๑๘. อตีตติกะ - อนุโลมติกปัฏฐาน
โดย บ้านธัมมะ  23 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42222

[เล่มที่ 87] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๓

อนุโลมติกปัฏฐาน

๑๘. อตีตติกะ

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย 596

๑. เหตุปัจจัย 596

๒. อารัมมณปัจจัย 596

๓. อธิปติปัจจัย 598

๔. อนันตรปัจจัย 600

๕. สมนันตรปัจจัย 601

๖. สหชาตปัจจัย ฯลฯ ๘. นิสสยปัจจัย 601

๙. อุปนิสสยปัจจัย 601

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย 603

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย 604

๑๒. อาเสวนปัจจัย 604

๑๓. กัมมปัจจัย 605

๑๔. วิปากปัจจัย 606

๑๕. อาหารปัจจัย ฯลฯ ๒๐. วิปปยุตตปัจจัย 606

๒๑. อัตถิปัจจัย 607

๒๒. นัตถิปัจจัย ๒๓. วิคตปัจจัย 607

๒๔. อวิคตปัจจัย 607

การนับจํานวนวาระในอนุโลม 608

ปัจจนียนัย 608

การยกปัจจัยในปัจจนียะ 608

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 609

อนุโลมปัจจนียนัย 609

การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 609

ปัจจนียานุโลมนัย 610

การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 610

อรรถกถาอุปปันนติกะและอตีตติกะ 610


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 87]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 596

๑๘. อตีตติกะ

ปัญหาวาระ (๑)

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๑๙๑๗] ๑. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

๒. อารัมมณปัจจัย

[๑๙๑๘] ๑. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม แล้วพิจารณา.

บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.

บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน.

พระอริยะฟังหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละแล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว.


๑. ติกะนี้ไม่มีวาระทั้ง ๖ มีปฏิจจวาระเป็นต้น ดูอรรถกถาอธิบาย.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 597

บุคคลพิจารณาเห็นจักษุที่เป็นอตีตธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลพิจารณาเห็นโสตะที่เป็นอตีตธรรม ฯลฯ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอตีตธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๙๑๙] ๒. อนาคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลย่อมพิจารณาเห็น จักษุที่เป็นอนาคตธรรม ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคตธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 598

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่อนาคตตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๙๒๐] ๓. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลย่อมพิจารณาเห็น จักษุที่เป็นปัจจุปปันนธรรม ฯลฯ กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๓. อธิปติธรรม

[๑๙๒๑] ๑. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ

บุคคลกระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 599

บุคคลออกจากฌาน การทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา, กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นอตีตธรรม ฯลๆ กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอดีตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

[๑๙๒๒] ๒. อนาคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นอนาคตธรรม ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

[๑๙๒๓] ๓. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 600

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นปัจจุปปันนธรรม ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปับนนธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก แน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

๔. อนันตรปัจจัย

[๑๙๒๔] ๑. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอตีตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ โคตรภู.

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ โวทาน.

โคตรภู เป็นปัจจัยแก่ มรรค.

โวทาน เป็นปัจจัยแก่ มรรค.

มรรค เป็นปัจจัยแก่ ผล.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 601

ผล เป็นปัจจัยแก่ ผล.

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติ.

เนวสัญญานาสัญาญายตนะของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

๕. สมนันตรปัจจัย

[๑๙๒๕] ๑. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปันนธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย.

๖. สหชาตปัจจัย ฯลฯ ๘. นิสสยปัจจัย

[๑๙๒๖] ๑. ปัจจุปปันนนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ฯลฯ

๙. อุปนิสสยปัจจัย

[๑๙๒๗] ๑. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 602

บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอตีตธรรมแล้วย่อมให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌาน ฯลฯ ยังวิปัสสนา ฯลฯ ยังมรรค ฯลฯ ยังอภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.

บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอตีตธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกายแล้วย่อมให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ย่อมฆ่าสัตว์ ทำลายสงฆ์.

ศรัทธาที่เป็นอดีตธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นปัจจุปปันนธรรม แก่ปัญญา แก่ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๙๒๘] ๒. อนาคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลปรารถนาจักษุสมบัติที่เป็นอนาคตธรรม โสตสมบัติ ฆานสมบัติ ชิวหาสมบัติ กายสมบัติ วรรณสมบัติ สัททสมบัติ คันธสมบัติ รสสมบัติ ปรารถนาโผฏฐัพพสมบัติ ฯลฯ ปรารถนาขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคตธรรมแล้ว ให้ทาน สมาทานศีลฯสฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 603

จักษุสมบัติที่เป็นอนาคตธรรม ฯลฯ วรรณสมบัติ ฯลฯ โผฏฐัพพสมบัติ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นปัจจุปปันนธรรม แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๙๒๙] ๓. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยอุตุที่เป็นปัจจุปปันนธรรมแล้ว ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนา ฯลฯ

บุคคลเข้าไปอาศัยโภชนะที่เป็นปัจจุปปันนธรรม ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

อุตุที่เป็นปัจจุปปันนธรรม ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัย แก่ศรัทธาที่เป็นปัจจุปปันนธรรม แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

[๑๙๓๐] ๑. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 604

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ

ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่

จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ.

