[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 381
๖. สุสีมชาดก
ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะออกบวช
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 381
๖. สุสีมชาดก
ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะออกบวช
[๑๐๗๙] เมื่อก่อนผมสีดำ เกิดบนศีรษะของเจ้า ตามที่ของมันแล้ว เจ้าสุสิมะ วันนี้เจ้าเห็น เส้นผมเหล่านั้น มีสีขาวแล้ว จงประพฤติธรรมเถิด เวลานี้ เป็นเวลาแห่งการประพฤติพรหมจรรย์แล้ว.
[๑๐๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผมหงอกของหม่อมฉันเอง ไม่ใช่ของพระองค์ ผมหงอก งอกขึ้นบนศีรษะ บนกระหม่อมของหม่อมฉันเอง หม่อมฉันได้ทูลคำเท็จ โดยตั้งใจว่า จักทำประโยชน์ให้ตน ขอพระองค์ทรงโปรด พระราชทานอภัยโทษหม่อมฉัน สักครั้งหนึ่งเถิด เพคะ.
[๑๐๘๑] ข้าแต่มหาราช พระองค์ยังทรงหนุ่ม มีพระโฉมน่าทัศนา ยังทรงอยู่ในปฐมวัย เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 382
ตองกล้วยแรกผลิ ฉะนั้น ข้าแต่พระทูลกระหม่อมจอมคน ขอพระองค์ทรงเสวยราชสมบัติ ทรงดูแลหม่อมฉันเถิด และอย่าทรงทะยานไปสู่พรหมจรรย์ ที่ให้ผลตามกาลเวลา.
[๑๐๘๒] เราเห็นกุมารีรุ่นสาว ผู้มีรูปร่างสวยงาม มีผิวพรรณเกลี้ยงเกลา มีทรวดทรงเฉิดฉาย อ่อนละมุนละไม เหมือนเถากาลวัลลี ต้องลมโชย เอนตัวเข้าใกล้ชาย เหมือนยั่วยวนชายอยู่ ฉะนั้น.
[๑๐๘๓] ต่อมา เราได้เห็นนารีคนนั้น มีความชรา มีอายุล่วงไป ๘๐ ปี ๙๐ ปี ถือไม้เท้าสั่นงกงัน มีร่างกายโค้งค้อมลง เหมือนกลอนเรือนเดินไป.
[๑๐๘๔] เราครุ่นคิดถึงคุณ และโทษ ของรูปนั้นอยู่ นั่นเอง จึงนอนอยู่กลางที่นอน แต่คนเดียว เราเมื่อพิจารณาเห็นว่า ถึงเราก็จะเป็นอย่างนี้ จึงไม่ยินดีในเรือน เวลานี้ เป็นเวลาแห่งการประพฤติพรหมจรรย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 383
[๑๐๘๕] ความยินดี ของผู้อยู่ครองเรือน นี่แหละ. เป็นเสมือนเชือกผูกเหนี่ยวไว้ ธีรชนตัดเชือกนี้ได้แล้ว ไม่อาลัยไยดี จะละกามสุข แล้วหลีกเว้นหนี.
จบสุสีมชาดกที่ ๖
อรรถกถาสุสีมชาดกที่ ๖
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภมหาภิเนษกรมณ์ แล้วตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาฬานิ เกสานิ ปุเร อเหสุํ ดังนี้.
ในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย พากันนั่งที่ธรรมสภา พรรณนาถึง การเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ของพระทศพล. พระศาสดาเสด็จมาถึง แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย นั่งสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไรหนอ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เราตถาคต ผู้บำเพ็ญบารมีเต็มแล้ว มากมาย หลายแสนโกฏิกัปป์ ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อน เราตถาคต ก็ทอดทิ้งราชสมบัติ ในกาสิกรัฐ ประมาณสามร้อยโยชน์ ออกสู่อภิเนษกรมณ์เหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 384
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในท้อง ของภรรยาหลวงของปุโรหิต ของพระองค์. ในวันที่พระโพธิสัตว์เกิด นั่นเอง ฝ่ายพระราชโอรส ของพระเจ้าพาราณสี ก็ประสูติ. ในวันขนานนาม และพระนามของกุมาร และพระราชกุมารเหล่านั้น พวกปุโรหิตขนานนาม พระมหาสัตว์นั้นว่า สุสีมกุมาร ส่วนพระนามของพระราชบุตรว่า พรหมทัตกุมาร. พระเจ้าพาราณสีทรงดำริว่า สุสีมกุมาร เกิดวันเดียวกันกับบุตรของเรา จึงมีพระบรมราชโองการ ไปยังพระโพธิสัตว์ พระราชทานพี่เลี้ยง ทรงให้เจริญวัยพร้อมกับพระราชกุมารนั้น. กุมารแม้ทั้ง ๒ นั้น จำเริญวัยแล้ว เป็นผู้มีรูปร่างสวยงาม มีผิวพรรณเหมือนเทพกุมาร เรียนศิลปะทุกอย่าง ที่เมืองตักกสิลา สำเร็จแล้วก็กลับมา. พระราชบุตรทรงเป็นอุปราช ทรงเสวย ทรงดื่ม ประทับนั่ง ประทับบรรทม อยู่ร่วมกับพระโพธิสัตว์ โดยสิ้นรัชกาลพระชนก ก็เสวยราชย์แทน พระราชทานยศสูง แก่พระมหาสัตว์ ทรงตั้งท่านไว้ ในตำแหน่งปุโรหิต วันหนึ่ง รับสั่งให้เตรียมพระนคร แล้วทรงแต่งพระองค์ เหมือนท้าวสักกเทวราช ประทับนั่งบน คอช้างต้น ที่เมามัน มีส่วนเปรียบด้วยช้างเอราวัณ ที่ตบแต่ง แล้วทรงให้มหาสัตว์ นั่งบนหลังช้าง ณ ที่นั่งด้านหลัง ทรงทำประทักษิณพระนคร. ฝ่ายสมเด็จพระราชชนนี ประทับยืนที่ช่องพระแกล ด้วยพระดำริว่า เราจักมองดูลูก ทอดพระเนตรเห็นปุโรหิต นั่งอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ ของพระราชานั้น ผู้ทรงทำประทักษิณพระนคร แล้วเสด็จมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 385
ทรงมีพระทัยปฏิพัทธ์ จึงเสด็จเข้าห้องบรรทม ทรงงดพระกระยาหาร แล้วเสด็จบรรทม ด้วยหมายพระทัยว่า เราเมื่อไม่ได้ปุโรหิตนี้ ก็จักตาย ณ ที่นี้ นั่นเอง. พระราชา เมื่อไม่ทรงเห็นพระราชชนนี จึงตรัสถามว่า แม่ของฉันไปไหน? ทรงสดับว่า ประชวร จึงเสด็จไปถึงที่ประทับ ของพระราชชนนี ทรงถวายบังคม แล้วตรัสถามว่า เสด็จแม่พระเจ้าข้า เสด็จแม่ประชวรเป็นอะไร? พระนางไม่ตรัสบอกพระองค์ เพราะทรงละอาย. พระองค์จึงเสด็จไปประทับ นั่งบนพระราชบัลลังก์ รับสั่งให้เรียก พระมเหสีของพระองค์มา ทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า เธอจงไป แล้วทราบการประชวรของเสด็จแม่. พระนางเสด็จไป แล้วทรงนวดพระปฤษฎางค์ไป พลางทูลถามไปพลาง. ธรรมดาผู้หญิงทั้งหลาย จะไม่ซ่อนความลับต่อผู้หญิงด้วยกัน. พระราชชนนีนั้น ตรัสบอกเนื้อความนั้น. ฝ่ายพระราชินี ทรงสดับคำนั้น แล้วจะเสด็จไปทูลพระราชา. พระราชารับสั่งว่า เรื่องนั้น ยกไว้เถอะ เธอจงไป จงให้เสด็จแม่ เบาพระทัย ฉันจักตั้งปุโรหิต ให้เป็นพระราชา แล้วตั้งเสด็จแม่ ให้เป็นอัครมเหสี. พระนางจึงได้เสด็จไป แล้วทรงให้พระราชชนนี เบาพระทัย. ฝ่ายพระราชา รับสั่งให้ปุโรหิตเข้าเฝ้า แล้วตรัสบอกเนื้อความนั้น แล้วรับสั่งว่า สหายเอ๋ย ขอสหายจงให้ชีวิตแก่เสด็จแม่ สหายจงเป็นพระราชา เสด็จแม่จะเป็นพระมเหสี เราจะเป็นอุปราช. ปุโรหิตนั้น ทูลคัดค้านว่า ข้าพระองค์ไม่อาจทำอย่างนั้นได้ แต่เมื่อพระองค์ ทรงรบเร้าบ่อยๆ ก็รับ. พระราชาได้ทรงอภิเษกปุโรหิต ให้เป็นพระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 386
พระราชชนนี ให้เป็นอัครมเหสี ส่วนพระองค์ทรงเป็นอุปราช. เมื่อทั้ง ๒ พระองค์นั้น ทรงประทับอยู่สมัครสมานกัน ในกาลต่อมาพระโพธิสัตว์ ทรงระอาพระทัย ในท่ามกลางเรือน การครองเรือน ทรงละกามทั้งหลาย แล้วทรงมีพระทัยน้อมไปในการบรรพชา ไม่ทรงอาลัยไยดี ถึงความยินดี ด้วยอำนาจกิเลส ประทับยืน ประทับนั่ง เสด็จบรรทม แต่ลำพังพระองค์เดียว ได้เป็นเสมือนถูกจองจำ อยู่ที่เรือนจำ และเป็นเสมือนไก่ถูกขังไว้ในกรง. ลำดับนั้น พระมเหสีของพระองค์ ทรงดำริว่า พระราชาพระองค์นี้ ไม่ทรงอภิรมย์กับเรา ประทับยืน ประทับนั่ง และทรงบรรทมแต่ลำพังพระองค์เดียว แต่พระราชาพระองค์นี้ เป็นคนหนุ่ม ส่วนเราเป็นคนแก่ ผมหงอก ปรากฏบนศีรษะของเรา ถ้ากะไรแล้ว เราควรจะสร้างความเท็จขึ้นว่า ข้าแต่สมมติเทพ บนพระเศียรของ พระองค์ ปรากฏพระเกษาหงอก ดังนี้ ให้พระราชาทรงยอมรับแล้ว ทรงอภิรมย์กับเรา ด้วยอุบายนั้น วันหนึ่ง จึงทรงทำเป็นเสมือนหาเหา บนพระเศียรของพระราชา ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงชราแล้ว บนพระเศียรของพระองค์ ปรากฏพระเกษาหงอกเส้นหนึ่ง เพคะ. พระราชาตรัสว่า ข้าแต่นางผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอเธอจงถอน ผมหงอกเส้นนั้นมาวางไว้บนมือของฉัน. พระนางจึงทรงถอนพระเกษา เส้นหนึ่งจากพระเศียรของพระราชา ทิ้งมันไป แล้วทรงหยิบ เอาพระเกษาหงอกเส้นหนึ่ง จากพระเศียรของตน แล้ววางบนพระหัตถ์ของพระราชานั้น โดยทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นี้พระเกษาหงอกของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 387
