1.ศีลขันธ์
2.สมาธิขันธ์
3.ปัญญาขันธ์
4.วิมุตติขันธ์
5.วิมุตติญาณทัสสนขันธ์
รวมลงในสังขารขันธ์
ทำไม วิมุตติขันธ์ จึงจัดอยู่ในสังขารขันธ์คะ เพราะวิมุตติ เป็นวิสังขารธรรมนี่คะ
ขอบคุณคะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า วิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้น ซึ่ง ความหลุดพ้นก็มีหลายระดับ มี 5 อย่าง ดังนี้ ครับ
1. วิกขัมภนวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส นิวรณ์ ด้วยการข่มไว้ ด้วยกำลังของฌาน คือ สมถภาวนา
2. ตทังควิมุตติ คือ หลุดพ้นจาก ธรรมที่เป็นข้าศึกในขณะนั้น เช่น การได้วิปัสสนาญาณ บางวิปัสสนา สามารถละ หลุดพ้นจากความสำคัญว่าเที่ยง เป็นต้น
3. สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากกิเลสที่ตัดขาดแล้ว อันหมายถึง ขณะที่เป็นมรรคจิต
4. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ หลุดพ้นแล้วสงบ ด้วยอำนาจที่กิเลสสงบแล้ว หลังจากการละกิเลส คือ ขณะที่เป็นสามัญญผล 4 เช่น โสดาปัตติผล เป็นต้น
5. นิสสรณวิมุตติ หมายถึง พระนิพพาน หลุดพ้นคือเพราะปราศจากคือ เพราะตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งปวง
จะเห็นได้ว่า วิมุตติ ไม่ได้หมายถึง เฉพาะพระนิพพานเท่านั้น แต่ หมายถึง ฌานจิตก็ได้ ที่เคยได้ยินคำว่า เจโตวิมุติ ซึ่งขณะนั้นเป็นฌานจิต เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิก เพราะฉะนั้น ฌานจิตเป็นจิตที่ดี ก็ต้อง โสภณสาธารณะเจตสิก ที่เกิดร่วมด้วย เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ รวมทั้งมี อโมหเจตสิก ที่เป็นปัญญาเกิดร่วมด้วย เจตสิกเหล่านี้ เป็นสังขารขันธ์ ที่อยู่ในเจตสิก 50 ดวง เพราะฉะนั้น เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ที่เป็น วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น ด้วย ฌาน เจโตวิมมุติ ที่เป็นวิมุตติขันธ์ อันนับหมายถึง เจตสิกที่ดีงาม ที่เกิดร่วมด้วย ก็จัดเป็นสังขารขันธ์ ครับ วิปัสสนาญาณ ที่เป็นมหากุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ก็เป็น วิมุตติ โดยนัยที่ 2 ที่เป็น ตทังควิมุตติ เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นกุศลจิตที่ประกบอด้วยปัญญา ก็ต้องมีเจตสิกที่ดีงาม มี โสภณสาธารณะเจตสิก ทีเ่กิดร่วมด้วย เช่น ศรัทธา สติ หิริโอตตัปปะ รวมทั้งมี อโมหเจตสิก ที่เป็นปัญญาเกิดร่วมด้วย เจตสิกเหล่านี้ เป็นสังขารขันธ์ ที่อยู่ในเจตสิก 50 ดวง เพราะฉะนั้น เจตสิก ที่เกิดร่วมด้วย ที่เป็นวิมุตติ คือ ความหลุดพ้น ด้วย วิปัสสนาญาณ ที่เป็น วิมุตติขันธ์ อันนับหมายถึงเจตสิกที่ดีงาม ที่เกิดร่วมด้วย รวมทั้งเจตสิกอื่นๆ ที่เป็นสังขารขันธ์ ไม่นับจิต ก็จัดเป็นสังขารขันธ์ ครับ และแม้มรรคจิต ก็เป็น วิมุตติ (สมุจเฉทวิมุตติ) ซึ่ง มรรคจิต ก็เป็นโลกุตตรกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา ก็ต้องมีเจตสิกที่ดีงาม มี โสภณสาธารณะเจตสิก ที่เกิดร่วมด้วย เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ รวมทั้งมี อโมหเจตสิก ที่เป็นปัญญาเกิดร่วมด้วย เจตสิกเหล่านี้ เป็นสังขารขันธ์ ที่อยู่ในเจตสิก 50 ดวง เพราะฉะนั้น เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ที่เป็น วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น ด้วย มรรคจิต ที่เป็น วิมุตติขันธ์ อันนับหมายถึง เจตสิกที่ดีงาม