[เล่มที่ 53] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 432
เถรคาถา สัฏฐิกนิบาต
๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหาโมคคัลลานเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 53]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 432
เถรคาถา สัฏฐิกนิบาต
๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหาโมคคัลลานเถระ
[๔๐๐] พระโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถา ๔ คาถาเบื้องต้น ความว่า
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร ยินดีเฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การ แสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดีในภายใน พึงทำลายเสนา แห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือการอยู่ในป่าเป็น วัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะอาหาร ที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา ฟังกำจัด เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนช้างกุญชรทำลาย เรือนไม้อ้อฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารในบาตร อันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึงทำลาย เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลายผู้ถือการ อยู่โคนไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดี เฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา พึงกำจัด เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนช้างกุญชรทำลาย เรือนไม้อ้อฉะนั้น.
อีก ๔ คาถาต่อไป ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตไว้ ด้วย อำนาจสอนหญิงแพศยาซึ่งมาเล้าโลมท่านว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 433
เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่างอันสำเร็จด้วยโครง กระดูกอันฉาบทาด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไป ด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่นและเป็นของตน ในร่างกายของ เธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้ เหมือนนางปีศาจ มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออก เนื่องนิตย์ ภิกษุควรละเว้นสรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่มผู้ชอบสะอาด หลีก เลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกลฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระ ของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีกเธอไป เสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาด เห็นหลุมคูถ ในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสียห่างไกลฉะนั้น.
เมื่อหญิงแพศยาคนนั้นได้ฟังดังนี้แล้ว ก็เกิดความสลดใจ จึงตอบ พระเถระเป็นคาถา ความว่า
ข้าแต่สมณะผู้มีความเพียรมาก ท่านพูดอย่างไรเป็น จริงอย่างนั้น แต่คนบางจำพวกยังจมอยู่ในร่างกายอันนี้ เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตมฉะนั้น.
พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะชี้แจงให้นางรู้ว่า การประพฤติตาม ใจชอบเช่นนี้ไม่มีประโยชน์ มีแต่นำโทษมาให้โดยถ่ายเดียว จึงกล่าว เป็นคาถา ๒ คาถา ความว่า
ผู้ใดประสงค์ย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยน้ำย้อม อย่างอื่น การกระทำของผู้นั้นก็ลำบากเปล่าๆ จิตของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 434
นี้ก็เสมอกับอากาศ เป็นจิตตั้งมั่นด้วยดีในภายใน เพราะฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิตอันลามก ของเธอจากฉันเลย เหมือนตัวแมลงถลาเข้าสู่กองไฟ ย่อมถึงความพินาศฉะนั้น เธอจงดูร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นตั้งไว้ มีแผลทั่วๆ ไป อันบุญกรรม กระทำให้วิจิตร กระสับกระส่าย พวกคนพาลพากันดำริ โดยมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่เลยนี้เถิด.
พระมหาโมคคัลลานะ ปรารภการนิพพานของพระสารีบุตรเถระเป็น เหตุ จึงกล่าวคาถาขึ้น ๔ คาถา ความว่า
เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วย อุฏฐานะเป็นอันมาก มีศีลสังวรเป็นต้น นิพพานไปแล้ว ก็เกิดเหตุน่าสะพึงกลัว ขนพองสยองเกล้า สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความที่สังขารเหล่านั้น สงบระงับเป็นสุข ชนเหล่าใดพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดย ความเป็นของแปรปรวน และโดยไม่ใช่ตัวตน ชนเหล่า นั้นชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนู ยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศรฉะนั้น อนึ่ง ชนผู้มีความ เพียรเหล่าใด พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความ เป็นของแปรปรวนและโดยไม่ใช่ตัวตน ชนผู้มีความเพียร เหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือน นายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศรฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 435
พระมหาโมคคัลลานะปรารภพระติสสเถระ จึงกล่าวเป็นคาถาหนึ่ง คาถา ความว่า
ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และ เหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตนฉะนั้น ภิกษุ มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย เหมือนบุคคล รีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับไฟ ซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตนฉะนั้น เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งได้ทรงอบรมพระองค์มาแล้ว ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำปราสาทของ นางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหว ด้วยปลายนิ้วเท้า บุคคลปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน อันเป็นเหตุปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ด้วย กำลังความเพียรอันน้อยก็หาไม่ แต่พึงบรรลุได้ด้วยความ เพียรชอบ ๔ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็นบุรุษผู้สูงสุด ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกายอันมีในที่สุด สายฟ้าทั้งหลาย ฟาดลงไปตามซ่องภูเขาเวภารบรรพต และภูเขาบัณฑวบรรพต ส่วนอาตมาเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่ ได้เข้าไปสู่ช่องภูเขา เจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ ยินดีแต่ในธรรม อันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 436
อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้งเทวดากราบไหว้ ดูก่อน พราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปะผู้สงบระงับ ผู้ยินดีแต่ ในธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็น ทายาทแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด อนึ่ง ในหมู่ มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์ สิบวงศ์ ตระกูลมาเป็นลำดับๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ ถึงพร้อมด้วย ไตรเพท ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง เวท ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อยๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ไหว้พระกัสสปะนี้เพียง ครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลาเช้าเข้าวิโมกข์ ๘ โดยอนุโลม และปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้นแล้วเที่ยวไปบิณฑบาต ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้ ทำลายตนเสียเลย ท่านจงยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ ผู้คงที่เถิด จงรีบประนมอัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่าน อย่าแตกไปเสียเลย พระโปฐิละไม่เห็นพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว เดินไปสู่ทางผิดซึ่ง เป็นทางคดไม่ควรเดิน พระโปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภและสักการะดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ จึง เป็นผู้ไม่มีแก่สาร อนึ่ง เชิญท่านมาดูท่านพระสารีบุตร ผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณที่น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลส ด้วยสมาธิและปัญญา มีจิตตั้งมั่นในภายใน เป็นผู้ปราศ- จากลูกศร สิ้นสังโยชน์บรรลุวิชชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 437
เป็นพระทักขิเณยยบุคคล ผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของ มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรื่อง ยศศักดิ์นับจำนวนหมื่น พร้อมด้วยพรหมชั้นพรหมปุโรหิต ได้พากันมาประนมอัญชลีนมัสการพระโมคคัลลานเถระ โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบ น้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อม แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป เป็นทักขิเณยยบุคคล พระโมคคัลลานเถระ เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิดโดยอริยชาติครอบงำความตายแล้ว ไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือน ดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำฉะนั้น พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้ง โลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียวเสมอด้วยท้าวมหาพรหม เป็น ผู้ชำนาญในคุณ คืออิทธิฤทธิ์ ในจุติและอุปบัติของสัตว์ ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาลอันสมควร ภิกษุใดทรง คุณธรรมชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือ พระสารีบุตร เป็นผู้สูงสุดอย่างยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดใน วิธีแสดงฤทธิ์ต่างๆ เป็นผู้ถึงความชำนาญในฤทธิ์ พึง เนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ตั้งแสนโกฏิ เราชื่อว่า โมคคัลลานะโดยโคตร เป็นผู้ชำนาญในสมาธิและวิชชา ถึงที่สุดแห่งบารมี เป็นปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้อันตัณหาไม่อาศัย มีอินทรีย์มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำ คือกิเลสทั้งสิ้นเสียเด็ดขาด เหมือนกุญชรชาติตัดปลอก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 438
ที่ทำด้วยเถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไปฉะนั้น เราคุ้นเคย กับพระศาสดา ฯลฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้ แล้ว เราบรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ แล้ว หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร คือเป็นนรก ที่มีขอเหล็กตั้งร้อย และเป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะ ตนทุกแห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวก นามว่าวิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรม โดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน ภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมานทั้งหลายลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสี เหมือนแก้วไพฑูรย์ เป็นวิมานงดงาม มีรัศมีพลุ่งออก เหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มีหมู่นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตก ต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมาร ผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้อง ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุรูปใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากก็เห็นอยู่ ได้ทำปราสาท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 439
ของนางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหวได้ ด้วยปลาย นิ้วเท่า ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและ ผลแห่งกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่าน เบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่ แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาท ให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และยังเทพเจ้าให้สลดใจ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรม โดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุ นั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดไต่ถาม ท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรง ทราบวิมุตติอันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร ท้าวสักกเทวราชถูกถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนว เทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วแก่ภิกษุนั้น ภิกษุใด เป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมโดยประจักษ์ ดูก่อน มารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้อง ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหาพรหมว่า ดูก่อนอาวุโส แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิดอยู่เหมือน เมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่บนพรหมโลกเท่านั้น ที่ ดาวดึงส์พิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมีความเห็นผิดอยู่ เหมือนก่อน คือท่านยังเห็นอยู่ว่าบนพรหมโลกมีแสงสว่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 440
พวยพุ่งออกได้เองหรือ ครั้นท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหา แล้ว พยากรณ์ตามความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่ พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน คือไม่ได้เห็นว่า บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่งออกไปได้ เอง ทุกวันนี้ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับ มีความเห็นว่าไม่เที่ยง ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็น แน่แท้ ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช ชมพูทวีป และปุพพวิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีป และชาวอุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็น สาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะ ต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะไหม้ คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้ ไหม้ตนเองฉันใด ดูก่อนมาร ท่านประทุษร้ายพระตถาคต นั้นแล้ว ก็จักเผาตนเองเหมือนกับคนพาลถูกไฟไหม้ ฉันนั้น แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมารคอยแต่ประทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบแต่สิ่งซึ่งมิใช่บุญ หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่เรา แน่ะมารผู้มุ่งแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 441
ความตาย เพราะท่านได้ทำบาปมาโดยส่วนเดียว จะต้อง เข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของพระพุทธเจ้าอีก ต่อไปเลย พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่า เภสกฬาวัน ดังนี้แล้ว ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจจึงได้ หายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง.
ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้แล.
ในสัฏฐิกนิบาตปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีฤทธิ์มากองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิตคาถาเหล่านั้นไว้ ๖๐ คาถา.
จบสัฏฐิกนิบาต
อรรถกถา สัฏฐินิบาต (๑)
อรรถกถามหาโมคคัลลานเถรคาถาที่ ๑
ในสัฏฐิกนิบาต คาถาของท่านพระมหาโมคคัลถามเถระ มีคำ
เริ่มต้นว่า อารญฺิกา ปิณฺฑปาติกา ดังนี้ เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?
เรื่องท่านพระมหาโมคคัลลานเถระนั้น ท่านได้กล่าวไว้แล้ว ใน เรื่องแห่งพระธรรมเสนาบดีนั่นแล.