พระเสโท ไหลออกจากพระนลาฏ ที่เสมือนกับแผ่นทอง ของพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงสะดุ้ง เพราะทรงเห็นพระเกษาหงอกเท่านั้น แล้วก็ทรงกลัว. พระองค์เมื่อทรงโอวาทตน ทรงดำริว่า ดูก่อนสุสีมะ เจ้าเป็นคนหนุ่ม แต่กลายเป็นคนแก่ไปแล้ว เจ้าจมอยู่ในเปือกตม คือ กาม เหมือนหมูบ้าน จมอยู่แล้ว ในเปือกตม คือ คูถ ฉะนั้น ไม่สามารถถอนตนขึ้นได้ บัดนี้ เป็นเวลาของเจ้า ที่จะละกามทั้งหลาย เข้าสู่ป่าหิมพานต์บวช แล้วประพฤติพรหมจรรย์ มิใช่หรือ? ดังนี้ แล้วจึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
เมื่อก่อนผมสีดำ เกิดบนศีรษะของเจ้า ตามที่ของมันแล้ว สุสีมะเจ้า วันนี้ เจ้าเห็นเส้นผมเหล่านั้น มีสีขาว แล้วจงประพฤติธรรมเถิด เวลานี้เป็นเวลา แห่งการประพฤติพรหมจรรย์แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปเทเส ความว่า พระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ก่อนแต่นี้ ผมทั้งหลาย มีสีเหมือนแมลงภู่ และดอกอัญชัญ ได้เกิดแล้วบนศีรษะของเจ้า ซึ่งเป็นถิ่นที่เหมาะแก่ผมทั้งหลายในที่นั้นๆ บทว่า ธมฺมํ จร ความว่า พระโพธิสัตว์ ทรงบังคับตนเองว่า เจ้าจงประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส มีเนื้อ ความว่า เป็นเวลาแห่งเมถุนวิรัติ ของเจ้าแล้ว. เมื่อพระโพธิสัตว์พรรณนาคุณ การประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้แล้ว พระราชินีทรงสะดุ้งพระทัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 388
เพราะทรงกลัวว่า เราตั้งใจว่า จะทำการมัดพระทัยพระราชาไว้ แต่กลายเป็น ทำการสละไปเสีย จึงทรงดำริว่า เราจักสรรเสริญ พระฉวีวรรณแห่งพระสรีระ เพื่อต้องการไม่ให้พระราชา พระองค์นี้ เสด็จออกผนวช จึงได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผมหงอกของหม่อมฉันเอง ไม่ใช่ของพระองค์ ผมหงอก งอกขึ้นบนศีรษะ บนกระหม่อมของหม่อมฉันเอง หม่อมฉันได้ทูลคำเท็จ โดยตั้งใจว่า จักทำประโยชน์ให้ตน ขอพระองค์ทรงโปรด พระราชทานอภัยโทษหม่อมฉัน สักครั้งหนึ่งเถิด เพคะ ข้าแต่มหาราช พระองค์ยังทรงหนุ่ม มีพระโฉมน่าทัศนา ยังทรงอยู่ในปฐมวัย เหมือนตองกล้วยแรกผลิ ฉะนั้น ข้าแต่พระทูลกระหม่อม จอมคน ขอพระองค์ทรงเสวยราชสมบัติ ทรงดูแลหม่อมฉันเถิด และอย่าทรงทะยานไป สู่การประพฤติพรหมจรรย์ ที่ให้ผลตามกาลเวลา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเมว สีสํ ความว่า พระราชินี ทรงแสดงว่า ผมหงอกงอก ขึ้นบนศีรษะของหม่อมฉันเอง. คำว่า อุตฺต-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 389
