อนิยตสิกขาบทที่ ๑
โดย บ้านธัมมะ  10 มี.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 42758

[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓

พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓

มหาวิภังค์ ปฐมภาค

สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย

มหาวิภังค์วรรณนา ภาค ๒

อนิยตกัณฑ์

อนิยตสิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา มิคารมารดา 631/662

พระบัญญัติ 665

สิกขาบทวิภังค์ 633/666

ปฏิญญาตกรณะเห็นนั่งกําลังเสพเมถุนธรรมดาเป็นต้น 636/668

บทภาชนีย์บทสรุป 643/671

อนิยตกัณฑวรรณนา 647

พรรณนาอนิยตสิกขาบทที่ ๑ 674

พึงปรับอาบัติตามปฏิญญาของภิกษุ 677


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 662

อนิยตกัณฑ์

ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.

อนิยตสิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา มิคารมาตา

[๖๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระประจำสกุลในพระนครสาวัตถี เข้าไปหาสกุลเป็น อันมาก สมัยนั้น สาวน้อยแห่งสกุลอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี เป็น สตรีที่มารดาบิดายกให้แก่หนุ่มน้อยของสกุลหนึ่ง

ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและ จีวรเข้าไปหาสกุลนั้น ครั้นแล้วจึงไต่ถามพวกชาวบ้านว่า สาวน้อยผู้มี ชื่อนี้ อยู่ไหน

พวกชาวบ้านตอบอย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้าได้ยกให้แก่หนุ่มน้อยของ สกุลโน้นแล้ว เจ้าข้า

แม้สกุลนั้นแล ก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหาสกุลนั้น ครั้นแล้วจึงถามพวกชาวบ้านว่า สตรีผู้มีชื่อนี้ อยู่ไหน

พวกชาวบ้านตอบว่า นางนั่งอยู่ในห้อง เจ้าข้า

จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหาสาวน้อยนั้น ครั้นแล้วสำเร็จการนั่งใน ที่ลับ คือในอาสนะกำบังซึ่งพอจะทำการได้กับสาวน้อยนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 663

[๖๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล นางวิสาขา มิคารมาตา เป็นสตรีมีบุตร มาก มีนัดดามาก มีบุตรไม่มีโรค มีนัดดาไม่มีโรค ซึ่งโลกสมมติว่าเป็น มิ่งมงคล พวกชาวบ้านเชิญนางไปให้รับประทานอาหารก่อนในงานบำเพ็ญ กุศล งานมงคล งานมหรสพ ครั้งนั้น นางวิสาชา มิคารมาตา ได้ถูก เชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นที่ท่านพระอุทายี นั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับหญิงสาวนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าว คำนี้กะท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้าสำเร็จการ นั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อ หนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร แม้พระคุณเจ้าจะไม่ต้องการด้วยธรรมนั้น ก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใส จะบอกให้เธอได้โดย ยาก

ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้เชื่อฟัง

เมื่อนางวิสาขา มิคารมาตา กลับไปแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลาย

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่าน พระอุทายีจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการ ได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 664

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน พระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือใน อาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ

ท่านพระอุทายีทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า การ กระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดย ที่แท้ การกระทำของเธอนั้น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส แล้ว

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริ- ยาย ดังนี้แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุง ยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก-


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 665

ปริยายแล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับ ว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อ ป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิด ในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่ง พระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๘. ๑. อนึ่ง ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือใน อาสนะกำบัง พอจะทำการได้มาตุคามผู้เดียว อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อ ได้ เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วย ปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วย ปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วย ธรรมใด ภิกษุนั้นพิงถูกปรับด้วยธรรมนั้น ธรรมนี้ชื่อ อนิยต.

เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา จบ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 666

สิกขาบทวิภังค์

[๖๓๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติ จตุตถกรรมอันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ไช่หญิง เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย โดยที่สุด แม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น ไม่ต้องพูดถึงสตรีผู้ใหญ่.

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 667

คำว่า รูปเดียว ... ผู้เดียว ได้แก่ ภิกษุ ๑ มาตุคาม ๑

ที่ชื่อว่า ในที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ๑ ที่ลับหู ๑

ที่ลับตา ได้แก่ที่ซึ่งเมื่อภิกษุหรือมาตุคามขยิบตา ยักคิ้ว หรือ ชูศีรษะไม่มีใครสามารถจะแลเห็นได้

ทีลับหู ได้แก่ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดตามปกติได้

อาสนะทึ่ชื่อว่า กำบัง คือ เป็นอาสนะที่เขากำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า พอจะทำการได้ คือ อาจเพื่อจะเสพเมถุนธรรมได้

คำว่า สำเร็จการนั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุ นั่งใกล้หรือนอนใกล้ก็ดี เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอน ใกล้ก็ดี นั่งทั้งสองคนหรือนอนทั้งสองคนก็ดี.

