กราบเท้าอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง ทุกท่าน
มีคำถามครับ เพื่อมุมมองของน้องๆ ในแง่ธรรม และ การวางตัวให้อยู่ในสังคมอย่างดีได้
มีเมลล์น้องบัว ส่งมาให้ผมประมาณนี้ครับ
Sent: Monday, November 21, 2011 12:23 PM Subject: เค้าเริ่มสับสนแล้วอ่ะค่ะ ตกลงเราควรวางใจงัยอ่ะค่ะ พี่ลองอ่านด้านล่างดู ความจริงเราควรเป็นกลาง ใช่ม๊ะ เพราะทุกอย่างมีเหตุของมันแต่ถ้าทุกคนเป็นกลางหมด คนชั่วก็ลอยนวลซิ ถ้ามองอีกมุม ก็เมื่อมีเหตุเกิด หมดเหตุก็ดับทำดีได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
พี่เค้าอ่าน ตรงที่เขียนด้านล่าง เริ่มสับสนในจิตตนแล้วอ่ะค่ะ
งัยดีนิ พระท่านยังไม่เห็นต้องเลือกข้าง ดำขาวเลยนิ๊ท่านมองที่ใจท่านเป็นสำคัญ
บัวเจ้าเก่า
ข้อความล่างนี้ที่น้องบัวกล่าวถึง ว่าอ่านแล้วสับสนในจิตครับ
ของฝากจากท่านหนึ่ง ปัญหาของคนไทยส่วนใหญ่คือมักจะพูดว่าชั้นเป็นกลางไม่อยากยุ่งใน เรื่องของดี-ชั่ว ถูก-ผิด ไม่มีคำว่าเป็นกลาง ไม่มีคำว่าถอยคนละก้าว เพราะมันแยกแยะกันได้ชัดเจน ถ้าความดีถอยไป 1 ก้าว ความชั่วจะลุกคืบมา 1 ก้าว คนที่บอกว่าเป็นกลาง คุณกำลังขี้ขลาดกับการแยกแยะถูกผิด ถึงเวลานี้ เราต้องเลือกข้าง" และเราเลือกแล้ว เพื่อนๆ ล่ะเลือกหรือยัง
ผมเลยตอบไปประมาณว่า
น้องบัวครับ
พี่ขอตอบเพื่อเป็นมุมมองประมาณนี้ก่อน (ซึ่งพี่ควรปรึกษาอาจารย์ แล้วให้คำตอบอีกครั้งนะครับ) ซึ่งถ้าหมายถึงเรื่องทางโลก ทั่วไป ก็คงต้องเป็นการแยกที่ต้องให้เกิดความชัดเจน ว่าฝ่ายใดผิด หรือ ฝ่ายใดถูก แต่นั่นคือความคิดไม่ใช่หรือ หากถ้าเราคิดว่าเราถูก อีกฝ่ายก็ต้องเป็นฝ่ายผิด แล้วเราเอาอะไรมาวัดผล เพราะต่างฝ่ายก็มีเหตุผลยกขึ้นมาอ้างอิง ตามความคิด ตามการสะสม และ มุมมอง ซึ่งถ้าทางธรรม พี่คิดว่าความหมายคงไม่ได้พูดถึง ฝ่ายผิด หรือ ฝ่ายถูก และไม่จำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายถือเหตุใดเพื่อโต้แย้งกัน หากแต่ควรกล่าวถึงว่าขณะนี้อกุศลจิต หรือ กุศลจิตเกิด มากกว่า เพราะเรื่องราวในโลกมีมากมาย ซึ่งควบคุมไม่ได้อย่างแน่นอน คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามนั้น สำคัญที่สติ และ ปัญญาของแต่ละบุคคลมากกว่า สะสมการเกิดของสติมากน้อยเพียงใด พี่ยังยืนยันที่จะแนะนำให้ศึกษาพระธรรม ให้มาก และ ให้เข้าใจมากขึ้นเป็นสำคัญ เพื่อเป็นการสร้างเหตุปัจจัยให้ สติเกิด ทำกิจหน้าที่ของเค้า คือ เพื่อระลึกรู้ และ ปัญญาทำกิจหน้าที่รู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นขณะนี้
จบคำตอบ
ส่วนนี้ผมถามเพิ่มเติมครับ ถ้าเห็นผู้ใดทำผิด หรือ ฉ้อฉล อย่างเช่นในคอรัปชั่นทางการเมือง (ซึ่งเราไม่เห็นจริง) ถ้าเราในฐานะ คนในสังคมคิดซะว่าเป็นเรื่องของเวรกรรม ก็ผ่านเลยโดยไม่คัดค้าน โต้แย้งใดๆ รอให้กรรมให้ผล อย่างนี้จะดีหรือไม่ดี ซึ่งผมก็มีมุมมองว่า ในสมัยพุทธกาล ถ้ามีภิกษุทำไม่สมควร หรือ ทำผิด พระพุทธองค์ทรงทราบก็จะทำการตักเตือน และ ลงโทษ (อ้างถึงพระวินัย) แต่ผมพูดได้ไม่ชัดเจนเรื่องสภาพจิตใจนะครับ เพราะพระพุทธองค์ทรงเหนือกว่าสัตว์ในทุกๆ ด้าน ดังนั้น เราควรปฏิบัติตนอย่างไร ให้เหมาะสม โดยที่ยังไม่กล่าวถึงสามัญสำนึกของคนทั่วๆ ไปในสังคมว่าต้องทำตามกฏหมาย