มงฺคํ เป็นไวพจน์ของคำว่า สีสํ นั่นเอง. บทว่า อตฺถํ ความว่า หม่อมฉันทูลคำเท็จด้วยหวังว่า จักทำความเจริญแก่ตนเอง. บทว่าเอกาปราธํ ความว่า โทษผิดอย่างหนึ่ง ของข้าพระองค์นี้. บทว่า ปมุคฺคโต ความว่า เจริญขึ้นโดยปฐมวัย. บทว่า โหหิ ได้แก่ โหสิ เป็นผู้อธิบายว่า ดำรงอยู่แล้วในปฐมวัย. ปาฐะว่า โหสิ เยว ก็ดี. บทว่า ยถา กลีโร ความว่า พระราชินีทรงชี้แจงว่า ตองกล้วยอ่อนมีผิวนวล ต้องลมอ่อนพัดโชย ย่อมพริ้วงามฉันใด พระองค์ก็มีพระรูปโฉม ฉันนั้น. ปาฐะว่า ปมุคฺคโต โหสิ ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ก็มีเนื้อความว่า หน่อของไม้อ่อนแรกขึ้น น่าทัศนาฉันใด พระองค์ก็น่าทัศนา ฉันนั้น. บทว่า มมญฺจ ปสฺส ความว่า ขอพระองค์ จงทรงดูแลหม่อมฉันด้วยเถิด. อธิบายว่า โปรดอย่าทรงกระทำให้หม่อมฉัน เป็นหม้าย ไม่มีที่พึ่งเลย. บทว่า กาลิกํ ความว่า พระนางทูลว่า ธรรมดาการประพฤติพรหมจรรย์ ที่ชื่อว่า ให้ผลตามกาลเวลา เพราะจะให้ผลในอัตตภาพที่ ๒ ที่ ๓ ส่วนราชสมบัติ ชื่อว่า ให้ผลไม่เลือกกาลเวลา เพราะอำนวยความสุข คือ กามคุณในอัตตภาพนี้ทีเดียว พระองค์นั้น อย่าทรงละราชสมบัติ ที่ให้ผล ไม่เลือกกาลเวลา แล้วทรงโลดแล่นไป ตามการประพฤติพรหมจรรย์ ที่ให้ผลตามกาลเวลาเลย.
พระโพธิสัตว์ ครั้นทรงสดับคำนั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เธอพูดถ้อยคำนั้น ที่ควรเป็นไปได้ เพราะว่า เมื่อวัยของเรา ที่มีความเปลี่ยนแปลงเป็นที่สุด ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ผมสีดำทั้งหลาย เหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 390
ก็ต้องเปลี่ยนเป็นสีขาว เหมือนใยป่านไปหมด. จริงอยู่ เมื่อวัยของกุมารทั้งหลาย ที่เช่นกับพวงดอกไม้ มีดอกอุบลเขียว เป็นต้น และของขัตติยกัญญา เป็นต้น ผู้เปรียบปานกับด้วยรูปทอง อุดมสมบูรณ์ด้วยความหนุ่มสาว และความสง่างาม มีความเปลี่ยนแปลงเป็นที่สุด ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เราจะเห็นทั้งสิ่งที่น่าตำหนิ ทั้งความชำรุดแห่งสรีระ ของคนทั้งหลาย ผู้ถึงความชราแล้ว ดูก่อนนางผู้เจริญ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ โลกของสัตว์ผู้มีชีวิตนั้น ก็มีความวิบัติเป็นจุดจบ ดังนี้แล้ว เมื่อทรงแสดงธรรม ด้วยพุทธลีลา ในเบื้องสูง จึงได้กล่าวคาถาทั้ง ๒ ว่า :-
เราเห็นกุมารีรุ่นสาว ผู้มีรูปร่างสวยงาม มีผิวพรรณเกลี้ยงเกลา มีทรวดทรงเฉิดฉาย อ่อนละมุนละไม เหมือนเถากาลวัลลี ต้องลมโชย เอนตัวเข้าใกล้ชาย เหมือนยั่วยวนชายอยู่ ฉะนั้น ต่อมาเราได้เห็นนารีคนนั้น มีความชรา มีอายุล่วงไป ๘๐ ปี ๙๐ ปี ถือไม้เท้าสั่นงกงัน มีร่างกายโค้งค้อมลง เหมือนกลอนเรือนเดินไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว เป็นเพียงนิบาต. บทว่า สามฏฺปสฺสํ ความว่า มีต้นแขนเกลี้ยงเกลา อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็เป็น สมฏฺปสฺสํ นั่นแหละ. อธิบายว่า มีผิวพรรณเกลี้ยงเกลา ที่ต้นแขนทั้งหมด. บทว่า สุตนุํ ได้แก่ มีรูปร่างสวยงาม. บทว่า สุมชฺฌํ ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 391
