ขออนุญาตกราบเรียนถามท่านผู้รู้ครับ
จากการที่ได้อ่านหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป และฟังไฟล์เสียงธรรมะของท่านอาจารย์
สุจินต์และคณะวิทยากรฯ ก็พอจะมีความเข้าใจในธรรมะขึ้นมาบ้างจากที่ไม่เคยมีความรู้
มาก่อนเลย แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่ไม่รู้เหลือเกิน ใคร่ขอคำชี้แนะ
## ประการแรก "ความรู้สึก เจ็บ ปวด เมื่อย คัน หิว" เกิดจากอะไรครับ
จากการศึกษาทำให้เข้าใจว่า...
1. รูปที่จะกระทบกายปสาทรูป เกิดเป็น วิถีจิตทางกายทวารได้มีเพียง เย็นร้อน (เตโชธาตุ)
อ่อนแข็ง (ปฐวีธาตุ) ตึงไหว (วาโยธาตุ)
2. เวทนาทางกายจะต้องเป็น ทุกขเวทนา หรือ สุขเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
3. กายวิญญาณ เป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรมหนึ่งกรรมใดในอดีตที่ได้กระทำแล้ว
4. การจะรับผลของกรรมจะมีทางรับได้ 5 ทางเท่านั้นคือทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย
5. ความรู้สึก เจ็บ ปวด เมื่อย คัน หิว เป็น โทมนัสเวทนา รับรู้ได้ทางมโนทวาร จะรู้ทาง
กายทวารไม่ได้เพราะกายทวารรู้ได้เพียงมหาภูตรูป 3 ที่กล่าวมา
ดังนั้นหากมีคนมาชกหน้าเรา วิถีจิตทางกายทวารเกิดรู้แข็ง แล้วดับไป วิถีจิตทางมโน
ทวารเกิดต่อจึงรู้ว่า "เจ็บปวด" อันนี้พอจะเข้าใจได้
แต่บางครั้งเวลาที่เราเกิดโทมนัสเวทนาเช่นอยู่ๆ ก็ปวดท้อง ปวดหัวขึ้นมาโดยเหมือนว่า
ไม่มีอะไรกระทบร่างกายส่วนนั้นเลย ผมจึงสงสัยว่าอาการไม่สบายกายต่างต่างนานา ที่
เหมือนว่า "อยู่ๆ ก็เกิดขึ้นเอง" นั้นมีปัจจัยอะไรให้เกิดขึ้น
หรือบางทีเขาชกหน้าเราเสร็จ "แข็ง" ดับไปนานแล้วแต่ทำไมยัง "ปวด" ต่อได้ตั้ง
หลายนาทีหลายชั่วโมง
## ประการที่สอง "ความง่วงคืออะไร" คือ ถีนมิทธเจตสิก ใช่หรือไม่ครับ
## ประการที่สาม "ชวนจิต 7 ขณะ ทางปัญจทวาร และ ชวนจิต 7 ขณะทางมโนทวาร
ที่เกิดต่อเป็นจิตประเภทเดียวกันหรือไม่"
เช่น เห็นบางทีเห็นดอกไม้สีสวย ชวนจิตทางจักขุทวารอาจเป็นโลภมูลจิตเพราะชอบ
ใน"สีสวย" แล้ววิถีจิตทางมโนทวารเกิดต่อโดยมีชวนจิตทางมโนทวารที่เป็นโลภมูลจิต
ที่ชอบ"ดอกไม้สวย"
แต่สมมติว่าเราเคยโดนหนามแหลมในดอกไม้ทิ่มมือ จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ชวนจิตทาง
จักขุทวารเป็นโลภมูลจิตที่ชอบ "สีสวย" แต่ชวนจิตของวิถีจิตทางมโนทวารอาจเป็น
