๑๐. ทุติยอังคสูตร ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์
โดย บ้านธัมมะ  9 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 37835

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 271

๑๐. ทุติยอังคสูตร

ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 271

๑๐. ทุติยอังคสูตร

ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์

[๕๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายนอกให้เป็นเหตุแล้วเรายังไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อันหนึ่ง เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ เหมือน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 272

ความเป็นผู้มีมิตรดีเลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

[๕๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

จบทุติยอังคสูตรที่ ๑๐

จบจักกวัตติวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคที่ ๕

๑. วิธาสูตร ๒. จักกวัตติสูตร ๓. มารสูตร ๔. ทุปปัญญสูตร ๕. ปัญญวาสูตร ๖. ทลิททสูตร ๗. อทลิททสูตร ๘. อาทิจจสูตร ๙. ปฐมอังคสูตร ๑๐. ทุติยอังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.