[คำที่ ๓๒o] อนฺตราย
โดย Sudhipong.U  12 ต.ค. 2560
หัวข้อหมายเลข 32440

ภาษาบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์ “อนฺตราย

คำว่า อนฺตราย เป็นคำภาษาบาลีโดยตรง [อ่านออกเสียงตามภาษาบาลีว่า อัน - ตะ – รา - ยะ] แปลได้หลายอย่าง เช่น สิ่งที่ทำให้เดือดร้อน, ครอบงำ, ท่วมทับ เขียนเป็นไทยได้ว่า อันตราย แสดงถึงความเป็นจริงที่เข้าใจกันได้ว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน ไม่นำความสุขมาให้ ซึ่งจะเข้าใจอย่างถูกต้อง ละเอียด ลึกซึ้งตรงตามความเป็นจริงของธรรม ก็ต้องได้อาศัยพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

ข้อความจาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส แสดงความเป็นจริงของอันตรายไว้ว่า

คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ ๑ อันตรายที่ปกปิด ๑

อันตรายที่ปรากฏ เป็นไฉน ? คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว, และโรคทางจักษุ ฯลฯ

อันตรายที่ปกปิด เป็นไฉน? คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ (ความติดข้องยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย) พยาบาทนิวรณ์ (ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ พยาบาทปองร้ายผู้อื่น) ถีนมิทธนิวรณ์ (ความง่วงเหงาหาวนอน ท้อแท้ท้อถอยเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ) วิจิกิจฉานิวรณ์ (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม) ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ผูกโกรธไว้ ฯลฯ


มนุษย์ทั้งหลายเมื่อเกิดมาแล้ว แต่ละคนย่อมมีความหวาดกลัวต่ออันตรายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากสัตว์ร้าย หรือ ภัยต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หรือ แม้แต่จากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควรของผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งเป็นอันตรายที่เปิดเผย ปรากฏให้เห็นชัดๆ เป็นที่รู้กันว่า นี้แหละเป็นอันตราย เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน แต่อันตรายที่ละเอียด และเป็นโทษทั้งในชาตินี้และในชาติต่อๆ ไป คือ อกุศลธรรมทั้งหลาย อกุศลธรรมทั้งหลาย นั้น เป็นอันตรายที่น่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าอันตรายที่ปรากฏเปิดเผย ก็ทำความเดือดร้อนให้เพียงชาตินี้เท่านั้น แต่อกุศลธรรมทั้งหลาย ติดตามเผาผลาญไปในทุกๆ ชาติ

กุศลธรรมทั้งหลาย เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี เป็นธรรมฝ่ายดำ เป็นธรรมที่มีพิษ ไม่นำประโยชน์อะไรมาให้เลย ให้ผลเป็นทุกข์เท่านั้น และที่สำคัญ อกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ได้อยู่ในตำราเลย แต่มีจริงๆ เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่ อกุศลจิต และ เจตสิกธรรม (ธรรมที่เกิดประกอบพร้อมกับจิต) ที่เกิดร่วมด้วย ทั้งหมด เป็นอกุศล เป็นธรรมที่มีจริงๆ เนื่องจากแต่ละคนได้สะสมกุศลมาอย่างยาวนานในสังสารวัฏฏ์นับชาติไม่ถ้วน เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย กุศลก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น เวลาโทสะเกิด โกรธ ขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ ถ้าโกรธมาก ก็อาจจะไปทำร้ายเบียดเบียนคนอื่นได้ ทั้งนี้เพราะเคยสะสมโทสะมาแล้ว, เวลาโลภะเกิด ก็มีความติดข้องต้องการ เมื่อไม่ได้ตามที่ต้องการ ก็เป็นเหตุให้เกิดโทสะ เกิดความไม่พอใจ แต่เมื่อได้มาตามที่ต้องการแล้ว ก็ต้องรักษาไว้อย่างดี กลัวสูญหาย ซึ่งเป็นเรื่องหนัก เป็นเรื่องเหนื่อยอย่างยิ่ง เป็นการติดข้องในสิ่งที่ได้มา พอกพูนอกุศลต่อไปอีก อกุศลจึงเกิดขึ้นเป็นไปมากในชีวิตประจำวัน