โทสมูลจิตที่ ไม่ชอบ "ดอกไม้นี้หนามแหลมคม"อย่างนี้ได้หรือไม่
## ประการที่สี่ "หลังจากวิถีจิตทางปัญจทวารดับไปแล้วภวังคจิตหลายขณะเกิดต่อ
จากนั้นจึงเกิด วิถีจิตทางมโนทวารต่อ...พอจะมีการประมาณได้หรือไม่ว่า วิถีจิตทางมโน
ทวารนั้นจะเกิดต่อกันกี่วาระกว่าที่จะเกิดวิถีจิตทางปัญจทวารเกิดขึ้นอีก แล้วแต่ละวาระ
ของมโนทวารวิถีจิตจะต้องมีภวังคจิตขั้นหรือไม่"
กราบขออภัยที่ถามเยอะ และบางอย่างเป็นสิ่งที่ปัญญาของผมไม่อาจรู้ได้ แต่ก็สงสัยมา
นานแล้วจริงๆ ครับ
หากสิ่งที่ผมเข้าใจมีความผิดพลาดต้องกราบขออภัยและขอคำชี้แนะเพื่อการแก้ไขด้วย
ครับขอกราบขอบพระคุณในความกรุณาล่วงหน้าครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
จากคำถามที่ว่าแต่บางครั้งเวลาที่เราเกิดโทมนัสเวทนาเช่นอยู่ๆ ก็ปวดท้อง ปวดหัวขึ้นมาโดยเหมือนว่า
ไม่มีอะไรกระทบร่างกายส่วนนั้นเลย ผมจึงสงสัยว่าอาการไม่สบายกายต่างต่างนานา ที่
เหมือนว่า "อยู่ๆ ก็เกิดขึ้นเอง" นั้นมีปัจจัยอะไรให้เกิดขึ้น
------------------------------------------------------------------------------------
ถ้าเราพูดกันตรงๆ โดยความเป็นเหตุปัจจัยหลัก คือ เพราะ กรรมเป็นปัจจัย คือ อกุศลกรรมในอดีตที่ได้กระทำแล้ว ทำให้เกิดทุกขเวทนาทางกายขึ้นครับ คือเป็นผลของกรรมที่ไม่ดี ส่วนขณะที่ทุกข์ใจ ที่เป็นโทมนัสเวทนา เกิดจากจิตที่ประกอบด้วยโทสเจตสิก ที่เป็นอกุศล ไม่ใช่วิบาก-ที่เป็นผลของกรรมครับ ส่วนปวดท้องบ่อยๆ ก็เพราะกรรมไม่ดี (ที่ได้กระทำแล้ว) ให้ผล ไม่ใช่เพียงขณะเดียว หลายๆ ขณะก็ได้ครับ.
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ประการที่สอง "ความง่วงคืออะไร" คือ ถีนมิทธเจตสิก ใช่หรือไม่ครับ
---------------------------------------------------------------------
ถีนะ หมายถึง ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซาอาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต. มิทธะ หมายถึง ความไม่ควรแก่การงาน-แห่งนามกาย ความปกคลุม ความหุ้มห่อ ความปิดบังไว้ภายใน ความง่วงเหงา ความหาวนอน ความโงกง่วง อาการที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน
ความง่วง หลักๆ จึงหมายถึง มิทธะเจตสิก ครับ แต่ขณะที่ง่วง ก็มีความหดหู่ ความไ่ม่ควรแก่การงาน ที่เ่ป็นลักษณะของ ถีนะ เกิดร่วมด้วย ครับ.
