[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑
อภิญเญยยนิทเทส
อภิญเญยยนิทเทส 2/177
อรรถกถาอภิญเญยยธรรม 178
อรรถกถาว่าด้วยอาหาร ๑ 178
อรรถกถาว่าด้วยธาตุ ๒ 185
อรรถกถาว่าด้วยธาตุ ๓ 185
อรรถกถาว่าด้วยอริยสัจ ๔ 188
อรรถกถาว่าด้วยวิมุตตายตนะ ๕ 188
อรรถกถาว่าด้วยอนุตริยะ ๖ 192
อรรถกถาว่าด้วยนิททสะ ๗ 200
อรรถกถาว่าด้วยอภิภายตนะ ๘ 203
อรรถกถาว่าด้วยอนุปุพพวิหารธรรม ๙ 207
อรรถกถาว่าด้วยนิชชรวัตถุ ๑๐ 209
อรรถกถาจักขาทินิทเทส
ว่าด้วยจักขุเป็นต้น 213
ขันธ ์๕ 220
ธรรมหมวด ๖ 221
ธาตุ ๖ 222
กสิณ ๑๐ 223
อาการ ๓๒ 223
อายตนะ ๑๒ 229
ธาตุ ๑๘ 232
อินทรีย์ ๒๒ 234
ธาตุ ๓ โดยภพ ๓ โวการ ๓ 241
ณาน 243
ปัจจยาการ ๑๒ 247
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 177
อภิญเญยยนิทเทส
[๒] ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เป็นเครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยญาณอย่างไร?
ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
ธรรม ๒ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
ธรรม ๓ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
ธรรม ๕ ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายนะ ๕
ธรรม ๖ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖
ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ - เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิอีกต่อไป ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 177ก
ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ - อารมณ์แห่งญาณอันฌายีบุคคลครอบงำไว้ ๘
ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ - เหตุกำจัดมิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ๑๐.
[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง คืออะไร? คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย (แต่ละอย่างๆ) ควรรู้ยิ่ง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 177ข
รมณ์ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสูญญา ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๕] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๖] ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อ ในกระดูก. ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 177ค
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๗] จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมยตนะ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า เราจักรู้ธรรมที่ยังไม่รู้ อินทรีย์นี้เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ) อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ของผู้รู้จตุสัจธรรมด้วยมรรคนั้น อินทรีย์นี้เป็นชื่อของญาณในฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผลถึงอรหัตตมรรคญาณ) อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 177ง
ขีณาสพผู้รู้จบแล้ว อินทรีย์นี้เป็นชื่อของอรหัตตผลญาณ) ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๘] กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๙] เมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ อุเบกขาเจโตวิมุตติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 178
๒. อรรถกถาอภิญเญยยนิทเทส
ว่าด้วย อภิญเญยยธรรม
[๒] บัดนี้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้แสดงนิทเทสวารมีอาทิว่า กถํ อิเม ธมฺมา อภิญฺเยฺย - ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง อย่างไร? ดังนี้ ก็เพื่อจะแสดงธรรมอันท่านรวบรวมไว้ในวิสัชนุทเทส เป็นประเภทๆ ไป.
ในคำเหล่านั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้ยกวิสัชนาข้อละ ๑๐ๆ ตั้งแต่ด้นด้วยสามารถแห่งเอกนิทเทสเป็นต้นไป ในคำทั้ง ๕ มีคำแสดงธรรมที่ควรรู้ยิ่งเป็นต้น ขึ้นแสดงเทียบเคียง โดยปริยายแห่งทสุตตรสูตร.
อรรถกถาเอกนิทเทส
ว่าด้วย อาหาร
บรรดาคำทั้ง ๕ นั้น ในเบื้องแรก คำว่า สพฺเพ สตฺตา - สัตว์ทั้งปวง ในอภิญเญยยนิทเทส ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในภพทั้งปวง คือในกามภพเป็นต้น ในสัญญาภพเป็นต้น และในเอกโวการภพเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 179
คำว่า อาหารฏฺิติกา - มีอาหารเป็นที่ตั้ง ความว่า การดำรง อยู่ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เพราะอาหาร ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาหารฏฺิติกา - มีอาหารเป็นที่ตั้ง.
ก็ในคำว่า ิติ - การดำรงอยู่นี้ ท่านประสงค์เอา ความมีอยู่ในขณะของตน.
ชื่อว่า อาหาร เพราะเป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งปวง เป็นธรรมอันหนึ่ง เป็นธรรมควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง. ครั้นรู้ปัจจัยแล้ว ก็เป็นอันรู้ปัจจยุปบัน - ธรรมเกิดแต่ปัจจัย เพราะปัจจัยและปัจจยุปบันทั้ง ๒ นั้นเพ่งความอาศัยกันและกัน. ญาตปริญญา เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยคำนั้น.
ถามว่า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า อสัญญสัตตาเทวา - อสัญญสัตตาพรหม ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ (๑) ดังนี้เป็นต้น คำนั้นจะมิผิดไปหรือ?
ตอบว่า คำที่ท่านกล่าวนั้นไม่ผิด เพราะฌานเป็นอาหารของอสัญญสัตตาเทวาเหล่านั้น.
ถามว่า ถึงแม้เป็นอย่างนั้น คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหารทั้งหลาย ๔ เหล่านี้ เพื่อความตั้งอยู่แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว เพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัมภเวสี.
๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๙๙.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 180
อาหาร ๔ เป็นไฉน? คือ กพฬีการาหาร - อาหารคือคำข้าว เป็นอาหารหยาบหรือละเอียด, ผัสสะ - อาหารคือผัสสะ เป็นที่ ๒, มโนสัญเจตนา - อาหารคือเจตนา เป็นที่ ๓, วิญญาณ - อาหารคือวิญญาณ เป็นที่ (๑) ๔ ดังนี้ ก็ย่อมผิด.
ตอบว่า ถึงแม้คำนั้นก็ไม่ผิด. เพราะในพระสูตร ตรัสไว้โดยนิปริยายว่า ธรรมทั้งหลายมีอาหารเป็นลักษณะแล ชื่อว่า อาหาร แต่ในที่นี้ตรัสโดยปริยายว่า ปัจจัยชื่อว่า อาหาร. เพราะสังขตธรรมทั้งปวง ได้ปัจจัย ย่อมควร ก็ปัจจัยนั้นย่อมยังผลใดๆ ให้เกิดขึ้น ชื่อว่าย่อมนำมาซึ่งผลนั้นๆ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า อาหาร. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อวิชชา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา, ควรกล่าวว่านิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของอวิชชา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ ะไรเล่าเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕. ฯลฯ ควรกล่าวว่า อโยนิโสมนสิการเป็นอาหารของนิวรณ์ดังนี้เป็น (๒) ต้น. อาหารดังกล่าวแล้วนี้ ประสงค์แล้วในที่นี้.
๑. สํ. นิ. ๑๖/๒๘. ๒. องฺ ทสก. ๒๔/๖๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 181
ครั้นถือเอาอาหารคือปัจจัยแม้นี้ อาหารทั้งโดยปริยาย และอาหารทั้งโดยนิปริยาย ก็เป็นอันถือเอาทั้งหมด.
ในคำนั้น ปัจจยาหาร ย่อมได้ในอสัญญีภพ. จริงอยู่เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พวกที่บวชเป็นเดียรถีย์ทำบริกรรมในวาโยกสิณ ยังจตุตถฌานให้เกิดขึ้นออกจากฌานนั้นแล้ว ก็เห็นว่า จิตนี้เป็นของน่าติเตียนมาก ความไม่มีจิตเสียเลย เป็นการดี. เพราะทุกข์มีการฆ่าและจองจำเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจิต, เมื่อไม่มีจิต ทุกข์นั้นก็ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นจึงเกิดความยินดีพอใจ ฌานไม่เสื่อม ทำกาละแล้วเกิดในอสัญญีภพ. ผู้ใดตั้งอยู่ในอิริยาบถใดในมนุษย์ ผู้นั้นก็ย่อมเกิดด้วยอิริยาบถนั้นสถิตอยู่ตลอด ๕๐๐ กัป. เป็นเหมือนนอน นั่ง หรือยืนตลอดกาลยาวนานมีประมาณเพียงนั้น. ก็ปัจจยาหารย่อมได้แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น. เพราะสัตว์เหล่านั้นเจริญฌานใดแล้วเกิด ฌานนั้นก็เป็นปัจจัยแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เหมือนลูกศรที่ยิงไปด้วยกำลังแห่งสายธนู กำลังสายธนูมีกำลังเพียงใด ก็ไปได้เพียงนั้น ฉันใด กำลังฌานปัจจัยมีประมาณเพียงใด ก็สถิตอยู่ได้เพียงนั้น ฉันนั้น. เมื่อกำลังฌานปัจจัยสิ้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็จุติดุจลูกศรที่มีกำลังสิ้นแล้วฉะนั้น.
ส่วนสัตว์เหล่าใดเป็นผู้เกิดในนรก สัตว์เหล่านั้นท่านกล่าวว่า ไม่เป็นผู้มีชีวิตอยู่ด้วยความเพียร ไม่เป็นผู้มีชีวิตอยู่ด้วยผลแห่งบุญเลย,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 182
อะไรเป็นอาหารของสัตว์เหล่านั้นเล่า? กรรมนั่นแลเป็นอาหารของสัตว์เหล่านั้นดังนี้.
ถามว่า อาหารมี ๕ อย่างหรือ? ตอบว่า คำนี้ไม่พึงกล่าวว่า มี ๕ หรือมิใช่ ๕ ดังนี้. วาทะว่า ปัจจัยเป็นอาหาร ท่านกล่าวไว้แล้วมิใช่หรือ เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นเกิดในนรกด้วยกรรมใด, กรรมนั้นนั่นแหละเป็นอาหารของสัตว์เหล่านั้น เพราะเป็นปัจจัยแห่งการดำรงอยู่. คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาคำใด คำนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วว่า ก็สัตว์นรกยังไม่ทำกาละตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้น (๑) .
เพราะฉะนั้น คำว่า อาหารฏฺิติกา - มีอาหารเป็นที่ตั้ง จึงมีความว่า มีปัจจัยเป็นที่ตั้ง. ก็ในคำนี้ว่า เพราะปรารภกพฬีการาหาร ไม่พึงทำการกล่าวให้แตกต่างกันไป เพราะว่า ถึงแม้น้ำลายที่เกิดในปากก็สำเร็จกิจเป็นอาหารแก่สัตว์เหล่านั้นใด. จริงอยู่ น้ำลายก็เป็นปัจจัยแก่พวกเกิดในนรกซึ่งเสวยทุกขเวทนา และแก่พวกเกิดในสวรรค์ซึ่งเสวยสุขเวทนา.
ในกามภพมีอาหาร ๔ โดยตรง, ในรูปภพและอรูปภพ เว้นอสัญญีภพเสีย นอกนั้นมีอาหาร ๓. อสัญญีภพและภพนอกนั้น มีปัจจยาหาร ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นผู้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ด้วยอาหารดังกล่าวมาแล้วนี้.
