สนทนาธรรม ณ แดนพุทธภูมิ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ช่วงบ่าย
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 299
ตํ วินา นาญฺญโต ทุกฺขํ น โหติ น จ ตํ ตโต ทุกฺขเหตุนิยาเมน อิติ สจฺจํ วิสตฺติกา เว้นจากตัณหานั้นแล้วทุกข์ย่อมไม่มี แต่เหตุอื่น และทุกข์นั้นย่อมไม่มีจากตัณหา นั้นก็หาไม่ เพราะฉะนั้น ตัณหาตัวซัดซ่าย ไปในอารมณ์ต่างๆ นั้น บัณฑิตจึงรู้ว่า เป็นสัจจะ โดยกำหนดอรรถว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์.
สมุทัย มีอรรถว่าประมวลมา มีอรรถว่าเป็นเหตุมอบให้ซึ่งผล มีอรรถว่าประกอบไว้ มีอรรถว่าเป็นเครื่องกังวล
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๖๘ - หน้าที่ ๕๓๔
อนึ่ง พึงทราบสัจจะเหล่านี้ทั้งหมดโดยปรมัตถ์ว่า สูญ เพราะ ไม่มีผู้เสวย ไม่มีผู้ทำ ไม่มีผู้ดับ และไม่มีผู้ไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต การโก น กิริยาว วิชฺชติ, อตฺถิ นิพพุติ น นิพพุโต ปุมา มคฺคมตฺถิ คมโก น วิชฺชติ. ความจริงทุกข์เท่านั้นมีอยู่ แต่ไม่มีใครๆ ถึง ทุกข์ กิริยาคือการทำมีอยู่ แต่ผู้ทำไม่มี, ความดับ มีอยู่ แต่คนดับ ไม่มี ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินไม่มี.
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 109
๑๐. วชิราสูตร
ดูก่อนมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับมาว่าสัตว์ ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่า สัตว์ เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี ฉันใด. เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ความจริง ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
ชาวอินเดีย: ในชีวิตเรามีความทุกข์เยอะ อะไรเป็นเหตุของทุกข์นั้น?
ท่านอาจารย์: ถ้าไม่เกิดไม่มีทุกข์ เพราะฉะนั้น ไม่เกิดไม่ได้ใช่ไหม?
ชาวอินเดีย: ห้ามไม่ให้เกิดไม่ได้
ท่านอาจารย์: เชื่อว่า การเกิดต้องมีเหตุให้เกิดหรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: มีเหตุ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ทุกคนต้องเกิด บางคนเกิดแล้วมีความสุขมาก บางคนเกิดแล้วมีความทุกข์มาก ต้องมีเหตุให้เป็นอย่างนั้นใช่หรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: ครับ
ท่านอาจารย์: เคยโกรธหรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: เคย
ท่านอาจารย์: โกรธกับไม่โกรธ อะไรดีกว่า?
ชาวอินเดีย: ไม่โกรธดีกว่า
ท่านอาจารย์: ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่า คนอื่นทำให้เราโกรธไม่ได้ เพราะเราสะสมความโกรธไว้ เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ยินเสียงที่ไม่ดี ทุกอย่างที่ไม่ดีทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็โกรธ เพราะไม่รู้ว่า ขณะนั้นไม่มีประโยชน์เลยที่จะโกรธ
ชาวอินเดีย: เข้าใจว่า เหตุไม่ได้เกิดจากภายนอก คือเกิดจากภายใน เพราะส่วนใหญ่เราจะโทษคนอื่น แล้วจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์: การที่จะรู้ความจริงไม่ง่าย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงทุกอย่างตามลำดับ ตั้งแต่อย่างหยาบๆ จนกระทั่งละเอียดขึ้นๆ ไม่มีใครไม่โกรธ ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงจนกระทั่งสามารถที่จะไม่โกรธได้
เพราะฉะนั้น เริ่มต้นต้องรู้ความจริงทีละเล็กทีละน้อย
ขอเชิญอ่านได้ที่ ...
ว่าด้วยกถาวัตถุ ๑๐ [เรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง]
ขอเชิญฟังได้ที่ ...
หลังคากิเลส
การพิจารณากิเลสตนเอง
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
กราบเท้าท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลทุกประการค่ะน้องเมตตา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในความดีของทุกท่านครับ