บุคคลผู้ที่มีโอกาสได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณา แสดง ต้องเป็นผู้ที่ได้สะสมศรัทธาเห็นประโยชน์ของพระธรรมมาแล้วในอดีต แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะว่าสะสมกุศล มามากมาย ด้วยเหตุนี้จึงต้องเป็นผู้ที่ตรง จริงใจ มั่นคง แม้แต่การเป็นผู้ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อขัดเกลาละคลายความไม่รู้ ความติดข้องต้องการ ความเห็นผิด เป็นต้น ไม่ใช่เพื่อลาภ สักการะ สรรเสริญ และการที่จะขัดเกลาละคลายได้ ก็ต่อเมื่อรู้ความจริง บุคคลผู้ที่มีสติ (ระลึกเป็นไปในกุศล) ก็จะรู้ว่ากุศลนั้นเป็นสภาพที่น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนโดยส่วนเดียว แล้วเกิดหิริ ความละอายในกุศลนั้น มีโอตตัปปะ ความเกรงกลัวแม้ในกุศลนั้นด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมจะติเตียนตัวเองได้ที่มีกาย วาจา และ ใจที่เป็นไปกับกุศลเช่นนั้น แล้วพร้อมที่จะตั้งต้นใหม่ในกุศลธรรมต่อไป

ควรพิจารณา ว่า ไม่มีใครสามารถที่จะเอากุศลที่สะสมมาในจิตของตนเองออกไปได้เลย นอกจากปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าใจถูกเห็นถูกอย่างนี้ ก็จะเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ของการเข้าใจพระธรรม แล้วก็รู้ว่าตลอดชีวิตมาที่เข้าใจว่าได้นั้น อยู่ที่ไหน ใครได้อะไรบ้าง ก็เพียงเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย ตื่นเต้น ดีใจ สุข ทุกข์ กับสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วอยู่ที่ไหน ทั้งหมดนั้นอยู่ที่ไหน เพราะเหตุว่าทั้งหมดนั้นดับไปไม่เหลือเลย และไม่กลับมาอีกเลย แล้วก็สะสมสิ่งที่น่ารังเกียจมากมายมหาศาล คือ กุศล ต่อไปอีก จนกว่าจะมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ได้เข้าใจพระธรรม และรู้จุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรมว่า เพื่อขัดเกลาละคลายกุศลของตนเองซึ่งมีเป็นอย่างมาก แต่ละขณะของชีวิต ผ่านไปหมดไป ก็ควรที่จะได้ประโยชน์จากแต่ละขณะของชีวิต คือฟังพระธรรม ซึ่งเป็นคำจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

การฟังพระธรรมให้เข้าใจและเห็นโทษของกุศล จึงเป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้กุศลเกิดแทนอกุศลได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่เห็นโทษของกุศล ก็จะเดือดร้อนเพราะกุศลที่เกิดขึ้น และจะพอกพูนกุศลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จึงแสดงให้เห็นว่า กุศล เกิดขึ้นได้ตามเหตุปัจจัย โดยอาศัยความเข้าใจ และ การเห็นโทษของกุศล ที่เกิดจากได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน เพราะถ้ายังไม่เห็นโทษของกุศล ก็ยังละกุศลไม่ได้ และถ้ายังไม่เข้าใจ ก็หมายความว่า ยังไม่เห็นโทษของกุศลอยู่นั่นเอง

จึงควรอย่างยิ่งที่ทุกคนจะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาไปตามลำดับ พร้อมทั้งสะสมความดีประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะสิ่งที่จะเป็นที่พึ่งในชีวิตได้จริงๆ ต้องเป็นคุณความดีและความเข้าใจพระธรรมเท่านั้น คุณความดีและความเข้าใจพระธรรม ไม่นำความเดือดร้อนมาให้เลยแม้แต่น้อย และความเข้าใจพระธรรม ก็จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลนำพาชีวิตไปสู่ความดีทั้งหลายทั้งปวง ป้องกันไม่ให้ตกไปในฝ่ายที่ผิด.


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ



ความคิดเห็น 1    โดย chatchai.k  วันที่ 12 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