ที่เกิดร่วมด้วย รวมทั้งเจตสิกอื่นๆ ที่เป็นสังขารขันธ์ ไม่นับจิต ก็จัดเป็นสังขารขันธ์ ครับ ผลจิต ก็เป็น วิมุตติ (ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ) ก็ต้องมีเจตสิกที่ดีงาม ก็ต้อง โสภณสาธารณะเจตสิก ที่เกิดร่วมด้วย เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตัปปะ รวมทั้งมี อโมหเจตสิก ที่เป็นปัญญาเกิดร่วมด้วย เจตสิกเหล่านี้ เป็นสังขารขันธ์ ที่อยู่ในเจตสิก 50 ดวง เพราะฉะนั้น เจตสิก ที่เกิดร่วมด้วย ที่เป็น วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น ด้วย ผลจิต ที่เป็น วิมุตติขันธ์ อันนับหมายถึง เจตสิกที่ดีงาม ที่เกิดร่วมด้วย รวมทั้งเจตสิกอื่นๆ ที่เป็นสังขารขันธ์ ไม่นับจิต ก็จัดเป็นสังขารขันธ์ ครับ ส่วน วิมุตติที่หมายถึง พระนิพพาน นิสสรณวิมุตติ ไม่จัดเป็นสังขารขันธ์ เพราะเหตุว่า ไม่มีการเกิดขึ้นของจิต เจตสิก ครับ เป็นวิสังขารธรรม โดย วิมุตติ ที่เป็นนัยนี้เท่านั้น ส่วน วิมุตติอื่นๆ ไม่จัดเป็น วิสังขารธรรม ครับ เพราะ เป็น จิต เจตสิกที่เกิดขึ้นเป็นไป ครับ ดังนั้น ก็ต้องแยกว่า ท่านมุ่งหมายถึง ถึง วิมุตติ ประเภทไหน อย่างไร ที่จัดเป็นสังขารขันธ์ และ มุ่งหมายถึง เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ในวิมุตตินั้น ครับ
ขออนุโมทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแดพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับใจที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้กล่าวไว้เมื่อตอนท้ายชั่วโมง สนทนาพระสูตรวันเสาร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ว่าคำถามทุกคำถาม ก็เป็นเครื่องสอบทานความเข้าใจของผู้ศึกษาว่า มีความมั่นคงมากแค่ไหนหรือว่า ยังเป็นผู้สับสนอยู่ เพราะพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น มีหลากหลายนัย แต่ไม่ว่าจะทรงแสดงโดยนัยใด ก็ไม่พ้นไปจากเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ สำหรับในประเด็นคำถาม ก็ต้องตั้งต้นที่คำว่า สังขารขันธ์ ว่า เป็นสภาพธรรมที่เป็นเจตสิกธรรม ๕๐ ประเภท (เพราะเจตสิกมี ๕๒ เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์ สัญญา เจตสิก เป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ก็เป็นสังขารขันธ์) และเจตสิก ๕๐ ประเภท ก็ตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ ถ้าเป็นอกุศลจิต ก็จะไม่มีเจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วยเลย แต่ถ้าเป็นจิตฝ่ายดี ก็จะไม่มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลยนี้คือ ความเป็นจริงของธรรม ต่อไป ก็กล่าวถึง วิมุตติ ดังที่ อ.ผเดิมได้แล้วแล้วว่า มีหลายนัย ไม่ใช่เฉพาะที่
เป็นพระนิพพานเท่านั้น ที่เป็นวิมุตติ ยังมีวิมุตติที่เป็นธรรมฝ่ายดีด้วย พระนิพพาน
ไม่ใช่สังขารขันธ์แน่ เพราะพระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับ ดังนั้น วิมุตติ ที่เป็นสังขารขันธ์
ก็ต้องมุ่งหมายถึง เฉพาะเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วยกับโสภณจิต ที่เป็นวิมุตติประเภท
นั้นๆ แต่ต้องไม่ใช่เจตสิกที่เป็นอกุศลเจตสิกอย่างแน่นอน เพราะอกุศลเจตสิก
จะไม่เกิดกับจิตฝ่ายดี เลย ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขันธ์ เป็น ธรรมที่เป็นกอง เป็นที่ตั้งของความยึดถือ ค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