[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 61
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ประวัติจิตตคฤหบดี
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 61
อรรถกถาสูตรที่ ๓
๓. ประวัติจิตตคฤหบดี
ในสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ธมฺมกถิกานํ ท่านแสดงว่า จิตตคฤหบดีเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เป็นธรรมกถึก.
ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เขาบังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมาได้ฟังธรรมกถา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกคนหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสกผู้เป็นธรรมกถึก จึงกระทำกุศลยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เขาเวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ บังเกิดในเรือนแห่งนายพรานเนื้อ ต่อมา ในเวลาที่เขาสามารถจะทำการงานในป่าได้แล้ว วันหนึ่ง เมื่อฝนตก ถือเอาหอกไปเพื่อจะฆ่าเนื้อ เข้าไปป่า กำลังมองดูตัวเนื้ออยู่ เห็นภิกษุรูปหนึ่งห่มผ้าบังสุกุลคลุมศีรษะนั่งอยู่บนหลังแผ่นหินที่เงื้อมเขาเกิดเองแห่งหนึ่ง เกิดความสำคัญขึ้นว่า พระผู้เป็นเจ้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 62
จักนั่งกระทำสมณธรรมอยู่รูปเดียว ดังนี้ รีบไปเรือน ให้ปิ้งเนื้อที่ได้มาเมื่อวานไว้ที่เตาหนึ่ง หุงข้าวที่เตาหนึ่ง เห็นภิกษุสองรูปเที่ยวบิณฑบาต จึงรับบาตรของท่าน นิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้ ให้รับอาหารแล้วสั่งคนอื่นว่า พวกท่านจงเลี้ยงดูพระผู้เป็นเจ้า ตัวเองก็ใส่ข้าวลงในหม้อ เอาใบไม้ผูกปากหม้อแล้วถือหม้อเดินไป ระหว่างทางก็เลือกเก็บดอกไม้นานาชนิด ถึงที่ที่พระเถระนั่ง ยกหม้อลงวางไว้ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า โปรดสงเคราะห์ข้าพเจ้าด้วยเถิด รับบาตรของพระเถระมาแล้วบรรจุข้าวจนเต็ม วางไว้ในมือพระเถระ บูชาพระเถระด้วยดอกไม้ที่คละกันเหล่านั้น ยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกล่าวว่า ในสถานที่ข้าพเจ้าเกิดแล้วเกิดแล้ว ขอบรรณาการ ๑,๐๐๐ จงมาถึงข้าพเจ้า ขอฝนดอกไม้ ๕ สีจงตกลง เหมือนอย่างการบูชาด้วยดอกไม้พร้อมกับบิณฑบาตมีรสอร่อยทำจิตให้แช่มชื่นฉะนั้น. พระเถระเห็นอุปนิสัยของเขาแล้ว บอกให้กรรมฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์. เขาทำกุศลจนตลอดชีวิตบังเกิดในเทวโลก. ในสถานที่เกิด ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงตามพื้นที่ประมาณแค่หัวเข่า ทั้งตนเองก็ประกอบด้วยยศยิ่งกว่าเทวดาองค์อื่นๆ.
เขาเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดในสกุลเศรษฐี ณ นครมัจฉิกาสัณฑะ (๑) แคว้นมคธ. เวลาเขาเกิด ฝนดอกไม้ ๕ สีตกลงตามเขตประมาณแค่หัวเข่าทั่วพระนคร. ครั้งนั้น บิดามารดาของเขาคิดว่า บุตรของเรานำชื่อของตนมาด้วยตนเอง แม้ในวันเกิด ทั่วพระนครก็วิจิตรด้วยดอกไม้ ๕ สี จึงขนานนามเขาว่า จิตตกุมาร. ต่อมาเขาดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย เมื่อบิดาล่วงลับไป ก็ได้ตำแหน่งเศรษฐีในนครนั้น. สมัยนั้น พระเถระชื่อว่ามหานามะ ใน
(๑) บาลีเป็น มัจฉิกสันฑะ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 63
จำนวนพระเถระปัญจวัคคีย์ ไปถึงนครมัจฉิกาสัณฑะ จิตตคฤหบดีเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน จึงรับบาตร นำมายังเรือน บูชาด้วยบิณฑบาต ท่านฉันเสร็จแล้วก็นำไปยังสวนชื่ออัมพาตการาม สร้างที่อยู่ถวายพระเถระ ณ ที่นั้น ถือปฏิญญาเพื่อท่านอยู่รับบิณฑบาตในเรือนตนเป็นนิตย์. แม้พระเถระเห็นอุปนิสัยของจิตตคฤหบดีนั้น เมื่อแสดงธรรมจึงแสดงเฉพาะสฬายตนวิภังค์เท่านั้น. ไม่ช้านักจิตตคฤหบดีก็บรรลุพระอนาคามิผล. เพราะตนมีการพิจารณาเห็นสังขารอันทุกข์บีบคั้นแล้วในภพก่อน. ต่อมาวันหนึ่ง ท่านพระอิสิทัตตเถระมาอยู่ในที่นั้น เมื่อฉันเสร็จในเรือนของเศรษฐีแล้ว ถูกท่านพระเถระ [มหานาม] ผู้ไม่อาจแก้ปัญหานิมนต์ไว้ จึงวิสัชนาปัญหาแก่อุบาสก เมื่อท่านทราบว่าเป็นสหายคฤหัสถ์กันมาก่อน คิดว่า บัดนี้ไม่ควรอยู่ในที่นี้ จึงหลีกไปตามสบาย. วันรุ่งขึ้น เศรษฐีคฤหบดีจึงอ้อนวอนพระมหากัสสปเถระผู้เฒ่า (๑) เพื่อทำอิทธิปาฏิหาริย์. แม้พระเถระก็แสดงปาฏิหาริย์ที่สำเร็จด้วยเตโชสมาบัติ คิดว่า บัดนี้ไม่สมควรอยู่ในที่นี้ แล้วก็หลีกไปตามสบาย.