๑. องฺ.ติก. ๒๐/๔๒๗.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 183
คำว่า สพฺเพ สตฺตา - สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็น บุคลาธิฏฐานธรรมเทสนา, อธิบายว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง จริงอยู่ เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งธรรมะ และบุคคล คือ
ธรรมาธิฏฐานธรรมเทสนา ๑
ธรรมธิฏฐานบุคคลเทสนา ๑
บุคลาธิฏฐานบุคคลเทสนา ๑
บุคลาธิฏฐานธรรมเทสนา ๑.
ธรรมาธิฏฐานธรรมเทสนา เช่นเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่งที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงานเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้วย่อมควรแก่การงาน (๑) .
ธรรมธิฏฐานบุคลเทสนา เช่นแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ (๒) .
๑. องฺ.เอกก. ๒๐/๒๓. ๒. องฺ.เอกก. ๒๐/๑๕๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 184
บุคลาธิฏฐานบุคลเทสนา เช่นแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อควานสุขแต่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๑) .
บุคลาธิฏฐานธรรมเทสนา เช่นแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งจักษุใหญ่ย่อมมี เพราะความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลคนเดียว (๒) .
ในเทศนา ๔ เหล่านั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา บุคลาธิฏฐานธรรมเทสนา. ควรทราบว่า ท่านแสดงศัพท์คือ ธรรมะ ด้วยสัตตะศัพท์ เพราะมุ่งธรรมเท่านั้น ตั้งแต่ต้นจนถึงหมวด ๑๐, อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่า ท่านแสดงศัพท์คือ สัตตะ โดยวิเศษ เพราะพึงเข้าไปใคร่ครวญ ธรรมอันนับเนื่องในสันดานของสัตว์ได้ตามสภาวะด้วย ญาณอันยิ่ง หรือควรทราบว่า สังขารทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า สัตว์ โดยผโลปจารนัย เพราะเป็นเพียงบัญญัติว่าสัตว์ดังนี้ ก็เพราะอาศัยสังขารทั้งหลาย. สัตว์ไรๆ ชื่อว่า ตั้งอยู่ด้วยปัจจัยนั้นไม่มีเลย ในที่ไหนๆ
๑. องฺ. เอกก. ๒๐/๑๙๒. ๒. องฺ.เอกก. ๒๐/๑๔๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 185
ก็มีแต่สังขารทั้งนั้น, แต่ท่านเรียกอย่างนี้ด้วยสามารถแห่งโวหาร. ญาตปริญญา เป็นอันท่านกล่าวไว้ด้วยคำนี้ ด้วยประการฉะนี้.
อรรถกถาทุกนิทเทส
ว่าด้วย ธาตุ ๒
คำว่า เทฺว ธาตุโย - ธาตุ ๒ ได้แก่ สังขตธาตุ ๑ อสังขตธาตุ ๑.
บรรดาธาตุทั้ง ๒ นั้น ขันธ์ ๕ อันปัจจัยเป็นอเนกปรุงแต่งแล้ว ชื่อว่า สังขตธาตุ, พระนิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว ชื่อว่า อสังขตธาตุ.
อรรถกถาติกนิทเทส
ว่าด้วย ธาตุ ๓
คำว่า ติสฺโส ธาตุโย - ธาตุ ๓ ได้แก่ กามธาตุ ๑, รูปธาตุ ๑, อรูปธาตุ ๑.
บรรดาธาตุทั้ง ๓ นั้น กามธาตุเป็นไฉน?
ในเบื้องต่ำมีอเวจีนรกเป็นที่สุด, ในเบื้องบนมีปรนิมมิตวสวัตดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 186
เทวโลกเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ ที่นับเนื่องในระหว่างนี้, นี้เรียกว่ากามธาตุ (๑).
บรรดาธาตุทั้ง ๓ นั้น รูปธาตุเป็นไฉน? ในเบื้องต่ำมีพรหมโลกเป็นที่สุด ในเบื้องบนมีอกนิฏฐพรหมโลกเป็นที่สุด สภาวธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติก็ดี ของผู้เกิดแล้วก็ดี ของผู้อยู่ด้วยสุขวิหารธรรมในปัจจุบันก็ดี ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ นับเนื่องในระหว่างนี้, นี้เรียกว่ารูปธาตุ (๒).
บรรดาธาตุทั้ง ๓ นั้น อรูปธาตุเป็นไฉน? ในเบื้องต่ำมีอากาสานัญจายตนะพรหมโลกเป็นที่สุด ในเบื้องบนมีเนวสัญญานาสัญญายตนะพรหมโลกเป็นที่สุด สภาวธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติก็ดี ของผู้เกิดแล้วก็ดี ของผู้อยู่ด้วยสุขวิหารธรรมในปัจจุบันก็ดี ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ นับเนื่องในระหว่างนี้, นี้เรียกว่า อรูปธาตุ (๓).
แต่ในอรรถกถา ท่านกล่าวว่า กามภพ ชื่อว่า กามธาตุ ย่อมได้ขันธ์ ๕, รูปภพ ชื่อว่า รูปธาตุ ย่อมได้ขันธ์ ๕, อรูปภพ ชื่อว่า อรูปธาตุย่อมได้ขันธ์ ๔. นี้ประกอบโดยปริยายแห่งทสุตตรสูตร.
๑. อภิ.วิ. ๓๕/๑๒๒. ๒. อภิ.วิ. ๓๕/๑๒๔. ๓. อภิ.สํ. ๓๔/๘๓๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 187
ส่วนในปริยายแห่งสังคีติสูตรว่า ถึงแม้ธาตุทั้งหลายที่ท่านกล่าวไว้ว่า กุสลธาตุมี ๓ คือ เนกขัมธาตุ ๑, อัพยาปาทธาตุ ๑, อวิหิงสาธาตุ ๑. ธาตุ ๓ อื่นอีก คือ รูปธาตุ ๑ อรูปธาตุ ๑ นิโรธธาตุ ๑. ธาตุ ๓ อื่นอีก คือ หีนาธาตุ ๑ มัชฌิมาธาตุ ๑ ปณีตาธาตุ ๑ (๑). ก็ย่อมประกอบในที่นี้.
ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า เนกขัมธาตุ, กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า เนกขัมมธาตุ.
ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยอัพยาปาทะ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ, ความมีไมตรี อาการที่มีไมตรี สภาพที่มีไมตรีเมตตาเจโตวิมุตติ ในสัตว์ทั้งหลาย นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ.
ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยอวิหิงสา ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ, ความกรุณา อาการที่กรุณา สภาพที่กรุณา กรุณาเจโตวิมุตติ ในสัตว์ทั้งหลาย นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ (๒).
รูปธาตุและอรูปธาตุได้กล่าวไว้แล้วแล. นิพพาน เรียกว่า นิโรธธาตุ. อกุสลจิตตุปบาท ๑๒ เรียกว่า หีนาธาตุ, ธรรมที่เป็นไป
๑. ที.ปา. ๑๑/๒๒๘. ๒. อภิ.วิ. ๓๕/๑๒๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 188
ในภูมิ ๓ ที่เหลือ เรียกว่า มัชฌิมาธาตุ, โลกุตรธรรม ๙ เรียกว่า ปณีตาธาตุ. ก็ธรรมแม้ทั้งหมด เรียกว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า ไม่ใช่ชีวะ.
อรรถกถาจตุกนิทเทส
ว่าด้วย อริยสัจ ๔
คำว่า จตฺตาริ อริยสจฺจานิ - อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกขอริยสัจ ๑, ทุกขสมุทยอริยสัจ ๑, ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ๑. วรรณนาแห่งอริยสัจ ๔ เหล่านี้ จักมีแจ้งในวิสัชนาแห่งสัจจะแล.
อรรถกถาปัญจกนิทเทส
ว่าด้วย วิมุตตายตนะ ๕
คำว่า ปญฺจ วิมุตฺตายตนานิ - วิมุตตายตนะ ๕ ความว่า เหตุแห่งการพ้น ๕ ประการเหล่านี้ คือ การสดับธรรมเทศนาที่ผู้อื่นแสดงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ๑, การแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเหล่าอื่น ๑, การสาธยายธรรมที่ตนได้สดับมาแล้ว ๑, การตรึกถึงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้วด้วยใจ ๑,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 189
อารมณ์อันสมควรแก่สมถกรรมฐาน ๔๐ มี กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น ๑.
ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่ การเคารพ แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การเคารพ แสดงธรรมแก่ภิกษุ, เมื่อภิกษุนั้นเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ก็ย่อมเกิดความปราโมทย์, เมื่อเกิดความปราโมทย์แล้ว ปีติก็ย่อมเกิด, เมื่อใจสหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ, ผู้มีกายสงบก็ย่อมเสวยสุข, เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น, นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย แต่ว่า ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 190
สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้นที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๒.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 191
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาด้วยใจ ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๔.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 192
เล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมนั้นตามที่ได้เล่าเรียน สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดความปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจสหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๕ ดังนี้แล (๑).
อรรถกถาฉักกนิทเทส
ว่าด้วย อนุตริยะ ๖
ในคำนี้ว่า ฉ อนุตฺตริยานิ - อนุตริยะ ๖ มีความว่า คุณอันยิ่งกว่าธรรมชาติเหล่านั้น ไม่มี ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อนุตระ อนุตระนั่นแหละ ชื่อว่า อนุตริยะ, อธิบายว่า เป็นธรรมชาติอันประเสริฐ. สมจริงดังพระดำรัสอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
๑. องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๒๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 193
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ ๖ ประการนี้.
๖ ประการเป็นไฉน? คือ -
๑. ทัสนานุตริยะ - การเห็นอันประเสริฐ,
๒. สวนานุตริยะ - การฟังอันประเสริฐ,
๓. ลาภานุตริยะ - การได้อันประเสริฐ,
๔. สิกขานุตริยะ - การศึกษาอันประเสริฐ,
๕. ปาริจริยานุตริยะ - การบำรุงอันประเสริฐ,
๖. อนุสตานุตริยะ - อนุสสติอันประเสริฐ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสนานุตริยะ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อจะดูช้างแก้วบ้าง, ม้าแก้วบ้าง, แก้วมณีบ้าง, ของใหญ่ของเล็ก, หรือสมณพรหมณ์ผู้เห็นผิด, ผู้ปฏิบัติผิด, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทัสนะมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าทัสนะนี้นั้นแล เป็นทัสนะอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 194
เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลใดมีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเพื่อจะเห็นตถาคต หรือสาวกของตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ทัสนานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็ สวนานุตริยะ เป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงบ้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 195
หรือเสียงสูงๆ ต่ำๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้ เป็นการฟังอันเลว ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วน บุคคลใดแลมีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของตถาคต หรือของสาวกของตถาคต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้ประเสริฐกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของตถาคตหรือของสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ สวนานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็ ลาภานุตริยะ เป็นอย่างไร? ดูก่อน ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมได้บุตรบ้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 196
ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือได้สัทธาในสมณพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภคือการได้นี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าลาภคือการได้นี้เป็นลาภเลว ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลใดแล เป็นผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้สัทธาในพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภคือการได้นี้เป็นลาภอันประเสริฐกว่าลาภทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้สัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ลาภานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ เป็นดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 197
ก็ สิกขานุตตริยะ เป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณพราหมณ์ผู้มีความเห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า การศึกษานี้ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว ฯลฯ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลใดมีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มี สัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้ประเสริฐกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 198
อันตถาคตประกาศแล้วนี้ เราเรียกว่า สิกขานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็ ปาริจริยานุตริยะ เป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง, พราหมณ์บ้าง, คฤหบดีบ้าง, ก็หรือว่าย่อมบำรุงบุคคลชั้นสูงและต่ำ, หรือย่อมบำรุงสมณพราหมณ์ผู้มีความเห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า การบำรุงไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่การบำรุงนี้แลเป็นการบำรุงอันเลว ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่า บุคคลใดแลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้ประเสริฐกว่าการบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิแห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน, ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 199
รักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต. นี้เราเรียกว่า ปาริจริยานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ ปาริจริยานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็ อนุสตานุตริยะ เป็นอย่างไร?, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง การได้ภรรยาบ้าง การได้ทรัพย์บ้าง หรือว่าย่อมระลึกถึงการได้มากบ้างน้อยบ้าง, หรือระลึกถึงสมณพรหมณ์ผู้มีความเห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การระลึกถึงนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า การระลึกถึงนี้ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าการระลึกถึงนี้นั้นแล เป็นการระลึกถึงอันเลว ฯลฯ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าบุคคลใดแล ผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต. ดูก่อนภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 200
ทั้งหลาย การระลึกถึงนี้ประเสริฐกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความ เลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต. นี้ เราเรียกว่า อนุสตานุตริยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้คือ อนุตริยะ ๖ ฉะนี้แล๑.