กราบรบกวนอาจารย์ และ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงทั้งหมด ไม่มีพระธรมคำใดเลย ที่จะส่งเสริมให้แต่ ละคน มีอกุศลเกิดขึ้น เพิ่มขึ้น แต่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อเป็นไปในกุศล ธรรมที่เจริญขึ้น ปัญญา ความเห็นถูกเจริญขึ้นครับ
ดังนั้นเรื่องราวต่างๆ ที่สมมติว่าเป็นการเมือง น้ำท่วม หรือเรื่องอะไรก็ตาม ก็เกิดจาก การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรสและการรู้กระทบสัมผัส และคิดนึกเป็นเรื่องราว เป็นคนนั้น คนนี้ทีทำอย่างนั้น อย่างนี้ ปุถุชนผู้ไมไ่ด้สดับ ย่อมสำคัญเรื่องราวนั้นว่ามี จริง สำคัญว่ามีผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ มีการเมือง แต่แท้ที่จริง เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที เ่กิดขึ้น กับจิตของตนเอง ที่คิดนึกเป็นเรื่องราวต่างๆ และสำคัญด้วยความยึดถือว่ามี สัตว์ บุคคลจริงๆ อยู่ในโลกของความไม่รู้ในโลกสมมติที่ถูกหลอกไว้ด้วยอำนาจกิเลส เมื่อสะสมกิเลสมามาก มีความเห็นผิด และความไม่รู้ ก็ย่อมทำให้เกิดกิเลสประการต่างๆ ในเรื่องราวที่ได้รับรู้ และสำคัญว่ามีจริง มีคนนั้นคนนี้จริงๆ ที่ทำไม่ดี
ซึ่งกระผมขอแสดงพระธรรมที่แสดงถึง ความเป็นกลางที่ถูกต้อง ที่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะเป็นคำของพระพุทธเจ้า ความเป็นกลางจริงๆ คือ กลางเพราะตรง เป็นกุศลในขณะนั้น ชื่อว่าเป็นกลาง ขณะใดที่เป็นอกุศล ไม่ว่าจะเป็นกับใคร บุคคลใด เรื่องราวอะไรก็ตาม ขณะนั้นจะกล่าวว่าเป็นกลางไม่ได้ เพราะ จิต คด คดด้วยกิเลสที่ไม่ตรงความเป็นกลางในทางธรรม จึงเป็นเจตสิกฝ่ายดีประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก เป็นเจตสิกที่เป็นกลาง ไม่เอน เอียง ปราศจากอคติ จึงเป็นอาการวางเฉยเป็นเจตสิกฝ่ายดี ที่เกิดกับจิตที่ดี ดังนั้น ขณะที่เป็นกุศล ไม่ว่าจะรับรู้เรื่องราวอะไร อันสมมติว่าเป็นการเมือง เมื่อจิตเป็นกุศลแล้ว ขณะนั้นเป็นกลาง เพราะสภาพจิตเป็นกลางด้วยกุศลธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยอำนาจอกุศลธรรมครับ
ขณะที่เลือกข้างด้วย อกุศลจิต หรือไม่เลือกข้างด้วย อกุศลจิต หรือ เป็นอกุศลจิต ขณะใด ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก เป็นเจตสิกที่เป็นกลาง ไม่เอน เอียง ปราศจากอคติ ไม่เกิดในขณะนั้น ชื่อว่าไม่เป็นกลางแล้วในขณะนั้น อกุศลจะเป็นกลางไม่ได้เลย ไม่ว่า กรณีใดๆ เพราะอกุศลเป็นสภาพธรรมที่คด ไม่ตรง มีอคติ เป็นต้น
พระธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียด สำคัญที่สภาพจิต เลือกด้วยอกุศล จะกล่าวว่าเลือกถูก ในขณะนั้นไม่ได้ครับ ขณะที่ยินดีในกุศลธรรม ไม่ต้องกล่าวว่าเลือกข้างเลย แต่ใจก็ น้อมไปแล้วในความดีครับ นี่แสดง ความเป็นกลางและการแลือกข้าง เพื่อให้เข้าใจถูก ต้องตามความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงครับ
และจากคำถามที่ว่า
