พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 118
อรรถกถาอนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙
บทว่า อนิมิตฺตํ เจโตสมาธิ นั้น พระเถระกล่าวหมายถึงวิปัสสนา- สมาธิ ทูลนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นได้แล้วเป็นไป. บทว่า อนิมิตฺตานุสาริวิญฺญาณํ โหติ ความว่า เมื่อเราอยู่ด้วยวิปัสสนาสมาธิวิหารธรรมนี้อย่างนี้ วิปัสสนาญาณก็แก่กล้า ละเอียดนำไปอยู่เหมือนเมื่อบุรุษเอาขวานที่คม ตัดต้นไม้อยู่ มองดูอยู่ซึ่งคมขวานในทุกขณะด้วยคิดว่า ขวานของเรา จริงหนอดังนี้ กิจในการตัด ก็ย่อมไม่สำเร็จฉันใด แม้พระเถระ ปรารภ วิปัสสนาด้วยคิดว่าญาณของเราแก่กล้าจริงหนอดังนี้ ความใคร่ ก็ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเถระนั้น ก็ไม่สามารถให้วิปัสสนากิจสำเร็จได้ ฉันนั้น. พระเถระหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า อนิมิตฺตานุสาริวิญฺญาณํ โหติ. บทว่า สพฺพนิมิต ตานํ อมนสิการา อนิมิตฺตํ เจโตสมาธิ อุปสมฺปชฺช วิหาสึ ความว่า เราเข้าเจโตสมาธิที่สัมปยุตด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา และสมาธิในมรรคและผลเบื้องสูง ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ อันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตว่าเที่ยงเป็นสุขเป็นตน ทั้งปวงอยู่แล้ว
จบ อรรถกถาอนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙
ยินดีในกุศลจิตค่ะ