อรรถกถาสัตตกนิทเทส
ว่าด้วย นิททสะ
ในคำว่า สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ นี้ มีความว่า ทสะ แปลว่า ๑๐ ไม่มีแก่ผู้นั้น ฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า นิททสะ, วัตถุคือเหตุแห่ง นิททสะคือความเป็นแห่งนิททสะ ชื่อว่า นิททสวัตถุ.
จริงอยู่ พระขีณาสพปรินิพพานในกาลที่มีพรรษา ๑๐ ก็ไม่ชื่อว่า มีพรรษา ๑๐ อีก เพราะไม่มีปฏิสนธิอีกต่อไป ฉะนั้น ท่านจึง
๑. องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๐๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 201
เรียกว่า นิททสะ ไม่มีพรรษา ๑๐. และไม่มีพรรษา ๑๐ อย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ แม้พรรษา ๙ ก็ไม่มี ฯลฯ แม้กาลสักว่าครู่เดียวก็ยังไม่มี. พระขีณาสพปรินิพพานในกาลที่มีพรรษา ๑๐ เท่านั้นก็หาไม่ แม้ปรินิพพานในกาลที่มีพรรษา ๗ ก็ไม่ชื่อว่ามีพรรษา ๗ ไม่มีพรรษา ๑๐ ไม่มีกาลแม้สักครู่เดียว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อยกเอาโวหารอันเกิดในลัทธิเดียรถีย์มาไว้ในพระศาสนา แล้วทรงแสดงความไม่มีแห่งพระขีณาสพผู้เช่นนั้นในลัทธิเดียรถีย์นั้น, และความมีอยู่แห่งพระขีณาสพผู้เช่นนั้นในศาสนานี้ จึงตรัสเหตุแห่งความมีอยู่แห่งพระขีณาสพผู้เช่นนั้นว่า สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ - วัตถุแห่งนิททสะ ๗. ดุจดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการ นี้. ๗ ประการเป็นไฉน? คือ
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขาและเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการสมาทานสิกขา.
๒. เป็นผู้ได้ความยินดีอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรมและเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 202
ไปในการใคร่ครวญธรรมต่อไป.
๓. เป็นผู้ยินดีอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการกำจัดความอยากต่อไป.
๔. เป็นผู้มีความยินดีอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการหลีกเร้นต่อไป.
๕. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเริ่มความเพียร และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการเริ่มความเพียรต่อไป.
๖. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัว และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัวต่อไป.
๗. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 203
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล (๑)
แม้พระเถระครั้นยกเทศนาอย่างนั้นขึ้นกล่าวว่า สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ - นิททสวัตถุ ๗ ดังนี้.
อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส
ว่าด้วย อภิภายตนะ ๘
ในคำว่า อฏฺ อภิภายตนานิ - อภิภายตนะ ๘ นี้ มีความว่า อายตนะทั้งหลายครอบงำฌานเหล่านั้น ฉะนั้น ฌานเหล่านั้นจึงชื่อว่า อภิภายตนะ. คำว่า อายตนานิ ความว่า ฌานมีกสิณเป็นอารมณ์ กล่าวคืออายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งอันยิ่ง.
อธิบายว่า ก็บุคคลผู้มีญาณอันยิ่ง ผู้มีญาณแกล้วกล้าคิดว่า อันเราพึงเข้าในอารมณ์นี้ เพราะเหตุไร? ภาระในการทำจิตให้เป็นเอกัคคตา ไม่มีแก่เราดังนี้ แล้วครอบงำอารมณ์เหล่านั้นเสียเข้าสมาบัติ, ยังอัปปนาให้เกิดขึ้นในอารมณ์นี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต. ฌานที่ให้เกิดขึ้นโดยประการอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อภิภายตนะ. อภิภายตนะ ๘ เป็นไฉน?
๑. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 204
๑. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเล็กน้อย มีวรรณะดีและทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็นอภิภายตนะที่ ๑.
๒. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณ มีวรรณะดีและทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๒.
๓. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเล็กน้อย มีวรรณะดีและทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๓.
๔. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณ มีวรรณะดีและทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 205
๕. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว, ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว, หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว แม้ฉันใด, ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะ ที่ ๕.
๖. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลือง ล้วน มีรังสีเหลือง, ดอกกรรณิกาอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง, หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง แม้ฉันใด, ผู้ใดมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลือง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 206
ล้วน มีรังสีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๖.
๗. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง, ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง, หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง แม้ฉันใด, ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๗.
๘. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว, ดาวประกายพรึกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว, หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว แม้ฉันใด, ผู้หนึ่ง มีความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 207
สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๘ (๑) .
อรรถกถานวกนิทเทส
ว่าด้วย อนุปุพพวิหารธรรม ๙
คำว่า นว อนุปุพฺพวิหารา - อนุปุพพวิหาร ๙ มีความว่า ภายหลังแห่งธรรมมีในก่อนๆ ชื่อว่า อนุปุพพะ - ตามลำดับ, วิหาระ - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ ชื่อว่า อนุปุพพวิหาระ เพราะเป็นธรรมอันพระโยคีบุคคลพึงอยู่ คือพึงเข้าอยู่ตามลำดับ, อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ. อนุปุพพวิหารธรรม ๙ เป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย มีวิตกวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
๑. ที. ปา. ๑๑/๓๔๙.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 208
๒. ภิกษุ เพราะระงับวิตกวิจารเสียได้ ก็เข้าทุติยฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน มีอารมณ์เป็นเอโกทิภาพ - ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่.
๓. ภิกษุ เข้าตติยฌานอันปราศจากปีติอยู่ด้วยอุเบกขา, สติ, สัมปชัญญะเสวยสุขทางกาย ซึ่งพระอริยะทั้งหลายเรียกว่า เป็นผู้มีอุเบกขา, มีสติ, มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขดังนี้.
๔. ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ จึงเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์และสุข บริสุทธิด้วยอุเบกขาและสติอยู่.
๕. ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าอากาสานัญจายตนะด้วยบริกรรมว่า อนนฺโต อากาโส - อากาสไม่มีที่สุดอยู่.
๖. ภิกษุ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าวิญญาณัญจายตนะด้วย บริกรรมว่า อนนฺตํ วิญฺาณํ - วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 209
๗. ภิกษุ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าอากิญจัญญายตนะด้วยบริกรรมว่า นตฺถิ กิญฺจิ -นิดหนึ่งหน่อยหนึ่งไม่มีอยู่.
๘. ภิกษุ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่
๙. ภิกษุ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ (๑) ดังนี้.
อรรถกถาทสกนิทเทส
ว่าด้วย นิชชรวัตถุ ๑๐
คำว่า ทส นิชฺชรวตฺถูนิ - นิชชรวัตถุ ๑๐ ความว่า มิจฉาทิฏฐิเป็นต้น ย่อมเสื่อมลง ย่อมสลายไป ฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชระ.
คำว่า วตฺถูนิ - วัตถุทั้งหลาย ได้แก่เหตุ. วัตถุคือเหตุนั้นด้วย เสื่อมลงด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชรวัตถุ. นิชชรวัตถุนี้ เป็นชื่อของกุศลธรรมมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. นิชชรวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน? นิชชรวัตถุ ๑๐ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า
๑. นวก. ๒๓/๒๓๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 210
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิของผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาทิฏฐินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย. และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสังกัปปะของผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาสังกัปปะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวาจาของผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวาจาเป็นปัจจัยย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาวาจานั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 211
อันเป็นอเนกมีสัมมาวาจาเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉากัมมันตะของผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมากัมมันตะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาอาชีวะของผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัยย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาอาชีวะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวายามะของผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 212
ลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวายามะเป็นปัจจัยย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาวายามะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวายามะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสติของผู้มีสัมมาสติ ย่อมเสื่อมลง อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกมีมิจฉาสติเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาสตินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาสติเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสมาธิของผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาสมาธินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 213
๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาญาณของผู้มีสัมมาญาณ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาญาณเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาญาณนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็น อเนกมีสัมมาญาณเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวิมุตติของผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาวิมุตตินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ (๑) .
อรรถกถาจักขาทินิทเทส
ว่าด้วย จักษุเป็นต้น
{๓] คำมีอาทิว่า สพฺพํ ภิกฺขเว อภิญฺเยฺยํ - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พึง
๑. องฺ.ทสก. ๒๔/๑๐๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 214
ทราบว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนำมาแสดงแล้วในที่นี้. จ อักษร ในคำว่า กิญฺจํ เป็นนิบาตสักว่าทำบทให้เต็ม. วิสัชนา ๓๐ มี จกฺขุ เป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แสดงแยกเป็นอย่างละ ๕ๆ ในทวารหนึ่งๆ ในทั้ง ๖ ตามลำดับแห่งความเป็นไปแห่งทวารและอารมณ์
ในคำนั้น จักษุ มี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑. ในจักษุทั้ง ๒ นั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ๑, สมันตจักษุ ๑, ญาณจักษุ ๑, ทิพยจักษุ ๑, ธรรมจักษุ ๑.
คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูสัตวโลก ได้เห็นแล้วแลด้วยพุทธจักษุ (๑) ดังนี้ ชื่อว่า พุทธจักษุ.
คำนี้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ (๒) ดังนี้ ชื่อว่า สมันตจักษุ.
คำนี้ว่า ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว (๓) ดังนี้ ชื่อว่า ญาณจักษุ.
คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ เราได้เห็นแล้วแลด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ (๔) ดังนี้ ชื่อว่า ทิพยจักษุ.
มรรคญาณเบื้องต่ำ ๓ นี้มาในคำว่า ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแล้ว (๕) ดังนี้ ชื่อว่า ธรรมจักษุ.