จริงอยู่ ในวันที่ ๗ แต่วันที่บวชแล้ว พระเถระเข้าไปอาศัย กัลลวาลคาม ในมคธรัฐ กระทำสมณธรรม เมื่อถีนมิทธะครอบงำ ถูก
๑. บาลีเป็น สัฏฐิกนิบาต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 442
พระศาสดาทรงให้สลดด้วยคำมีอาทิว่าโมคคัลลานะ โมคคัลลานะ พราหมณ์ ท่านอย่าประมาทความเป็นผู้นิ่งอันประเสริฐ ดังนี้แล้ว บรรเทาถีนมิทธะ ฟังธาตุกรรมฐานที่พระศาสดาตรัสนั่นแล เจริญวิปัสสนา เข้าถึงมรรค เบื้องบน ๓ ตามลำดับ บรรลุสาวกบารมีญาณในขณะพระอรหัตตผล. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี เป็นผู้ ประเสริฐสุดในโลก เป็นนระผู้องอาจ อันเทวดาและ ภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับอยู่ ณ ประเทศหิมวันต์ เวลานั้น เราเป็นนาคราชมีนามชื่อว่าวรุณ แปลงรูปอันน่าใคร่ได้ ต่างๆ อาศัยอยู่ในทะเลใหญ่ เราละหมู่นาคซึ่งเป็น บริวารทั้งสิ้น มาตั้งวงดนตรีในกาลนั้น หมู่นาคแวดล้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประโคมอยู่ เมื่อดนตรีของมนุษย์ และนาคประโคมอยู่ ดนตรีของเทวดาก็ประโคม พระพุทธเจ้าทรงสดับเสียง ๒ ฝ่ายแล้ว ทรงตื่นบรรทม เรา นิมนต์พระสัมพุทธเจ้า ทูลเชิญให้เสด็จเข้าไปยังภพของ เรา เราปูลาดอาสนะแล้วกราบทูลเวลาเสวยพระกระยาหาร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายกของโลก อันพระขีณาสพ พันหนึ่งแวดล้อมแล้ว ทรงยังทิศทุกทิศให้สว่างไสว เสด็จมายังภพของเราเวลานั้น เรายังพระมหาวีรเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนระผู้องอาจ ซึ่งเสด็จเข้า มา (พร้อม) กับภิกษุสงฆ์ ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 443
พระมหาวีรเจ้า ผู้เป็นสยัมภูอัครบุคคลทรงอนุโมทนาแล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดได้บูชาสงฆ์และได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้นายกของ โลก ด้วยจิตอันเลื่อมใส ผู้นั้นจักไปสู่เทวโลก จัก เสวยเทวรัชสมบัติสิ้น ๓๓ ครั้ง จักเสวยราชสมบัติแผ่นดิน ครอบครองพสุธา ๑๐๘ ครั้ง และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๕ ครั้ง โภคสมบัติอันนับไม่ถ้วนจักบังเกิดแก่ผู้นั้นขณะนั้น. ในกัปนับไม่ถ้วนแต่กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่า โคตมะ โดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้นั้นเคลื่อนจากนรกแล้ว จักถึง ความเป็นมนุษย์ จักเป็นบุตรพราหมณ์มีนามชื่อว่า โกลิตะ ภายหลังอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว เขาจักออกบวช จักได้ เป็นพระสาวกองค์ที่สอง ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม ว่า โคดม จักปรารภความเพียรมอบกายถวายชีวิต ถึง ที่สุดแห่งฤทธิ์ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มี อาสวะจักปรินิพพาน.
เพราะอาศัยมิตรผู้ลามก ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว ฆ่ามารดาและแม้บิดาได้ เราได้เข้าถึงภูมิใดๆ จะเป็นนิรยภูมิ หรือมนุสสภูมิ ก็ตาม อันพรั่งพร้อมด้วยกรรมอันลามก เราก็ต้องศีรษะ แตกตายในภูมินั้นๆ นี้เป็นกรรมครั้งสุดท้ายของเรา ภพที่สุดย่อมเป็นไป แม้ในภพนี้กรรมเช่นนี้จักมีแก่เรา ในเวลาใกล้จะตาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 444
เราหมั่นประกอบในวิเวก ยินดีในสมาธิภาวนา กำหนด รู้อาสวะทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ แม้แผ่นดินอันลึกซึ้ง หนาอันอะไรขจัดได้ยาก เราผู้ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์พึงให้ไหว ได้ด้วยนิ้วแม่มือซ้าย เราไม่เห็นอัสมิมานะ มานะของเรา ไม่มี (เราไม่มีมานะ) เรากระทำความยำเกรงอย่างหนัก แม้ที่สุดในสามเณร ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรา สั่งสมกรรมใดไว้ เราบรรลุถึงภูมิแห่งกรรมนั้น เป็นผู้ บรรลุถึงธรรมเครื่องสิ้นอาสวะแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่แห่งพระอริยะ ในเชตวันมหาวิหาร เมื่อจะทรงตั้งสาวกทั้งหลายของพระองค์ใน เอคทัคคะด้วยคุณนั้นๆ จึงทรงตั้งท่านไว้ในเอตทัคคะด้วยความเป็นผู้มี ฤทธิ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์ โมคคัลลานะ เป็นเลิศ เพราะเหตุนั้น พระมหาเถระผู้ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ ที่ พระศาสดาทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะอย่างนี้ อาศัยนิมิตนั้นๆ จึงได้กล่าว คาถาในที่นั้นๆ ซึ่งพระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ได้ยกขึ้นสู่สังคายนา รวมกันในสังคีติกาล โดยลำดับนี้ว่า
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร ยินดีเฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่ การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดีในภายใน พึงทำลาย เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือการอยู่ในป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 445
เป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะ อาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา พึง กำจัดเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนกุญชรทำ ลายเรือนไม้อ้อฉะนั้น. ภิกษุผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็น วัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารใน บาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึง ทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลาย ผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา พึง กำจัดเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนช้างกุญชร ทำลายเรือนไม้อ้อฉะนั้น.
เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่างอันสำเร็จด้วยโครง กระดูกอันฉาบทาด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไป ด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไป เข้าใจว่า เป็นของผู้อื่นและเป็นของตนในร่างกายของ เธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังห่อหุ้มปกปิดไว้ เหมือนนางปิศาจ มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออก เนืองนิตย์ ภิกษุควรละเว้นสรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่มผู้ชอบสะอาด หลีก เลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกลฉะนั้น, หากว่า คนพึงรู้จัก สรีระของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีก เธอไปเสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาดเห็นหลุม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 446
คูถในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสียห่างไกลฉะนั้น.
ข้าแต่สมณะผู้มีความเพียรมาก ท่านพูดอย่างไรก็ เป็นจริงอย่างนั้น แต่คนบางจำพวกยังจมอยู่ในร่างกาย อันนี้เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตมฉะนั้น.
ผู้ใดประสงค์ย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยน้ำย้อม อย่างอื่น การกระทำของผู้นั้นก็ลำบากเปล่าๆ จิตของเรา นี้ก็เสมอกับอากาศ เป็นจิตตั้งมั่นด้วยดีในภายใน เพราะฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิต อันลามก ของเธอจากฉันเลย เหมือนตัวแมลงถลาเข้าสู่กองไฟย่อม ถึงความพินาศฉะนั้น เธอจงดูร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อน ยกขั้นตั้งไว้ มีแผลทั่วๆ ไป อันบุญกรรมกระทำให้วิจิตร กระสับกระส่าย พวกคนพาลพากันดำริโดยมาก ไม่มี ความยั่งยืนมั่นคงอยู่เลยนี้เถิด.
เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วยอุฏ- ฐานะเป็นอันมาก มีศีลสังวรเป็นต้น นิพพานไปแล้ว ก็ เกิดเหตุน่าสะพึงกลัวขนพองสยองเกล้า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความที่สังขารเหล่านั้น สงบระงับเป็นสุข ชนเหล่าใดพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของแปรปรวน และโดยไม่ใช่ตัวตน ชน เหล่านั้นชื่อว่า แทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือนนาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 447
ขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศรฉะนั้น อนึ่ง ชนผู้ มีความเพียรเหล่าใด พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดย ความเป็นของแปรปรวนและโดยไม่ใช่ตัวตน ชนผู้มีความ เพียรเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือน นายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศรฉะนั้น.
ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และ เหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตนฉะนั้น ภิกษุ ผู้มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย เหมือนบุคคล รีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับ ไฟซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตนฉะนั้น เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งได้ทรงอบรมพระองค์มาแล้ว ผู้ทรงไว้ซึ่ง พระสรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำปราสาท ของนางวิสาขามิคารมารดาให้หวั่นไหว ด้วยปลายนิ้วเท้า บุคคลปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน อันเป็นเหตุปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ด้วย กำลังความเพียรอันน้อยก็หาไม่ แต่พึงบรรลุได้ด้วยความ เพียรชอบ ๔ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็นบุรุษ ผู้สูงสุด ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกาย อันมีในที่สุด สายฟ้าทั้งหลายฟาดลงไปตามช่องภูเขา เวภารบรรพต และภูเขาบัณฑวบรรพต ส่วนอาตมาเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 448
บุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่ ได้เข้า ไปสู่ช่องภูเขาเจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ ยินดีแต่ในธรรมอันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่ ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้งเทวดา กราบไหว้ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปะผู้สงบ ระงับ ผู้ยินดีแต่ธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาทแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็นกษัตริย์ หรือเป็น พราหมณ์สืบวงศ์ตระกูลมาเป็นลำดับๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ ถึงพร้อมด้วยไตรเพท. ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อยๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ ไหว้พระกัสสปะนี้เพียงครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลาเช้าเข้า วิโมกข์ ๘ โดยอนุโลมและปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้น แล้วเที่ยวไปบิณฑบาต ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่ารุก รานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้ทำลายตนเสียเลย ท่านจง ยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ผู้คงที่เถิด จงรีบประนม อัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่านอย่าแตกไปเสียเลย พระโปฐิละไม่เห็นพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อ ไว้แล้ว เดินไปสู่ทางผิดซึ่งเป็นทางคดไม่ควรเดิน พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 449
โปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภและสักการะ ดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ จึงเป็นผู้ไม่มีแก่นสาร อนึ่ง เชิญท่านมาดูท่านพระสาบุตรผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณที่ น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลสด้วยสมาธิและปัญญา มีจิตตั้งมั่นในภายใน เป็นผู้ปราศจากลูกศร สิ้น สังโยชน์ บรรลุวิชชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้ เป็นพระทักขิเณยยบุคคลผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของมนุษย์ทั้ง หลาย เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรืองยศศักดิ์นับ จำนวนหมื่น พร้อมด้วยพรหมชั้นพรหมปุโรหิต ได้ พากันมาประนมอัญชลีนมัสการพระโมคคัลลานเถระ โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบ น้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อม แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้ง หลายสิ้นไป เป็นทักขิเถยยบุคคล พระโมคคัลลานเถระ เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิด โดยอริยชาติ ครอบงำความตายได้แล้ว ไม่ติดอยู่ใน สังขาร เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ในน้ำฉะนั้น พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียว เสมอ ด้วยท้าวมหาพรหม เป็นผู้ชำนาญในคุณคืออิทธิฤทธิ์ ในจุติและอุปบัติของสัตว์ ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาล อันสมควร ภิกษุใดทรงคุณธรรมชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 450
และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตรเป็นผู้สูงสุดอย่าง ยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่างๆ เป็นผู้ถึง ความชำนาญในฤทธิ์ พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ ตั้งแสนโกฏิ เราชื่อว่าโมคคัลลานะโดยโคตร เป็นผู้ ชำนาญในสมาธิและวิชชา ถึงที่สุดแห่งบารมี เป็น ปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้อันตัณหาไม่อาศัย มี อินทรีย์มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำคือกิเลสทั้งสิ้นเสีย อย่างเด็ดขาด เหมือนกับกุญชรชาติตัดปลอกที่ทำด้วย เถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไปฉะนั้น เราคุ้นเคยกับพระศาสดา ฯลฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เรา บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการ นั้นแล้ว บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว มารผู้ มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ และ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุสันธะ แล้วหมก ไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร คือเป็นนรกที่มีขอ เหล็กตั้งร้อยและเป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะตนทุก แห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวกนามว่า วิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ ภิกษุใดเป็น สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้าก็จะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 451
ต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมานทั้งหลายลอยอยู่ท่าม กลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์ เป็นวิมานงดงามมีรัศมีพุ่งออกเหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มี หมู่นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตกต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรม โดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน ภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุรูป ใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ก็เห็นอยู่ ได้ทำปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้ หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลแห่งกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อน มารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะ ต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาทให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และ ยังเทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่ง พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อน มารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็ จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดไต่ถามท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรงทราบวิมุตติ อันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร ท้าวสักกเทวราชถูกถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนวเทศนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 452
ที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วแก่ภิกษุนั้น ภิกษุใดเป็น สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะ ต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหาพรหมว่า ดูก่อนอาวุโส แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิด อยู่เหมือนเมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่บนพรหมโลก เท่านั้น ที่ดาวดึงสพิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมี ความเห็นผิดอยู่เหมือนก่อน คือท่านยังเห็นอยู่ว่าบน พรหมโลกมีแสงสว่างพวยพุ่งออกได้เองหรือ ครั้น ท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหาแล้ว ได้พยากรณ์ตาม ความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน คือไม่ได้เห็นว่า บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่งออกไปได้เอง ทุกวันนี้ ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับมีความเห็น ว่าไม่เที่ยง ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรม และผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่าน เบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช ชมพูทวีปและปุพพวิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีปและชาว อุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็นสาวกของ พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 453
มารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะ ต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะไหม้ คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้ ไหม้ตนเองฉันใด ดูก่อนมาร ท่านประทุษร้ายพระตถาคตนั้นแล้ว ก็จักเผาตนเอง เหมือนกับคนพาลถูก ไฟไหม้ฉันนั้น แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมาร คอยแต่ประทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบ แต่สิ่งซึ่งไม่ใช่บุญ หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่ เรา แน่ะมารผู้มุ่งแต่ความตาย เพราะท่านได้ทำบาป มาโดยส่วนเดียว จะต้องเข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของพระพุทธเจ้าอีกต่อไปเลย พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่าเถสกฬาวันดังนี้แล้ว ลำดับ นั้น มารนั้นเสียใจจึงได้หายไป ณ ที่นั้นเอง.