[๖๓๔] อุบาสิกาที่ชื่อว่า มีวาจาที่เชื่อได้ คือ เป็นสตรีผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจศาสนาดี

ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึง พระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.

บทว่า เห็น คือ พบ.

[๖๓๕] อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เช่นนั้น พึงพูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสส ก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสส บ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกประการหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 668

ปฏิญญาตกรณะ

เห็นนั่งกำลังเสพเมถุนธรรม

[๖๓๖] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่ง กำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับ ตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพ เมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ ได้เสพเมถุนธรรมเลย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพ เมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพ เมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนอนกำลังเสพเมถุนธรรม

[๖๓๗] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า นอนกำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง เสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรมเลย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 669

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังเสพ เมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง เสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย

[๖๓๘] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า นั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการ นั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึง ความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า นั่งจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึง ความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลัง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 670

เห็นนอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย

[๖๓๙] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า นอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการ นอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า นอนจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการ นอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนั่งในที่ลับ

[๖๔๐] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า รูปเดียวนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคาม ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่ง ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 671

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่ง ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนอนในที่ลับ

[๖๔๑] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า รูปเดียวนอนในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคาม ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอน ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุ นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งต่างหาก ดังนี้ พึง ปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอน ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุ นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

[๖๔๒] บทว่า อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน คือ เป็นปาราชิก ก็ได้ เป็นสังฆาทิเสสก็ได้ เป็นปาจิตตีย์ก็ได้.

บทภาชนีย์

[๖๔๓] ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ิ


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 672

ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ ตามอาบัติ

ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ เพราะการนั่ง

ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึง ปรับ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ ตามอาบัติ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ ตามอาบัติ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ เพราะการนั่ง

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ

อนิยตสิกขาบทที่ ๑ จบ


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 673

อนิยตกัณฑวรรณนา

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! อนึ่ง ธรรม คือ อนิยต ๒ สิกขาบทนี้แล ย่อมมาสู่อุเทศ.

พรรณนาอนิยตสิกขาบทที่ ๑

อนิยตสิกขาบทที่ ๑ ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในอนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีวินิจฉัยดังต่อ ไปนี้:-

[แก้อรรถมูลเหตุแห่งปฐมบัญญัติเป็นต้น]

คำว่า กาลยุตฺตํ สมุลฺลปนฺโต มีความว่า กำหนดกาลแล้ว กล่าวถ้อยคำเกี่ยวด้วยเรื่องชาวบ้าน ในเวลาที่ใครๆ ไม่เดินผ่านไปหรือ เดินผ่านมาที่ใกล้ คือ ตามที่เหมาะแก่เวลาเช่นนั้น มีอาทิว่า เธอไม่ กลุ้มใจ ไม่ลำบากใจ ไม่อดอยากละหรือ?

คำว่า กาลยุตฺตํ ธมฺมํ ภณนฺโต มีความว่า กำหนดกาลแล้ว กล่าวธรรมกถา ในเวลาที่ใครคนอื่นเดินผ่านมา หรือเดินผ่านไป คือ ตามที่เหมาะแก่เวลาเช่นนั้น มีอาทิว่า เธอควรทำอุโบสถ, เธอควรถวาย สลากภัต ดังนี้

นางวิสาขานั้น ชื่อว่า มีบุตรมาก เพราะนางมีธิดาและบุตรมาก ได้ยินว่า นางมีบุตรชาย ๑๐ คน และบุตรหญิง ๑๐ คน. ชื่อว่า มีนัดดามาก เพราะนางมีหลานมาก. เหมือนอย่างว่า นางวิสาขานั้น มีบุตรชายหญิง ๒๐ คน ฉันใดแล, แม้บุตรชายหญิงของนางก็มีทารก


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 674

คนละ ๒๐ คน ฉันนั้น. นางจึงได้ชื่อว่า มีลูกและหลานเป็นบริวาร ๔๒๐ คน ด้วยประการอย่างนี้.

บทว่า อภิมงฺคลสมฺมตา คือ ผู้อันชาวโลกสมมติว่าเป็นอุดมมงคล.

บทว่า ยญฺเสุ คือ ในทานน้อยและทานใหญ่

บทว่า ฉเณสุ คือ ในงานมหรสพอันเป็นไปเป็นครั้งคราว มี อาวาหมงคลและวิวาหมงคลเป็นต้น.