๑. ม. มู. ๑๒/๓๒๓. ๒. ขุ. จูฬ ๓๐/๒๑๖, ๒๔๕. ๓. สํ. มหา. ๑๙/๑๖๖๖. ๔. ม. มู. ๑๒/๓๒๔. ๕. ม.มู. ๑๓/๕๙๙.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 215
ฝ่ายมังสจักษุ มี ๒ อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ๑, ปสาทจักษุ ๑.
ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตา พร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอกทั้ง ๒ ข้าง เบื้องต่ำกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูกคิ้ว ผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมองศีรษะ วิจิตรด้วยมณฑลแห่งตาดำล้อมรอบด้วยตาขาว ก้อนเนื้อนี้ ชื่อว่า สสัมภารจักษุ.
ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้ เนื่องในสสัมภารจักษุนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ มีอยู่, ความใสนี้ ชื่อว่า ปสาทจักษุ. ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา ปสาทจักษุ นี้.
ปสาทจักษุนี้นั้น โดยประมาณก็สักเท่าศีรษะเล็นอาศัยธาตุทั้ง ๔ อาบเยื่อตาทั้ง ๗ ชั้น ดุจน้ำมันที่ราดลงที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น อาบปุยนุ่นทุกชั้นอยู่ฉะนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถีมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง เป็นที่เกิดขึ้นแห่งสรีรสัณฐาน ที่อยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแววตาดำที่แวดล้อมด้วยมณฑลตาขาว แห่งสสัมภารจักษุนั้น.
ธรรมชาติใดย่อมเห็น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จักษุ, อธิบายว่า จักษุนั้นย่อมยินดีรูป และทำให้รูปปรากฏแจ่มแจ้งได้.
ธรรมชาติใดย่อมแตกสลายไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า รูป, อธิบายว่า รูปนั้น เมื่อถึงความแปรไปแห่งวรรณะ ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 216
ประกาศความถึงหทัย.
วิญญาณเป็นไปทางจักษุ หรือ การรู้รูปารมณ์ของจักษุ ชื่อว่า จักขุวิญญาณ.
ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง. ท่านกล่าวว่า สัมผัสสะ เพราะประดับบทด้วยอุปสรรค. สัมผัสที่เป็นไปทางจักษุ ชื่อว่า จักขุสัมผัส.
คำว่า จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา ได้แก่ ผัสสเจตสิกที่ประกอบกับจักขุวิญญาณเป็นปัจจัย.
คำว่า เวทยิตํ ได้แก่ รับรู้อารมณ์. อธิบายว่า การเสวยอารมณ์.
ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์นั้นนั่นแหละ ย่อมเป็นสุข ฉะนั้น จึง ชื่อว่า สุขะ, อธิบายว่า สุขะนั้นเกิดแก่ผู้ใด ก็ย่อมทำผู้นั้นให้ถึงซึ่งความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมเคี้ยวกินและขุดเสียได้ด้วยดีซึ่งอาพาธทางกายและจิต ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สุขะ.
ธรรมชาติใดย่อมเสวยอารมณ์เป็นทุกข์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า ทุกขะ, อธิบายว่า ทุกข์นั้นเกิดแก่ผู้ใด ก็ย่อมทำผู้นั้นให้ถึงซึ่งความทุกข์.
ทุกข์ก็ไม่ใช่, สุขก็ไม่ใช่ ฉะนั้น จึงชื่อว่า อทุกขมสุข. ม อักษรท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งปทสนธิ - ต่อบท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 217
ก็จักขุสัมผัสนั้น เป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตกับด้วยตน ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย, อัญญมัญญะ-, นิสสยะ-, วิปากะ-, อาหาระ-, สัมปยุตตะ-, อัตถิ-, อวิคตปัจจัย รวม ๘ ปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตกับด้วยสัมปฏิจฉนจิต ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย, สมนันตระ อนันตรูปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ รวม ๕ ปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย อันสัมปยุตกับด้วยสันติรณจิตเป็นต้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว.
ธรรมชาติใดย่อมได้ยิน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า โสตะ. โสตะนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถี มีโสตวิญญาณจิตเป็นต้นให้สำเร็จ ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่งที่มีสัณฐานดังวงแหวน มีขนอ่อนสีน้ำตาลพอกพูนภายในช่องแห่งสสัมภารโสตะ.
ธรรมชาติใดย่อมเปล่งออก ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สัททะ - เสียง, อธิบายว่า ย่อมเปล่งเสียง.
ธรรมชาติใดย่อมสูดดม ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ฆานะ - จมูก. ฆานะนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถี มีฆานวิญญาณเป็นต้นให้สำเร็จ ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่งที่มีสัณฐานดังกีบแพะในภายในแห่งช่องสสัมภารฆานะ.
ธรรมชาติใดย่อมฟุ้งไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า คันธะ - กลิ่น, อธิบายว่า ย่อมประกาศซึ่งที่อยู่ของตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 218
ธรรมชาติใดย่อมนำมาซึ่งชีวิต ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ชิวหา - ลิ้น, หรือ ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า ลิ้มรส. ชิวหานั้นยังความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถี มีชิวหาวิญญาณจิต เป็นต้นให้สำเร็จ ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่งมีสัณฐานดังปลายกลีบดอกอุบลแตก ในท่ามกลางแผ่นลิ้นเบื้องบนเว้นปลายสุด, โคนและข้างๆ แห่งสสัมภารชิวหา.
สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีซึ่งธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า รสะ - รส, อธิบายว่า ย่อมชอบใจ.
ธรรมชาติใดเป็นบ่อเกิดแห่งสาสวธรรมทั้งหลาย อันบัณฑิตเกลียด ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กายะ - กาย. คำว่า อาโย แปลว่า ประเทศเป็นที่เกิดขึ้น. ความเป็นไปแห่งอุปาทินนรูปในกายนี้มีอยู่ตราบใด ตราบนั้นกายประสาทนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถี มีกายวิญญาณจิตเป็นต้นให้สำเร็จตั้งอยู่ที่กายนั้นโดยมาก.
ธรรมชาติใดย่อมถูกต้อง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า โผฏฐัพพะ - กระทบ.
ธรรมชาติใดย่อมรู้ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มโน - ใจ, อธิบายว่า ย่อมรู้อารมณ์ต่างๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 219
ธรรมชาติใดย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ธัมมะ - ธรรมารมณ์.
คำว่า มโน - ใจ ได้แก่ ภวังคจิตที่เป็นไปกับด้วยการรับอารมณ์. คำว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมคือธรรมารมณ์มี ๑๒ ประเภท (๑).
คำว่า มโนวิาณํ - มโนวิญญาณจิต ได้แก่ มโนวิญญาณที่ทำชวนกิจ. คำว่า มโนสมฺผสฺโส - มโนสัมผัสสะ ได้แก่ ผัสสเจตสิกที่ประกอบกับมโนวิญญาณนั้น. มโนสัมผัสสะนั้นเป็นปัจจัยแก่เวทนา
๑. จิตและเจตสิกรับอารมณ์โดยแน่นอน มีอารมณ์ ๑๒ ประเภท คือ :-
๑. กามอารมณ์=กามจิต ๕๔ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘
๒. มหัคคตอารมณ์=มหัคคตจิต ๒๗ เจตสิก ๓๕
๓. นิพพานอารมณ์=นิพพาน ๔. นามอารมณ์=จิต เจตสิก นิพพาน
๕. รูปอารมณ์=รูป ๒๘
๖. ปัจจุบันอารมณ์=จิต เจตสิก รูป
๗. อดีตอารมณ์=จิต เจตสิก รูป
๘. กาลวิมุตติอารมณ์=นิพพาน บัญญัติ
๙. บัญญัติอารมณ์=อัตถบัญญัติ สัททบัญญัติ
๑๐. ปรมัตถอารมณ์=จิต เจตสิก รูป นิพพาน
๑๑. อัชฌัตตอารมณ์=จิต เจตสิก รูป
๑๒. พหิทธอารมณ์=จิต เจตสิก รูป นิพพาน บัญญัติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 220
ที่ประกอบด้วยอำนาจปัจจัย ๗ ปัจจัย (๑) ที่เหลือเว้นวิปากปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่เวทนาที่ประกอบกับชวนะเป็นลำดับไป คือชวนะดวงที่ ๒ ด้วยอำนาจปัจจัย ๕ ปัจจัย (๒) เหล่านั้นเหมือนกัน, เป็นปัจจัยแก่ชวนะที่เหลือ คือชวนะดวงที่ ๓ - ๗ ด้วยอำนาจอุปนิสัยปัจจัยเท่านั้น.
ขันธ์ ๕
[๔] วิสัชนา ๕ มีวิสัชนาในรูปเป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงด้วยสามารถแห่งขันธ์.
ธรรมชาติใดย่อมเสื่อมสลาย ย่อมถูกเบียดเบียนด้วยวิโรธิปัจจัย มีความเย็นเป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า รูป.
ธรรมชาติใดย่อมเสวยอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า เวทนา.
ธรรมชาติใดย่อมจำอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สัญญา.
ธรรมชาติใดย่อมปรุงแต่ง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สังขาร.
๑. สหชาตะ, อัญญมัญญะ, นิสสยะ, อาหาระ, สัมปยุตตะ, อัตถิ, อวิคตะ. ๒. อนันตระ, สมนันตระ, อนันตรูปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 221
ธรรมชาติใดย่อมรู้อารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า วิญญาณ.
ธรรมหมวด ๖
วิสัชนา ๖๐ มีวิสัชนาในจักขุเป็นต้น มีธรรมวิจารเป็นที่สุด ด้วยสามารถแห่งหมวด ๖ หมวดละ ๑๐ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงโดยความเป็นปิยรูปสาตรูป.
เวทนา มีเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นต้นกับทั้งธรรมที่สัมปยุตด้วย.
ความสำคัญในรูป ชื่อว่า รูปสัญญา.
ธรรมชาติใดย่อมตั้งใจในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สัญเจตนา. อธิบายว่า ย่อมมุ่งสู่อารมณ์.
ธรรมชาติใดย่อมกระหาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ตัณหา. อธิบายว่า ย่อมอยาก.
ธรรมชาติใดย่อมตรึกซึ่งอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า วิตักกะ อีกอย่างหนึ่ง ความตรึก ชื่อว่า วิตักกะ, ท่านอธิบายไว้ว่า การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 222
ธรรมชาติใดย่อมประคองจิตไว้ในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า วิจาระ, อีกอย่างหนึ่ง การพิจารณาชื่อว่า วิจาร, ท่านอธิบายไว้ว่า การพิจารณาเนืองๆ.
ธาตุ ๖
[๕] วิสัชนา ๖ มีวิสัชนาในปฐวีธาตุเป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงด้วยสามารถการกำหนดนามรูปโดยสังเขป.
ชื่อว่า ปฐวี - ดิน เพราะเป็นธรรมชาติแผ่ไป.
ธรรมชาติใดย่อมเอิบอาบ หรือว่าย่อมไหลไปและเกาะกุม ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป - น้ำ.
ธรรมชาติใดย่อมทำให้ร้อน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า เตโช - ไฟ.
ธรรมชาติใดย่อมพัดไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า วาโย - ลม.
