นับเป็นความโชคดีของกระผมที่มีผู้แนะนำมาเว็บนี้ เมื่อมีปัญหาที่อยากรู้อยากถามอยากศึกษา ก็จะมีท่านผู้รู้ได้เมตตาตอบหรือชี้แนะให้ทำให้เริ่มรู้เริ่มเข้าใจบ้างแล้วและจะพยายามศึกษาครับ...และขอรบกวนกราบเรียนถามอีกสักคำถามครับกระผมไม่เข้าใจจริงๆ ครับ อยากเรียนถามว่า....
--จากคำกล่าวที่กระผมอ่านเจอที่ว่า "การทำบุญก็เพราะมันเป็นบุญ ไม่ใช่ทำบุญต้องการบุญ" จากคำกล่าวดังกล่าวกระผมพอเข้าใจครับว่าเป็นเรื่องของท่านที่หมดกิเลสแล้ว แต่สำหรับกระผมนั้นหากทำบุญกระผมก็ยังต้องการบุญอยู่ดี คือทุกครั้งที่กระผมไปวัดใส่บาตร บริจาคเงินทอง สิ่งของ หรือทำบุญในรูปแบบอื่นๆ ทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการทำบุญนั้น กระผมจะตั้งจิตอธิษฐานว่าขอบุญที่กระผมทำนี้ขออุทิศเป็นส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เช่น พ่อ แม่ ญาติ คนที่เรารัก เจ้ากรรมนายเวรทุกครั้ง และไม่เคยทำให้แก่ตัวเองเลยมีแต่ทำบุญให้คนอื่นอย่างนี้ หมายความว่าคนอื่นได้บุญแต่กระผมไม่ได้บุญใช่หรือไม่ครับ ถ้าใช่จะทำบุญให้แก่ตนเองอย่างไรครับ กราบขอโทษครับที่รบกวนบ่อยครับ
เป็นธรรมดาครับที่ท่านต้องการบุญจึงทำบุญ ขณะที่ทำนั้นผู้ทำก็ได้บุญเพราะบุญคือกุศลจิต แม้ว่าจะทำให้ผู้อื่น ทำเพื่อผู้อื่นก็ตาม เจตนาในการสละวัตถุสิ่งของเป็นเจตนาดีเกิดกับจิตที่ดีเรียกว่าบุญ แต่การอุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้วก็เป็นบุญอีกประเภทหนึ่ง เท่ากับว่ามีบุญกิริยาวัตถุ ๒ ข้อ คือ ๑ ทาน ๒ ปัตติทานควรทราบว่าบางท่านแม้ว่ายังมีกิเลสอยู่ ทำบุญไม่ใช่เพื่อตนเอง แต่ทำเพราะเห็นว่าเป็นความดี ทำเพราะสละความตระหนี่ ทำเพื่อบูชาคุณของผู้มีคุณ เป็นต้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการทำบุญแต่ละคนไม่เหมือนกัน และบุญมีถึง ๑๐ ประเภท ไม่ใช่มีเพียงการให้ทานเท่านั้น ขอเชิญคลิกอ่าน บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐...ทาน (๕)
บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐...ศีล (๑)
บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐...เวยยาวัจจะ
บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐...ธัมมสวนะ และ ธัมมเทศนา
บุญกับกุศลแตกต่างกันอย่างไร
สาธุ
.........ขออนุโมทนาค่ะ.........
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
บุญหรือกุศลคือสภาพจิตที่ไม่มีโลภ โทสะ โมหะ ขณะที่ทำบุญจิตเป็นกุศล เมื่อกุศล
เกิดขึ้นก็ย่อมเกิดติดข้องในกุศลก็ได้หรือมีความเข้าใจที่เห็นประโยชน์เห็นคุณของกุศล
ที่เกิดขึ้นว่าเป็นการขัดเกลากิเลส เป็นการช่วยเหลือผู้อื่นโดยที่ไม่ได้ต้องการบุญก็ได้
แต่เป็นฉันทะที่มีความพอใจที่จะเจริญกุศลเพราะเห็นประโยชน์ของกุศลด้วยปัญญา ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 14
" ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึง
ทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่า ความสั่งสมบุญ ทำให้เกิดสุข. "
จากคำถามที่ว่า มีแต่ทำบุญให้คนอื่นอย่างนี้ หมายความว่าคนอื่นได้บุญแต่กระผมไม่ได้บุญใช่หรือไม่ครับ ถ้าใช่จะทำบุญให้แก่ตนเองอย่างไร ในสมัยพุทธกาลมีพราหมณ์ที่ชื่อ ชาณุสโสณีพราหมณ์ ท่านมีความสงสัยว่าตัวท่าน
ทำบุญแล้วอุทิศแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว หากเขาไมได้รับ ผู้ให้จะไร้ผลไหม พระพุทธเจ้า
ตรัสตอบว่า ไม่ใช่ฐานะที่จะไม่มีญาติเลย แต่อย่างไรก็ตามผู้ให้ก็ไม่ไร้ผล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 437
ชาณุ. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะ
นั้น (ฐานะที่จะได้รับส่วนบุญ) และญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของ
ทายกนั้นก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น. พ. ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาลช้า
นานเช่นนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสที่จะมีได้ อีกประการหนึ่ง แม้ทายก (ผู้ให้) ก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล. แสดงให้เห็นว่าขณะที่ให้เพื่อประโยชน์ผู้อื่นหรือบูชาคุณผู้อื่นก็เป็นกุศลแล้ว เมื่อเหตุ
มีผลย่อมมี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าผู้ให้ย่อมไม่ไร้ผลครับเพราะเป็นกุศลขณะที่ทำ
นั่นเองครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
กราบขอบพระคุณครับ
บุญหรือกุศลเป็นธรรมฝ่ายดี เกิดจากจิตใจที่ดีงาม การทำบุญแล้วอุทิศกุศลให้คนอื่นก็
เป็นบุญ เขาจะรู้หรือไม่รู้ บุญนั้นก็สำเร็จไปแล้ว กุศลจิตเกิดกับบุคคลใดบุคคลนั้นก็
เป็นกุศลในขณะนั้น การทำความดี ดีที่สุดคือทำเพื่อเสียสละกิเลสประกอบด้วยปัญญา