ประการที่สาม "ชวนจิต 7 ขณะ ทางปัญจทวาร และ ชวนจิต 7 ขณะทางมโนทวารที่
เกิดต่อเป็นจิตประเภทเดียวกันหรือไม่" เช่น เห็นบางทีเห็นดอกไม้สีสวย ชวนจิตทาง
จักขุทวารอาจเป็นโลภมูลจิตเพราะชอบใน "สีสวย" แล้ววิถีจิตทางมโนทวารเกิดต่อ
โดยมีชวนจิตทางมโนทวารที่เป็นโลภมูลจิตที่ชอบ "ดอกไม้สวย" แต่สมมติว่าเราเคย
โดนหนามแหลมในดอกไม้ทิ่มมือ จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ชวนจิตทางจักขุทวารเป็นโลภ
มูลจิตที่ชอบ "สีสวย"แต่ชวนจิตของวิถีจิตทางมโนทวารอาจเป็นโทสมูลจิตที่ ไม่
ชอบ "ดอกไม้นี้หนามแหลมคม"อย่างนี้ได้หรือไม่
-------------------------------------------------------------------------------
ชวนจิต ทางปัญจทวารวิถี และ ทางมโนทวารวิถี ในวาระแรก จะเหมือนกันครับ คือ ถ้าทางปัญจทวารวิถี...ชวนจิตเป็นกุศล ทางมโนทวารวิถี ก็เป็นกุศลด้วย เป็นกุศลประเภทเดียวกัน ถ้าทางปัญจทวารวิถี เป็นอกุศล ทางมโนทวารก็เป็นอกุศลด้วย เป็นอกุศลประเภทเดียวกัน นี่คือ วาระแรกครับ จะเหมือนกัน. ส่วนที่ผู้ถามกล่าวว่า ขณะเห็นแล้วชอบ เป็นโลภะ แต่ขณะที่กระทบสัมผัส โดนหนามแหลมก็เกิดโทสะทางมโนทวาร อันนี้ต้องพิจารณาให้ละเอียด ในเรื่องการเกิดดับของจิตในแต่ละวาระครับ. ขณะที่เห็น เป็นทางจักขุทวารวิถี ใช่ไหมครับ แต่ขณะที่กระทบสัมผัส ไม่ใช่จักขุทวารวิถีแล้ว แต่เป็นกายทวารวิถี ดังนั้น เราจะไม่เอามาปนกัน แล้วตัดสิน ตรงมโนทวารวิถี เพราะในวาระแรกของการเห็นที่เป็นทางจักขุทวารวิถี ขณะนั้น ชวนจิตที่เกิด เป็นโลภะ ดังนั้น ทางมโนทวารวิถี ก็ต้องเป็นโลภะด้วย นี่พูดถึงทางจักขุทวารครับ ไม่ปนกับกายทวารที่กระทบสัมผัส แต่เมื่อชอบ (โลภะ) เกิดแล้ว ทางปัญจทวารวิถี ทางมโนทวารวิถีในวาระหลังๆ ไม่ใช่วาระแรก สามารถที่จะเกิดกุศล หรือ อกุศลได้ ซึ่งไม่เหมือนกับปัญจทวารได้ครับ ต้องเป็นมโนทวารวิถีในวาระหลังๆ ส่วนขณะที่โดนหนามตำ ขณะนั้นเป็นทางกายทวารวิถี จะมาปนกับทางจักขุทวารวิถีไม่ได้แล้ว เพราะขณะที่กระทบสัมผัสสิ่งที่ไม่ดี ในวาระแรก ชวนจิตเป็นอกุศล เป็นโทสะ ชวนจิตทางมโนทวารที่เกิดสืบต่อ ก็ต้องเป็นโทสะเหมือนกัน แต่ มโนทวารในวาระหลังๆ อาจเป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ อาจเป็นโลภะก็ได้ เช่น บางคนชอบความเจ็บปวด เป็นต้นแต่ต้องเป็นมโนทวารวิถี ในวาระหลังๆ ครับ.