ธรรมชาติใดอันใครๆ ย่อมขีดไม่ได้ เขียนไม่ได้ คือ อันใครๆ ไม่อาจที่จะไถ, ตัด, หรือทำลายได้ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อากาโส - อากาส.
ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า มิใช่สัตว์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 223
กสิณ ๑๐
วิสัชนา ๑๐ มีวิสัชนาในปฐวีกสิณเป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้แสดงด้วยสามารถแห่งกสิณภาวนา.
ดวงกสิณด้วยสามารถการแผ่ไปในอารมณ์ทั้งสิ้นก็ดี, นิมิตที่ปรากฏที่ดวงกสิณนั้นก็ดี, ฌานมีดวงกสิณนั้นเป็นอารมณ์ก็ดี ท่านเรียกว่า กสิณ. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาฌาน. คือ ฌาน ๔ มีมหาภูตเป็นกสิณเป็นอารมณ์ ในเบื้องต้น, จากนั้น ฌาน ๔ มีวัณณกสิณเป็นอารมณ์ ในเบื้องปลาย.
ปริจเฉทากาส ๑, ฌานมีปริจเฉทากาสนั้นเป็นอารมณ์ ๑, กสิณุคฆาฏิมากา ๑, และอากาสานัญจายตนฌาน มีกสิณุคฆาฏิมากาสนั้นเป็นอารมณ์ ท่านเรียกว่า อากาสกสิณ.
จิตที่รู้อากาสานัญจายตนฌาน ๑, วิญญาณัญจายตนฌานมีอากาสานัญจายตนฌานนั้นเป็นอารมณ์ ๑ ท่านเรียกว่า วิญญาณกสิณ.
อาการ ๓๒
[๖] วิสัชนา ๓๒ มีวิสัชนาเกสาเป็นตัน พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้แสดงด้วยสามารถกรรมฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์. ก็เมื่ออาการ ๓๒ มีเกสาเป็นต้นเหล่านั้นปรากฏโดยความเป็นของปฏิกูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 224
ก็เป็นอสุภกรรมฐานด้วยสามารถแห่งกายคตาสติ, เมื่อปรากฏโดยความเป็นสี ก็เป็นวัณณกรรมฐาน, (๑) เมื่อปรากฏโดยความเป็นธาตุ ก็เป็นจตุธาตุววัตถามกรรมฐาน. อนึ่ง อาการ ๓๒ มีเกสาเป็นต้นปรากฏโดยความเป็นปฏิกูล หรือโดยสี ฌานก็มีสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นอารมณ์ เมื่อธาตุปรากฏแล้ว ก็พึงทราบว่า เป็นโกฏฐาสเหล่านั้น และเป็นการเจริญธาตุที่มีโกฏฐาสนั้นเป็นอารมณ์.
๑ เกสา - ผมทั้งหลาย เกิดอยู่ที่หนังหุ้มกระโหลกศีรษะในด้านข้างทั้ง ๒ แห่งศีรษะ กำหนดด้วยกกหูทั้ง ๒ ข้างหน้ากำหนดด้วยหน้าผากเป็นที่สุด, และข้างหลังกำหนดด้วยท้ายทอย นับได้ตั้งแสนเป็นอเนก.
๒ โลมา - ขนทั้งหลาย ตั้งอยู่ที่หนังหุ้มสรีระโดยมาก เว้นที่เป็นที่ตั้งแห่งอวัยวะมีผมเป็นต้น และฝ่ามือฝ่าเท้าทั้ง ๒ เสีย ท่านกำหนดขุมขนไว้ถึง ๙ หมื่น ๙ พันขุม ตั้งอยู่ในหนังหุ้มสรีระ มีประมาณลิกขาหนึ่งเป็นประมาณ.
๓ นขา - เล็บทั้งหลาย ตั้งอยู่บนหลังแห่งปลายนิ้วทั้งหลาย นับได้ ๒๐.
๔ ทนฺตา - ฟันทั้งหลาย ตั้งอยู่ที่กระดูกคางทั้ง ๒ โดยมาก นับได้ ๓๒ ซี่.
๑. ฉ. กสิณกรรมฐาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 225
๕ ตโจ - หนังหุ้มสรีระทั้งสิ้น ตั้งอยู่ใต้ผิวหนัง บนพังผืดชั้นนอก.
๖ มํสํ - เนื้อนับได้ ๙๐๐ ชิ้น ตั้งฉาบกระดูก ๓๐๐ กว่าท่อน.
๗ นหารุ - เอ็น ๙๐๐ ผูกพันกระดูกทั้งหลาย ตั้งอยู่ทั่วสกลสรีระ.
๘ อฏฺี - กระดูก ๓๐๐ กว่าท่อน ตั้งอยู่ทั้งเบื้องล่างเบื้องบนทั่วสกลสรีระ.
๙ อฏฺิมิญฺชา (๑) - เยื่อในกระดูก ตั้งอยู่ภายในกระดูกเหล่านั้นๆ.
๑๐ วกฺกํ (๒) - ไต ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนอยู่ล้อมเนื้อหัวใจ มีขั้วอันเดียวกันแตกออกจากหลุมคอ ถ้าไปหน่อยหนึ่ง แล้วแยกออกเป็น ๒ รึงรัดไว้ด้วยเอ็นหยาบๆ.
๑๑ หทยํ - หัวใจ ได้แก่ ก้อนเนื้อหทัย ตั้งอยู่ท่ามกลางถันทั้ง ๒ ข้างในภายในสรีระ เต็มไปด้วยโลหิตประมาณกึ่งฟายมือเป็นที่อาศัยแห่งจิต มีหลุมภายในมีประมาณเท่าที่ตั้งแห่งเมล็ดบุนนาค
๑๒ ยกนํ - ตับ ได้แก่ แผ่นเนื้อเป็นคู่ อาศัยตั้งอยู่ข้างขวา ภายในร่างกายระหว่างถันทั้ง ๒ ข้าง.
๑๓. กิโลมกํ - พังผืด ได้แก่ เนื้อหุ้ม ๒ อย่าง คือ เนื้อพังผืดที่ปิด หุ้มหัวใจและม้ามตั้งอยู่ ๑, และเนื้อพังผืดที่ไม่ปิด หุ้มเนื้อใต้
๑. ในที่ทั่วไปเป็น อฏฺิมิญฺชํ. ๒. โบราณแปลว่า ม้าม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 226
ผิวหนังตั้งอยู่ทั่วสกลสรีระ ๑.
๑๔. ปิหกํ (๑) - ม้าม ได้แก่ เนื้อมีสัณฐานดุจลิ้นลูกโคดำตั้งอยู่ข้างซ้ายหัวใจ อาศัยข้างบนเยื้อหุ้มท้อง.
๑๕. ปปฺผาสํ - ปอด ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เรียกว่าปอดโดยประเภท นับได้ ๓๒ ก้อน ห้อยปิดเนื้อบนหัวใจและตับตั้งอยู่ราวนมทั้ง ๒ ข้าง ในภายในสรีระ.
๑๖. อนฺตํ - ไส้ใหญ่ ได้แก่ เกลียวไส้ที่เป็นขนด ขดอยู่ในที่ทั้งหลาย คือ เบื้องบนใต้หลุมคอลงมา เบื้องล่างถึงกรีสมรรค (๒) ตั้งอยู่ภายในสรีระ มีหลุมคอเป็นต้นและมีกรีสมรรคเป็นที่สุดเกี่ยวพันถึงกัน ของบุรุษยาว ๓๒ ศอก ของสตรียาว ๒๘ ศอก รวม ๒๑ ขนดด้วยกัน.
๑๗. อนฺตคุณํ - ไส้น้อย ได้แก่ ลำไส้น้อยพันปลายปากขนด รวมกันที่ขนดลำไส้ใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่างขนดลำไส้ใหญ่ ๒ ขนด.
๑๘. อุทริยํ - อาหารใหม่ ได้แก่ อาหารที่ถูกบดจนเป็นจุรณ ด้วยสากคือฟัน หมุนไปรอบๆ ด้วยมือคือลิ้น เกลือกกลั้วด้วยน้ำลาย ในขณะนั้นก็ปราศจากสมบัติแห่งสีกลิ่นและรสเป็นต้น เช่นกับข้าวย้อมด้ายของช่างหูกและรากสุนัข ตกไปคลุกเคล้ากับดีเสมหะและลม เดือดด้วยกำลังความร้อนของไฟในท้อง เกลื่อนกล่นด้วยกิมิชาติตระกูลใหญ่น้อย ปล่อยฟองฟอดขึ้นเบื้องบน จนถึงความเป็นขี้ขยะมีกลิ่นเหม็น
๑. โบราณแปลว่า ไต. ๒. กรีสมรรค = ทวารหนัก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 227
น่าเกลียดยิ่งนัก อยู่ที่พื้นลำไส้ใหญ่บนนาภี กล่าวคือที่ท้องอันเป็นที่อาศัยของอาหารใหม่ต่างๆ ที่กลืนดื่มเคี้ยวกินและลิ้มเข้าไป.
๑๙ กรีสํ - อาหารเก่า ได้แก่ อุจจาระตั้งอยู่ในที่สุดแห่งลำไส้ใหญ่ สูงประมาณ ๘ องคุลี ในระหว่างแห่งนาภีและที่สุดแห่งกระดูกสันหลัง (๑) ในภายใต้ กล่าวคือที่อยู่ขอบอาหารที่ย่อยแล้ว.
๒๐ ปิตฺตํ - น้ำดี ได้แก่ ดี ๒ อย่าง คือ ที่อาศัยตับในระหว่างเนื้อหทัยและปอดตั้งอยู่ กล่าวคือน้ำดีที่อยู่ประจำในถุงน้ำดี มีสัณฐานเช่นกับรังบวบขมใหญ่ ๑, และที่มิได้อยู่ประจำ เว้นที่ของผม, ขน, เล็บ, และฟันที่ไม่มีเนื้อ และหนังที่ด้านและแห้งซึมซาบอยู่ทั่วสรีระส่วนที่เหลือ.
๒๑ เสมฺหํ - เสลด ได้แก่ เสมหะประมาณเต็มฟายมือหนึ่ง ตั้งอยู่ที่พื้นท้อง.
๒๒ ปุพฺโพ - หนอง ได้แก่ ความแปรไปแห่งโลหิตเสีย (๒) เกิดที่อวัยวะที่ถูกเสี้ยนหนามและเปลวไฟเป็นต้น กระทบแล้วหรือที่อวัยวะที่มีฝีและต่อมพุพองเป็นต้น เกิดขึ้นแล้วด้วยการกำเริบแห่งธาตุในภายในสรีระประเทศ.
๑... ปิฏฺิกณฺฏกมูลานํ. ๒. ปริปกฺกโลหิต... โลหิตแก่รอบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 228
๒๓ โลหิตํ - โลหิต ได้แก่ เลือด ๒ อย่าง คือ เลือดที่สั่งสมอยู่มีประมาณเพียงเต็มฟายมือหนึ่งชุ่มอยู่ที่ไต เนื้อ หัวใจ ตับ และปอด ไหลออกทีละน้อยๆ เบื้องบนเนื้อหัวใจ ไต และปอดเต็มส่วนล่างของตับ ๑, และเลือดที่วิ่งแผ่ไปทั่วสรีระที่มีใจครองทั้งปวง โดยทำนองแห่งเปลวไฟที่พุ่งไป เว้นเสียแต่ที่ของผม ขน เล็บ และฟันที่ไม่มีเนื้อ และหนังที่ด้านและแห้ง ๑.