บทว่า อุสฺสเวสุ ได้แก่ ในงานมหรสพฉลอง (สมโภช) มี อาสาฬหนักขัตฤกษ์ และปวารณานักขัตฤกษ์เป็นต้น (งานฉลองนักขัตฤกษ์วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา).

บทว่า ปมํ โภเชนฺติ มีความว่า ชนทั้งหลาย เชิญให้รับประทานก่อน พลางขอพรว่า เด็กแม้เหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่มีโรคมีอายุยืน เสมอ ด้วยท่านเถิด ดังนี้. แม้ชนเหล่าใด เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส, ชนเหล่านั้น ให้ภิกษุทั้งหลายฉันแล้ว จึงเชิญนางวิสาขานั้นแล ให้รับประทานก่อน ทั้งปวง ในลำดับที่ภิกษุฉันแล้วนั้น.

บทว่า น อาทิยิ มีความว่า พระอุทายีเถระ ไม่เชื่อฟังคำของนาง. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ไม่กระทำความเอื้อเฟื้อ.

บทว่า อลํกมฺมนิเย มีวิเคราะห์ว่า ที่นั่งที่ชื่อว่า กัมมนิยะ เพราะอรรถว่า ควรแก่กรรม คือ เหมาะแก่กรรม. ที่ชื่อว่า อสังกัมมนิยะ เพราะอรรถว่า อาจ สามารถ เพื่อทำการได้ ในอาสนะกำบังซึ่งพอจะ ทำการได้นั้น. ความว่า ในสถานที่อย่างที่ชนทั้งหลาย เมื่อจะทำอัชฌาจาร อาจทำกรรมนั้นได้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 675

อลํกมฺมนิเย นั้น ท่านจึงกล่าวว่า อาจจะเสพเมถุนธรรมไม่ได้. มีคำอธิบายว่า ในที่ซึ่งอาจจะเสพเมถุนธรรมได้.

สองบทว่า นิสชฺชํ กปฺเปยฺย ได้แก่ พึงทำการนั่ง. อธิบายว่า พึงนั่ง. ก็เพราะบุคคลนั่งก่อน แล้วจึงนอน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสการนั่งและการนอนทั้งสองไว้ ในบทภาชนะแห่งบทว่า นิสชฺชํ กปฺเปยฺย นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนิสินฺโน มีความว่า บุคคลผู้เข้า ไปนั่งใกล้ๆ นั่นแล ผู้ศึกษา พึงทราบว่า นอนใกล้.

สองบทว่า ภิกฺขุ นิสินฺเน ความว่า เมื่อภิกษุนั่งแล้ว.

สองบทว่า อุโภ วา นิสินฺนา มีความว่า แม้ ๒ คน นั่งไม่ หลังไม่ก่อนกัน (นั่งพร้อมๆ).

ก็ในสิกขาบทที่ ๑ นี้ คำว่า ที่ลับหู ไม่ได้มาในพระบาลีแม้ก็จริง. ถึงอย่างนั้น พึงทราบการกำหนด (อาบัติ) ด้วยที่ลับตาเท่านั้น. หากว่า มีบุรุษรู้เดียงสานั่งอยู่ใกล้ประตูห้องซึ่งปิดบานประตูไว้ก็คุ้มอาบัติไม่ได้เลย. แต่ถ้านั่งใกล้ประตูห้องที่ไม่ได้ปิดบานประตูคุ้มอาบัติได้. และใช่แต่ที่ใกล้ ประตูอย่างเดียวหามิได้, แม้นั่งในโอกาสภายใน ๑๒ ศอก ถ้าเป็นคนตาดี มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง เคลิ้มไปบ้าง ก็คุ้มอาบัติได้ คนตาบอด แม้ยืนอยู่ ในที่ใกล้ ก็คุ้มอาบัติไม่ได้. ถึงคนตาดี นอนหลับเสีย ก็คุ้มอาบัติไม่ได้. ส่วนสตรีแม้ตั้ง ๑๐๐ คน ก็คุ้มอาบัติไม่ได้เลย.

บทว่า สทฺเธยฺยวจสา แปลว่า มีวาจาควรเชื่อถือได้. ก็เพราะ อุบาสิกานั้นเป็นถึงอริยสาวิกา ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 676

จึงตรัสว่า อาคตผลา เป็นต้นไว้ ในบทภาชนะแห่งบทว่า สทฺเธยฺยวจสา นั้น.

