คำสอน ของพุทธศาสนา (เถรวาท) คำว่า ธรรม หรือ ธรรมชาติ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. อสังขตธรรม
๒. สังขตธรรม
อสังขตธรรม หมายถึง ธรรมชาติที่ไม่มีการปรุงแต่ง หรือ เปลี่ยนแปลง หมายความว่าอะไร
และมหาคัมภีร์พระไตรปิฎก กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้อย่างไร?
ขอบพระคุณสำหรับผู้ตอบ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สังขตธรรม สงฺขต (อันปัจจัยกระทำพร้อมแล้ว, ปรุงแต่งแล้ว) + ธมฺม (ธรรม) ธรรมอันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว หมายถึง สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยเป็นเหตุทำให้เกิด เมื่อหมดเหตุปัจจัย สภาพธรรมนั้นๆ ก็ดับ สังขตธรรม จึงหมายถึงสภาพธรรมที่มีการเกิดดับ ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 171
คำว่า สพฺเพ สงฺขารา - สังขารทั้งปวง ได้แก่ ธรรมอันเป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งปวง. ก็ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังขตธรรม-ธรรมอันมีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 593
[๙๐๗] สังขตธรรม เป็นไฉน?
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยา อัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สังขตธรรม.
อสังขตธรรม อสงฺขต (อันปัจจัยไม่กระทำแล้ว, ไม่ปรุงแต่งแล้ว) + ธมฺม (ธรรม) ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง พระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาพที่เที่ยง เพราะปราศจากความแปรปรวน เปลี่ยนแปลง เป็นสุข เพราะไม่เกิด ไม่ดับ ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ และเป็นอนัตตา เพราะเป็นสภาพธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร
[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 593
อสังขตธรรม เป็นไฉน?
นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อสังขตธรรม.
ดังนั้น สภาพธรรมที่เป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง คือ จิต เจตสิกและรูป ซึ่งสภาพธรรมที่ไม่มี จิต เจตสิกและรูป ก็คือ พระนิพพาน พระนิพพานจึงเป็น อสังขตธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
ขอพระคุณเป็นอย่างสูง
แต่มีข้อสงสัยว่า ถ้าหาก พระนิพพาน เป็นสภาพที่เที่ยง เพราะปราศจากความแปรปรวน เปลี่ยนแปลง เป็นสุข เพราะไม่เกิด ไม่ดับ ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ แล้วสภาพเดิมของนิพพานคืออะไร? เป็นเช่นไร? ซึ่งตามที่อ่านจากหนังสือต่างๆ นิพพานคือการ หลุดพ้น กับที่ท่านตอบมามีความต่างกันหรือไม่ กรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ
ขอบพระคุณยิ่ง
เรียนความเห็นที่ 2 ครับ
ก่อนอื่นก็คือเราจะต้องเข้าใจครับว่า สภาพธรรมที่เป็นนิพพาน มีจริง แต่มีจริง โดยเป็นสภาวะ ที่ไม่มีรูป และนาม คือ ไม่มีการเกิดขึ้นและดับไป ไม่มีสภาพธรรมอื่นๆ อยู่เลย ซึ่ง ก็จะทำให้เรางงว่า ไม่มีอะไรเลย คือ ไม่มี จิต เจตสิก รูป ไม่มีสภาพธรรมที่เกิดดับ แล้วมีอะไร ก็คือ มีตัวสภาพธรรมที่เป็นพระนิพพานนั่นแหละครับ ที่มีจริง เพียงแต่ นิพพานไม่ได้มีการเกิดขึ้น แต่เป็นสภาพธรรม ที่สามารถรู้ได้ด้วยปัญญาระดับสูงมากๆ ที่เป้นระดับโลกุตตรปัญญา ดังนั้น แม้จะอธิบายอย่างไรก็ไม่สามารถจะเดา หรือคิดได้ เพราะ ยังไม่ได้ประจักษ์ตัวพระนิพพาน ด้วยปัญญาระดับสูงจริงๆ ครับ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดวว่า ผู้ที่ยังไม่ได้ประจักษ์นิพพาน แม้จะนึกคิดถึงพระนิพพานว่าเป็นอย่างไร และแม้ต่ความฝันก็ไม่สามารถแม้จะฝันถึงพระนิพพานได้ครับ พระนิพพาน จึงเป็นสภาพธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งด้วยการรู้ด้วยปัญญาระดับสูง ครับ
[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 717
