๓๘. อรรถกถา วีริยารัมภญาณุทเทส ว่าด้วยวีริยารัมภญาณ
โดย บ้านธัมมะ  24 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40846

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 117

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๓๘. อรรถกถา วีริยารัมภญาณุทเทส

ว่าด้วยวีริยารัมภญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 117

๓๘. อรรถกถาวีริยารัมภญาณุทเทส

ว่าด้วย วีริยารัมภญาณ

บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิริยะคือสัมมัปธานอันพระโยคีบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัลเลขญาณพึงกระทำ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกวีริยารัมภญาณขึ้นแสดงต่อจากสัลเลขญาณนั้น.

ในวีริยารัมภญาณนั้น คำว่า อสลฺลีนตฺตปหิตตฺตปคฺคหฏฺเ- ในอรรถว่าประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และตนอันส่งไปแล้ว ความว่า ชื่อว่า อสัลลีนัตตะ - มีจิตไม่หดหู่ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า จิตไม่หดหู่ ไม่ย่อท้อด้วยสามารถแห่งความเกียจคร้านของบุคคลนั้นมีอยู่ ดังนี้.

คำว่า อตฺตา ได้แก่จิต. ดุจคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นอาทิไว้ว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 118

ก็พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำไป, พวกช่างศรย่อมดัดศรให้ตรง, ช่างถากก็ถากไม้, บัณฑิตทั้งหลายก็ย่อมฝึกตน (๑) ดังนี้.

ชื่อว่า ปหิตัตตะ - มีตนส่งไปแล้ว เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า อัตภาพอันตั้งไว้แน่วแน่ส่งไปปล่อยไป โดยไม่คำนึงถึงร่างกายและชีวิต ด้วยธรรมนั้นดังนี้. คำว่า อตฺตา ได้แก่ อัตภาพ. ดุจคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นอาทิไว้ว่า

อนึ่ง ภิกษุณีใด พร่ำตีตนแล้วร้องไห้ (เป็นปาจิตตีย์ (๒) ).

อสัลลีนัตตะนั้นด้วย ปหิตัตตะนั้นด้วย ชื่อ อสัลลีนัตตปหิตัตตะ - มีจิตไม่หดหู่และมีตนส่งไปแล้ว. ธรรมใดย่อมประคองคือย่อมอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปัคคหะ - ธรรมอันประคองสหชาตธรรม, ปัคคหะ ธรรมอันประคองสหชาตธรรมนั่นแหละเป็นอรรถ ชื่อว่า ปัคคหัฏฐะ, อธิบายว่า มีการประกอบเป็นสภาวะ.

การประคองซึ่งจิตไม่หดหู่และมีตนอันส่งไปแล้ว ชื่อว่า อสัลลีนัตตปหิตัตตปัคคหัฏฐะ. ในอรรถว่าประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และมีตนอันส่งไปแล้วนั้น.


๑. ขุ. ธ. ๒๕/๑๖. ๒. วิ. ภิกฺขุนี. ๓/๒๑๗.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 119

การไม่ย่อท้อ การไม่หมุนกลับในปธานความเพียร อันพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวแล้วด้วยคำว่า อสัลลีนัตตะ ปหิตัตตะ เพราะเป็นคำอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อ และเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด, ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วย ความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้วไซร้ ก็จักไม่หยุดความเพียรเลยดังนี้เป็นต้น (๑) .

ก็วิริยะ - ความเพียรอันเป็นไปแล้วด้วยดี พ้นแล้วจากโกสัชชะ - ความเกียจคร้าน และอุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่าน พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวแล้วด้วยคำว่าปัคคหัฏฐะ.

คำว่า วีริยารมฺเภ าณํ - ญาณในการปรารภความเพียร ความว่า ความเป็นแห่งความแกล้วกล้า ชื่อว่า วีริยะ, หรือ วีรกรรมของผู้แกล้วกล้าทั้งหลาย ชื่อว่า วีริยะ, หรือ ชื่อว่า วีริยะ เพราะเป็น


๑. องฺ. ทุก. ๒๐/๒๕๑.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 120

กิจอันบุคคลพึงให้ดำเนินไปพึงให้เป็นไปได้ด้วยวิธี, ด้วยนัย, ด้วยอุบาย.