๒๔ เสโท - เหงื่อ ได้แก่ อาโปธาตุที่ไหลออกจากช่องขุมผม และขนทั้งปวงในสรีระที่ร้อนเพราะความร้อนจากไฟ และความร้อนจากดวงอาทิตย์ และความวิการแห่งฤดูเป็นต้น.
๒๕ เมโท - มันข้น ได้แก่ ยางเหนียวข้นของคนอ้วนอาศัยตั้งอยู่ระหว่างหนังและเนื้อ, ของคนผอมอาศัยตั้งอยู่ที่อวัยวะทั้งหลายมีเนื้อแข้งเป็นต้น.
๒๖ อสฺสุ - น้ำตา ได้แก่ อาโปธาตุที่ตั้งอยู่เต็มเบ้าตาก็ดี ที่ไหลออกก็ดี เพราะเกิดจากดีใจเสียใจ อาหารที่เป็นวิสภาคคือที่เผ็ดร้อน และอุตุ.
๒๗ วสา - มันเหลว ได้แก่ มันเหลวใส ตั้งอยู่ที่ฝ่ามือ ที่หลังมือ ฝ่าเท้า หลังเท้า ดั้งจมูก หน้าผาก และจะงอยบ่า โดยมากเกิดแต่อุสมาเตโชคือไออุ่นจากความร้อนของไฟ ความร้อนของดวงอาทิตย์ และผิดฤดู.
๒๘ เขโฬ - น้ำลาย ได้แก่ อาโปธาตุที่ระคนกันเป็นฟอง ตั้งอยู่ที่ลิ้นข้างกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้าง เพราะโดยมากเกิดแก่ผู้เห็นหรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 229
นึกถึงหรือหยิบวางอาหารเช่นนั้นไว้ในปากก็ดี เกิดแก่ผู้เหน็ดเหนื่อยอยู่ก็ดี หรือเกิดความรังเกียจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี.
๒๙ สิงฺฆาณิกา - น้ำมูก ได้แก่ ของเน่าไม่สะอาดลื่นเป็นมัน เกิดแก่ผู้มีธาตุกำเริบ เกิดด้วยอาหารวิสภาคและผิดฤดู, หรือแก่คนร้องไห้อยู่ ไหลออกจากเยื่อในสมองภายในศีรษะ ไหลออกมาทางช่องเพดานไปเต็มอยู่ในโพรงจมูกเกรอะกรังขังอยู่ก็มี ไหลออกอยู่ก็มี.
๓๐ ลสิกา - ไขข้อ ได้แก่ น้ำมันที่ให้สำเร็จกิจในการหยอดน้ำมันที่ข้อต่อแห่งกระดูก ตั้งอยู่ระหว่างข้อต่อแห่งกระดูก ๑๘๐ ข้อต่อ.
๓๑ มุตฺตํ - น้ำมูตร ได้แก่ อาโปธาตุตั้งอยู่ภายในกะเพาะปัสสาวะ ด้วยอำนาจอาหารและอุตุ.
๓๒ มตฺถลุงฺคํ - มันสมอง ได้แก่ กองแห่งเยื่อรวมกันแล้วมีจำนวน ๔ ก้อน ตั้งอยู่ที่รอยเย็บ ๔ แห่งภายในกระโหลกศีรษะ.
อายตนะ ๑๒
[๗] วิสัชนา ๑๒ มีวิสัชนาในจักขายตนะเป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แสดงด้วยสามารถแห่งอายตนะ ๑๒. ชื่อว่า อายตนะ เพราะสืบต่อ, ชื่อว่า อายตนะ เพราะสืบต่อแห่งการมา, และชื่อว่า เพราะนำไปซึ่งการสืบต่อ. มีคำอธิบาย ท่านกล่าวไว้ว่า จริงอยู่ ธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 230
คือจิตและเจตสิก ในบรรดาจักขุและรูปเป็นต้นเป็นทวารและอารมณ์นั้นๆ ย่อมมา ย่อมตั้งขึ้น ย่อมสืบต่อ คือย่อมพยายามโดยกิจของตนๆ มีการเสวยอารมณ์เป็นต้น. และมีคำอธิบาย ท่านกล่าวไว้อีกว่า ก็ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น ย่อมแผ่ไปสู่ธรรมเหล่านั้น ในธรรมอันเป็นทางมา. และยังมีคำอธิบาย ท่านกล่าวไว้อีกว่า สังสารทุกข์ สืบต่อกันไปอย่างมากมายเป็นไปในสงสารอันยืดยาวนานหาที่สุดมิได้นี้ ยังไม่หมุนกลับตราบใด ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้นก็ย่อมนำไป คือย่อมให้เป็นไปอยู่ตราบนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่, เพราะอรรถว่าเป็นบ่อเกิด, เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง, เพราะอรรถว่า เป็นถิ่นที่เกิด, และเพราะอรรถว่าเป็นการณะ.
จริงอย่างนั้น ในทางโลกที่เป็นที่อยู่ ท่านเรียกว่า อายตนะ ได้ในคำเป็นต้นว่า อิสฺสรายตนํ - ที่อยู่ของพระอิศวร, วาสุเทวายตนํ - ที่อยู่ของวาสุเทพ.
บ่อเกิดท่านเรียกว่า อายตนะ ได้ในคำเป็นต้นว่า สุวณฺณายตนํ -บ่อทอง, รชตายตนํ - บ่อเงิน.
แต่ในทางศาสนา ที่เป็นที่ประชุมลง ท่านเรียกว่า อายตนะ ได้ในคำเป็นต้นว่า มโนรเม อายตเน เสวนฺติ นํ วิหงฺคมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 231
เหล่าวิหคย่อมอาศัยต้นไม้นั้น ประชุมกันในที่เป็นที่รื่นรมย์ใจ (๑).
ถิ่นเป็นที่เกิด ท่านเรียกว่า อายตนะ ได้ในคำเป็นต้นว่า ทกฺขิณาปโถ คุนฺนํ อายตนํ - ทักษิณาบถ ถิ่นเป็นที่เกิดแห่งโคทั้งหลาย.
การณะท่านเรียกว่า อายตนะ ได้ในคำเป็นต้นว่า ตตฺร ตเตรฺว สกฺขิภพฺพตํ ปาปุณาติ สติ อายตเน (๒) เมื่ออายตนะ คือเหตุ เป็นเครื่องระลึกมีอยู่ เธอก็จะบรรลุผลในธรรมคืออภิญญานั้นๆ แน่นอน.
ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยอยู่ที่จักขุวัตถุเป็นต้น เพราะเนื่องด้วยการอาศัยจักขุวัตถุเป็นต้นนั้นอยู่ ฉะนั้น จักขุเป็นต้นนั้น จึงชื่อว่าเป็นที่อาศัยอยู่แห่งจิตและเจตสิกเหล่านั้น.
ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น เกิดที่จักขุวัตถุเป็นต้น เพราะมีจักขุวัตถุเป็นต้นนั้นเป็นที่อาศัย และเพราะมีจักขุวัตถุเป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์ ฉะนั้น จักขุวัตถุเป็นต้น จึงชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งจิตและเจตสิกเหล่านั้น.
จักขุเป็นต้น เป็นที่ประชุมแห่งธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น เพราะประชุมลงด้วยสามารถแห่งวัตถุทวารและอารมณ์ในทวารนั้นๆ.
๑. องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๓๘. องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๒๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 232
จักขุเป็นต้น เป็นประเทศเป็นที่แห่งธรรมคือจิตเละเจตสิกเหล่านั้น เพราะเกิดขึ้นในจักขุวัตถุเป็นต้นนั้นนั่นแหละ โดยความอาศัยจักขุวัตถุเป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์.
จักขุเป็นต้น เป็นเหตุแห่งธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น ก็เพราะความที่จักขุเป็นต้นยังไม่พินาศไป.
จักขุนั้นด้วยเป็นอายตนะด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า จักขายตนะ ตามใจความที่ได้กล่าวมาแล้วนี้แล. ถึงแม้อายตนะที่เหลือก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
ธาตุ ๑๘
วิสัชนา ๑๘ มีวิสัชนาในจักขุธาตุเป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงด้วยสามารถแห่งธาตุ ๑๘.
ธรรมหนึ่งๆ ย่อมจัดแจงตามสมควรแก่อารมณ์ทั้งหลายในทวารทั้งหลายมีจักขุทวารเป็นต้น ฉะนั้นธรรมนั้น ชื่อว่า ธาตุ. ธรรมใดย่อมทรงไว้ ฉะนั้นธรรมนั้น ชื่อว่า ธาตุ. ความทรงไว้ ชื่อว่า ธาตุ สภาพที่เป็นเหตุตั้งไว้ ชื่อว่า ธาตุ หรือสภาพที่เป็นเหตุย่อมทรงไว้ในทวารนั้น ฉะนั้น ทวารนั้น ชื่อว่า ธาตุ.
อธิบายว่า โลกิยธาตุทั้งหลายกำหนดตั้งไว้โดยความเป็นเหตุ ย่อมจัดแจงสังสารทุกข์เป็นอเนกประการ ดุจธาตุมีธาตุทองและธาตุเงิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 233
เป็นต้น กำหนดตั้งไว้โดยความเป็นเหตุ จัดแจงอยู่ซึ่งทองและเงิน เป็นต้น.
ธรรมชาติใดอันสัตว์ทรงไว้ ความว่า ย่อมธำรงไว้ดุจภาระอันบุคคลผู้แบกภาระ แบกไปอยู่ฉะนั้น. อนึ่งธาตุนี้ ก็เพียงแค่ทรงไว้ซึ่งทุกข์เท่านั้น เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ.
อธิบายว่า สังสารทุกข์อันสัตว์ทั้งหลายทรงไว้เสมอด้วยธาตุทั้งหลายอันเป็นเหตุประการหนึ่ง, สังสารทุกข์นั้นอันสัตว์ทรงไว้แล้วอย่างนั้น ย่อมตั้งอยู่ สถิตอยู่ในธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ประการหนึ่ง
อนึ่ง สำหรับอัตตาของเดียรถีย์ทั้งหลายไม่มีอยู่โดยสภาวะ ฉันใด, ก็แลธาตุทั้งหลายเหล่านี้จะมีสภาวะฉันนั้นก็หาไม่. แต่ที่เรียกว่า ธาตุ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน. เหมือนอย่างว่าส่วนต่างๆ ของหินมีหรดาลและมโนศิลาเป็นต้นอันวิจิตรตระการในโลก ก็เรียกว่าธาตุ ฉันใด ธาตุทั้งหลายอันวิจิตรแม้เหล่านี้ ก็เรียกว่าเป็นส่วนที่จะพึงรู้ได้ด้วยญาณ ฉันนั้นแล.