มีลำตัวได้สัดส่วนทรวดทรงดี. บทว่า กาลปฺปลฺลวาว ปเวลฺลมานา ความว่า อุปมาเหมือนหนึ่งว่า เถากาลวัลลี เถาหญ้านาง ที่ขึ้นดีๆ งามๆ ในเวลายังเล็ก ยังเป็นยอดอ่อนอยู่ทีเดียว ต้องลมโชยเบาๆ ก็โอนเอน ไปมาทางโน้นทางนี้ ฉันใด หญิงสาวนั้น ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เอนตัวเข้าไปทำร้าย ความสง่างามของหญิง. บทว่า ปโลภยนฺตีว นเรสุ คจฺฉติ เป็นสัตตมีวิภัติ ลงในอรรถว่า ใกล้. หญิงสาวนั้น ไปใกล้สำนักชายทั้งหลาย เป็นเหมือนยั่วยวน ชายเหล่านั้นอยู่. บทว่า ตเมน ปสฺสามิ ปเรน นารึ ความว่า สมัยต่อมา เราเห็นหญิงคนนี้ นั้นถึงความชรา คือ ความสวยงามแห่งรูป ที่หายไปแล้ว หมดความสวยงาม. พระโพธิสัตว์กล่าวถึง คุณของรูปด้วยคาถาที่ ๑ บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงโทษ จึงได้กล่าวอย่างนี้. บทว่า อาสีติกํ นาวุติกญฺจ ชจฺจา ความว่า ๘๐ ปี หรือ ๙๐ ปี แต่เกิดมา บทว่า โคปาณสีภคฺคสมํ มีเนื้อความว่า มีร่างกายคดค้อม เหมือนกลอนเรือน คือ มีสรีระคดโค้ง เหมือนกลอนเรือน เดินหลังค่อมเหมือนกับหาเก็บเงิน กากณึกหนึ่งที่หายไป. ก็ขึ้นชื่อว่า หญิงที่พระโพธิสัตว์เคยเห็น เมื่อเวลายังสาว แล้วได้เห็นอีกในเวลาอายุ ๙๐ ปี ไม่มีก็จริงแล แต่ว่า คำนี้ท่านกล่าว หมายเอา ภาวะของหญิง ที่เห็นได้ด้วยญาณ.
พระมหาสัตว์ ครั้นทรงแสดงโทษของรูป ด้วยคาถานี้ โดยประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศ ความเบื่อหน่ายของตน ในการครองเรือน จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาไว้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 392
เราครุ่นคิดถึงคุณ และโทษ ของรูปนั้นอยู่ นั่นเอง จึงนอนอยู่กลางที่นอน แต่คนเดียว เราเมื่อพิจารณาเห็นว่า ถึงเราก็จะเป็นอย่างนี้ จึงไม่ยินดีในเรือน เวลานี้เป็นเวลาแห่งการ ประพฤติพรหมจรรย์ ความยินดีของผู้อยู่ครองเรือน นี้แหละ เป็นเหมือนเชือกผูกเหนี่ยวไว้ ธีรชนตัดเชือกนี้ได้แล้ว ไม่อาลัยไยดี จะละกามสุข แล้วหลีกเว้นหนี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสหํ ตัดบทเป็น โส อหํ ความว่า เรานั้น บทว่า ตเมวานุวิจินฺตยนฺโต ความว่า ครุ่นคิดถึงคุณ และโทษ ของรูปทั้งหลายนั้น นั่นเอง. บทว่า เอวํ อิติ เปกฺขมาโน ความว่า พิจารณาเห็นอยู่ว่า หญิงนี้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ฉันใด ถึงฉันก็เป็นฉันนั้น คือ จักถึงความชรา มีสรีระคดค้อมลงไป. บทว่า เคเห น รเม ความว่า เราไม่ยินดีในเรือน. บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส กาโล ความว่า พระโพธิสัตว์ทรงแสดงว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เวลานี้ เป็นเวลาการประพฤติพรหมจรรย์ของเรา เพราะฉะนั้น เราจักออกบวช. จ อักษร ในคำว่า รชฺชุ วาลมฺพนี เจสา เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า สิ่งนี้ เป็นเสมือนเครื่องผูกเหนี่ยวไว้. สิ่งนี้คืออะไร คือ ความยินดีของผู้อยู่ในเรือนใด. อธิบายว่า ความยินดี ด้วยอำนาจของกาม ในอารมณ์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 393