ได้ยินว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถาดังพรรณนา มาฉะนี้แล.
โดยลำดับนี้ ท่านพระธรรมสังคาหกาจารย์ ได้ยกขึ้นรวบรวมไว้ เป็นหมวดเดียวกันฉะนี้แล.
บรรดาคาถาเหล่านั้น ๔ คาถามีอาทิว่า อารญฺิกา ดังนี้ ท่าน กล่าวด้วยอำนาจการให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย. บทว่า อารญฺิกา ความว่า ชื่อว่า ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะการห้ามเสนาสนะใกล้บ้าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 454
แล้วสมาทานอารัญญิกธุดงค์, ชื่อว่า ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะห้าม สังฆภัตแล้วสมาทานบิณฑปาติกธุดงค์ คือยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑ- บาตที่ตนได้ในลำดับเรือน. บทว่า อุญฺฉาปตฺตาคเต รตา ความว่า ยินดี เฉพาะบิณฑบาตที่มาถึงในบาตร คือที่นับเนื่องในบาตร ด้วยการเที่ยว แสวงหา ได้แก่ยินดี คือสันโดษด้วยบิณฑบาตนั้นนั่นเอง. บทว่า ทาเรมุ มจฺจุโน เสนํ ความว่า เราจะถอนพาหนะคือกิเลสอันเป็นเสนาของมัจจุราช จากการนำตนเข้าเป็นสหายในกิเลสอันยังความฉิบหายให้เกิด. บทว่า อชฺ- ฌตฺตํ สุสมาหิตา ความว่า เป็นผู้ตั้งใจมั่นดีในอารมณ์อันเป็นภายใน, ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงอุบายเครื่องทำลายของมัจจุราชนั้น.
บทว่า ธุนาม ความว่า เราจะกำจัดคือ ทำลาย.
บทว่า สาตติกา ความว่า ผู้มีอันกระทำเป็นไปติดต่อ คือมีความ เพียรเป็นไปติดต่อด้วยภาวนา.
ท่านกล่าว ๔ คาถา มีอาทิว่า อฏฺิกงฺกลกุฏิเก ดังนี้ ด้วย อำนาจโอวาทหญิงแพศยาผู้เข้าใกล้เพื่อประเล้าประโลมตน. บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า อฏฺิกงฺกลกุฏิเก ความว่า ซึ่งกระท่อมอันสำเร็จด้วย โครงกระดูก. บทว่า นฺหารุปสิพฺพิเต ความว่า ร้อยรัดไว้โดยรอบด้วย เส้นเอ็น ๙๐๐ เส้น ท่านแสดงไว้ว่า คนทั้งหลาย ยกท่อนไม้ผูกด้วย เถาวัลย์เป็นต้น กระทำให้เป็นกุฏิไว้ในป่า ก็ท่านผูกด้วยโครงกระดูก อันน่าเกลียดอย่างยิ่ง และผูกกระทำไว้ด้วยเส้นเอ็นอันน่าเกลียดอย่างยิ่ง ทีเดียว และมันเป็นของน่าเกลียด ปฏิกูลอย่างยิ่ง.
บทว่า ธิรตฺถุ ปูเร ทุคฺคนฺเธ ความว่า เต็มคือเปี่ยมไปด้วยสิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 455
อันน่าเกลียดมีประการต่างๆ มีผมและขนเป็นต้น น่าติเตียนท่านผู้มี กลิ่นเหม็นกว่านั้น คืออาการที่น่าติเตียนจงมีแก่ท่าน. บทว่า ปรคตฺเต มมายเส ความว่า ก็สรีระนี้ เป็นที่ตั้งขึ้นของหัวฝีในเบื้องบน เป็นความ ลำบากแก่ท่านผู้มีกลิ่นเหม็นอย่างนี้ เป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ถือเอาได้แต่สิ่งปฏิกูล. ท่านกระทำความสำคัญว่า กเฬวระ เช่นนั้นนั่นแหละ และกเฬวระที่เป็นร่างกายของสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก และหมู่หนอนเป็นในที่อื่นว่าเป็นของเรา.
บทว่า คูถภสฺเต ความว่า เป็นเสมือนถุงหนังอันเต็มไปด้วยคูถ. บทว่า ตโจนทฺเธ ความว่า หุ้มห่อด้วยหนัง คือสิ่งที่เป็นโทษปกปิด ไว้เพียงผิวหนัง. บทว่า อุรคณฺฑิปิสาจินี ความว่า มีฝีที่ตั้งขึ้นที่อก เป็นเสมือนปิศาจเพราะเป็นสิ่งที่น่ากลัว และนำมาซึ่งความพินาศ. บทว่า ยานิ สนฺทนฺติ สพฺพทา ความว่า มีช่อง ๙ ช่อง มีแผล ๙ แห่ง ไหลออก คือซ่าน ได้แก่หลั่งของที่ไม่สะอาดออกตลอดกาลทุกเมื่อ คือ ตลอดคืนและวัน.
บทว่า ปริพนฺธํ ความว่า เป็นการผูกพันด้วยสัมมาปฏิบัติ. บท ว่า ภิกฺขุ ความว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร เป็นผู้มีกิเลสอันทำลายแล้ว เว้นกิเลสนั้นให้ห่างไกล ไม่กระทำความสำคัญว่าเป็นของเรา. ศัพท์ว่า จ ในบทว่า มีฬฺหํ จ ยถา สุจิกาโม นี้ เป็นเพียงนิบาต, อธิบายว่า ผู้ชื่อว่า เป็นภิกษุ ย่อมเป็นเหมือนคนมีชาติสะอาด ปรารถนาแต่สิ่ง สะอาดเท่านั้น อาบน้ำสระผม เห็นของสกปรก เว้นเสียให้ห่างไกล ฉะนั้น.
บทว่า เอวญฺเจ ตํ ชโน ชญฺา ยถา ชานามิ ตํ อหํ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 456
ความว่า มหาชนพึงรู้กองแห่งของอันไม่สะอาดที่รู้กันว่า ร่างกายอย่างนี้ พึงเว้นมันเสียให้ห่างไกล คือให้ไกลทีเดียว เหมือนเรารู้ตามความเป็น จริงฉะนั้น. บทว่า คูถฏฺานํว ปาวุเส อธิบายว่า เหมือนบุคคล ผู้ชอบสะอาด เห็นหลุมคูถอันเป็นของไม่สะอาด ซึ่งเปื้อนในฤดูฝนเป็น นิรันตรกาล พึงเว้นเสียให้ห่างไกล. ก็เพราะเหตุที่ภิกษุไม่รู้ตามความ เป็นจริง ฉะนั้น เธอจึงจมอยู่ในกองคูถคือร่างกายนั้น ยกศีรษะขึ้น ไม่ได้.
เมื่อพระเถระประกาศโทษในร่างกายอย่างนี้แล้ว หญิงแพศยา นั้นละอาย ก้มหน้าลง ตั้งความเคารพในพระเถระ กล่าวคาถาว่า เรื่องนั้นย่อมเป็นอย่างนั้น มหาวีระ ได้ยืนนมัสการพระเถระอยู่แล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตฺถ เจเก ความว่า สัตว์บางพวก ย่อม จมอยู่คือถึงความว้าเหว่ใจ เพราะมีความข้องอยู่เป็นกำลังในกายนี้ แม้มี สภาวะเป็นของปฏิกูลปรากฏอยู่อย่างนี้. อธิบายว่า เหมือนโคแก่จมอยู่ ในเปือกตมฉะนั้น คือเหมือนโคพลิพัทตัวมีกำลังทุรพล ตกอยู่ในท้อง เปือกตมใหญ่ ย่อมถึงความวอดวายนั่นแล.
พระเถระเมื่อแสดงกะนางอีกว่า ดูก่อนท่านผู้เช่นเรา ข้อปฏิบัติ เห็นปานนี้ไร้ประโยชน์ นำมาซึ่งความคับแค้นทีเดียว จึงกล่าว ๒ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า อากาสมฺหิ ดังนี้. หมวดสองแห่งคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ บุคคลใดพึงสำคัญเพื่อจะย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยเครื่องย้อมอย่างอื่น กรรมนั้นของบุคคลนั้น เป็นบ่อเกิดแห่งความคับแค้น คือพึงนำมาซึ่ง ความคับแค้นแห่งจิตเท่านั้น ฉันเดียวกันกับการประกอบการงานในสิ่ง มิใช่วิสัยฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 457
บทว่า ตทากาสสมํ จิตฺตํ ความว่า จิตของเรานี้นั้น เสมอกับอากาศ คือตั้งมั่นด้วยดีในภายใน โดยภาวะไม่ข้องอยู่ในอารมณ์ไหนๆ เพราะฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิตอันลามก อธิบายว่า เธอ อย่ามาหวังความรักในคนเช่นเรา ผู้ชื่อว่ามีจิตเลว เพราะจมอยู่ในกาม ทั้งหลาย. บทว่า อคฺคิขนฺธํว ปกฺขิมา แปลว่า เหมือนแมลงมีปีกคือ ตั๊กแตน เมื่อบินสู่กองไฟ ย่อมถึงความพินาศทางเดียว ท่านแสดงว่า คำอุปไมยอันยังอุปมาให้ถึงพร้อมของท่านนี้ก็ฉันนั้น.