-------------------------------------------------------------------------------
ประการที่สี่ "หลังจากวิถีจิตทางปัญจทวารดับไปแล้วภวังคจิตหลายขณะเกิดต่อ จาก
นั้นจึงเกิด วิถีจิตทางมโนทวารต่อ...พอจะมีการประมาณได้หรือไม่ว่า วิถีจิตทางมโน
ทวารนั้นจะเกิดต่อกันกี่วาระกว่าที่จะเกิดวิถีจิตทางปัญจทวาร เกิดขึ้นอีก แล้วแต่ละวาระ
ของมโนทวารวิถีจิตจะต้องมีภวังคจิตขั้นหรือไม่"
-----------------------------------------------------------------------------------
การที่วาระจิตทางปัญจทวารวิถีดับไป ภวังคจิตเกิดขึ้น มโนทวารวิถีจิตเกิดต่อ ก็แล้วแต่ครับ ว่าจะเกิดวาระจิตทางมโนทวารวิถีจิตอีกกี่วาระ กำหนดแน่นอนตายตัวไม่ได้เลย อาจจะเกิดยาวเลยก็ได้ แต่ที่ยาวนี่ไม่ใช่นานนะครับ เวลา 1 วินาที ก็เกิดวิถีจิตนับไม่ถ้วนแล้วครับ หรือ เมื่อมโนทวารวิถีจิตนั้นดับ ภวังคจิตเกิดขึ้น แล้วก็เกิดปัญจทวารวิถีจิตก็ได้ครับ เพราะเป็นอนัตตาครับ ไม่สามารถกำหนดได้ว่า ต้องเป็นมโนทวารวิถีกี่วาระ...ปัญจ--ทวารวิถี ถึงจะเกิดต่อครับ และวิถีจิตแต่ละวาระที่จะเกิดนั้น ทางมโนทวารวิถีจิต จะต้องมีภวังคจิตเกิดขึ้นก่อนเสมอ ขออนุโมทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์เผดิมเป็นอย่างสูงครับในความกรุณา
ผมขอเรียนถามเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมว่า
1. ทางที่จะรับผลของกรรมมี 5 ทางคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย คือทาง จักขุทวาร โสตทวาร
ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร เท่านั้นใช่มั๊ยครับ คือหมายความว่า การรับกรรมทางกาย
คือ กายทวาร ไม่จำกัดเฉพาะ เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว เท่านั้นใช่มัียครับ แต่จะเป็นความ
รู้สึก "อะไรก็ได้ที่รู้สึกได้ทางกาย" ผมเข้าใจเช่่นนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ
2. "ความปวด" เป็น "ทุกขเวทนา" หรือ "โทมนัสเวทนา"
3. "ความปวด" รู้ทาง "กายทวาร" หรือ "มโนทวาร"
ขอกราบขอบพระคุณอีกครั้งครับ
เรียนความเห็นที่ 3 ครับ
1. ทางที่จะรับผลของกรรมมี 5 ทางคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย คือทาง จักขุทวาร โสต
ทวารฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร เท่านั้นใช่มั๊ยครับ คือหมายความว่า การรับกรรม
ทางกายคือ กายทวาร ไม่จำกัดเฉพาะ เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว เท่านั้นใช่มัียครับ แต่
จะเป็นความรู้สึก "อะไรก็ได้ที่รู้สึกได้ทางกาย" ผมเข้าใจเช่่นนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ
ทาง (กายทวาร) ที่รับ ผลของกรรม มี 5 ทาง ในชีวิตประจำวัน ถูกต้องแล้วครับ แต่
การได้รับผลของกรรมที่เป็นวิบากที่ไม่ต้องอาศัยกายทวารก็มี เช่น ปฏิืสนธิจิต ภวังคจิต
จุติจิต วิบากจิตดังกล่าว ไม่ต้องอาศัยกายทวาร แต่ก็เป็นจิตที่เป็นผลของกรรม
(วิบากจิต) ครับ การรับผลของกรรมทางกายทวาร คือ ความรู้สึกเจ็บปวด (กาย) เป็นทาง
กายทวารได้ แต่ไม่ได้หมายถึงความรู้สึกนั้น จะเป็น เวทนา ที่เป็น สุขโสมนัส (โสมนัส
เวทนา) หรือ ทุกขโทมนัส (โทมนัสเวทนา) ครับ. ------------------------------------------------------------------------------------
2. "ความปวด" เป็น "ทุกขเวทนา" หรือ "โทมนัสเวทนา"
ความปวดเป็นทุกขเวทนาครับ. --------------------------------------------------------------------------------------
3. "ความปวด" รู้ทาง "กายทวาร" หรือ "มโนทวาร"
ความปวด รู้ได้ทางกายทวารก่อน แล้วมโนทวาร จึงจะสามารถรับรู้ต่อได้ ครับ.