ก็ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ พระธรรมราชาเมื่อจะทรงประกาศอมตนิพพาน อันไม่เคยมีไนสงสารซึ่งหาเบื้องต้นรู้ไม่ได้ แม้ที่สุดด้วยความฝันนิพพาน อันไม่เคยมีไนสงสาร ซึ่งหาเบื้องต้นรู้ไม่ได้ แม้ที่สุดด้วยความฝันอันลึกโดยปรมัตถ์ เห็นได้ยากอย่างยิ่ง ละเอียดสุขุม นึกเอาเองไม่ได้ สงบที่สุด เป็นที่อำนวยผลเฉพาะตน ประณีตยิ่งนัก
ขอพระคุณเป็นอย่างสูง
แต่มีข้อสงสัยว่า ถ้าหาก พระนิพพาน เป็นสภาพที่เที่ยง เพราะปราศจากความแปรปรวน เปลี่ยนแปลง เป็นสุข เพราะไม่เกิด ไม่ดับ ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ แล้วสภาพเดิมของนิพพานคืออะไร? เป็นเช่นไร? ซึ่งตามที่อ่านจากหนังสือต่างๆ
นิพพานคือการหลุดพ้น กับที่ท่านตอบมามีความต่างกันหรือไม่ กรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ
ขอบพระคุณยิ่ง
เรียนความเห็นที่ 4 ครับ
ก่อนอื่นก็คือ เราจะต้องเข้าใจครับว่า สภาพธรรมที่เป็นนิพพาน มีจริง แต่มีจริง โดย เป็นสภาวะ ที่ไม่มีรูป และนาม คือ ไม่มีการเกิดขึ้นและดับไป ไม่มีสภาพธรรมอื่นๆ อยู่เลย ซึ่ง ก็จะทำให้เรางงว่า ไม่มีอะไรเลย คือ ไม่มี จิต เจตสิก รูป ไม่มีสภาพธรรมที่ เกิดดับ แล้วมีอะไร ก็คือ มีตัวสภาพธรรมที่เป็นพระนิพพานั่นแหละครับ ที่มีจริง เพียงแต่ นิพพานไม่ได้มีการเกิดขึ้น แต่เป็นสภาพธรรม ที่สามารถรู้ได้ด้วยปัญญาระดับสูงมากๆ ที่เป็นระดับโลกุตตรปัญญา ดังนั้น แม้จะอธิบายอย่างไรก็ไม่สามารถจะเดา หรือ คิดได้ เพราะ ยังไม่ได้ประจักษ์ตัวพระนิพพาน ด้วยปัญญาระดับสูงจริงๆ ครับ ดังที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ผู้ที่ยังไม่ได้ประจักษ์นิพพาน แม้จะนึกคิดถึงพระนิพพาน ว่าเป็นอย่างไร และแม้แต่ความฝันก็ไม่สามารถแม้จะฝันถึงพระนิพพานได้ครับ พระนิพพาน จึงเป็นสภาพธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งด้วยการรู้ด้วยปัญญาระดับสูง ครับ
[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 717
ก็ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ พระธรรมราชาเมื่อจะทรงประกาศอมตนิพพาน อันไม่เคยมีในสงสารซึ่งหาเบื้องต้นรู้ไม่ได้ แม้ที่สุดด้วยความฝันนิพพาน อันไม่เคยมีในสงสารซึ่งหาเบื้องต้นรู้ไม่ได้ แม้ที่สุดด้วยความฝันอันลึกโดยปรมัตถ์ เห็นได้ยากอย่างยิ่ง ละเอียดสุขุม นึกเอาเองไม่ได้ สงบที่สุด เป็นที่อำนวยผลเฉพาะตน ประณีตยิ่งนัก
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง แสดงถึงความเป็นจริงทั้งหมด เมื่อกล่าวถึงธรรมแล้ว ไม่พ้นไปจากนามธรรม และ รูปธรรม, สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่นามธรรมก็เป็นรูปธรรมทั้งหมด นามธรรม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือนามธรรมที่รู้อารมณ์ได้แก่ จิต และ เจตสิก และนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ ได้แก่พระนิพพาน ที่เป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิด ไม่ดับ แต่มีจริง พระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เท่านั้นที่ประจักษ์แจ้งพระนิพพานได้ พระนิพพาน เป็นธรรมที่มีจริง ที่ดับทุกข์ดับกิเลส เป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ ตรงกันข้ามกับสภาพธรรมที่เกิดดับอย่างสิ้นเชิง หรือจะกล่าวว่า สภาพธรรมจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ก็เป็นสังขตธรรม หรือ สังขารธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก และ รูป ส่วนธรรมอีกประเภทหนึ่ง คือ เป็นธรรมที่ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น สภาพธรรมนั้น ได้แก่ พระนิพพาน เพียงอย่างเดียว เท่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นธรรมประเภทใดก็ตาม ก็เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างๆ ที่หาความเป็นสัตว์ เป็นบุคคลไม่ได้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงธรรมแต่ละอย่างๆ เท่านั้นจริงๆ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ในบรรดาสังขตธรรมที่เลิศ อริยมรรคมีองค์แปดเป็นเลิศ และ ในบรรดาสภาพธรรมทั้งหลายทั้งหมด อสังขตธรรม คือ พระนิพพานเป็นเลิศ ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