เจ็ดคาถาว่า ปสฺส จิตฺตกตํ ดังนี้เป็นต้น ท่านเห็นหญิงแพศยา นั้นนั่นแลแล้วกล่าวว่า ด้วยอำนาจให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มีจิตวิปลาส, หญิงแพศยานั้นฟังแล้วเป็นผู้เก้อ หนีไปโดยหนทางที่ตนมาแล้วนั่นแล.
สี่คาถาว่า ตทาสิ เป็นต้น ท่านกล่าวปรารภปรินิพพานของท่าน พระสารีบุตรเถระ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกาการสมฺปนฺเน ความว่า บริบูรณ์ด้วยประการมีศีลสังวรเป็นต้นเป็นอเนก.
บทว่า สุขุมํ เต ปฏิวิชฺฌนฺติ ความว่า พระโยคีเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมแทงตลอดธรรมอันละเอียดอย่างยิ่ง ถามว่า เหมือนอะไร? เหมือน นายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร อธิบายว่า เหมือนนายขมังธนู ยิงถูกปลายขนทราย ที่แบ่งเป็น ๗ ส่วนเหลือเพียงส่วนเดียว ด้วยแสงสว่าง แห่งสายฟ้า เพราะความมืดมิดแห่งอันธการในราตรี. เพื่อเฉลยคำถามว่า คนเหล่านั้นคือคนเหล่าไหน? ท่านจึงกล่าวว่า ชนเหล่าใดพิจารณาเห็น ขันธ์ ๕ โดยความเป็นอื่น ไม่ใช่โดยความเป็นตน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรโต แปลว่า โดยความเป็นอนัตตา. จริงอยู่ บทว่า ปรโต นั้นเป็น บทแสดงถึงบทที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออัตตศัพท์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 458
โน จ อตฺตโต ดังนี้. ด้วยคำนั้น ท่านกล่าวถึงการตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้ ทุกขสัจ ด้วยอำนาจอริยมรรคอันเจริญแล้วด้วยอนัตตา. แต่พึงเห็น ว่า ท่านกล่าวการแทงตลอดด้วยดีถึงการตรัสรู้ธรรมนอกนี้ โดยภาวะที่ แยกจากอัตตานั้น. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่า ปเร เพราะเป็นตัวกระทำความพินาศ แล้วกล่าวว่า ท่านกล่าวขันธ์ทั้งหมด ไว้ชอบแท้โดยพิเศษด้วยคำว่า เห็นโดยเป็นอื่น. บทว่า ปจฺจพฺยาธึสุ แปลว่า แทงตลอด.
คาถาที่ ๑ ว่า สตฺติยา วิย โอมฏฺโ ท่านกล่าวปรารภพระติสสเถระ คาถาที่ ๒ ท่านกล่าวปรารภพระวัฑฒมานเถระ, คาถาเหล่านั้นมีอรรถ ดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.
คาถาว่า โจทิโต ภาวิตตฺเตน ท่านกล่าวปรารภ ปาสาทกัมปนสูตร
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ภาวิตตฺเตน สรีรนฺธิมธารินา ท่านกล่าวหมายถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า.
สองคาถาว่า นยิทํ สถิลมารพฺภ ท่านกล่าวปรารภภิกษุหนุ่มผู้มี ชื่อว่า เวทะ ผู้มีความเพียรเลว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิถิลมารพฺภ ความว่า กระทำความย่อ หย่อนคือไม่ทำความเพียร. บทว่า อปฺเปน ถามสา ความว่า บุคคลพึง บรรลุพระนิพพานนี้ ด้วยกำลังความเพียรอันน้อยหาได้ไม่. แต่พึงบรรลุ ด้วยความเพียร ในสัมมัปปธาน ๔ อันใหญ่นั่นแล.
สองคาถาว่า วิวรมนุปภํ ดังนี้เป็นต้น ท่านกล่าวปรารภความวิเวก แห่งตน. บรรดาบทเหล่านั้นว่า พฺรหฺมุนา อภิวนฺทิโต ท่านเป็นผู้อัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 459
มหาพรหม และมนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลกเป็นผู้พร้อมหน้าเชยชมและ นมัสการแล้ว.
ห้าคาถาว่า อุปสนฺตํ อุปรตํ ดังนี้เป็นต้น ท่านเห็นท่านพระมหากัสสปเถระผู้เข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต เห็นพราหมณ์ผู้เป็น มิจฉาทิฏฐิ ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ ผู้ยืนมองดูอยู่ว่า เราเห็น คนกาลกิณีแล้ว เพื่อจะกำจัดการว่าร้ายพระอริยเจ้า ด้วยความอนุเคราะห์ แก่เธอว่า พราหมณ์นี้ อย่าฉิบหายเลยดังนี้ จึงส่งเธอไป กล่าวว่าเธอจงไหว้ พระเถระดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาติสตํ คจฺเฉ ความว่า พึงเข้าถึง ๑๐๐ ชาติ. บทว่า โสตฺติโย ได้แก่ ผู้เกิดเป็นชาติพราหมณ์ บทว่า เวทสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยญาณ (ปัญญา). บทว่า เอตสฺส ได้แก่ พระเถระ. ก็ในข้อนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :- ผู้ใด เข้าถึงชาติพราหมณ์ ๑๐๐ ชาติ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่เจือปน ด้วยอำนาจการเกิด ตามลำดับ และในชาตินั้นถึงความสำเร็จในวิชาแห่งพราหมณ์ทั้งหลาย พึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ และพึงบำเพ็ญพราหมณวัตร การแสวงหาวิชา นั้นของเขา ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของบุญที่สำเร็จด้วยการไหว้ ด้วยการ ไหว้พระมหากัสสปเถระนั่น บุญอันสำเร็จด้วยการไหว้นั่นแล มีผลมาก กว่านั้นแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺ วิโมกฺขานิ ได้แก่ วิโมกข์ ๘ มีรูปฌานเป็นต้น จริงอยู่ รูปฌานที่ได้ด้วยอำนาจภาวนา ท่านเรียกว่า วิโมกข์ เพราะอาศัยความหลุดพ้นด้วยดี จากปัจจนิกธรรม และความเป็นไปอัน ปราศจากความสงสัยในอารมณ์ ด้วยอำนาจความยินดียิ่ง, แต่นิโรธสมาบัติ ท่านเรียกว่าวิโมกข์ เพราะหลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกอย่างเดียว แต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 460
ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านหมายเอาฌานเท่านั้น. บทว่า อนุโลมํ ปฏิโลมํ ความว่า ตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ชื่อว่า อนุโลม ตั้งแต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจนถึงปฐมฌาน ชื่อว่า ปฏิโลม. บทว่า ปุเรภตฺตํ ได้แก่ ในกาลก่อนแต่ภัตกิจนั่นแล. บทว่า อผสฺสยี ได้แก่ เข้า สมาบัติอันเกลื่อนกล่นด้วยอาการและขันธ์มิใช่น้อย. บทว่า ตโต ปิณฺฑาย คจฺฉติ ความว่า ออกจากสมาบัตินั้น หรือหลังจากการเข้าสมาบัตินั้น บัดนี้จึงเที่ยวไปบิณฑบาต เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวหมายเอาการปฏิบัติ ของพระเถระที่เป็นไปในวันนั้น, ก็พระเถระปฏิบัติอย่างนั้นนั่นแลทุกวันๆ.
บทว่า ตาทิสํ ภิกฺขุํ มาสาทิ ความว่า ท่านกล่าวคุณของภิกษุ เช่นใด ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้น คือเห็นปานนั้น ได้แก่ ผู้ตรัสรู้ ตามพระพุทธเจ้าคือพระมหาขีณาสพ. บทว่า มาตฺตานํ ขณิ พฺราหฺมณ ความว่า ท่านอย่าขุดตนด้วยการรุกราน คืออย่าทำลายกุศลธรรมของตน ด้วยการเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า. บทว่า อภิปฺปสาเทหิ มนํ ความว่า จงยังจิตของตนให้เลื่อมใสว่า สมณะนี้ดีหนอ. บทว่า มา เต วิชฏิ มตฺถกํ ความว่า ศีรษะของท่านอย่าแตก ๗ เสี่ยง ด้วยความผิดที่ตนทำในการว่าร้าย พระอริยเจ้านั้น. เพราะฉะนั้นท่านจงรีบประคองอัญชลีไหว้โดยพลันทีเดียว เพราะกระทำการตอบแทนท่านฉะนี้แล. พราหมณ์ฟังดังนั้นแล้ว กลัว สลดใจเกิดขึ้นชูชันขอขมาโทษพระเถระในขณะนั้นนั่นเอง.
สองคาถาว่า เนโส ปสฺสติ เป็นต้น ความว่า ท่านเห็นภิกษุชื่อว่า โปฏฐิละ ผู้ไม่ปฏิบัติโดยชอบ กระทำมิจฉาชีพ แล้วกล่าวด้วยอำนาจการ โจทน์ท้วง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนโส ปสฺสติ สทฺธมฺมํ ความว่า ภิกษุโปฏิฐิละนั้น ไม่เห็นธรรมคือมรรคผลและนิพพาน ของท่านสัตบุรุษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 461
ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. เพราะเหตุไร? เพราะภิกษุโปฏฐิละถูก สงสารหุ้มห่อไว้ คือถูกอวิชชาอันเป็นเครื่องผูกคือสงสารเป็นต้นหุ้มห่อไว้ จึงเกิดในอบาย แล่นไปสู่ทางเบื้องต่ำ คือทางอันเป็นที่ไปในภายใต้ ชื่อทางคด เพราะเป็นไปตามกิเลสที่เป็นกลลวงและหัวดื้อ คือแล่น ได้ แก่เป็นไปตามมิจฉาชีพ ชื่อว่าเป็นทางคดเพราะเป็นทางผิด.
บทว่า กิมีว มีฬฺหสลฺลิตฺโต ความว่า หมกมุ่นอยู่ คือท่วมทับ อยู่ในสังขารอันเจือด้วยของไม่สะอาดคือกิเลส เหมือนหนอนกินคูถติดอยู่ ด้วยคูถโดยรอบฉะนั้น. บทว่า ปคาฬฺโห ลาภสกฺกาเร ความว่า ติดอยู่ คือหมกอยู่ในลาภและสักการะโดยประการด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า ตุจฺโฉ คจฺฉติ โปฏฺิโล ความว่า ภิกษุโปฏฐิละเป็นผู้เปล่าคือไม่มีสาระ เพราะไม่ มีอธิศีลสิกขาไป คือเป็นไป.