"..ในวาระแรกของการเห็น
ที่เป็นทางจักขุทวารวิถี ชวนจิตเกิดอกุศลที่เป็นโลภะ
ทางมโนทวารวิถี ก็ต้องเป็นโลภะด้วย
แต่เมื่อชอบแล้ว ทางปัญจทวารวิถี
ทางมโนทวารวิถี ในวาระหลังๆ ไม่ใช่วาระแรก
สามารถที่จะเกิดกุศล หรือ อกุศลได้ ไม่เหมือนกับปัญจทวารได้ครับ.."
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ daris และคุณผเดิมค่ะ
ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เผดิมเป็นอย่างสูงครับ
ผมขอความกรุณาอีกสักข้อครับ เพิ่งจะนึกออก...
"สิ่งที่ถูกรู้" กับ "การรู้" มีลักษณะปรากฎต่างกันอย่างไร
ผมรู้สึกว่าอธิบายค่อนข้างยาก แต่ในบางครั้งเวลาที่ "รู้" อะไรบางอย่าง ... (อย่างผม
สังเกตว่าจะค่อนข้างรู้กลิ่นต่างๆ ได้ชัด) อย่างเวลาเดินผ่านถังขยะได้กลิ่นเหม็น ณ
ขณะนั้นก็รู้ว่า "ได้กลิ่น" (แต่ขณะนั้นไม่ได้คิด ไม่ได้มีคำอะไรผุดขึ้นมานะครับ) แต่ไม่รู้
ว่าขณะนั้นเรารู้อะไร รู้ "กลิ่น (คันธรูป) " หรือ รู้"จิตที่รู้กลิ่น (ฆานวิญญาณ) " ตรงจุดนี้จะมี
วิธีในการพิจารณาอย่างไรครับ
ขอกราบขอบพระคุณครับ
เรียนความเห็นที่ 6 ครับ
จิตเป็นสภาพรู้ เป็นการรู้ แต่สิ่งที่ถูกจิตรู้ เป็นสภาพธรรมอะไรก็ได้ เพราะจิตรู้ได้
ทุกอย่างครับ
จิต เมื่อเกิดขึ้น ต้องเป็นสภาพรู้ เมื่อเป็นสภาพที่รู้ ก็จะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ (อารมณ์) จิตรู้ได้ทุกอย่าง ดังนั้น สิ่งที่ถูกรู้โดยจิต ก็เป็นได้ทั้งนามธรรมที่เป็น จิต เจตสิก นิพพานจิต รู้รูปธรรม และ บัญญัติ (ไม่ใช่นามธรรม-รูปธรรม) จิตก็รู้ได้ แต่ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานที่มั่นคง ว่า เมื่อจิตประเภทใด ประเภทหนึ่งเกิดขึ้นจะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ และสิ่งที่ถูกรู้ของจิต (แต่ละขณะ) นั้น จะต้องมีอย่างเดียว ไม่ใช่รู้หลายอย่างพร้อมๆ กัน ครับ.
อย่างเช่นที่ยกตัวอย่าง การได้กลิ่นเหม็น (ขยะ) ขณะที่ได้กลิ่น จิตได้กลิ่นใช่ไหมครับ
ตัวจิตได้กลิ่นเป็นสภาพรู้ ไม่เช่นนั้นจะไม่รู้เลยว่ามีกลิ่น จิตได้กลิ่นเกิดขึ้น ต้องมีสิ่งที่
ถูกรู้ จำได้ใช่ไหมครับว่าพื้นฐานคือ เมื่อจิตเกิดขึ้นจะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้อย่างเดียวเท่านั้น
ดังนั้นเมื่อจิตได้กลิ่นเกิดขึ้น จะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้นั่นก็คือกลิ่นนั่นเองครับ ที่จิตได้กลิ่นรู้
กลิ่นเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ ส่วนการเจริญปัญญา เราต้องเข้าใจครับว่า สติและปัญญา เป็น
อนัตตา ดังนั้น จึงไม่ต้องไปพยายามพิจารณาครับ เพราะว่าการจะรู้ลักษณะของสภาพ
ธรรมที่เป็นจิตได้กลิ่น หรือ กลิ่นนั้น ก็แล้วแต่สติและปัญญาจะเกิดรู้หรือไม่ครับ ถ้าเรา
