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงคืออะไร (สิ่งที่มีจริงคือ มีอะไรที่รู้อะไร)
- สิ่งที่มีจริงคือ สิ่งที่กำลังปรากฏมีลักษณะต่างๆ สิ่งที่มีจริงมีลักษณะต่างๆ แต่ละหนึ่งเท่านั้น สิ่งที่มีจริงไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยที่เคยจำว่า เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ แต่สิ่งที่มีจริงมีลักษณะเฉพาะแต่ละหนึ่งๆ
- สิ่งที่มีจริงกำลังปรากฏว่า มีจริงแต่ละ ๑ สิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งเป็นแต่ละหนึ่งเท่านั้น เท่านั้นจริงๆ
- ฟังคำที่กล่าวถึงความจริงของสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งจนสามารถเข้าใจถูกต้องในสิ่งที่กำลังปรากฏแต่ละหนึ่ง
- แข็งมีจริง แข็งเป็นนิ้วไม่ได้ แข็งเป็นคนไม่ได้ แข็งเป็นรองเท้าไม่ได้ แข็งเป็นโต๊ะไม่ได้ แข็งเป็นแข็งจริงรึเปล่า
- สิ่งที่มีจริงเป็น ๑ เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย เราจะเรียกสิ่งที่มีจริงว่า “ธรรม” ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส
- แข็งมีจริง แข็งเป็นแข็ง แข็งไม่ใช่โต๊ะไม่ใช่คนเพราะฉะนั้นแข็งเป็น “อนัตตา” ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดแน่นอน
- ถ้าไม่รู้จักธรรมไม่รู้จักสิ่งที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้ คิดว่าศึกษาธรรมเป็นคำเป็นเรื่องแต่ไม่รู้จักธรรมที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นฟังแล้วต้องไตร่ตรองละเอียดลึกซึ้งจนมั่นคงว่า ความจริงเป็นอย่างนั้น
- กระทบสิ่งหนึ่งเดี๋ยวนี้ มีอะไรปรากฏ (แข็ง) เลื่อนมือไปอีกนิดนึงอะไรปรากฏ (ยังเป็นแข็ง) แข็งเดี๋ยวนี้กับแข็งเมื่อกี้นี้ยังเป็นแข็งเดียวกันรึเปล่า (ไม่ใช่อันเดียวกัน) เพราะฉะนั้นกำลังรู้แข็งเมื่อกี้นี้กำลังกำลังรู้แข็งเดี๋ยวนี้เป็นขณะเดียวกันรึเปล่า (ไม่ได้เป็นแข็งเดียวกัน) พร้อมกันได้ไหม (ไม่ได้) แสดงว่า ขณะหนึ่งเกิดขึ้นดับแล้วมีขณะที่เกิดขึ้นต่อดับ
- แสดงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดดับโดยเราไม่รู้เลย ไม่มีใครรู้ว่าดับแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าไม่ฟังไม่ไตร่ตรองก็จะไม่รู้ความจริงว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏดับ
- สิ่งที่ดับแล้วกลับมาเกิดอีกได้ไหม เป็นความจริงของชีวิตทุกขณะใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้อย่างนี้ชื่อว่า เข้าใจธรรม ศึกษาธรรมรึเปล่า เพราะฉะนั้นศึกษาธรรมเริ่มจากอะไร (เริ่มจากตอนนี้) ตอนนี้อะไร (เริ่มจากสิ่งที่ปรากฏตอนนี้) เริ่มจากค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง ถ้าไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ชื่อว่า “ศึกษาธรรม” รึเปล่า
- เหนื่อยมั้ย เบื่อมั้ย (ไม่เบื่อแต่มีธุระต่อก็จะคอยดูเวลา) แล้วขณะที่ดูเวลาคืออะไร (มีความติดข้อง) อะไรอีก (ความไม่รู้) อะไรอีก (มีคิด) อะไรอีก (มีมโนทวาราวัชชนะ) ใช่ค่ะ มีหลายอย่างที่เราไม่รู้จนกว่าจะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเริ่มรู้ว่า มีจริงแต่ละหนึ่งหมดแล้ว
- เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจความจริงแต่ยังไม่รู้จักธรรมจริงๆ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นยังไม่พอใช่ไหมเพราะฉะนั้นขณะที่มีปัจจัยที่จะได้ฟังธรรมสามารถจะฟังแล้วเข้าใจได้จนกว่ากำลังดูนาฬิกาก็เป็นธรรม
- กำลังคอย กำลังหวัง กำลังรอเวลาที่จะไปก็เป็นธรรม ไม่มีขณะไหนซึ่งไม่มีธรรม แต่วันนึงๆ ธรรมต่างกันมากหลากหลายมากจนกว่าจะเข้าใจขึ้น
- กำลังเห็นเป็นขณะที่คิดจะไปรึเปล่า รู้ไหมว่าจะได้ไปรึเปล่า นี่เริ่มรู้ความจริงเปลี่ยนไม่ได้เลย ทุกอย่างเป็นอนัตตา สบายขึ้นไหม ไม่เดือดร้อนใจถึงเวลาก็ไปเท่านั้นเอง
- คุณอาช่าอยากจะไปเดี๋ยวนี้ก็ได้ค่ะ (งั้นต่ออีก ๑๐ นาที) ทุกขณะเป็นธรรม ไม่ใช่คุณอาช่าที่เลือกว่า “อีก ๑๐ นาทีจะไป” แต่เป็นความคิดเท่านั้น
- คิดอย่างนั้นก็เกิดเพราะปัจจัย ทำไมไม่คิดว่า อีก ๒ นาที อยู่ที่ไหนก็ไม่ลำบากใจไม่เดือดร้อนเพราะเข้าใจธรรม
- ความเดือดร้อนใจมีจริงๆ ไหม เกิดแล้วตามปัจจัย ไม่มีใครไปทำเพราะฉะนั้นความเข้าใจถูกรู้ว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรจริง อะไรไม่จริง
- ความจริงปรากฏตลอดเวลาขึ้นอยู่กับว่า มีปัจจัยที่จะให้สนใจที่จะให้เข้าใจที่จะเห็นประโยชน์รึเปล่า บังคับได้ไหม เกิดแล้ว คิดแล้ว
- ไม่ว่าจะคิดอะไร ไม่ว่าจะเป็นอะไร ทุกอย่างเกิดเพราะปัจจัย ถ้าไม่ใช่ปัจจัยที่จะให้เกิดก็เกิดไม่ได้
- นี่เป็นหนทางเดียวหนทางที่ละเอียดลึกซึ้ง ไม่มีใครรู้ว่า กำลังเป็นหนทางที่จะให้รู้ความจริงเมื่อเข้าใจเท่านั้น
- ถ้าพยายามจะรู้ความจริงอยากจะรู้ความจริงมากๆ ทำทุกอย่างจะรู้ความจริงได้ไหม (ไม่ได้) มั่นคงไหม สัจจบารมี อธิษฐานบารมี
- “ไปรึยัง” หรือ “ยังจะไม่ไป” เป็นอะไรคะ (คิด) ถูกต้องไม่ใช่คุณอาช่าไม่ใช่ใครเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีปรากฏจริงๆ ก็คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ชอบไม่ชอบและคิดนึก
- กี่กิจแล้ว นับทีละหนึ่ง (ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ อาวัชชนะ ปัญจวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ)
- ชอบไม่ชอบเป็นชวน ทำไมเป็นชวน (แค่รู้ว่าเป็นการคิดยังไม่รู้เหตุผล) ไม่ใช่คิด ชอบหรือไม่ชอบยังไม่คิดก็เกิดได้ ทางตาไม่ได้คิดเลย
- รูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ขณะนั้นรูปยังไม่ได้ดับและที่เป็นชวนเพราะชวนเกิดซ้ำกัน๗ ขณะทำให้ปรากฏรู้ได้ว่า ชอบหรือไม่ชอบ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
- เพราะฉะนั้นเขายังไม่รู้ว่า จิตที่ทำชวนกิจทำได้เมื่อไหร่ ขณะเดียวทำไม่ได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดต่อไปว่า ชวนจิตจะเกิดน้อยกว่า ๗ ขณะก็ได้บางครั้งก่อนตายและเกิดมากกว่า ๗ ก็ได้เวลาที่เป็นสมาบัติ เพราะฉะนั้นเรายังไม่พูดถึง เราพูดถึงปกติธรรมดาก่อน
- เพราะฉะนั้นเรื่องของชวนกับโวฏฐัพพนะเราจะพูดถึงอีกครั้งหนึ่งคราวหน้า ยินดีในกุศลของทุกคนนะคะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ ยินดีในกุศลของคุณสุคินและคุณอาช่าครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณตู่ ปริญญ์วุฒิ ค่ะ