สองคาถาว่า อิมญฺจ ปสฺส เป็นต้น ท่านสรรเสริญท่านพระสารีบุตร กล่าวไว้แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมญฺจ ปสฺส ความว่า ท่านเห็นท่าน พระสารีบุตรเถระแล้ว มีจิตเลื่อมใส ร้องเรียกจิตตน. บทว่า สุทสฺสนํ ความว่า เป็นการเห็นดีด้วยความเพียบพร้อมด้วยอเสขธรรมและศีลขันธ์ และด้วยความเพียบพร้อมด้วยสาวกบารมีญาณ. บทว่า วิมุตฺตํ อุภโตภาเค ความว่า โดยรูปกายแห่งอรูปสมาบัติ โดยนามกายด้วยมรรค อธิบายว่า หลุดพ้นแล้ว ด้วยส่วนแห่งวิกขัมภนวิมุตติและสมุจเฉทวิมุตตินั้นนั่นเอง ตามสมควร. มีวาจาประกอบความว่า ท่านจงดู ท่านผู้ชื่อว่ามีลูกศรไปปราศ แล้ว เพราะไม่มีลูกศรคือราคะเป็นต้นโดยประการทั้งปวง. ชื่อว่า ผู้สิ้น กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพ. ชื่อว่า ผู้ได้วิชชา ๓ เพราะบรรลุวิชชา ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 462
อันบริสุทธิ์ด้วยดี ชื่อว่า ผู้ละมัจจุราชเสียได้ เพราะหักรานมัจจุราช เสียได้.
คาถาว่า เอเต สมฺพหุลา เป็นต้น ท่านพระสารีบุตรเถระ เมื่อ สรรเสริญพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้กล่าวไว้แล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปูชิโต นรเทเวน ความว่า ผู้อันนระและเทพทั้งหลายบูชาแล้ว ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง. บทว่า อุปฺปนฺโน มรณาภิภู ความว่า เป็นผู้เกิด ขึ้นในโลก ครอบงำมรณะดำรงอยู่, อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้เกิดโดยชาติ อันเป็นอริยะ คืออันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นเหตุ. อันเทพยิ่งกว่า นระบูชาแล้ว จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นนระคือเป็นมนุษย์ด้วย กรรมก่อน แม้ภายหลังได้เป็นเทพอันสูงสุด คือเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ โดยชาติอันเป็นอริยะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า นรเทโว ท่านผู้เป็น เทพยิ่งกว่านระ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจการสรรเสริญ คืออุบัติแล้วในโลกครอบงำมรณะ คือเป็นผู้ครอบงำมรณะ เสื่อม จากมัจจุราช. อธิบายว่า ย่อมไม่ติดในสังขาร ด้วยการฉาบทาด้วยตัณหา และทิฏฐิ เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำฉะนั้น, อธิบายว่า ไม่อาศัยแล้ว ในอารมณ์แม้ไรๆ.
บทว่า ยสฺส แก้เป็น เยน. บทว่า มุหุตฺเต แปลว่า ในกาลเพียง ขณะเดียว. บทว่า สหสฺสธา แปลว่า มี ๑,๐๐๐ ประการ. บทว่า โลโก ได้แก่ โอกาสโลก. จริงอยู่ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ๑,๐๐๐ แห่ง โลกธาตุ เช่นกับพรหมโลกของท้าวมหาพรหมชื่อสพรหมกัป อันท่านพระมหาโมคคัลลานะใดผู้มีฤทธิ์มาก รู้แจ้งแล้วโดยชอบ คือรู้แล้วโดยประจักษ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 463
ในขณะเดียวเท่านั้น และมีความชำนาญในจุตูปปาตญาณ เพราะถึง พร้อมด้วยฤทธิ์ อันถึงความเป็นวสีมีอาวัชชนวสีเป็นต้น.
บทว่า กาเล ปสฺสติ ความว่า เทวดาย่อมมองเห็นด้วยจักษุอัน เป็นทิพย์ ในกาลอันสมควรแก่เรื่องนั้น.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เมื่อประกาศคุณของตน จึงได้กล่าว คาถามีอาทิว่า สาริปุตฺโตว ดังนี้.
บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาว่า สาริปุตฺโตว มีความสังเขปดังต่อไป ว่า ภิกษุใดถึงฝั่งคือถึงความสิ้นสุด คือความอุกฤษฏ์ด้วยปัญญา เพราะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยศีล เพราะถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยความสงบ เพราะ ถึงพร้อมด้วยความสงบกิเลส ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตร ผู้ถึงที่สุดยิ่งด้วย คุณมีปัญญาเป็นต้นกว่าสาวกทั้งหลาย. เพราะท่านถึงความอุกฤษฏ์อย่างยิ่ง ด้วยปัญญา ด้วยศีล. ท่านเป็นผู้มีคุณมีปัญญาเป็นต้นเป็นอย่างยิ่ง ข้อว่า มีคุณมีปัญญาเป็นต้นนั้นเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีคุณธรรมอื่นยิ่งกว่านั้น. แต่ พระเถระได้กล่าวคำนี้เพื่อแสดงว่า เราเป็นผู้สูงสุดด้วยสมาธิเหมือนพระสารีบุตรเป็นผู้สูงสุดด้วยปัญญาฉะนั้น เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าว คำมีอาทิว่า โกฏิสตสหสฺสสฺส ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขเณน นิมฺมิเน ความว่า พึงนิรมิต คือพึงสามารถเพื่อจะนิรมิตอัตภาพดังแสนโกฏิโดยขณะเดียวเท่านั้น. เรา ไม่มีหน้าที่ในการนิรมิตนั้น. บทว่า วิกุพฺพนาสุ กุลโล วสีภูโตมฺหิ อิทฺธิยา ความว่า ไม่ใช่เป็นผู้ฉลาดในวิกุพพนาอิทธิอันสำเร็จด้วยใจอย่าง เดียวเท่านั้นก็หาไม่ เรายังเป็นผู้ถึงความชำนาญด้วยฤทธิ์แม้ทั้งหมด.
บทว่า สมาธิวิชฺชาวสิปารมีคโต ความว่า เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งบารมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 464
คือที่สุด โดยความเป็นผู้ชำนาญในสมาธิอันมีวิตกและมีวิจารเป็นต้น และ ในวิชชามีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น. เป็นที่ตั้งแห่งท่านผู้เว้นจากตัณหา นิสัยเป็นต้น คือถึงความเป็นผู้สูงสุดด้วยคุณตามที่กล่าวแล้วในพระศาสนา. ชื่อว่า ผู้เป็นนักปราชญ์ เพราะเพียบพร้อมด้วยปัญญา ชื่อว่า โมคคัลลานะ เพราะเป็นโมคคัลลานโคตร ชื่อว่า มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว เพราะมีอินทรีย์ ตั้งมั่นด้วยดี ตัดเครื่องผูกคือกิเลสทั้งสิ้นเสียได้ เหมือนช้างเชือกประเสริฐ ตัดเครื่องผูกที่ทำด้วยเถาหัวด้วนได้โดยง่ายดายฉะนั้น. พระเถระเมื่อจะ คุกคามมารผู้เข้าไปสู่ท้องแล้วออกตามลำดับแล้วมายืนอยู่ ได้กล่าวคาถา๑ มี อาทิว่า กีทิโส นิรโย อาสิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กีทิโส ความว่า เป็นประการเช่นไร? บทว่า ยตฺถ ทุสฺสี ความว่า มารผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า ทุสสี ในนรกใด. บทว่า อปจฺจถ ความว่า หมกไหม้ด้วยไฟในนรก. บทว่า วิธุรํ สาวกํ ความว่า อัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม ว่า กกุสันธะ ชื่อว่า วิธุระ. บทว่า อาสชฺช ความว่า ทุบตีเบียดเบียน.
บทว่า กกุสนฺธญฺจ พฺราหฺมณํ ความว่า กระทบกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ. มารเข้าสิงกุมาร๑ซัดก้อนกรวดเฉพาะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตกลงบนศีรษะของพระเถระ.
บทว่า สตํ อาสิ อโยสงฺกุ ความว่า ได้ยินว่า สัตว์ผู้เกิดใน นรกนั้นมีอัตภาพถึง ๓ คาวุต. แม้ทุสสีมารก็มีอัตภาพเช่นนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น นายนิรยบาลทั้งหลาย ต่างถือเอาหลาวเหล็กตั้ง ๑๐๐ อัน ขนาดเท่าลำต้นตาล อันไฟลุกโชนรุ่งโรจน์โชติช่วงกล่าวว่า ท่านมีหัวใจ ตั้งอยู่ที่นี้แหละ คิดทำบาป ดังนี้แล้ว จึงจัดเป็นคนจำนวน ๕๐ คน ผินหน้า ไปทางเท้า จำนวน ๕๐ คนผินหน้าไปทางศีรษะ ตอกตรงกลางหัวใจ
๑. ม. มู. ๑๒/ข้อ ๕๖๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 465
ย้ำเข้าไปๆ เหมือนคนตำปูนขาว ในรางสำหรับตำปูนขาวฉะนั้น ก็แลเมื่อ ตำไปอย่างนี้ ๕๐๐ ปีจึงถึงที่สุดทั้ง ๒ ข้าง แล้วหวนกลับมาถึงกลางหัวใจอีก ๕๐๐ ปี ท่านหมายเอาข้อนั้นจึงกล่าวว่า มีขอเหล็กตั้ง ๑๐๐ อัน. บทว่า สพฺเพ ปจฺจตฺตเวทนา ได้แก่ ให้เกิดเวทนาเฉพาะของตนเองทีเดียว. ได้ยินว่า เวทนานั้นเป็นทุกข์ยิ่งกว่าเวทนาในมหานรก คือเวทนาที่เกิดใน อุสสทนรกเป็นทุกข์ยิ่งกว่าทุกข์ในมหานรก เหมือน ๗ วันในการบริหาร เป็นทุกข์กว่า ๗ วันในการดื่มด้วยความเสน่หา. ด้วยบทว่า อีทิโส นิรโย อสิ นี้พึงแสดงนรกในที่นี้ด้วยเทวทูตสูตร.
บทว่า โย เอตมภิชานาติ ความว่า ภิกษุใด มีอภิญญามาก ย่อม รู้กรรมและผลแห่งกรรมนี้ โดยประจักษ์เฉพาะหน้า ดุจรู้ผลมะขามป้อม ที่วางไว้บนฝ่ามือฉะนั้น.
บทว่า ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก ความว่า ภิกษุผู้ทำลายกิเลสได้แล้ว เป็นสาวกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
บทว่า กณฺห ทุกฺขํ นิคจฺฉสิ ความว่า ดูก่อนมารชื่อว่าผู้มีธรรมดำ เพราะประกอบด้วยบาปธรรมอันดำโดยส่วนเดียว ท่านจักประสบทุกข์.
บทว่า มชฺเฌสรสฺมึ ความว่า ได้ยินว่า วิมานที่เกิดโดยทำน้ำ ตรงกลางมหาสมุทรให้เป็นที่ตั้ง เป็นวิมานดังอยู่ชั่วกัป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิมานทั้งหลายตั้งอยู่ได้ตลอดกัป ดังนี้เป็นต้น. วิมาน เหล่านั้น มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์และมีเปลวไฟโชติช่วง เหมือนกองไฟ แห่งไม้อ้อที่ลุกโพลงบนยอดภูเขาฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น วิมานเหล่านั้น จึงสว่างไสวพรั่งพร้อมด้วยรัศมีมากมาย. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีสี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 466
เหมือนแก้วไพฑูรย์ งดงาม มีรัศมีพลุ่งออก เหมือนเปลวไฟ ดังนี้ เป็นต้น.
บทว่า ปุถุ นานตฺตวณฺณิโย ความว่า นางอัปสรเป็นอันมาก มี วรรณะต่างๆ กัน โดยมีวรรณะเขียวเป็นต้น ย่อมฟ้อนรำในวิมานเหล่านั้น.
บทว่า โย เอตมภิชานาติ ความว่า ภิกษุใดย่อมรู้เรื่องวิมานนั้น โดยแจ่มแจ้ง. ก็เนื้อความนี้ พึงแสดงด้วยเรื่องวิมานเปรตทั้งหลายเถิด.
บทว่า พุทฺเธน โจทิโต ความว่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตักเตือน คือทรงส่งไป.
บทว่า ภิกฺขุสงฺฆสฺส เปกฺขโต ได้แก่ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ผู้เห็นอยู่.
บทว่า มิคารมาตุปาสาทํ ปาทงฺคุฏฺเน กมปยิ ความว่า เราทำ มหาปราสาท ที่ประดับด้วยห้อง ๑,๐๐๐ ห้อง อันนางวิสาขามหาอุบาสิกา สร้างไว้ในบุพพาราม ให้ไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้าของตน. จริงอยู่ สมัยนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในปราสาทตามที่กล่าวแล้ว ใน บุพพาราม พวกภิกษุใหม่ๆ จำนวนมากนั่งอยู่บนปราสาทชั้นบน แม้ก็ไม่ คำนึงถึงพระศาสดา เริ่มกล่าวเดรัจฉานกถากัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับดังนั้น จึงยังพวกภิกษุเหล่านั้นให้สลดใจ ทรงประสงค์จะทำให้ เป็นภาชนะสำหรับพระธรรมเทศนาของพระองค์ จึงตรัสเรียกท่านพระ มหาโมคคัลลานเถระมาว่า โมคคัลลานะ เธอจงดูพวกภิกษุใหม่ที่พากัน กล่าวเดรัจฉานกถา. พระเถระได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว รู้พระอัธยาศัย ของพระศาสดา จึงเข้าจตุตถฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นบาท ของอภิญญาแล้ว ออกจากฌานอธิษฐานว่า จงมีน้ำเต็มโอกาสของปราสาท เถิด แล้วเอานิ้วหัวแม่เท้า กดยอดปราสาท, ปราสาท โอนเอียงไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 467
ข้างหนึ่ง. กดซ้ำอีก ก็เอียงไปอีกข้างหนึ่ง. ภิกษุเหล่านั้น พากัน กลัวหวาดเสียว เพราะกลัวตกปราสาท จึงออกจากปราสาทนั้นไปยืนอยู่ ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงตรวจดูอัธยาศัยของภิกษุ เหล่านั้นแล้ว ทรงแสดงธรรม. บรรดาภิกษุที่ได้ฟังธรรมนั้น บางพวก ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล, บางพวกดำรงอยู่ในสกทาคามิผล, บางพวก ดำรงอยู่ในอนาคามิผล, บางพวกดำรงอยู่ในอรหัตตผล. เนื้อความนี้นั้น พึงแสดงด้วยปาสาทกัมปนสูตร.
บทว่า เวชยนฺตปาสาหํ ความว่า เวชยันตปราสาทนั้น ในภพ ดาวดึงส์ สูงได้ประมาณ ๑,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยเรือนยอดมีประตู หลายพันประตู ที่ตั้งขึ้นในเมื่อท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ทรงชนะ พวกอสูรในสงครามระหว่างเทวดากับอสูร แล้วประทับอยู่ท่ามกลาง พระนคร เป็นปราสาทที่ได้นามว่า เวชยันต์ เพราะบังเกิดสุดท้ายแห่งชัยชนะ, ท่านหมายเอาปราสาทนั้น กล่าวว่า เวชยันตปราสาท. ก็แม้เวชยันตปราสาท นั้น พระเถระนี้ก็ให้สั่นสะเทือนด้วยนิ้วหัวแม่เท้า. จริงอยู่ สมัยหนึ่ง ท้าวสักกเทวราช เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเสด็จประทับอยู่ใน บุพพาราม ทูลถามถึงวิมุตติคือความสิ้นตัณหา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวิสัชนาแก่ท้าวสักกเทวราชนั้น, ท้าวเธอได้สดับดังนั้น ดีใจ ร่าเริง ถวายอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วเสด็จไปยังเทวโลกของพระองค์. ลำดับ นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะคิดอย่างนี้ว่า ท้าวสักกะนี้ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามปัญหาอันปฏิสังยุตด้วยพระนิพพานอันลึกซึ้ง เห็นปานนี้ และพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงวิสัชนาปัญหานั้นแล้ว ท้าวสักกะ ทรงรู้แล้วเสด็จไป หรือว่าไม่รู้. ถ้ากระไรเราพึงไปยังเทวโลกแล้ว ให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 468
ท้าวเธอรู้เนื้อความนั้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั้นไปยังภพดาวดึงส์ ในบัดดลแล้ว ถามเนื้อความนั้นกะท้าวสักกะผู้เป็นจอมของเทวดา. ท้าวสักกะเป็นผู้ประมาท เพราะทิพยสมบัติ จึงได้กระทำความฟุ้งซ่าน. เพื่อ จะให้ท้าวสักกะทรงสลดพระทัย พระเถระจึงทำเวชยันตปราสาทให้สั่น สะเทือน ด้วยนิ้วหัวแม่เท้า. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ดูก่อนเทวดา ภิกษุใดมีกำลังฤทธิ์กล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาทให้สั่นสะเทือน ด้วยนิ้วหัวแม่เท้าและยัง เทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ.
ก็ความนี้ พึงแสดงด้วยจูฬตัณหาสังขยวิมุตติสูตร. อาการที่ปราสาท ไหว ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.
ด้วยบทว่า สกฺกํ โส ปริปุจฺฉติ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำถามถึง วิมุตติเพราะสิ้นตัณหาตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านรู้วิมุตติเพราะสิ้นตัณหาบ้างหรือ ดังนี้.
คำว่า ตสฺส สกฺโก วิยากาสิ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความ ที่เมื่อพระเถระทำปราสาทให้สั่นสะเทือนแล้ว ท้าวสักกะมีความสลดพระทัย. ละความประมาทเสีย ใส่ใจโดยความแยบคายแล้วพยากรณ์ปัญหา. จริงอยู่ ท้าวสักกะนั้นกล่าวแล้วในคราวนั้น เฉพาะตามทำนองที่พระศาสดา ทรงแสดงแล้วนั้นแหละ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ท้าวสักกะถูกถาม แล้วจึงพยากรณ์ปัญหาตามที่เป็นจริง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกํ โส ปริปุจฺฉติ ความว่า พระโมคคัลลานเถระนั้นถามท้าวสักกเทวราชว่า ความหลุดพ้นคือความหมดสิ้นตัณหาที่พระศาสดาทรงแสดงไว้เป็นความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 469
หลุดพ้นที่ท้าวเธอถือเอาชอบแล้ว. จริงอยู่ คำว่า ปริปุจฺฉติ นี้ เป็นคำ กล่าวถึงปัจจุบัน แต่ใช้ในอรรถอันเป็นอดีต. บทว่า อปิ อาวุโส ชานาสิ ความว่า ผู้มีอายุ ท่านรู้บ้างหรือ คือรู้ไหม. บทว่า ตณฺหกฺขยวิมุตฺติโย ความว่า พระเถระถามว่า พระศาสดาทรงแสดงวิมุตติความหมดสิ้น ตัณหาแก่ท่านไว้โดยประการใด ท่านรู้โดยประการนั้นหรือ. อีกอย่าง หนึ่ง ด้วยบทว่า ตณฺหกฺขยวิมุตฺติโย นี้ พระเถระถามถึงเทศนา ตัณหาสังขยวิมุตติสูตร.
บทว่า พฺรหฺมานํ ได้แก่ ท้าวมหาพรหม. บทว่า สุธมฺมายํ ิโต สภํ ได้แก่ ที่สุธรรมสภา. ก็สภานี้เป็นเฉพาะสุธรรมสภาใน พรหมโลก, ไม่ใช่ในดาวดึงสพิภพ. ขึ้นชื่อว่าเทวโลก เว้นจากสุธรรมสภาย่อมไม่มี. บทว่า อชฺชาปิ ตฺยาวุโส สา ทิฏฺิ ยา เต ทิฏฺิ ปุเร อหุ ความว่า ใครๆ จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ผู้สามารถ เข้าไปยังพรหมโลกนี้ย่อมไม่มี, ก่อนแต่พระศาสดาเสด็จมาในพรหมโลก นี้ ท่านได้มีทิฏฐิใด แม้ทุกวันนี้ คือแม้ขณะนี้ ทิฏฐินั้นก็ยังไม่หายไป หรือ. บทว่า ปสฺสสิ วีติวตฺตนฺตํ พฺรหฺมโลเก ปภสฺสรํ ความว่า ท่านเห็นแสงสว่างของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งพระสาวก ผู้อันพระสาวกทั้งหลายมีพระมหากัปปินะ และพระมหากัสสปะเป็นต้น ห้อมล้อม ผู้ประทับนั่งเข้าเตโชธาตุ (มีแสง) พวยพุ่งอยู่ในพรหมโลก. จริงอยู่ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบความคิดของพรหมผู้นั่ง ประชุมในสุธรรมสภาในพรหมโลก ผู้คิดว่า สมณะหรือพราหมณ์ไรๆ ผู้ มีฤทธิ์อย่างนี้ สามารถที่จะมาในพรหมโลกนี้ มีไหมหนอ. พระองค์จึง เสด็จไปในพรหมโลกนั้นแล้ว ประทับนั่งในอากาศเหนือเศียรของพรหม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 470
ทรงเข้าเตโชธาตุเปล่งแสงสว่างอยู่ ทรงพระดำริให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้นมาหา. ฝ่ายพระมหาโมคคัลลานะเป็นต้นนั้น มาในที่นั้น พร้อมกับที่ทรงพระดำริ ถวายบังคมพระศาสดา รู้พระอัธยาศัยของ พระศาสดา จึงนั่งเข้าเตโชธาตุองค์ละทิศๆ แล้วเปล่งโอภาสแสงสว่าง พรหมโลกทั้งสิ้นจึงได้มีโอภาสแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. พระศาสดาทรง ทราบว่า พรหมมีจิตสงบ จึงทรงแสดงธรรมอันประกาศสัจจะ ๔. ในเวลาจบเทศนา พรหมหลายพันองค์ดำรงอยู่ในมรรคและผลทั้งหลาย. ท่านหมายถึงเรื่องนั้น เมื่อจะทักท้วงจึงกล่าวคาถาว่า ผู้มีอายุ แม้ทุก วันนี้ทิฏฐิของท่านนั้น ดังนี้. ก็ข้อความนี้ พึงแสดงโดยพกพรหมสูตร. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า๑ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล พรหมองค์หนึ่งเกิดทิฏฐิชั่วช้าลามกเห็นปานดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ ที่จะมาในพรหมโลกนี้ได้ ไม่มีเลย.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ พรหมนั้นด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปจากพระวิหารเชตวันไปปรากฏใน พรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออกไป หรือ คู้แขนที่เหยียดเข้ามาฉะนั้น. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนั่งขัด สมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น.
ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดเช่นนี้ว่า บัดนี้
๑. สํ. ส. ๑๕/ข้อ ๕๗๓ - ๕๘๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 471
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งขัดสมาธิในเวหาสเบื้องบนพรหมนั้น ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณด้วยจักษุเพียงดังทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นแล้วจึงได้หายไปจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบปานบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดเข้ามา ฉะนั้น. ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาศัยทิศบูรพา นั่งขัด สมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณ.
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้มีความดำริดังนี้ว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ. ท่านพระมหากัสสปะได้เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนั่งขัดสมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น ทรง เข้าเตโชธาตุกสิณ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ จึงหายไปในพระวิหารเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษมี กำลัง ฯลฯ ฉะนั้น. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปอาศัยทิศใต้นั่งขัด สมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณ.
ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะได้มีความดำริดังนี้ว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ, ท่านพระมหากัปปินะได้ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนั่งขัดสมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ มนุษย์ ครั้นแล้วได้หายไปจากพระวิหารเชตวัน ได้ปรากฏในพรหมโลก นั้น เหมือนบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น. ลำดับนั้นแล ท่านพระมหา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 472
กัปปินะ อาศัยทิศตะวันตกนั่งขัดสมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณ.
ลำดับนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริดังนี้ว่า บัดนี้ พระ ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ, ท่านพระอนุรุทธะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณ ในเวหาสเบื้อง บนของพรหมนั้น ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้น แล้วได้หายไปจากพระวิหารเชตวัน ได้ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เหมือน บุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น. ลำดับนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้อาศัย ทิศเหนือนั่งขัดสมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณ.
ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหมนั้นด้วย คาถาว่า
ดูก่อนผู้มีอายุ แม้วันนี้ ท่านก็ยังมีความเห็นผิดอยู่ เหมือนเมื่อก่อน ท่านยังจะเห็นอยู่หรือว่าบนพรหมโลก มีแสงสว่างพวยพุ่งออกได้เอง.
พรหมกล่าวว่า
พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นผิดเหมือน เมื่อก่อน ที่ว่าข้าพเจ้าเห็นแสงสว่างพวยพุ่งไปเองใน พรหมโลก, ไฉนในวันนี้ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่า " เรา เป็นผู้เที่ยงเป็นผู้ยั่งยืน " ดังนี้เล่า
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำพรหมนั้นให้สลดใจแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 473
ได้หายไปในพรหมโลกนั้น ปรากฏในพระวิหารเชตวันเหมือนบุรุษมี กำลัง ฯลฯ ฉะนั้น.
ลำดับนั้นแล พรหมนั้นได้เรียกพรหมปาริสัชชะ พรหมพวก รับใช้องค์หนึ่งมาว่า แน่ะ ท่านผู้นิรทุกข์ มาเถิด ท่านจงเข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจงกล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค เจ้าพระองค์นั้น แม้องค์อื่นๆ ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนกับ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสปะ ท่านพระกัปปินะ และท่าน พระอนุรุทธะ ยังมีอยู่หรือ. พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำของพรหมนั้นว่า อย่างนั้นท่านผู้นิรทุกข์ แล้วเข้าไปหาท่านพระมหาโมคลัลลานะจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้องค์อื่นๆ ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเหมือนท่านพระโมคคัลลานะ พระกัสสปะ พระกัปปินะ พระอนุรุทธะ ยังมีอยู่หรือ.
ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหมปาริสัชชะ นั้นด้วยคาถาว่า
พระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ ได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิญาณ ฉลาดในเจโตปริยญาณ ยังมีอยู่เป็นอันมาก.
ลำดับนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้นชื่นชมยินดีอนุโมทนาภาษิตของ ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว เข้าไปหาพรหมนั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 474
ได้กล่าวคำนี้กะพรหมนั้นว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ กล่าวอย่างนี้ว่า
พระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ ได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิญูาณ ฉลาดในเจโตปริยญาณ ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก.
พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว และพรหมนั้นมีใจยินดี ชื่นชม ภาษิตของพรหมปาริสัชชะนั้น ฉะนี้แล.
ท่านหมายเอาเรื่องดังกล่าวมานี้ จึงกล่าวว่า ก็ข้อความนี้พึงแสดง โดยพกพรหมสูตร ดังนี้.
ด้วยบทว่า มหาเนรุโน กูฏํ นี้ ท่านกล่าวถึงขุนเขาสิเนรุทั้งสิ้น ทีเดียว โดยจุดเด่นคือยอด. บทว่า วิโมกฺเขน อผสฺสยิ อธิบายว่า บรรลุด้วยความรู้ยิ่งอันเป็นที่อาศัยแห่งฌานและวิโมกข์. บทว่า วนํ ได้ แก่ชมพูทวีป. จริงอยู่ ชมพูทวีปนั้น ท่านเรียกว่า วนะ เพราะมีวนะ คือป่ามาก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นใหญ่แห่งชมพูทวีป. บทว่า ปุพฺพวิเทหานํ ได้แก่ สถานที่แห่งปุพพวิเทหทวีป อธิบายว่า ทวีปปุพพวิเทหะ. บทว่า เย จ ภูมิสยา นรา ความว่า พวกมนุษย์ ชาวอปรโดยานกทวีป อุตตรกุรุกทวีป ชื่อว่า คนผู้นอนบนแผ่นดิน. จริงอยู่ คนเหล่านั้น ท่านเรียกว่า ภูมิสยะ ผู้นอนบนแผ่นดิน เพราะ ไม่มีบ้านเรือน. เชื่อมความว่า คนทั้งหมดแม้นั้นไม่บรรลุ. ก็ข้อความ นี้ พึงแสดงโดยการทรมานนันโทปนันทนาคราช :-
ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงทูลนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 475
พรุ่งนี้ขอพระองค์กับภิกษุ ๕๐๐ โปรดรับภิกษาหารในเรือนของข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า แล้วได้หลีกไป, ก็วันนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุในเวลาใกล้รุ่ง พญานาคนามว่านันโทปนันทะ มาสู่คลองในหน้าแห่งพระญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงว่า นาคราชนี้มาสู่คลองในหน้าพระญาณของเรา อะไรหนอจักเกิดมี ก็ได้ทรง เห็นอุปนิสัยแห่งสรณคมน์ จึงทรงรำพึง (ต่อไปอีก) ว่า นาคราชนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ใครหนอจะพึงปลดเปลื้อง นาคราชนี้จากมิจฉาทิฏฐิได้ ก็ได้ทรงเห็นพระโมคคัลลานะ.
แต่นั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระองค์ทรงกระทำการปฏิบัติ พระสรีระแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า อานนท์ เธอจง บอกแก่ภิกษุ ๕๐๐ ว่า พระตถาคตจะเสด็จจาริกไปยังเทวโลก. ก็วัน นั้น พวกนาคตระเตรียมภาคพื้นเป็นที่มาดื่ม (โรงดื่มสุรา) เพื่อ นันโทปนันทนาคราช. นันโทปนันทราคราชนั้น อันพวกนาคกางกั้น ด้วยเศวตฉัตรทิพย์ นพรัตนบัลลังก์ทิพย์ ห้อมล้อมด้วยนักฟ้อน ๓ พวก และนาคบริษัท นั่งมองดูชนิดแห่งข้าวและน้ำที่เขาจัดวางไว้ในภาชนะ ทิพย์ทั้งหลาย. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำให้นาคราช เห็น เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังดาวดึงส์เทวโลก พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ โดยเฉพาะทางยอดวิมานของนาคราชนั้น.
ก็สมัยนั้นแล นันโทปนันทนาคราชเกิดความเห็นอันชั่วช้า เห็น ปานนี้ขึ้นว่า พวกสมณะหัวโล้นเหล่านี้ เข้าๆ ออกๆ ยังที่อยู่ของพวก เทพดาวดึงส์ โดยทางเบื้องบนที่อยู่ของพวกเรา คราวนี้ ตั้งแต่บัดนี้ ไปเราจะไม่ให้พวกสมณะเหล่านี้โปรยขี้ตีนลงบนหัวของเราแล้วไป จึงลุก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 476
ขึ้นไปยังเชิงเขาสิเนรุ ละอัตภาพนั้น เอาขนดวงรอบเขาสิเนรุ ๗ รอบ แล้วแผ่พังพานข้างบน เอาพังพานคว่ำลงงำเอาภพดาวดึงส์ไว้ ทำให้มอง ไม่เห็น.
ลำดับนั้นแล ท่านพระรัฏฐปาลได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาค เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน ข้าพระองค์ยืนอยู่ตรงประเทศนี้ มองเห็นเขาสิเนรุ เห็นวงขอบเขาสิเนรุ เห็นภพดาวดึงส์ เห็นเวชยันตปราสาท เห็นธงเบื้องบนเวชยันตปราสาท, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุ อะไรหนอ ปัจจัยอะไรหนอ ซึ่งเป็นเหตุให้ข้าพระองค์ไม่เห็นภูเขา สิเนรุ ฯลฯ ไม่เห็นธงเบื้องบนเวชยันตปราสาท ในบัดนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกว่า รัฏฐปาละ นาคราชชื่อว่า นันโทปนันทะนี้ โกรธพวกเธอจึงเอาขนดหางวงรอบเขาสิเนรุ ๗ รอบ เอาพังพานปิด ข้างบนกระทำให้มืดมิดอยู่. รัฏฐปาละทูลว่า ข้าพระองค์ขอทรมานนาคราช ตนนั้น พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต. ลำดับนั้นแล ภิกษุแม้ทั้งหมดก็ลุกขึ้นโดยลำดับ คือ ท่านพระภัททิยะ ท่านพระราหุล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงอนุญาต.
ในที่สุด พระมหาโมคคัลลานะเถระ กราบทูลว่า ข้าพระองค์ขอ ทรมานนาคราชนั้น พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า โมคคัลลานะ เธอจงทรมาน. พระเถระเปลี่ยนอัตภาพนิรมิตเป็นรูป นาคราชใหญ่ เอาขนดหางวงรอบนันโทปนันทนาคราช ๑๔ รอบ วาง พังพานของตนลงบนยอดพังพานของนันโทปนันทนาคราชแล้ว กดเข้ากับ เขาสิเนรุ. นาคราชบังหวนควัน. พระเถระกล่าวว่า จะมีแต่ควันใน ร่างกายของท่านเท่านั้นก็หามิได้ แม้ของเราก็มี แล้วจึงบังหวนควัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 477
ควันของนาคราชไม่เบียดเบียนพระเถระ แต่ควันของพระเถระเบียดเบียน นาคราช. ลำดับนั้น นาคราชจึงโพลงไฟ. ฝ่ายพระเถระกล่าวว่า จะมี แต่ไฟในร่างกายของท่านเท่านั้นก็หาไม่ แม้ของเราก็มี จึงโพลงไฟ. ไฟของนาคราชไม่เบียดเบียนพระเถระ แต่ไฟของพระเถระเบียดเบียน นาคราช. นาคราชคิดว่า พระองค์นี้กดเราเข้ากับเขาสิเนรุ แล้วบังหวน ควันและทำให้ไฟโพลง จึงสอบถามว่า ผู้เจริญ ท่านเป็นใคร. พระเถระ ตอบว่า นันทะ เราแหละคือโมคคัลลานะ. นาคราชกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงดำรงอยู่โดยภิกขุภาวะของตนเถิด.
พระเถระจึงเปลี่ยนอัตภาพนั้น แล้วเข้าไปทางช่องหูขวาของนาคราชนั้น แล้วออกทางช่องหูซ้าย เข้าทางช่องหูซ้ายแล้วออกทางช่องหู ขวา. อนึ่ง เข้าทางช่องจมูกขวา ออกทางช่องจมูกซ้าย เข้าทางช่อง จมูกซ้ายแล้วออกทางช่องจมูกขวา. ลำดับนั้น นาคราชได้อ้าปาก. พระเถระจึงเข้าทางปากแล้วเดินจงกรมอยู่ภายในท้อง ทางด้านทิศตะวัน ออกบ้าง ด้านทิศตะวันตกบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมคคัลลานะ เธอจงใส่ใจ นาคมีฤทธิ์มากนะ. พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อิทธิบาท ๔ ข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำ ให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจวัตถุที่ตั้ง ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมไว้แล้ว ปรารภไว้ดีแล้ว. นันโทปนันทะจงยกไว้เถิด พระเจ้าข้า, นาคราชเช่น กับนันโทปนันทะ ตั้งร้อยก็ดี ตั้งพันก็ดี ตั้งแสนก็ดี ข้าพระองค์ก็พึง ทรมานได้.