อีกอย่างหนึ่ง ในส่วนทั้งหลายมีรสและโลหิตเป็นต้น กำหนดตามลักษณะอันเป็นวิสภาคแก่กันและกัน อันเป็นส่วนต่างๆ ของร่างกาย กล่าวคือสรีระ ย่อมมีชื่อว่า ธาตุ ฉันใด ในส่วนต่างๆ แห่งอัตภาพ กล่าวคือเบญจขันธ์แม้เหล่านี้ ก็พึงทราบว่า ชื่อว่า ธาตุ ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 234
เพราะธาตุเหล่านั้นมีจักขุธาตุเป็นต้น ก็กำหนดด้วยลักษณะอันเป็นวิสภาคแก่กันและกัน.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ธาตุ นี้ เป็นเพียงชื่อแห่งนิชชีวธรรม. จริงอย่างนั้น ในพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเรานี้มีธาตุ ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทำเทสนาในเรื่อง ธาตุ ไว้ ก็เพื่อจะ ถอนความหมายมั่นว่าเป็นชีวะคือบุคคล.
จักขุนั้นด้วย เป็นธาตุด้วย ฉะนั้น ชื่อว่า จักขุธาตุ ตามใจความที่ได้กล่าวแล้วแล. ถึงแม้ธาตุที่เหลือก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
คำว่า มโนธาตุ ได้แก่ มโนธาตุ ๓.
คำว่า ธัมมธาตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, สุขุมรูป ๑๖, และนิพพาน.
คำว่า มโนวิญญาณธาตุ ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุ ๗๖.
อินทรีย์ ๒๒
วิสัชนา ๒๒ มีวิสัชนาในจักขุนทรีย์ เป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงด้วยสามารถแห่งอินทรีย์ ๒๒.
ชื่อว่า จักขุนทรีย์ เพราะทำจักขุวัตถุนั่นแหละให้เป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการเห็น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 235
ชื่อว่า โสตินทรีย์ เพราะทำโสตวัตถุนั่นแหละให้เป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการได้ยิน.
ชื่อว่า ฆานินทรีย์ เพราะทำฆานวัตถุนั่นแหละให้เป็นใหญ่ในลักษณะแห่การสูดกลิ่น.
ชื่อว่า ชิวหินทรีย์ เพราะทำชิวหาวัตถุนั่นแหละให้เป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการลิ้มรส.
ชื่อว่า กายินทรีย์ เพราะทำกายวัตถุนั่นแหละให้เป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการถูกต้อง.
ชื่อว่า มโน เพราะรู้อารมณ์, อธิบายว่า ย่อมรู้อารมณ์ต่างๆ ได้. แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า มโน เพราะนึก เพราะรู้อารมณ์ ดุจคนกำหนดนับอยู่ด้วยทะนาน และดุจทรงไว้ด้วยตาชั่งใหญ่ฉะนั้น, ชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะทำมโนนั้นนั่นแหละให้เป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการรู้อารมณ์.
สหชาตธรรมดำรงอยู่ได้ด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ชีวิต, ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ เพราะทำชีวิตินทรีย์นั้นให้เป็นใหญ่ ในลักษณะแห่งการอนุบาลรักษาสหชาตธรรม.
ชีวิตินทรีย์นั้นมี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ ๑. อรูปชีวิตินทรีย์ ๑. ธรรมชาติที่เกิดร่วมกับกัมมชรูปทั้งหมด อนุบาลรักษาสหชาต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 236
รูปไว้ ชื่อว่า รูปชีวิตินทรีย์, เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทั้งหมด อนุบาล รักษาสหชาตนามธรรมไว้ ชื่อว่า อรูปชีวิตินทรีย์.
ผู้ใดย่อมปรารถนา คือย่อมถึงซึ่งความสมสู่ ผู้นั้นชื่อว่า อิตถีหญิง เพราะตั้งครรภ์ได้, ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในอวัยวะทั้งหลายมีเพศแห่งหญิงเป็นต้น, ความเป็นใหญ่แห่งหญิงนั่นแล ชื่อว่า อิตถินทรีย์ โดยกำหนด.
นิรยะ - นรก ท่านเรียกว่า ปุํ, ผู้ใดถูกบีบคั้นเบียดเบียนอยู่ในนรก กล่าวคือปุํ ฉะนั้นผู้นั้น ชื่อว่า ปุริส - ชาย, ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในอวัยวะทั้งหลายเพศแห่งบุรุษเป็นต้น, ความเป็นใหญ่แห่งบุรุษนั้นแล ชื่อว่า ปุริสินทรีย์ โดยกำหนด. ในอินทรีย์แม้ทั้ง ๒ นั้น อินทรีย์แต่ละอย่างที่เกิดร่วมกับกัมมชรูป ย่อมมีแต่ละอินทรีย์ตามสภาวะ.
สุขเวทนาที่ประกอบกับกุศลวิปากกายวิญญาณจิต, ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการรู้สึกสบายทางกาย, สุขเวทนานั่นแหละเป็นใหญ่ ชื่อว่า สุขินทรีย์.
ทุกขเวทนา ที่ประกอบกับอกุศลวิปากกายวิญญาณจิต, ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการรู้สึกไม่สบายทางกาย, ทุกขเวทนานั่นแหละเป็นใหญ่ ชื่อว่า ทุกขินทรีย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 237
มนะ - ใจ ดีคืองาม เพราะประกอบด้วยปีติและโสมนัสของบุคคลนั้นมีอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า สุมโน - มีใจดี, ความเป็นแห่งสุมนะ ชื่อว่า โสมนัสสะ, เป็นอินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งความยินดีของเจตสิก, โสมนัสสะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า โสนนัสสินทรีย์.
มนะ -ใจ ชั่ว เพราะประกอบด้วยโทมนัสเวทนาของบุคคลนั่นมีอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า ทุมมโน - มีใจชั่ว, ความเป็นแห่งทุมมนะ ชื่อว่า โทมนัสสะ, เป็นอินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งความไม่ยินดีของเจตสิก, โทมนัสสะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า โทมนัสสินทรีย์.
ธรรมชาติใดย่อมเพ่งความเป็นไปแห่งอาการของสุขเวทนาและทุกขเวทนา ย่อมเป็นไปโดยอาการนั้น เพราะตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความเป็นกลาง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อุเปกขา, เป็นอินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งความเป็นกลาง, อุเปกขานั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์.
บุคคลย่อมเชื่อด้วยธรรมชาตินั้น หรือเชื่อเอง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สัทธา, อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติสักว่าความเชื่อนั่นแหละ ชื่อว่า สัทธา, เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดีครอบงำความไม่เชื่อ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะการทำความเป็นใหญ่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 238
ลักษณะแห่งการน้อมใจ, สัทธานั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สัทธินทรีย์.
ความเป็นแห่งความแกล้วกล้า ชื่อว่า วีริยะ, หรือการงานแห่งบุคคลผู้แกล้วกล้าทั้งหลาย, หรือพึงขวนขวาย คือพึงเป็นไปด้วยวิธีอันเป็นอุบายเครื่องนำไป, เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดีครอบงำความเกียจคร้าน, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งความเพียร, วีริยะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า วีริยินทรีย์.์
บุคคลย่อมระลึกได้ด้วยธรรมชาตินั้น, หรือระลึกเอง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สติ, อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติสักว่าความระลึกได้นั่นแหละ ชื่อว่า สติ, เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดีครอบงำความเผลอสติ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการตั้งมั่น, สตินั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สตินทรีย์.
ธรรมชาติใดย่อมทรงไว้ ย่อมตั้งไว้ด้วยดีซึ่งจิตในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สมาธิ, เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่า เป็นอธิบดีครอบงำความซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ , อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งความไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ , สมาธินั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สมาธินทรีย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 239
ธรรมชาติใดย่อมรู้อริยสัจโดยนัยเป็นต้นว่า นี้ทุกข์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ปัญญา. แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปัญญา เพราะประกาศพระไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ - ไม่เที่ยง, ทุกฺขํ- เป็นทุกข์, อนตฺตา - มิใช่อัตตา. เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดีครอบงำอวิชชา, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งทัสนญาณ, ปัญญานั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า ปัญญินทรีย์.
ชื่อว่า อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เพราะเกิดแก่พระโยคิบุคคลผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่า เราจักรู้พระนิพพานอันเป็นอมตบทอันยังไม่เคยรู้ในสังสารวัฏฏ์อันยาวนาน. หรือจักรู้จักธรรม ๔ เท่านั้นดังนี้ และเพราะอรรถว่าอินทรีย์. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นี้ เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ.
ชื่อว่า อัญญินทรีย์ เพราะเป็นอินทรีย์ที่รู้ทั่วถึง เพราะรู้สัจธรรม ๔ อันมรรคนั้นรู้แล้ว ไม่ก้าวล่วงขอบเขตอันปฐมมรรครู้แล้ว และเพราะมีอรรถว่าอินทรีย์. อัญญินทรีย์นี้ เป็นชื่อแห่งญาณในฐานะทั้ง ๖ มีโสดาปัตติผลญาณเป็นต้น.
ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ เพราะเกิดแก่พระขีณาสพผู้รู้ทั่วถึงแล้วคือมีกิจในจตุสัจญาณเสร็จสิ้นแล้ว และเพราะมีอรรถว่าอินทรีย์ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ เพราะสำเร็จความเป็นใหญ่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 240
ระหว่างแห่งธรรมทั้งหลายอันพระขีณาสพผู้รู้ทั่วถึงแล้วคือผู้มีจิตในสัจจะ ๔ เสร็จสิ้นแล้วแทงตลอดสัจจะ ๔. อัญญาตาวินทรีย์นี้เป็นชื่อแห่ง อรหัตตผลญาณ.
อินทรีย์แม้ทั้งหมดเหล่านี้ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่า ประกาศกรรมที่เป็นจอม เพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมแสดงแล้ว, เพราะท่านผู้เป็นจอมเห็นแล้ว, เพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมจัดแจงแล้ว. และเพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมเสพแล้ว บัณฑิตพึงนำไปประกอบตามสมควร.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า เป็นจอม เพราะความเป็นผู้มีความใหญ่ยิ่ง, และกรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ก็ชื่อว่า เป็นจอม เพราะไม่มีใครจะมีความใหญ่ยิ่งเหนือกรรม. เพราะเหตุนั้นแล ในอินทรีย์เหล่านี้ อินทรีย์ที่กรรมให้เกิด ย่อมประกาศให้รู้กุศลกรรมและอกุศลกรรม. และอินทรีย์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นจอมนั้นทรงจัดแจงแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ เพราะ อรรถว่าประกาศกรรมที่เป็นจอม และเพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมจัดแจงแล้ว อนึ่งอินทรีย์แม้ทั้งหมดเหล่านั้นนั่นแล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นจอมทรงประกาศแล้ว และตรัสรู้ยิ่งแล้วตามความเป็นจริง ฉะนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมแสดงแล้ว และเพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมทรงเห็นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นนั่นแหละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 241
ผู้เป็นจอมมุนี เสพอินทรีย์บางอย่าง ด้วยการเสพโดยความเป็นอารมณ์ เสพอินทรีย์บางอย่างด้วยการเสพโดยภาวนา ฉะนั้น ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าผู้เป็นจอมเสพแล้วก็มี. อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์เหล่านี้ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่กล่าวคือเป็นอธิบดีก็มี. ด้วยว่าความเป็นอธิบดีแห่งจักขุเป็นต้น สำเร็จได้ในปวัตติกาลแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเมื่ออินทรีย์แก่กล้า จักขุวิญญาณเป็นต้นก็แก่กล้า เมื่ออินทรีย์อ่อนจักขุวิญญาณเป็นต้นก็อ่อน ดังนี้แล.
