เดี๋ยวนี้มีจริงไหม?
โดย เมตตา  11 ธ.ค. 2566
หัวข้อหมายเลข 47060

สนทนาธรรม ณ แดนพุทธภูมิ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ช่วงบ่าย

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๖๖

[๓๙] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่าสัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.


[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๖๖

[๖๔] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไปความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่าสมถะมีในสมัยนั้น.


ชาวอินเดีย: ได้ยินคำว่า วิปัสสนา มาเยอะในวงการพุทธศาสนิกชน และได้ยินจากหลายที่ ได้ยินว่า เกี่ยวข้องกับการไปนั่งปฏิบัติที่เขาเรียกว่า Meditation และพยายามมีสมาธิ ทำอะไรก็ให้มีสมาธิ ซึ่งผมก็เคยไปร่วมปฏิบัติ ๑๐ วันแต่ก็ไม่ได้ผลอะไรเลย ให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบายว่าทำไมทุกคนสอนแบบนี้ และอ้างคำสอนกล่าวคำสอนด้วย ความจริงคืออะไร?

ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้มีจริงไหม?

ชาวอินเดีย: มีจริง

ท่านอาจารย์: สิ่งที่มีจริงเกิดดับหรือเปล่า?

ชาวอินเดีย: เกิดดับ

ท่านอาจารย์: แต่นี่เป็นความคิดความเข้าใจ ยังไม่ประจักษ์ขณะที่สิ่งนั้นเกิดจริงๆ และดับจริงๆ

ชาวอินเดีย: เป็นระดับเบื้องต้น

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ไม่ใช่การเข้าใจสิ่งที่มีซึ่งเป็นสิ่งนั้น ไม่ใช่เรา เช่น เห็นเป็นเห็น เห็นเกิดขึ้นเห็นแล้วดับชัดเจน นั่นจึงจะเป็น วิปัสสนา เห็นแจ้งประจักษ์แจ้งความจริงของสิ่งที่กำลังมีด้วยความเข้าใจถูกว่า เป็นสิ่งนั้น ไม่เป็นสิ่งอื่น ไม่ใช่เรา

ถ้าปิดไฟเดี๋ยวนี้ ไฟดับหรือเปล่า?

ชาวอินเดีย: ดับ

ท่านอาจารย์: แต่เราเห็นไฟดับใช่ไหม?

ชาวอินเดีย: ครับ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ปัญญาที่รู้ความจริงว่า ไม่ใช่เรา แต่มีธรรม เป็นเราเห็นไฟดับ

เดี๋ยวนี้กำลังจำอะไรหรือเปล่า?

ชาวอินเดีย: จำอยู่

ท่านอาจารย์: ค่อยๆ เริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยจนมั่นคงว่า ไม่ใช่เรา ยังไม่ประจักษ์ความจริงของธรรมแต่ละหนึ่งซึ่งเกิดดับเดี๋ยวนี้


ประจักษ์แจ้ง

ปจฺจกฺข = ปฏิปจฺจ (เฉพาะหน้า) + อิกฺข (เห็น รู้)

เห็นเฉพาะหน้า รู้แจ้งเฉพาะหน้า หมายถึง ความสมบูรณ์ของปัญญา ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ที่เห็นแจ้ง ประจักษ์สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ตามลำดับ สำหรับสติปัฏฐาน เป็นการอบรมปัญญาขั้นศึกษา ระลึกรู้สภาพธรรมเพื่อการประจักษ์แจ้ง


[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

[๑๙] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น

[๒๙] สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สตินทรีย์มีในสมัยนั้น

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ในพระไตรปิฎกมีพระอรหันต์บรรลุธรรมด้วยการนั่งสมาธิหรือไม่

จากปริยัติ สู่การปฎิบัติ จนถึงปฏิเวธ ทุกคำ ไม่สงสัยเลย เมื่อกำลังประจักษ์แจ้ง

ขอเชิญคลิกฟังได้ที่ ...

ขั้นคิด ขั้นประจักษ์แจ้ง

แข็ง-รู้แข็ง กับการประจักษ์แจ้งการเกิดดับ

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย swanjariya  วันที่ 13 ธ.ค. 2566

กราบเท้าท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลทุกประการค่ะน้องเมตตา


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 8 เม.ย. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในความดีของทุกท่านครับ