อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 91
[อธิบายโสภณเจตสิก] ธรรมชาติที่ชื่อว่าสัทธา เพราะอรรถว่า เชื่อ ได้แก่ความเสื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นต้น ฯ ศรัทธานั้นมีอันทำสัมปยุตตธรรมให้ผ่องใสเป็นลักษณะ ประดุจแก้วมณีทำน้ำให้ในฉะนั้น ฯ ความระลึกได้ ชื่อว่าสติได้แก่ความไม่ฟั่นเฟือน ฯ สตินั้น มีอันยังสัมปยุตธรรมให้แล่นไปเป็นลักษณะ ฯ ธรรมชาติที่ชื่อว่าหิริ เพราะอรรถว่า เกรง ฯ เอตตัปปะนั้นมีทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น ฯ หิรินั้น เปรียบเหมือนหญิงสาวในสกุลเพราะเกลียดแต่สิ่งชั่วด้วยอำนาจเคารพตน ฯ หิริ เปรียบเหมือนอันสะดุ้งกลัวบาปเป็นลักษณะ ฯ หิริ เปรียบเหมือนหญิงสาวในสกุลเพราะเกลียดแต่สิ่งชั่วด้วยอำนาจเคาระตน ฯ โอตตัปปะ เปรียบเหมือนหญิงแพศยา เพราะเกรงแต่สิ่งชั่วด้วยอำนาจเคารพผู้อื่นๆ ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะ ชื่อว่าอโลภะ ฯ อโลภะนั้น มีความที่จิตไม่ติดอยู่ในอารมณ์เป็นลักษณะ เปรียบเหมือนภิกษุผู้หลุดพ้นแล้ว ฯ ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโทสะ ชื่อว่าอโทสะ ฯ อโทสะนั้น มีความไม่เกรี้ยวกราด เป็นลักษณะ เหมือนมิตรผู้อนุกูล ฯ ความเป็นกลางในธรรมนั้นๆ ชื่อว่าตัตรมัชฌัตตตา ฯ ตัตรมัชฌัตตตานั้น มีความเพ่งดูจิตและเจตสิกเป็นลักษณะ เปรียบเหมือนนายสารถีคอยดูม้าตัวที่วิ่งไปสม่ำเสมอฉะนั้น ฯความสงบกายและจิตเป็นลักษณะ ฯ ความเบากาย ชื่อว่าจิตตปัสสัทธิ ฯก็กายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิทั้ง ๒ นี้ ความเบากาย ชื่อว่ากายลหุตา ฯความเบาจิต ก็อย่างนั้น ฯ ความเบากายและความเบสจิตนั้น มีการทำความหนักกายและจิตให้สงบเป็นลักษณะ ฯ ความอ่อนสลวยแห่งกายชื่อกายมุทุตา ฯ จิตตมุทุตาก็อย่างนั้น ฯ กายมุทุตาและจิตตมุทุตานั้นมีการทำความแข็งกระด้างแห่งกายและจิตให้ระงับเป็นลักษณะ ฯ
สาธุ