นาคราชคิดว่า เมื่อตอนเข้าไป เราไม่ทันเห็น ในเวลาออกใน บัดนี้ เราจักใส่เขาในระหว่างเขี้ยวแล้วเคี้ยวกินเสีย ครั้นคิดแล้วจึงกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 478
ว่า ขอท่านจงมาเถิดขอรับ อย่าเดินไปๆ มาๆ ในภายในท้อง ทำ ข้าพเจ้าให้ลำบากเลย. พระเถระได้ออกไปยืนข้างนอก. นาคราชเห็นว่า นี้คือเขาละ จึงพ่นลมทางจมูก. พระเถระเข้าจตุตถฌาน แม้ขุมขนของ พระเถระ ลนก็ไม่สามารถทำให้ไหวได้. นัยว่า ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ สามารถทำปาฏิหาริย์ทั้งมวลได้ จำเดิมแต่ต้น แต่พอถึงฐานะนี้ จักไม่ สามารถสังเกตได้รวดเร็วอย่างนี้แล้วเข้าสมาบัติ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นทรมานนาคราช.
นาคราชคิดว่า เราไม่สามารถเพื่อจะทำแม้ขุมขนของสมณะนี้ให้ ไหวได้ด้วยลมจมูก สมณะนั้นมีฤทธิ์มาก, พระเถระจึงละอัตภาพนิรมิต รูปครุฑ แสดงลมครุฑไล่ติดตามนาคราชไป, นาคราชจึงละอัตภาพนั้น นิรมิตรูปมาณพน้อยแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมขอถึงท่านเป็น สรณะ ไหว้เท้าพระเถระ, พระเถระกล่าวว่า นันทะ พระศาสดาเสด็จ มาแล้ว ท่านจงมา พวกเราจักได้ไป. ท่านทรมานนาคราชทำให้หมด พยศแล้วได้พาไปยังสำนักของพระศาสดา. นาคราชถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึง พระองค์เป็นสรณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านจงเป็นสุขเถิด นาคราช ดังนี้แล้ว อันหมู่ภิกษุห้อมล้อม ได้เสด็จไปยังนิเวศน์ของท่าน อนาถบิณฑฑิกเศรษฐี.
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุไร พระองค์จึงเสด็จมาสาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมคคัลลานะและ นันโทปนันทะได้ทำสงครามกัน. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลว่า ก็ใคร แพ้ ใครชนะ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมคคัลลานะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 479
ชนะ นันทะแพ้. อนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ตามลำดับแห่ง เดียวตลอด ๗ วัน ข้าพระองค์จักกระทำสักการะแก่พระเถระ ๗ วัน แล้วได้กระทำมหาสักการะแก่ภิกษุ ๕๐๐ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พึงแสดงเนื้อความโดยการทรมาน นันโทปนันทนาคราช.
บทว่า โย เอตมภิชานาติ ความว่า ย่อมรู้วิโมกข์ตามที่กล่าวนี้ ด้วยอำนาจกระทำการถูกต้อง.
บทว่า น เว อคฺคิ เจตยติ อหํ พาลํ ฑหามิ ความว่า ไฟ ย่อมไม่จงใจอย่างนี้ คือย่อมไม่กระทำประโยคคือความพยายามเพื่อจะเผา แต่คนพาลคิดว่า ไฟนี้มีความร้อนน้อย จึงถูกต้องไฟที่ลุกโพลงประหนึ่ง ว่าจะไม่ดับ จึงถูกไฟไหม้ ดูก่อนมาร พวกเราก็เหมือนอย่างนั้นนั่นแล ประสงค์จะแผดเผา ประสงค์จะเบียดเบียนหามิได้ แต่ท่านนั่นแหละ มากระทบกระทั่งพระอริยสาวกผู้เช่นกับกองไฟ ชื่อว่า ผู้มาแล้วอย่างนั้น เพราะอรรถว่า มีการมาอย่างนั้นเป็นต้น จักเผาตนเอง คือจักไม่พ้นจาก ทุกข์อันเกิดจากการแผดเผา.
บทว่า อปุญฺํ ปสวติ แปลว่า ย่อมได้เฉพาะบาปมิใช่บุญ. บทว่า น เม ปาปํ วิปจฺจติ ความว่า บาปยังไม่ให้ผลแก่เรา ดูก่อน มาร เหตุไรหนอ ท่านจึงสำคัญอย่างนี้ว่า บาปนี้ไม่มี.
บทว่า กโรโต เต จียเต ปาปํ ความว่า บาปที่ท่านกระทำ อยู่โดยส่วนเดียว ย่อมเข้าไปก่อความฉิบหาย ความทุกข์ตลอดกาลนาน. บทว่า มาร นิพฺพินฺท พุทฺธมฺหา ความว่า ท่านจงเบื่อหน่าย คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 480
เหนื่อยหน่ายกรรมของผู้อื่น จากพุทธสาวกผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔. บทว่า อาสํ มากาสิ ภิกฺขุสุ ความว่า ท่านอย่าได้ทำความหวังนี้ว่า เราทำ ร้าย คือเบียดเบียนภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า อิติ แปลว่า อย่างนั้น. บทว่า มารํ อตชฺเชสิ ความว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระกล่าวว่า ดูก่อนมาร ท่านจงเหนื่อย หน่าย ฯลฯ ในภิกษุทั้งหลาย. บทว่า เภสกฬาวเน ได้แก่ ในป่าอัน มีชื่ออย่างนี้. บทว่า ตโต ได้แก่ เหตุคุกคาม. บทว่า โส ทุมฺมโน ยกโข ความว่า มารนั้นเสียใจได้หายไปในที่นั้นนั่นแหละ. คือได้ถึง การมองไม่เห็น, ก็คาถานี้ท่านตั้งไว้ในคราวสังคายนาพระธรรมวินัย. ก็คำใดในที่นี้ท่านไม่จำแนกความไว้ในระหว่างๆ คำนั้นง่ายทั้งนั้น เพราะ อรรถว่ามีนัยดังกล่าวไว้ในหนหลัง.
พระมหาเถระนี้ คุกคามมารอย่างนี้แล้ว ได้กระทำอุปการะแก่ เหล่าสัตว์ไม่ทั่วไปกับพระสาวกอื่นๆ เช่นเที่ยวไปในเทวดา และเที่ยว ไปในนรกเป็นต้น ในเวลาหมดอายุก็ปรินิพพานไป และเมื่อจะปรินิพพาน แม้จะได้ตั้งปณิธานไว้ที่ใกล้บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี ตั้ง แต่นั้นได้กระทำบุญอันใหญ่ยิ่งไว้ในภพนั้นๆ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งสาวกบารมี ก็ถูกพวกโจรที่เหล่าเดียรถีย์ส่งไปเบียดเบียน เพราะกรรมเก่า ที่ตั้งขึ้นด้วยอำนาจบาปกรรมที่ทำไว้ในระหว่าง กระทำความลำบากแก่ ร่างกายมิใช่น้อย จึงได้ปรินิพพาน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ใน อปทานว่า๑ :-
๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 481
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี เป็น พระโลกเชษฐ์ เป็นนระผู้องอาจ อันเทวดาและภิกษุ สงฆ์แวดล้อม ประทับอยู่ ณ ภูเขาหิมวันต์. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเป็นพระชินเจ้า เสด็จลงจากภูเขา หิมวันต์นั้นแล้วเสด็จเที่ยวจาริกไป ทรงอนุเคราะห์หมู่ สัตว์เสด็จเข้าถึงกรุงพาราณสี. พระมหามุนีผู้นำโลก แวดล้อมด้วยพระขีณาสพ ๑,๐๐๐ ทรงส่องทิศทั้งปวงให้ สว่างไสวไพโรจน์.
ในคราวนั้น เราเป็นคฤหบดีอันสหายผู้มีมหิทธิฤทธิ์ นามว่าสรทะส่งไป ได้เข้ารูปเฝ้าพระศาสดา. ครั้นแล้ว ได้ทูลนิมนต์พระตถาคตสัมพุทธเจ้านำเสด็จไปยังที่อยู่ ของตน ทำการบูชาพระมหามุนีอยู่, เวลานั้นเรายัง พระมหาวีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนระผู้องอาจ ผู้เสด็จเข้ามาพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและ น้ำ.
พระมหาวีรเจ้าผู้เป็นพระสยัมภูอัครบุคคลทรงอนุ- โมทนาแล้ว ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัส พระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดได้บูชาพระสงฆ์และได้บูชา พระพุทธเจ้าผู้นายกของโลก ด้วยจิตอันเลื่อมใส ผู้นั้น จักไปสู่เทวโลก จักเสวยเทวรัชสมบัติ ๗๗ ครั้ง จัก เสวยราชสมบัติในแผ่นดิน ครอบครองพสุธา ๑๐๘ ครั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 482
และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๕ ครั้ง โภคสมบัติอันนับ ไม่ถ้วนจักบังเกิดแก่ผู้นั้นในขณะนั้น. ในกัปอันนับไม่ ได้แต่กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่าโคตมะโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช จักอุบัติขึ้นใน โลก ผู้นั้นเคลื่อนจากนรกแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ จักเป็นบุตรพราหมณ์ มีนามว่า โกลิตะ ภายหลังอัน กุศลมูลกระตุ้นเตือนแล้วเขาจักออกบวช จักได้เป็นพระสาวกองค์ที่สองของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม. จักปรารภความเพียร มีใจสงบถึงความยอดเยี่ยมแห่ง ฤทธิ์ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะจัก ปรินิพพาน.
เราอาศัยมิตรชั่ว ตกอยู่ในอำนาจของกามราคะ มี ใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว ได้ฆ่ามารดาและบิดา. เรา เข้าถึงกำเนิดใดๆ จะเป็นนรกหรือมนุษย์ก็ตาม เพราะ ความเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกรรมอันลามก ต้องเป็นผู้มี ศีรษะแตกตาย นี้เป็นผลกรรมครั้งสุดท้ายของเรา ภพ สุดท้ายย่อมดำเนินไป ผลกรรมเช่นนี้จักมีแก่เราในเวลา ใกล้จะตายแม้ในที่นี้.
เราหมั่นประกอบในวิเวก ยินดีในสมาธิภาวนา กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่. แม้ แผ่นดินอันลึกซึ้งหนา ใครๆ กำจัดได้ยาก เราผู้ถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 483
ความยอดเยี่ยมแห่งฤทธิ์ พึงทำให้ไหวได้ด้วยนิ้วหัวแม่มือ ซ้าย. เราไม่เห็นอัสมิมานะ เราไม่มีมานะ เรากระทำ ความเคารพยำเกรง แม้ที่สุดในสามเณร.
ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ เราสั่งสมกรรมใด เราได้บรรลุถึงภูมิแห่งกรรมนั้น เป็นผู้ถึงความสิ้นอาสวะ แล้ว. คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหาโมคคัลลานเถรคาถา
จบปรมัตถทีปนี
อรรถกถาเถรคาถา สัฏฐินิบาต.