เข้าใจถึงความป็นอนัตตาของสภาพธรรม เราก็สบายๆ คือไม่เจาะจง ไม่พยายามที่จะรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะเป็นหน้าที่ของธรรม คือ สติและปัญญา ว่าจะเกิดรู้สภาพธรรมใด โดยไม่เจาะจง และก็ขึ้นอยู่กับว่า สติจะเกิดหรือไม่ครับ ธรรม เป็นอนัตตาจริงๆ
ดังนั้น ถ้าเพียงพยายามที่จะพิจารณาว่านี่อะไร สภาพธรรมอะไร ก็เป็นเพียงการคิดนึก
ถึงสภาพธรรมที่ดับไปแล้วครับ ซึ่งก็ไม่ได้รู้ตัวจริงของสภาพธรรมนั้นจริงๆ นั่นเองครับ
จึงไม่ใช่เรื่องที่จะพิจารณาอย่างไร เมื่อสภาพธรรมเกิดขึ้น เพราะการที่สติจะเกิดหรือไม่
เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ เพียงแต่ว่าเราฟังพระธรรมต่อไป ปัญญาจะค่อยๆ เจริญ
ขึ้นและจะค่อยๆ รู้เองครับ สบายด้วยความเข้าใจ ว่า ธรรมเป็นอนัตตา จึงไม่ต้องทำ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ
ขอกราบอนุโมทนาและขอบพระคุณท่านอาจารย์เผดิมที่กรุณาให้ธรรมทานด้วยความอุตสาหะตลอดมา วันนี้ผมได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นและละความไม่รู้ได้อีกมากเพราะความกรุณาของอาจารย์ครับ
กราบอนุโมทนาครับขออนุโมทนาเช่นกันที่ร่วมสนทนาธรรมและได้ความเข้าใจพระธรรมเพิ่มขึ้นครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การสนทนาธรรม (การกล่าวด้วยดีซึ่งธรรม เพื่อให้เข้าใจตรงตามความเป็นจริง) เป็นมงคลอันประเสริฐ เพราะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา เป็นไปเพื่อละคลายความไม่รู้เป็นไปเพื่อละคลายความเห็นผิด พร้อมทั้งละคลายอกุศลประการอื่นๆ ด้วย เป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา ซึ่งจะต้องเคยสะสมเหตุทีดีมาแล้ว เคยฟังมาแล้วในอดีต จึงทำให้มีความสนใจที่จะฟังที่จะศึกษาต่อไป เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น ชีวิตที่ดำเนินไปในแต่วันแต่ละขณะนั้น เป็นธรรม มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อกล่าวโดยประเภทใหญ่ๆ มี ๒ ประเภท คือ นามธรรม กับ รูปธรรม แม้แต่ขณะที่เจ็บ ปวด คัน ไม่สบายใจ เป็นต้น เป็นธรรมที่มีจริง ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ตราบใดที่ยังมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเป็นทางที่จะให้ได้รับผลของกรรม ผลของกรรมก็ย่อมเกิดขึ้น คือ วิบากจิตเกิดขึ้นรับผลของกรรมทางทวารต่างๆ ถ้าเป็นผลของกุศลกรรม ก็ทำให้ได้รับสิ่งที่ดี น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม ก็ทำให้ได้รับสิ่งที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ตามสมควรแก่เหตุ ที่ได้กระทำแล้ว แต่ถ้าเกิดความเสียใจ เกิดความไม่สบายใจ ในขณะที่ได้รับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา นั้น ไม่ใช่ผลของกรรม แต่เป็นผลของการสะสมกิเลสมา ความไม่สบายใจ คือ โทสะ ก็เกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นกับโทสมูลจิต (จิตที่มีโทสะเป็นมูล) เป็นธรรมที่มีจริง ทั้งนั้น เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น สิ่งที่จะมีค่าที่สุดสำหรับชีวิต คือ มีปัญญาที่จะเข้าใจธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ตามความเป็นจริง ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ซึ่งจะต้องฟัง ต้องศึกษา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์คำปันที่กรุณาชี้แนะครับ
ขออนุญาตเรียนสอบถามเรื่อง "ความปวด" ในความเห็นที่ ๓ และ ๔ สักนิดนะครับ
เนื่องจาก กายวิญญาณรับรู้ สภาพเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว
หากได้รับรู้สภาพข้างต้นมากเกินไป ย่อมทำให้เกิดทุกขเวทนา
เมื่อรับทุกขเวทนามาก จึงเรียกว่า "ปวด" ดังนี้
เช่นเดียวกับ ความหิว
ดังนั้น ผมจึงสงสัยว่า เมื่อรู้ว่าปวด ก็เป็นความรับรู้ผ่านไปยังมโนทวารแล้วใช่ไหมครับ
ขอบพระคุณและขออนุโทนาครับ
เรียนความเห็นที่ 12 ครับ
ปวด หรือ เจ็บก็ต้องถามว่า ปวดหรือเจ็บตรงไหนครับที่กายหรือที่ใจ เวลาที่ปวดหรือ
เจ็บ ก็ต้องที่กาย ถ้าไม่มีกายจะปวดได้ไหม ก็ปวดไม่ได้ครับ เพราะไม่มีที่จะให้เกิดปวด
ดังนั้นเมื่อเกิดการปวด หรือ เจ็บแล้ว ทางใจ เกิดต่ออย่างรวดเร็วก็เหมือนว่าจะเป็น
ความรู้สึกเจ็บที่ใจ แต่ในความเป็นจริง ทุกขกายวิญญาณเกิดทางปัญจทวารครับ ที่เป็น
อกุศลวิบาก ขณะที่ปวดโดยอาศัยทวาร คือ กายทวาร ถ้าไม่มีกายก็ไม่ปวด ไม่เจ็บ ครับ
ดังนั้นปวด เจ็บก็ที่กาย แต่มโนทวารรับต่อได้ครับ แต่ความรูสึกเจ็บ ที่ปวดจะต้องเกิดที่
ทางกายทวารเท่านั้นครับ ส่วนความรู้สึกไม่ชอบ เหมือนไม่ชอบเจ็บจะเกิดทางกาย
ทวารไม่ได้ เกิดอีกวาระ คือ ทางมโนทวารวิถีครับ เพราะความเกิดดับของสภาพธรรม
อย่างรวดเร็วก็อาจทำให้สำคัญทุกข์กาย ว่าเป็นทุกข์ใจได้ครับ เพราะไม่ได้มีสติระลึก
ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเจ็บ เพียงแต่คิดนึกเรื่องราวของสภาพธรรมที่เจ็บ
ปวดที่ดับไปแล้วนั่นเองครับ ขออนุโมทนา
-------------------------------------------------------------------
วรศักดิ์ ตอนที่รู้สึกเจ็บ กับกายวิญญาณเกิด อ.สุจินต์. ถ้าไม่มีกายแล้วจะเจ็บได้อย่างไรคะ ไม่มีทางเจ็บเลย จะเอาเจ็บอยู่ตรงไหนถ้าไม่มีกายวรศักดิ์ ผมนึกว่า เจ็บตรงใจที่คิดนึกอ.สุจินต์. ไม่ใช่ค่ะ เจ็บนี่ที่กาย ที่ใช้คำว่า เจ็บ ปวด เมื่อย คัน ไม่สบายกาย ความรู้สึกไม่สบายกายทั้งหมด ต้องมีกาย เพราะว่าเกิดตรงนั้น
ความรู้สึก เจ็บ ปวด คัน เมื่อย หิว ฯลฯ เกิดจากกรรมในอดีต ทุกข์กาย
อย่าง 1 ความรู้สึกไม่สบายก็อย่างหนึ่ง ธาตุรู้คือจิตที้รู้แจ้งก็เป็นทุกข์ด้วย เกิด
พร้อมกัน แล้วแต่ว่าอะไรมีกำลังในขณะนั้น ค่ะ
นาม - รูป จนเกิดผัสสะ จ๊ะ สาธุ