ในคำว่า อาคตผลา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- อุบาสิกานั้น ชื่อว่า อาคตผลา เพราะว่า มีผลอันมาแล้ว. อธิบายว่า ผู้ได้โสดาปัตติผลแล้ว.

บทว่า อภิสเมตาวินี คือ ผู้ได้ตรัสรู้สัจจะ ๔. อุบาสิกานี้ เข้าใจ ศาสนา คือ ไตรสิกขาดี; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เข้าใจศาสนาดี

ข้อว่า นิสชฺชํ ภิกฺขุ ปฏิชานมาโน มีความว่า อุบาสิกาเช่นนี้ เห็นแล้วจึงพูด แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น ภิกษุปฏิญญาการนั่งอย่างเดียว พระวินัยธรพึงปรับด้วยธรรม ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอไม่ปฏิญญา ไม่พึงปรับ.

ข้อว่า อีกประการหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วย ธรรมใด ภิกษุนั้น พึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น มีความว่า อุบาสิกานั้น ยกเรื่องเมถุนธรรมเป็นต้นขึ้น พร้อมด้วยอาการมีการนั่งเป็นต้น อาการ อย่างใด, ภิกษุนั้น ก็ปฏิญญาด้วย พึงถูกปรับด้วยอาการอย่างนั้น. อธิบายว่า ไม่พึงปรับด้วยอาการสักว่าถ้อยคำของอุบาสิกาแม้เห็นปานนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะธรรมดาว่า เรื่องที่เห็นเป็นอย่างนั้นก็มี เป็น อย่างอื่นก็มี, ก็เพื่อประกาศเนื้อความนั้น พระอาจารย์ทั้งหลาย จึงนำ เรื่องมาเป็นอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้:-


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 677

[เรื่องพระขีณาสพเถระนั่งกับมาตุคาม]

ได้ทราบว่า ในมัลลารามวิหาร พระเถระผู้ขีณาสพรูปหนึ่งไปสู่ ตระกูลอุปัฏฐาก ในวันหนึ่ง นั่งแล้ว ณ ภายในเรือน. ฝ่ายอุบาสิกาก็ยืน พิงบัลลังก์สำหรับนอน. ลำดับนั้น ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ยืนที่ใกล้ประตู เห็นเข้า ได้ความสำคัญว่า พระเถระนั่งบนอาสนะเดียว กันกับอุบาสิกา จึงมองดูบ่อยๆ. แม้พระเถระก็กำหนดรู้ว่า ภิกษุรูปนี้ เกิดเป็นผู้มีความเข้าใจในเราว่าไม่บริสุทธิ์ ทำภัตกิจแล้วไปยังวิหาร เข้า ไปสู่ที่อยู่ของตนแล้วนั่งอยู่ ภายในนั่นเอง. ภิกษุรูปนั้นมาแล้วด้วย ตั้งใจว่า เราจักโจทพระเถระ กระแอมแล้วเปิดประตู. พระเถระทราบ จิตของเธอ จึงเหาะขึ้นบนอากาศ นั่งโดยบัลลังก์พิงช่อฟ้าเรือนยอด. แม้ภิกษุนั้นเข้าไปภายใน ตรวจดูเตียงและภายใต้เตียงไม่เห็นพระเถระ จึงแหงนดูเบื้องบน ลำดับนั้น ท่านเห็นพระเถระนั่งอยู่บนอากาศ จึง กล่าวว่า ท่านขอรับ! ท่านชื่อว่า มีฤทธิ์มากอย่างนี้ ขอจงให้บอกความ ที่ท่านนั่งบนอาสนะเดียวกับมาตุคามมาก่อนเถิด. พระเถระจึงกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ! นี้เป็นโทษของละแวกบ้าน แต่เราไม่อาจให้ท่านเชื่อได้ จึงได้กระทำอย่างนี้, ท่านควรจะช่วยรักษาเราไว้ด้วย, พระเถระกล่าวอย่าง นี้แล้วก็ลง.

ต่อจากนี้ไป คำว่า สา เจ เอวํ วเทยฺย เป็นต้นทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อแสดงอาการแห่งเหตุของการปฏิญญา.

[พึงปรับอาบัติตามปฏิญญาของภิกษุ]

บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า มาตุคามสฺส เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวนฺโต มีความว่า ผู้เสพเมถุนธรรมในมรรคของมาตุคาม.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 678

คำว่า นิสชฺชาย กาเรตพฺโพ มีความว่า ภิกษุปฏิญญาการนั่งแล้ว ไม่ปฏิญญาการเสพเมถุนธรรม อย่าปรับด้วยอาบัติเมถุนธรรมปาราชิก พึงปรับด้วยอาบัติที่ต้องด้วยเหตุสักว่านั่ง. อธิบายว่า พึงปรับด้วยอาบัติ ปาจิตตีย์. พึงทราบวินิจฉัยในจตุกกะทั้งหมดโดยนัยนี้.

