โทสมูลจิต
โทส (ความประทุษร้าย ความโกรธ) + มูล (รากเหง้า เหตุ)
จิตที่มีโทสเจตสิกเป็นมูล หมายถึง อกุศลจิตที่มีความประทุษร้ายอารมณ์ มีการเป็นไปหลายอย่าง เช่น โกรธ ผูกโกรธ พยาบาท ขุ่นเคือง อาฆาตแค้น หงุดหงิด ไม่พอใจ ประหม่า กลัว โทสมูลจิตมี ๒ ดวง มีความต่างกันที่เป็นจิตมีกำลัง (อสังขาริก) หรือเป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (สสังขาริก) ได้แก่
๑. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ โทสมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเสียใจ (ไม่แช่มชื่น) ประกอบกับความกระทบกระทั่ง (โทสเจตสิก) เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่ต้องมีการชักชวน)
๒. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ โทสมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเสียใจ (ไม่แช่มชื่น) ประกอบกับความกระทบกระทั่ง (โทสเจตสิก) เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน) โทสมูลจิตเป็นสเหตุกจิต ประกอบด้วยเหตุ ๒ เรียกว่า ทวิเหตุกะ คือ โทสเหตุ (โทสเจตสิก) และโมหเหตุ (โมหเจตสิก)
สาธุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม ...
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอความหมายของคำว่าชักชวนกับไม่ชักชวนหน่อยครับ
ในอัฎฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ มีข้อความอธิบายว่า ชื่อว่า สสังขาร เพราะเป็นไปกับด้วยสังขาร (เครื่องชักจูง หรือ ชักชวน) สังขารในที่นี้หมายความถึงชักจูงด้วยตนเอง หรือผู้อื่นชักจูงหรือสั่งให้กระทำ
นี่เป็นสภาพจิตในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม บางครั้งก็เกิดขึ้นเองโดยอาศัยการสะสมมาในอดีต เป็นปัจจัยแรงกล้าที่ทำให้กุศลหรืออกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด มีกำลังเกิดขึ้นเองไม่ต้องอาศัยการชักจูงใดๆ เลย คือไม่อาศัยการชักจูง
แต่ว่าบางครั้งบางขณะไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตามที่เกิดขึ้นนั้นมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยการชักจูงของตนเองหรือการชักจูงของบุคคลอื่นก็ได้ อกุศลและกุศลที่มีกำลังอ่อนที่อาศัยการชักจูงนั้นเป็นสสังขาริกจิต
ที่มา ...
สสังขาร
อ่าน และฟังเพิ่มเติม ...
การจำแนกจิตโดยอสังขาร และ สสังขาร
มีกำลังอ่อนต้องอาศัยการชักจูง - มีกำลังกล้าไม่ต้องอาศัยการชักจูง