๓. สังคารวสูตร ว่าด้วยผลของการมีและไม่มีนิวรณ์ ๕
โดย บ้านธัมมะ  28 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 39270

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 414

จตุตถปัณณาสก์

พราหมณวรรคที่ ๕

๓. สังคารวสูตร

ว่าด้วยผลของการมี และไม่มีนิวรณ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 414

๓. สังคารวสูตร

ว่าด้วยผลของการมี และไม่มีนิวรณ์ ๕

[๑๙๓] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้มนต์ แม้ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้งในกาลบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้มนต์ แม้ที่ไม่ได้ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึง มนต์ที่ทำการสาธยาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจ อันกามราคะกลุ้มรุม อันกามราคะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ ไม่เห็น ตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะ ที่เต็มด้วยน้ำ ซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน บุรุษมีตาดี มองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะอันเต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็น ตามความเป็นจริง แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจอันกามราคะกลุ้มรุม อันกามราคะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ ไม่เห็น


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 415

ตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าว ถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย ฉันนั้น เหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันพยาบาทกลุ้มรุม อันพยาบาทครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะ ที่เต็มด้วยน้ำร้อนเพราะไฟ เดือดพล่านเป็นไอ บุรุษมีตาดี มองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็น ตามเป็นจริง แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจอันพยาบาทกลุ้มรุม อันพยาบาทครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนานก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย ฉันนั้น เหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันถีนมิทธะกลุ้มรุม อันถีนมิทธะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะ ที่เต็มด้วยน้ำอันสาหร่าย และแหนปกคลุมแล้ว บุรุษมีตาดี มองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็น ตามเป็นจริง แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจ อันถีนมิทธะกลุ้มรุม อันถีนมิทธะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งถีนมิทธะเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย ฉันนั้น เหมือนกัน.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 416

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันอุทธัจจะ กุกกุจจะกลุ้มรุม อันอุทธัจจะ กุกกุจจะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุทธัจจะ กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ อันลมพัดไหววน เป็นคลื่น บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามเป็นจริง แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจอันอุทธัจจะ กุกกุจจะกลุ้มรุม อันอุทธัจจะ กุกกุจจะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดอออก แห่งอุทธัจจะ กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย ฉันนั้น เหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันวิจิกิจฉากลุ้มรุม อันวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะ ที่เต็มด้วยน้ำขุ่นมัว เป็นตม ที่เขาวางไว้ในที่มืด บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็น ตามเป็นจริง แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจอันวิจิกิจฉากลุ้มรุม อันวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย ฉันนั้น เหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็สมัยใดแล บุคคลมีใจอันกามราคะไม่กลุ้มรุม อันกามราคะไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่อง


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 417

สลัดออก แห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็น ตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะอันเต็มด้วยน้ำ ซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้พึงเห็นตามเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีใจอันกามราคะไม่กลุ้มรุม อันกามราคะไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ย่อมเห็นตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย ฉันนั้น เหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันพยาบาท ไม่กลุ้มรุม อันพยาบาทไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะ ที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือดพล่าน ไม่เป็นไอ บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้พึงเห็นตามเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีใจอันพยาบาทไม่กลุ้มรุม อันพยาบาทไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย ฉันนั้น เหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันถีนมิทธะไม่กลุ้มรุม อันถีนมิทธะไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรม


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 418

เป็นเครื่องสลัดออกแห่ง ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ อันสาหร่าย และแหนไม่ปกคลุมแล้ว บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้พึงเห็นตามเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีใจอันถีนมิทธะไม่กลุ้มรุม อันถีนมิทธะไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย ฉันนั้น เหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันอุทธัจจะ กุกกุจจะไม่กลุ้มรุม อันอุทธัจจะ กุกกุจจะไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุทธัจจะ กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ อันลมไม่พัด ไม่ไหว ไม่วน ไม่เป็นคลื่น บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้พึงเห็นตามเป็นจริง แม้ฉันใด บุคคลมีใจอันอุทธัจจะ กุกกุจจะไม่กลุ้มรุม อันอุทธัจจะ กุกกุจะไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุทธัจจะ กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย ฉันนั้น เหมือนกัน..

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันวิจิกิจฉา ไม่กลุ้มรุม อันวิจิกิจฉาไม่ครอบงำ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย เปรียบเสมือน


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 419

ภาชนะที่เต็มด้วยน้ำอันใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว ที่เขาวางไว้ในที่สว่าง บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีใจอันวิจิกิจฉาไม่กลุ้มรุม อันวิจิกิจฉาไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออก แห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย ฉันนั้น เหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้มนต์ แม้ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนาน ไม่แจ่มแจ้งได้ ในกาลบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ไม่ทำการสาธยาย และนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้มนต์ แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย ตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้งได้ ในกาลบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่ทำการสาธยาย.

สังคาวรพราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรง ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป.

จบสังคารวสูตรที่ ๓


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 420

อรรถกถาสังคารวสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในสังคารวสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปเคว แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า กามราคปริยุฏฺิเตน ได้แก่ ถูกกามราคะยึดไว้. บทว่า กามราคปเรเตน ได้แก่ ถูกกามราคะติดตาม.

บทว่า นิสฺสรณํ ความว่า การออกไปแห่งกามราคะมี ๓ อย่าง คือ การออกไปด้วยการข่มไว้ ๑ การออกไปชั่วคราว ๑ การออกไปเด็ดขาด ๑. ใน ๓ อย่างนั้น ปฐมฌานในอสุภกรรมฐาน ชื่อว่า การออกไปด้วยการข่มไว้. วิปัสสนาชื่อว่า การออกไปชั่วคราว อรหัตตมรรคชื่อว่า การออกไปเด็ดขาด. อธิบายว่า ไม่รู้การออกไปแม้ทั้ง ๓ อย่างนั้น.

ในบทว่า อตฺตตฺถมฺปิ เป็นต้น ประโยชน์ของตน อันได้แก่พระอรหัต ชื่อว่า ประโยชน์ตน ประโยชน์ของผู้ให้ปัจจัย ชื่อว่า ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์แม้ทั้งสองนั้นแล ชื่อว่า ประโยชน์ทั้งสอง. พึงทราบเนื้อความในทุกวาระโดยนัยนี้.

แต่พึงทราบความต่างกันต่อไปนี้. จริงอยู่ ในบทมีอาทิว่า พฺยาปาทสฺส นิสฺสรณํ การออกไปมีสองอย่าง คือ การออกไปด้วยการข่มไว้ และการออกไปโดยเด็ดขาด. ในสองอย่างนั้น สำหรับพยาบาทก่อน เมตตาปฐมฌาน ชื่อว่า การออกไปด้วยการข่ม อนาคามิมรรค ชื่อว่า การออกไปโดยเด็ดขาด. สำหรับถีนมิทธะ อาโลกสัญญา ชื่อว่า การออกไปด้วยการข่มไว้ อรหัตตมรรค ชื่อว่า การออกไปโดยเด็ดขาด. สำหรับอุทธัจจะ กุกกุจจะ สมถะอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า การออกไปด้วยการข่มไว้ แต่ในที่นี้ อรหัตตมรรค ชื่อว่า การนำออกไป


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 421

โดยเด็ดขาดแห่งอุทธัจจะ อนาคามิมรรค ชื่อว่า การนำออกไปโดยเด็ดขาด แห่งกุกกุจจะ สำหรับวิจิกิจฉา การกำหนดธรรม ชื่อว่า การนำออกไปด้วยการข่มไว้ ปฐมมรรค ชื่อว่า การนำออกไปโดยเด็ดขาด.

ก็ในสูตรนี้ ท่านกล่าวข้ออุปมาเหล่าใด มีอาทิว่า เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ อุทปตฺโต สํสฏโ ลาขาย วา ดังนี้ ในอุปมาเหล่านั้น บทว่า อุทปตฺโต ได้แก่ ภาชนะเต็มด้วยน้ำ. บทว่า สํสฏฺโ ได้แก่ ผสมสีต่างชนิด. บทว่า อุกฺกุฏฺิโต ได้แก่ เดือดพล่าน. บทว่า อุสฺสทกชาโต ได้แก่ มีควันตลบ. บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺโธ ได้แก่ ปกคลุมด้วยสาหร่าย มีประเภท เป็นพืชงา เป็นต้น หรือแหนมีสีเขียว และสีเหมือนหลังกบ ซึ่งเกิดปิดผิวน้ำ. บทว่า วาเตริโต ได้แก่ ถูกลมพัดกระเพื่อม. บทว่า อาวิโล คือ ไม่ใส. บทว่า ลุฬิโต คือ ไม่นิ่ง. บทว่า กลลีภูโต คือ มีเปือกตม. บทว่า อนฺธกาเร นิกฺขิตฺโต ได้แก่ ถูกวางไว้ในที่ไม่มีแสงสว่าง (มืด) เช่น ภายในยุ้ง เป็นต้น. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยักเยื้อง เทศนาด้วยภพ ๓ แล้ว ทรงจบลงด้วยยอดธรรม คือ พระอรหัต. ส่วนพราหมณ์ตั้งอยู่ในคุณ เพียงแค่สรณะ.

จบอรรถกถา สังคารวสูตรที่ ๓