ถ้าเห็นผู้ใดทำผิด หรือ ฉ้อฉล อย่างเช่นการคอรับชั่นทางการเมือง (ซึ่งเราไม่เห็นจริง) ถ้าเราในฐานะ คนในสังคมคิดซะว่าเป็นเรื่องของเวรกรรม ก็ผ่านเลยโดยไม่คัดค้าน โต้แย้งใดๆ รอให้กรรมให้ผล อย่างนี้จะดีหรือไม่ดี ซึ่งผมก็มีมุมมองว่า ในสมัย พุทธกาล ถ้ามีภิกษุทำไม่สมควร หรือ ทำผิด พระพุทธองค์ทรงทราบก็จะทำการตัก เตือน และ ลงโทษ (อ้างถึงพระวินัย) แต่ผมพูดได้ไม่ชัดเจนเรื่องสภาพจิตใจนะครับ เพราะพระพุทธองค์ทรงเหนือกว่าสัตว์ในทุกๆ ด้าน ดังนั้น เรา เรา ควรปฏิบัติตนอย่าง ไร ให้เหมาะสม โดยที่ยังไม่กล่าวถึงสามัญสำนึกของคนทั่วๆ ไปในสังคมว่าต้องทำ ตามกฏหมาย
กราบรบกวนอาจารย์ และ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
ตามที่กล่าวแล้วครับว่า เรื่องราวมีเพราะอาศัย จิต เจตสิกที่คิดนึก หลังจากเห็น ได้ ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส และเมื่อคิดนึก ก็ตรึกไปเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ตาม การสะสมของผู้นั้นที่สะสมอะไรมามากครับ ดังนั้นการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม คือ ปฏิบัติ ด้วยความเข้าใจถูก คือ มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา เข้าใจความจริงที่เกิดขึ้นว่า ไม่พ้นไปจาก สภาพธรรมทีเ่กิดขึ้นและดับไป มีแต่เพียง อกุศลและกุศลที่เกิดขึ้น ไม่ว่าของใครก็เสมอ กัน คือ เป็นธรรม และเมื่อมีการทำอกุศลกรรม ไม่ว่าใคร ผลก็ต้องมี ไม่ว่าเราจะโกรธ ไม่ ชอบ เป็นอกุศลกับคนนั้น โทษตกกับตนเอง เพราะอย่างไรก็ดี ในเมื่อทำอกุศลกรรมไว้ ผู้ใดทำ ผู้นั้นย่อมรับผลอกุศลนั้นแน่นอน หากยังไม่สิ้นกิเลสครับ
หากเราอยู่ในฐานะที่จะตักเตือน มีอำนาจ ควรทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เพิกเฉย แต่ถ้า ไม่อยู่ในฐานะ แต่ก็ไม่ควรยินดีในสิ่งที่ผิด ที่เป็นอกุศลธรรม แม้ด้วยใจครับ นี่คือสิ่งที่ ถูกต้อง ส่วนจะปล่อยไม่ปล่อย ไม่มีใครจะปล่อย หรือ ไม่ปล่อย เพราะมีแต่ธรรม และให้รู้ ครับว่า กรรมย่อมไม่ปล่อย ผู้ที่ทำอกุศลธรรมไว้เลยครับ จึงไม่ใช่เรื่องที่ผ่าน หรือ ไม่ ผ่าน แต่เห็นตามความเป็นจริง โดยไม่ลำเอียง ที่ไม่ว่าเกิดกับใคร ใครทำ ก็ต้องตรงว่า สิ่งนั้นเป็นอกุศล ไม่ควรคบ เสพ ไม่เข้าใกล้และไม่ยินดี สรรเสริญในอกุศลธรรมนั้น และเข้าใจด้วยกุศลจิต โดยที่ไม่ไปรังเกียจด้วยโทสะ แต่เข้าใจความจริง ของความ เป็นไปที่แต่ละขณะจิต ก็สะสมมาแตกต่างกัน เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม อกุศลธรรมก็เกิดได้ ไม่ ว่ากับใครเลยครับ การเข้าใจอย่างนี้ ย่อมรักษาใจ ย่อมรักษาประโยชน์ของตน และเป็น กลางจริงๆ ในขณะนั้นครับ เพราะ เกิดกุศลจิต เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น
สำคัญที่รักษาใจของตน ทุกอย่างก็ต้องเป็นไปอย่างนั้น จะปล่อยหรือไม่ปล่อยก็ต้อง เป็นอย่างนั้นครับ เป็นไปแล้วในอดีตที่ผ่านมา และเป็นไปในปัจจุบัน และก็เป็นไปใน อนาคต สำคัญว่ามีเรื่องมากมาย สุดท้ายก็ต้องจากไปทั้งเรื่องราวที่คิดว่าสำคัญ และ ลืมไปหมดครับ ประโยชน์ที่สำคัญ คือ กุศลจิต กุศลธรรมและปัญญาที่ควรสะสมต่อไป ในอนาคต นี่คือ สาระที่สุดในชีวิตครับ
การอาศัยการฟังพระธรรม ย่อมอนุเคราะห์ให้มีความเข้าใจถูกในชีวิตประจำวัน และ เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยกุศลจิต และตรงตามความเป็นจริง ไม่ยินดีในอกุศลธรรมของ ใคร แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องไม่ชอบใครและบุคคลใด เพราะไม่มีใคร มีแต่ธรรมครับ
ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด คือ เจริญกุศลและอบรมปัญญาครับ และหากอยู่ในฐานะที่ช่วยได้ ก็ไม่เพิกเฉย ก็ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ที่เป็นกุศลธรรม แต่ถ้าไม่อยู่ในฐานะที่ช่วยได้ในเรื่องนี้ ก็ไม่มีใจยินดีในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมครับ
เรื่อง อย่าล่วงเลย ขณะที่เป็นสาระ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 453
ข้อความบางตอนจาก
อักขณสูตร
การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นใน โลก ๑ การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑ การแสดง สัทธรรม ๑ ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากใน โลก ชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาล ดังกล่าวมานั้น ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้ ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะ บุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปพากันยัดเยียดใน นรก ก็ย่อมเศร้าโศก
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอบพระคุณอย่างสูงครับ และ อนุโมทนากุศลจิตที่เมตตาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา นั้น เป็นไปเพื่ออุปการะเกื้อกูลแก่ผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษา และมีความเข้าใจไปตามลำดับอย่างแท้จริง แม้แต่ในเรื่องของกิเลส ซึ่งเป็นอกุศลธรรม นั้น พระองค์ก็ทรงแสดงไว้เป็นอันมากทีเดียว เพื่อให้พุทธบริษัทได้เห็นโทษเห็นภัยของกิเลส ถ้าไม่ทรงแสดงไว้ ก็ไม่สามารถที่จะระลึกถึงกิเลสของตนเองเพื่อการขัดเกลาได้เลย ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงแสดงไว้อย่างนี้หรือมากยิ่งกว่านี้ แต่ผู้ที่มีกิเลสก็ไม่สามารถที่จะดับหรือละกิเลสนั้นได้ ถ้าปัญญาไม่เจริญขึ้นจนสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้วดับกิเลสได้เป็นขั้นๆ ตามลำดับ
นอกจากนั้น กุศลธรรม ความดีทุกๆ ประการ พระองค์ก็ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ในการน้อมประพฤติตาม ซึ่งขึ้นอยู่กับการสะสมของแต่ละบุคคลว่าจะเป็นไป น้อมไปในทางใด ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แท้ที่จริงแล้ว คนสัตว์ไม่มี มีแต่สภาพธรรมเกิดขึ้นเป็นไปเท่านั้น อกุศล เป็นสิ่งที่ไม่ดี ให้ผลเป็นทุกข์ ส่วนกุศล เป็นความดี ให้ผลเป็นสุข ที่มีความประพฤติไม่ดี ก็เพราะอกุศลธรรม เพราะถ้าโลภะเกิดหรือถ้าโทสะเกิดแล้วจะให้กายวาจาเป็นกุศล ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากว่าอกุศล เป็นสภาพธรรมที่ทำให้ประพฤติในสิ่งที่ไม่สมควรต่างๆ มากมาย ซึ่ง ผู้ที่มีความประพฤติที่ไม่สมควรต่างๆ นั้น ก็เพราะว่า ไม่ได้คล้อยตามพระพุทธพจน์ ไม่ได้น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมนั่นเอง
แต่ถ้าเป็นผู้ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ความประพฤติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นตามระดับขั้นของปัญญา