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปันนธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย

[๑๙๓๑] ๑. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปันนธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

๑๒. อาเสวนปัจจัย

[๑๙๓๒] ๑. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วย อำนาจของอาเสวนปัจจัย


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 605

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอตีตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน

โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค

โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

๑๓. กัมมปัจจัย

[๑๙๓๓] ๑. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ที่เป็นปัจจุปปันนธรรม และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๙๓๔] ๒. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 606

๑๔. วิปากปัจจัย

[๑๙๓๕] ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นปัจจุปปันธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจ ของวิปากปัจจัย.

๑๕. อาหารปัจจัย ฯลฯ ๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

[๑๙๓๖] ๑. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของฌานปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจ ของวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย,


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 607

ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งรูปหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

๒๑. อัตถิปัจจัย

[๑๙๓๗] ๑. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย เหมือนกับอัตถิปัจจัย ในอุปปันนติกะ.

๒๒. นัตถิปัจจัย ๒๓. วิคตปัจจัย

[๑๙๓๘] ๑. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วย อำนาจของนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย.

๒๔. อวิคตปัจจัย

[๑๙๓๙] ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 608

การนับจำนวนในอนุโลม

[๑๙๔๐] ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย

การยกปัจจัยในปัจจนียะ

[๑๙๔๑] อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย. เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๙๔๒] อนาคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๙๔๓] ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย. เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 609

เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ ปุเรชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๑๙๔๔] ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียนัย จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ

[๑๙๔๕] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตร ปัจจัยมี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 610

ปัจจนียานุโลม

การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม

[๑๙๔๖] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัยมี ๑ วาระ แต่ละปัจจัยต่อจากนี้ มี ๑ วาระเท่านั้น ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียานุโลมนัย จบ

ปัญหาวาระ จบ

อตีตติกะ ที่ ๑๘ จบ

อรรถกถาอุปปันนติกะและอตีตติกะ

ใน อุปปันนติกะ และ อตีตติกะ ก็เหมือนกัน. สองบทว่า อเหตุกํ มคฺคารมฺมณํ ในปัจจนียนัย ตรัสหมายถึงอเหตุกะ อาวัชชนจิต (คือ มโนทวาราวัชชนจิต) ซึ่งมีมรรคเป็นอารมณ์ คำที่เหลือในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึง ทราบตามแนวแห่งบาลี.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 611

ใน อุปปันนติกะ และ อตีตติกะ ย่อมไม่มีปฏิจจวาระเป็นต้น มีแต่ปัญหาวาระเท่านั้น. เพราะเหตุไร. เพราะปฏิจจวาระเป็นต้น มีเฉพาะแต่สหชาตปัจจัยและปุเรชาตปัจจัยเท่านั้น. อนึ่ง ติกะเหล่านั้น มีธรรมทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตปนกัน ก็ปัจจัยทั้งหลายที่เป็นพวกแห่งอนันตรปัจจัย ย่อมไม่ได้ในอุปปันนติกะนี้. เพราะเหตุไร. เพราะในอุปปันนติกะไม่มีธรรมที่ เป็นอดีต ก็ในอธิการนี้ ธรรม ๒ เหล่านั้นคือธรรมที่เกิดขึ้นแล้วและธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เป็นปัจจัยโดยปัจจัยไรๆ แก่ธรรม ๒ เหล่านี้ คือ ธรรมที่เกิดแล้วและธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น. ส่วนธรรม ๒ เหล่านั้นคือธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นและที่กำลังเกิดขึ้น เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยปัจจัย ๒ คืออารัมมณปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย คำที่เหลือในอธิการนี้ผู้ศึกษาพึงทราบตามนัยอัน กล่าวมาแล้วในพระบาลี.

ใน อตีตติกะ ธรรมที่เป็นปัจจุบันไม่เป็นปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง แก่ธรรมที่เป็นอดีตและอนาคต หรือธรรมที่เป็นอดีตและอนาคต ย่อมไม่เป็น ปัจจัยโดยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ธรรมที่เป็นอดีตและอนาคต ก็นิพพานย่อม ไม่ได้โดยความเป็นปัจจัย (และ) โดยความเป็นปัจจยุบบันในติกะทั้งสองเหล่านี้ คำที่เหลือในอธิการนี้พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในบาลี.

อรรถกถาอุปปันนติกะ และอตีตติกะ จบ