บรรดาบทมีบทว่า คมนํ ปฏิชานาติ เป็นต้นที่ตรัสไว้ เพื่อทรง แสดงการกำหนดอาบัติ และอนาบัติ ในสุดท้ายแห่งสิกขาบท. สองบทว่า คมนํ ปิฏิซานาติ มีความว่า ย่อมปฏิญญาการเดินอย่างนี้ว่า เราเป็น ผู้เดินไปเพื่อยินดีการนั่งในที่ลับ

บทว่า นิสฺชฺชํ มีความว่า ย่อมปฏิญญาซึ่งการนั่งด้วยความยินดี ในการนั่งเท่านั้น.

บทว่า อาปตฺตึ ได้แก่ บรรดาอาบัติทั้ง ๓ อาบัติอย่างใดอย่าง หนึ่ง.

สองบทว่า อาปตฺติยา กาเรตพฺโพ มีความว่า บรรดาอาบัติ ทั้ง ๓ พึงปรับด้วยอาบัติที่ภิกษุปฎิญญา.

คำที่เหลือในจตุกกะในสิกขาบทนี้ มีอธิบายตื้นทั้งนั้น. ส่วนในทุติยจตุกกะ มีวินิจฉัยดังนี้:-

สองบทว่า คมนํ น ปฏิชานาติ มีความว่า ย่อมไม่ปฎิญญาด้วย อำนาจแห่งความยินดีการนั่งในที่ลับ ย่อมกล่าวว่า เราไปด้วยการงาน ส่วนตัว มีสลากภัตเป็นต้น, ส่วนอุบาสิกานั้น มาสู่สถานที่เรานั่งเอง. บทที่เหลือ แม้ในทุติจตุกกะนี้ ก็มีอธิบายตื้นเหมือนกัน.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 679

แต่บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในจตุกกะทั้งปวง ดังต่อไปนี้:-

กิเลสที่อาศัยเมถุนธรรม ตรัสเรียกว่า ความยินดีการนั่งในที่ลับ. ภิกษุใด ใคร่จะไปยังสำนักแห่งมาตุคามด้วยความยินดีนั้นหยอดนัยน์ตา ต้องทุกกฏ. นุ่งผ้านุ่ง คาดประคดเอว ห่มจีวร เป็นทุกกฏ ทุกๆ ประโยค ในจตุกกะทั้งปวง. เมื่อเดินไป เป็นทุกกฏ ทุกๆ ย่างเท้า. เดินไปแล้วนั่ง เป็นทุกกฏอย่างเดียว, พอเมื่อมาตุคามมานั่ง เป็นปาจิตตีย์. ถ้าหญิงนั้น ผุดลุกผุดนั่ง ด้วยกรณียกิจบางอย่าง เป็นปาจิตตีย์ ในการนั่งทุกๆ ครั้ง. ภิกษุมุ่งหมายไปหาหญิงใด ไม่พบหญิงนั้น, หญิงอื่นมานั่ง เมื่อเกิดความ ยินดี ก็เป็นปาจิตตีย์. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า เพราะมีจิต ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่เวลามา เป็นอาบัติเหมือนกัน ถ้าหญิงมามากคนด้วยกัน, เป็นปาจิตตีย์ตามจำนวนผู้หญิง. ถ้าพวกผู้หญิงเหล่านั้นผุดลุกผุดนั่ง บ่อยๆ เป็นปาจิตตีย์หลายตัว ตามจำนวนกับกิริยาที่นั่ง. แม้เมื่อภิกษุไม่ กำหนดไว้ไปนั่งด้วยตั้งใจว่า เราจักสำเร็จความยินดีในที่ลับกับหญิงที่เรา พบแล้วๆ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบอาบัติหลายตัว ด้วยสามารถแห่งหญิง ทั้งหลายผู้มาแล้วๆ และด้วยอำนาจการนั่งบ่อยครั้ง โดยนัยดังกล่าวแล้ว นั้นแล. ถ้าแม้นว่า ภิกษุไปนั่งด้วยจิตบริสุทธิ์ เกิดความยินดีในที่ลับ กับหญิงผู้มายังสำนักแล้วนั่ง, ไม่เป็นอาบัติเลย. สมุฏฐานเป็นต้น เป็น เช่นเดียวกันกับปฐมปาราชิกสิกขาบททีเดียวแล.

พรรณนาอนิยตสิกขาบทที่ ๑ จบ