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว สิ่งที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นในยุคใด สมัยใด ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง นั่นก็คือ กุศลธรรม ซึ่งเป็นสภาพธรรมฝ่ายดีที่ควรอย่างยิ่งจะอบรมเจริญให้มีขึ้นในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นใคร เพศใด ฐานะใดตำแหน่งใด หรือแม้ไม่มีตำแหน่งใดๆ เลย ถ้าประกอบด้วยกุศลธรรม ก็ย่อมจะดีทั้งหมด เพราะดี ด้วยกุศลธรรม
บุคคลผู้ที่ทำกรรมชั่ว คือ ทำทุจริตกรรม กรรมชั่วยังไม่ให้ผล แต่เขายังมีความสุข มีทรัพย์สินเงินทอง มียศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น นั่นเป็นเพราะกรรมดีที่เขาเคยได้กระทำมาแล้ว ให้ผล เมื่อกรรมชั่วให้ผลเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเขาย่อมจะรู้ได้ว่า ทำกรรมชั่ว ได้รับผลชั่วจริงๆ ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ทำกรรมดี คือ ทำสุจริตกรรม กรรมดียังไม่ให้ผล ขาจึงประสบกับความทุกข์ยาก ได้รับความเดือดร้อนประการต่างๆ ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะกรรมชั่วที่เขาเคยได้กระทำมาแล้ว ถึงคราวที่จะให้ผล แต่เมื่อกรรมดีให้ผลเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเขาย่อมจะรู้ได้ว่า ทำกรรมดี ได้รับผลดีจริงๆ
การกระทำกรรมดี และ กรรมชั่ว นั้น เป็นการสร้างเหตุใหม่ เมื่อกรรมถึงคราวที่จะให้ผล ผลก็ย่อมเกิดขึ้น ถ้าเป็นผลของกรรมดี ย่อมทำให้ได้รับในสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ ถ้าเป็นผลของกรรมชั่ว ย่อมทำให้ได้รับในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เหตุสมควรแก่ผล แต่ละคน เป็นแต่ละหนึ่ง มีความประพฤติเป็นไปตามการสะสม สิ่งที่ควรกระทำที่สุดสำหรับตนเองซึ่งได้เกิดมาเป็นมนุษย์ คือ สะสมกุศล ขวนขวายในความดีทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา น้อมไปในทางที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น เพราะกุศล เท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งได้ ส่วน อกุศล พึ่งไม่ได้ เลย เมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ก็สามารถที่จะเกื้อกูลให้ข้อคิดเตือนใจแนะนำในสิ่งที่ถูกต้องให้กับบุคคลอื่นได้ ตามกำลังปัญญาของตนเอง เครื่องเตือนที่ดีที่สุด ก็คือ พระธรรม ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ใคร..ฉ้อฉล คอรัปชั่น จะรู้ได้อย่างไรตัดสินได้อย่างไร นอกจากรู้หรือเห็นด้วยตนเองจึงตัดสินได้ แก้คนอื่นคงแก้ไม่ได้ หากตนเองมีโอกาสจะฉ้อฉลหรือคอรัปชั่นจะทำหรือไม่ ทั้งที่คนส่วนใหญ่รู้ว่าสิ่งนี้ไม่ดีแต่ทำไมยังทำเพราะกิเลส ความโลภะเพราะปัญญายังไม่มากพอที่จะละกิเลส สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดในขณะนี้คือสะสมปัญญาเพื่อละกิเลสตนเอง เพื่อเป็นกลางได้อย่างแท้จริงและเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ
ขออนุโมทนาคะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
มีคำกล่าวจากท่านผู้ใหญ่ใจดีว่า "ทำไมเราสงสารเขาช้าเกินไป" คือไป สงสารเขาตอนกำลังได้รับผลของอกุศลกรรม (เช่นขณะที่เขากำลังได้รับทุกขเวทนา ทางกาย เจ็บปวดทรมาน) "เราควรสงสารเขาตั้งแต่เขากระทำอกุศลกรรม" (ทำบาป) ได้เลย (เพราะในอนาคตเขาก็ต้องได้รับผลของอกุศลกรรมมีความเจ็บปวดทรมานอย่าง นี้แหละ....)