ต่อมาวันหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสอง มีภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ไปยังอัมพาตการาม. เศรษฐีคฤหบดีก็ตระเตรียมสักการะอย่างใหญ่สำหรับพระอัครสาวกทั้งสองนั้น. พระสุธัมมเถระ เมื่อระรานจิตตคฤหบดีนั้น จึงด่าว่าเศรษฐีด้วยวาทะว่า นายขนมคลุกงา ถูกเศรษฐีนั้นไล่แล้ว ไปสำนักพระศาสดา ได้โอวาท ดำรงอยู่ในโอวาทพระทศพล ขอขมาจิตตคฤหบดีแล้วอยู่ในอัมพาตการามนั้นนั่นแหละ เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต. ครั้งนั้นอุบาสกคิดว่า เราไม่พบพระทศพลมาล่วง
(๑) ม. พระมหานามเถระ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 64
เวลานานแล้ว แต่เมื่อเราไปเฝ้าพระศาสดา ไม่ควรไปมือเปล่า จึงให้ตีกลองป่าวประกาศว่า คนเหล่าใดประสงค์จะเฝ้าพระทศพล คนเหล่านั้นจงเอาเกวียน ๕๐๐ เล่ม บรรทุกน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยมากับเรา มีบริษัท ๒,๐๐๐ คนแวดล้อมพากันไปเฝ้าพระศาสดา. ในหนทางทุกๆ โยชน์ เหล่าเทวดาก็พากันตั้งเครื่องบรรณาการไว้. จิตตคฤหบดีนั้น ไปสำนักพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์. ขณะนั้น ฝนดอกไม้ ๕ สี ก็ตกลงมาจากอากาศ. พระศาสดาตรัสสฬายตนวิภังค์โปรดคนเหล่านั้น ตามอัธยาศัยของจิตตคฤหบดี. เมื่อจิตตคฤหบดีนั้น แม้ถวายทานแด่พระทศพลเพียงครึ่งเดือน ข้าวสาร น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้น ที่นำมาจากเรือนของตนก็มิได้หมดสิ้นไป. เครื่องบรรณาการที่ชาวกรุงราชคฤห์ส่งไปก็ยังเพียงพอ. แม้จิตตคฤหบดีนั้นเฝ้าพระศาสดาแล้ว เมื่อจะกลับไปเมืองของตน ก็ได้ถวายทุกสิ่งทุกอย่างที่นำมาด้วยเกวียนทั้งหลายแก่ภิกษุสงฆ์. เหล่าเทวดาก็ช่วยกันทำรัตนะ ๗ เต็มเกวียนที่ว่างเปล่า. ในระหว่างมหาชน เกิดพูดกันขึ้นว่า จิตตคฤหบดีช่างมีการทำสักการะและการนับถือจริงหนอ. พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้น จึงตรัสพระคาถาในพระธรรมบท ดังนี้ว่า
สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน
ยโส โภคสนปฺปิโต
ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ
ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต.
คนผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศและโภคสมบัติ ไปยังประเทศใดๆ คนเขาก็บูชาในประเทศนั้นๆ.
ตั้งแต่นั้นมา จิตตคฤหบดีนั้น ก็มีอุบาสกที่เป็นอริยสาวก ๕๐๐ คน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 65
ห้อมล้อมเที่ยวไป. ต่อมาภายหลัง พระศาสดาเมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสกไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ ทรงทำกถาชื่อจิตตสังยุตให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เป็นธรรมกถึก แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