มีรูป เป็นต้น ของผู้ครองเรือนใด. ด้วยบทนี้ พระโพธิสัตว์ทรงแสดงถึง ความที่กามทั้งหลาย มีคุณน้อย. ในข้อนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ บุรุษผู้ป่วย ไม่สามารถพลิกตัวได้ ด้วยกำลังของตนเอง ผู้พยาบาล ต้องผูกเชือก สำหรับเหนี่ยวไว้ โดยบอกว่า จงเหนี่ยวเชือกนี้ พลิกตัว. เมื่อเขาเหนี่ยว เชือกนั้น พลิกตัว ก็คงมีความสุขกาย และความสุขใจ หาน้อยไม่ ฉันใด เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ผู้เร่าร้อนเพราะกิเลส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่สามารถจะพลิกใจได้ ด้วยสามารถแห่งความสุข เกิดแต่วิเวก ปรารภอารมณ์ มีรูป เป็นต้น ที่สถิตอยู่ท่ามกลางเรือน ด้วยอำนาจการซ่องเสพเมถุนธรรม ในเวลาพวกเขาเร่าร้อน เพราะกิเลส พลิกไปพลิกมาอยู่ ความยินดีในกาม ได้แก่ ความสุขกายสุขใจ เมื่อเกิดขึ้นชั่วครู่เท่านั้น ก็มีประมาณเพียงเล็กน้อย กามทั้งหลาย ชื่อว่า มีคุณมากอย่างนี้. บทว่า เอตํปิ เฉตฺวาน ความว่า ก็เพราะเหตุที่กามทั้งหลาย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก. ในกามนี้ ยิ่งมีโทษ ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลาย เห็นโทษนั้นอยู่ จึงทอดทิ้งราชสมบัติ ไม่อาลัยไยดี เหมือนบุรุษจมหลุมคูถแล้ว ละทิ้งไม่อาลัย ฉะนั้น ละกามสุข ที่มีประมาณเพียงเล็กน้อย แต่มีทุกข์มากอย่างนี้ แล้วเว้นหนีไป. ครั้นออกไปแล้ว ก็ถือบวช อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ.
พระมหาสัตว์ ครั้นทรงแสดงธรรม ด้วยพุทธลีลา ชี้ให้เห็นคุณ และโทษ ในกามทั้งหลายอย่างนี้ แล้วตรัสสั่ง ให้เรียกสหายมา ทรงมอบราชสมบัติให้ เมื่อญาติมิตร และสหาย ผู้มีใจดีทั้งหลาย คร่ำครวญกลิ้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 394
เกลือกไปมาอยู่นั่นเอง ทรงทอดทิ้งสิริราชสมบัติ แล้วบวชเป็นฤๅษี ยังฌาน และอภิญญาให้เกิดขึ้น ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำ พระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุดแห่งสัจธรรม ยังชนจำนวนมาก ให้ได้ดื่มน้ำอมฤต แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า พระอัครมเหสีในครั้งนั้น ได้แก่ มารดาพระราหุลในบัดนี้ พระราชาผู้เป็นพระสหาย ได้แก่ พระอานนท์ ส่วนพระเจ้าสุสีมะ ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถา สุสีมชาดกที่ ๖