วีริยะนี้นั้น มีความอุตสาหะเป็นลักษณะ, มีการอุปถัมภ์สหชาตธรรมเป็นกิจ, มีการไม่ย่อท้อเป็นอาการปรากฏเฉพาะหน้า, มีความสังเวชเป็นเหตุใกล้ โดยพระบาลีว่า เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย ดังนี้เป็นต้น, หรือมีเหตุเป็นเครื่องเริ่มความเพียรเป็นเหตุใกล้.

การปรารภความเพียรโดยชอบ พึงทราบว่าเป็นมูลแห่งสมบัติทั้งปวง. ความริเริ่มกล่าวคือวิริยะ ชื่อว่า วีริยารัมภะ - เริ่มความเพียร. ท่านห้ามความริเริ่มที่เหลือด้วยวีริยารัมภศัพท์นี้. จริงอยู่ อารัมภศัพท์ นี้มาแล้วในอรรถเป็นอเนกมีอรรถว่า กรรม, อาบัติ, กิริยา, วีริยะ, หิงสา, วิโกปนะ.

ก็คำว่า อารมฺโภ แปลว่า กรรม มาในคาถานี้ว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ทุกข์ทั้งหมดย่อมเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย, ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ย่อมไม่มีเพราะการดับแห่งกรรมทั้งหลาย (๑) .


๑. ขุ.สุ. ๒๕/๔๐๐.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 121

คำว่า อารมฺโภ แปลว่า อาบัติ มาในคำนี้ว่า ปรารภจะล่วง อาบัติ ด้วย ย่อมเดือดร้อนด้วย (๑).

อารมฺโภ แปลว่า กิริยา เป็นเครื่องยกเสาสำหรับผูกสัตว์บูชายัญ มาในคำนี้ว่า มหายัญทั้งหลายที่มีการจะต้อง ริเริ่ม มาก, มหายัญเหล่านั้นหามีผลมากไม่ (๒).

อารมฺโภ แปลว่า วีริยะ มาในคำนี้ว่า ท่านทั้งหลายจง ริเริ่ม, จงก้าวไป, จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา (๓).

อารมฺโภ แปลว่า หิงสา - ฆ่า, เบียดเบียน มาในคำนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมฆ่า สัตว์เจาะจงเฉพาะพระสมณโคดม (๔).

อารมฺโภ แปลว่า วิโกปนะ - การพรากมีการตัดการหัก เป็นต้น มาในคำนี้ว่า เป็นผู้เว้นขาด จากการพราก พืชคามและภูตคาม๕.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา วีริยะ เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ความริเริ่ม กล่าวคือวีริยะ - ความเพียร ชื่อว่า วีริยารัมภาปรารภความเพียร วีริยะนี้แลท่านเรียกว่า อารัมภะ ด้วย


๑. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๔๒. ๒. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๙. ๓. สํ. ส. ๑๕/๖๑๗. ๔. ม. ม. ๑๓/๕๖. ๕. ม. มู. ๑๒/๓๓๓.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 122

สามารถแห่งความพยายาม. ญาณในวีริยารัมภะนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อสลฺลีนตฺตา ปหิตตฺตา ดังนี้บ้าง, ความว่า เพราะไม่หดหู่, เพราะไม่คำนึงถึงร่างกายและชีวิต. ปาฐะแรกนั่นแลถูก. แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาไว้ว่า ความพร้อมเพรียงแห่งสัมโพชฌงค์ คือ สติ, ธรรมวิจยะ, วีริยะ, ปีติ ชื่อว่า อสัลลีนัตตา, ความพร้อมเพรียงแห่งโพชฌงค์ คือ สติ, สมาธิ, ปัสสัทธิ, อุเบกขา ชื่อว่า ปหิตัตตา, ความพร้อมเพรียงแห่งสัมโพชฌงค์ทั้ง ๗ ชื่อว่า ปัคคหัฏฐะ ดังนี้.