การให้อภัยหรือไม่ถือโทษหรือไม่โกรธเมื่อผู้อื่นล่วงเกินต่อเรา สภาพจิตในขณะ
นั้นเป็นสภาพจิตที่ดี เป็นกุศลจิต ผลของจิตที่ดีย่อมเป็นวิบากที่ดี ย่อมนำมาซึ่ง
ความสุขความเจริญ กุศลคือการให้อภัยนี้ สูงกว่าการให้ทานเสียอีก บางคน
อาจจะให้อภัยยากกว่าการให้วัตถุทาน
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่...
รู้ตัวว่าผิดแล้วสารภาพผิด [กัสสปมันทิยชาดก]
การให้อภัย คือให้ความไม่มีภัย ภัยที่เกิดจากการกระทำทางกาย วาจา เป็นต้น ขณะที่คนอื่นมาขอโทษก็ให้อภัย ให้ความไม่มีภัยด้วยการยกโทษให้ ขณะที่ให้อภัยเป็นกุศลจิต เพราะขณะนั้นไม่ผูกโกรธ เหตุดีผลย่อมดีครับ ประโยชน์ของการให้อภัยคือ เริ่มจากตัวเอง ขัดเกลากิเลสของตนเองแทนที่จะสะสมความผูกโกรธมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ให้อภัยได้ในโทษความผิดของคนอื่น และที่สำคัญก็เป็นประโยชน์กับคนอื่นเพราะเขาเองก็สบายใจ ให้ความสบายใจ ไม่มีภัยกับบุคคลที่ทำผิดด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อให้อภัยแล้วจะต้องไปสนิทสนม เพราะต้องเลือกบุคคลที่คบ ถ้าคนพาลก็ไม่ควรเสพคุ้นไม่ว่าเรื่องอะไร เพราะทำให้เสื่อม กาย วาจารวมทั้งความคิดก็จะคล้อยไปในทางที่ผิดทีละเล็กละน้อย แต่ก็สามารถให้อภัยได้ แม้คนที่เป็นคนพาลที่ทำผิด ประโยชน์สูงสุด คือขัดเกลากิเลสตนเองและการสะสมความเห็นถูกครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาครับ
ผู้ที่ได้รับการให้อภัย ถ้าเขามีการสะสมมาที่จะเห็นในคุณธรรม ความดี ความเมตตาในบุคคลที่สามารถที่จะให้อภัยในความผิดแม้ร้ายแรงของเขาได้ เขาก็ย่อมจะได้รับความสุขใจที่เป็นกุศล ย่อมพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขตัวเองใหม่ได้ เช่น พระเทวทัตก่อนที่จะมรณภาพด้วยธรณีสูบก็ยังเห็นถึงพระพุทธคุณของพระผู้มีพระภาค ที่ทั้งทรงเตือนในความผิดร้ายแรงที่ท่านได้ก่อไว้ ทั้งทรงให้อภัยในทุกๆ ความผิดของท่าน สุดท้าย พระเทวทัตก็ได้สติ จึงบูชาพระพุทธองค์ด้วยคางของท่านเองครับ
สาธุ
การให้อภัยคือให้ความสุขเขา เป็นสิ่งที่ดีสุดทั้งผู้ให้และผู้รับค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