อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 276
อธิบายภาวรูปและหทัยวัตถุ รูปทั้ง ๒ ชื่อว่าภาวรูป เพราะทำวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุให้เรียกว่าหญิงและให้รู้ว่าหญิงเป็นต้น ฯ ก็ภาวรูปนี้นั้น แผ่ไปอยู่ทั่วสรีระทั้งสิ้น เหมือนกายินทรีย์ ฯ ดวงหทัยนั่นแล เป็นที่อยู่ด้วย เพราะเป็นที่อาศัยแห่งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าหทัยวัตถุ ฯ จริงอย่างนั้น หทัยวัตถุนั้น มีความเป็นที่อาศัยแห่งธาตุทั้ง ๒ เป็นลักษณะ ฯ ก็หทัยวัตถุนั้น อาศัยโลหิตในภายในกล่องดวงหทัยมีประมาณซองมือเป็นไป ฯ บัณฑิตพึงทราบว่า หทัยวัตถุนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ในรูปกัณฑ์ ก็ชื่อว่ามีอยู่โดยปกรณ์ (อาคม) และโดยยุกติ ฯ ในปกรณ์และยุกติทั้ง ๒ นั้น คำในปัฏฐานซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า รูปที่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไปนั้น เป็นปัจจัยโดยความเป็นนิสัยปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยธาตุคู่นั้น ชื่อว่า ปกรณ์ (อาคม) ฯ ส่วนยุกติพึงทราบอย่างนี้
อธิบายชีวิตรูป ที่ชื่อว่าชีวิตรูป เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องเป็นอยู่แห่งสหชาตธรรม ฯ ชีวิตนั้นนั่นแล ชื่อว่าเป็นใหญ่ เพราะประกอบด้วยความเป็นใหญ่ในการเลี้ยงดูกัมมชรูป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าชีวิตนทรีย์ ฯ จริงอย่างนั้น ชีวิตนทรีย์นี้ มีการเลี้ยงดูกัมมชรูปเป็นลักษณะ ฯ ก็ชีวิตนทรีย์นั้น เลี้ยงดูสหชาตธรรมทั้งหลาย แม้ที่ตั้งอยู่ชั่วขณะตามปัจจัยของตน โดยความเป็นเหตุแห่งความเป็นไปทีเดียว ฯ กรรมเท่านั้นจะเป็นเหตุตั้งอยู่แห่งสหชาตธรรมเหล่านั้น ดุจอาหารเป็นต้นเป็นเหตุตั้งอยู่แห่งรูปที่เกิดแต่อาหารเป็นต้นหามิได้เลย เพราะกรรมไม่มีในขณะนั้น ฯ ไฟกับแต่ชีวิตนทรีย์นี้ที่ยังอาหารให้ย่อมซึมซาบไปทั่วร่างกายที่มีใจครองตลอดหมด ฯ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