การเตือนสติ หรือการตักเตือนกันด้วยเมตตาก็ต้องดูกาละ เทศะครับ เช่นถ้า เราเผอิญต้องไปล่องเรือที่เขากำลังสนุกสนานกับการตกปลา เราจะไปแสดงธรรมเรื่อง การงดเว้นปาณาติบาต อันนี้ก็ไม่ควร....หรือถ้าเราจะไปแสดงธรรมกับแม่ค้าที่ำกำลังทุบ หัวปลาในตลาดว่า"คุณแม่ค้าครับอย่าทำปาณาติบาตเลย มันจะเป็นเหตุให้คุณแม่ค้า ตกนรกนะครับ" ผมว่าคงไม่มีแม่ค้าคนไหนเขาอนุโมทนากับเราใช่ไหมครับ
ธัมมะสวัสดีครับ
ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ และ อนุโมทนากุศลจิตทุกท่านครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
จาก คห ที่ ๙
"การเตือนสติ หรือการตักเตือนกันด้วยเมตตาก็ต้องดูกาละ เทศะครับ เช่นถ้า เราเผอิญต้องไปล่องเรือที่เขากำลังสนุกสนานกับการตกปลา เราจะไปแสดงธรรมเรื่อง การงดเว้นปาณาติบาต อันนี้ก็ไม่ควร...หรือถ้าเราจะไปแสดงธรรมกับแม่ค้าที่กำลังทุบ หัวปลาในตลาดว่า "คุณแม่ค้าครับอย่าทำปาณาติบาตเลย มันจะเป็นเหตุให้คุณแม่ค้า ตกนรกนะครับ" ผมว่าคงไม่มีแม่ค้าคนไหนเขาอนุโมทนากับเราใช่ไหมครับ"
+ ๑ ค่ะ
ไม่เป็นศัตรูกับใครและอยู่ร่วมกับทุกคนด้วยความเมตตาค่ะ พระพุทธองค์ทรงเมตตาและปรารถนาดีต่อท่านพระเทวทัต เสมอกันกับท่านพระราหุล
"ไม่ควรคบ เสพ ไม่เข้าใกล้และไม่ยินดี สรรเสริญในอกุศลธรรมนั้น และเข้าใจด้วยกุศลจิต โดยที่ไม่ไปรังเกียจด้วยโทสะ แต่เข้าใจความจริง ของความเป็นไปที่แต่ละขณะจิต ก็สะสมมาแตกต่างกัน เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม อกุศลธรรมก็เกิดได้ ไม่ว่ากับใครเลยครับ การเข้าใจอย่างนี้ ย่อมรักษาใจ ย่อมรักษาประโยชน์ของตน และเป็นกลางจริงๆ ในขณะนั้นครับ"
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิม อ.คำปั่นและทุกท่านค่ะ
แม้ว่าอยู่ใกล้บัณฑิต แต่ใจก็ยังคิด "คบคนพาล"
แม้รู้ว่าอกุศลธรรม ย่อมเผาผลาญ แต่ใจก็ยังพาล เพราะอกุศลธรรมที่เคยสะสม ควรหรือที่ "ยังเป็น" ใยไม่ร่มเย็น ด้วยกุศล บาปธรรม ที่มัวหม่น เพราะยังวน อยู่กับพาล
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