ธาตุ ๓ โดยภพ ๓ โวการ ๓
[๘] วิสัชนา ๑๒ มีวิสัชนาในกามธาตุเป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงแล้วโดยประเภทแห่งภพ.
ธาตุอันประกอบด้วยกาม กล่าวคือกามราคะ ชื่อว่า กามธาตุ หรือ ธาตุกล่าวคือกาม ชื่อว่า กามธาตุ.
ธาตุอันประกอบแล้วด้วยรูปฌาน ชื่อว่า รูปธาตุ เพราะละกามเสียได้ หรือธาตุกล่าวคือรูปฌาน. ชื่อว่า รูปธาตุ.
ธาตุอันประกอบแล้วด้วยอรูปฌาน ชื่อว่า อรูปธาตุ เพราะ ละกามและรูปฌานเสียได้, หรือธาตุกล่าวคืออรูปฌาน ชื่อว่า อรูปธาตุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 242
ธาตุเหล่านั้นนั่นแหละ ท่านกล่าวโดยปริยายแห่งภพอีก. จริง อยู่ ท่านเรียกว่า ภพ เพราะย่อมเกิด.
ภพอันประกอบแล้วด้วยสัญญา ชื่อว่า สัญญาภพ หรือภพอันสหรคตด้วยสัญญา ชื่อว่า สัญญาภพ, หรือสัญญามีอยู่ในภพนี้ ฉะนั้น ภพนี้จึงชื่อว่า สัญญาภพ.
กามภพนั้น ๑, รูปภพที่พ้นจากอสัญญาภพ ๑, อรูปภพที่พ้นจากเนวสัญญานาสัญญาภพ ๑, มิใช่สัญญาภพ ชื่อว่า อสัญญาภพ, อสัญญาภพนั้นเป็นเอกเทสแห่งรูปภพ.
เพราะความไม่มีสัญญาหยาบ ชื่อว่า เนวสัญญา - มีสัญญาก็ไม่ใช่, เพราะมีสัญญาละเอียด ชื่อว่า นาสัญญา - ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา, ภพที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญานั้น ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญาภพ, อีกอย่างหนึ่ง เพราะความไม่มีสัญญาหยาบ และเพราะความมีสัญญาละเอียด ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา มีอยู่ในภพนี้ ฉะนั้น ภพนี้จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญาภพ, เนวสัญญานาสัญญาภพนั้นเป็นเอกเทสแห่งอรูปภพ.
ภพที่ระคนด้วยรูปขันธ์ๆ เดียว คือล้วนไปด้วยรูปขันธ์ๆ เดียว แห่งภพนั้นมีอยู่ ฉะนั้น ภพนั้น จึงชื่อว่า เอกโวการภพ, เอกโวการภพนั้น เป็นอสัญญาภพแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 243
ภพที่ระคนด้วยนามขันธ์ ๔ คือล้วนไปด้วยนามขันธ์ ๔ แห่งภพนั้นมีอยู่ ฉะนั้น ภพนั้นจึงชื่อว่า จตุโวการภพ, จตุโวการภพนั้ เป็นอรูปภพ.
ภพที่ระคนด้วยขันธ์ ๕ คือล้วนไปด้วยขันธ์ ๕ แห่งภพนั้นมีอยู่ ฉะนั้น ภพนั้นจึงชื่อว่า ปัญจโวการภพ, ปัญจโวการภพนั้นเป็นกามภพด้วยเป็นเอกเทสแห่งรูปภพด้วย.
ฌาน
[๙] วิสัชนา ๑๒ มีวิสัชนาในปฐมฌานเป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงด้วยอำนาจฌานสมาบัติ.
คำว่า ฌาน ในที่นี้ ประสงค์เอาเพียงแต่พรหมวิหารธรรมเท่านั้น.
ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกกัคตา.
ทุติยฌาน ประกอบด้วยปีติ สุข และเอกัคตา.
ตติยฌาน ประกอบด้วยสุข และเอกัคตา.
จตุตถฌาน ประกอบด้วยอุเบกขา และเอกัคตา.
๑๐] ธรรมชาติใดย่อมสนิทสนมรักใคร่ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า เมตตา อธิบายว่า ย่อมเสน่หา. อีกอย่างหนึ่ง ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 244
เจริญในมิตร หรือความเป็นไปอันนั้นแห่งมิตรมีอยู่ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตา ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นจากปัจนิกธรรมทั้งหลาย และเพราะน้อมไปในอารมณ์, ความพ้นแห่งใจ ชื่อว่า เจโตวิมุตติ, เมตตา คือ เจโตวิมุตติ ชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติ.
กรุณา ก็มีอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแล. บุคคลประกอบด้วยธรรมชาตินั้นแล้ว ย่อมบันเทิง, หรือธรรมชาติใดย่อมบันเทิงเอง, หรือว่า สักว่าความบันเทิงนั้น ฉะนั้น ชื่อว่า มุทิตา.
ธรรมชาติใดย่อมเพ่งด้วยการละความพิบัติโดยนัยเป็นต้นว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นผู้มีเวรหามิได้เถิด และด้วยการเข้าถึงความเป็นกลาง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อุเบกขา.
พรหมวิหาร ๓ มีเมตตาเป็นต้น ประกอบด้วยฌาน ๓ มีปฐมฌานเป็นต้น, ส่วนอุเบกขาพรหมวิหารประกอบด้วยจตุตถฌาน.
ที่สุดแห่งอากาศนั้นไม่มีด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป ฉะนั้น อากาศนั้น ชื่อว่า อนนฺโต - ไม่มีที่สุด, อากาศไม่มีที่สุด ชื่อว่า อากาสานันตะ ได้แก่ กสิณุคฆาฏิมากาส - อากาศที่เพิกกสิณออก. อากาสานันตะนั่นแหละ ชื่อว่า อากาสานัญจะ, อากาสานัญจะนั้น ชื่อว่า เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 245
นั้น เช่นเดียวกับที่อยู่ของเทพทั้งหลาย ชื่อว่า เทวายตนะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ, สมาบัติคืออากาสานัญจายตนะนั่นแหละ ชื่อว่า อากาสานัญจายตนสมาบัติ.
และที่สุดแห่งวิญญาณนั้นไม่มีด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป ฉะนั้น ชื่อว่า อนนฺตํ - ไม่มีที่สุด, วิญญาณไม่มีที่สุดมีอากาศเป็นอารมณ์นั้น. อนันตะนัjนแหละ ชื่อว่า อานัญจะ, วิญญาณไม่มีที่สุด ท่านไม่กล่าว ว่า วิญฺาณานญฺจ แต่กล่าวว่า วิญฺญาณญฺจ. ก็ศัพท์นี้ในที่นี้เป็นรุฬหีศัพท์ คือเป็นศัพท์ที่นิยมใช้กัน. วิญญาณัญจะนั้นเป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้น เช่นเดียวกับที่อยู่ของเทพทั้งหลาย เรียกว่าเทวายตนะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณัญจายตนะ.
ฌานชื่อว่า อากิญจนะ เพราะไม่มีอะไรแม้สักน้อยหนึ่ง มีคำอธิบายว่า แม้โดยที่สุดเพียงภังคขณะก็ไม่มีเหลืออยู่. ภาวะแห่งอากิญจนะ ชื่อว่า อากิญจัญญะ. คำนี้ เป็นชื่อของฌานที่ไม่มีอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์. อากิญจัญญะนั้นเป็นอายตนะ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้น. เช่นเดียวกับที่อยู่ของเทพทั้งหลาย เรียกว่า เทวายตนะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกิญจัญญายตนะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 246
สัญญาแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้นไม่มี ไม่มีสัญญาก็หามิได้ เพราะไม่มีสัญญาหยาบ มีแต่สัญญาละเอียด ฉะนั้น ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา, เนวสัญญานาสัญญานั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะนับเนื่องด้วยมนายตนะและธรรมมายตนะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
อีกนัยหนึ่ง สัญญาในฌานนี้ ชื่อว่า เป็นสัญญาไม่ได้ เพราะไม่สามารถทำกิจสัญญาให้ชัดเจนได้, และชื่อว่า ไม่มีสัญญาเลยก็ไม่ได้ เพราะยังมีอยู่โดยสังขารธรรมที่ยังเหลืออยู่เป็นสุขุมภาพ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา, เนวสัญญานาสัญญานั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งธรรมที่เหลือ (๑) ฉะนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ. คำนี้เป็นชื่อของสมาบัติอันมีอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์.
อนึ่ง ในฌานนี้ มิใช่สัญญาจะเป็นอย่างนี้อย่างเดียว แม้เวทนา ชื่อว่า เนวเวทนา นาเวทนา - มีเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่มีเวทนาก็ไม่ใช่. แม้จิตก็ชื่อว่า เนวจิตตะนาจิตตะ - มีจิตก็ไม่ใช่ ไม่มีจิตก็ไม่ใช่. ถึงผัสสะ ก็ชื่อว่า เนวผัสสะนาผัสสะ - มีผัสสะก็ไม่ใช่ไม่มีผัสสะก็ไม่ใช่
๑. เสสธมฺมานํ=แห่งธรรมที่เหลือ : ได้แก่ เจตสิก ๒๙ และจิต ๑ มีสัญญา เป็นประธาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 247
ในสัมปุยุตธรรมที่เหลือ ก็นัยนี้. แต่เทศนานี้ท่านทำด้วยหัวข้อว่า สัญญา.
ปัจจยาการ ๑๒
วิสัชนา ๑๒ มีวิสัชนาใน อวิชชา เป็นต้น พระธรรมเวนาบดีสารีบุตรแสดงด้วยองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท.
กายทุจริตเป็นต้นชื่อว่า อวินทิยะ ความว่า ไม่ควรได้ เพราะอรรถว่าไม่ควรบำเพ็ญ. ธรรมชาติใดย่อมได้ซึ่งอวินทิยะนั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา.
กายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า วินทิยะ - ควรได้ เพราะตรงกันข้ามกับอวินทิยะนั้น. ธรรมชาติใดย่อมไม่ได้ซึ่งวินทิยะนั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา.
ธรรมชาติใดทำอรรถคือกองแห่งขันธ์ทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำอรรถคือความต่อแห่งอายตนะทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำอรรถคือความว่างแห่งธาตุทั้งหลายมิให้ปรากฏ ทำอรรถคือความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำอรรถคือความจริงแห่งสัจจะทั้งหลายมิให้ปรากฏ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา, ทำอรรถ ๔ อย่างที่กล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 248
แล้วด้วยสามารถแห่งการบีบคั้นเป็นต้น แห่งสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะ เป็นต้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า อวิชชา.
ธรรมชาติใดย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้แล่นไปในกำเนิด, คติ, ภพ, วิญญาณฐิติ, และสัตตาวาสทั้งปวง ในสังสารวัฏฏ์อันไม่มีที่สุด ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า อวิชชา.
ธรรมชาติใดย่อมแล่นไปในบัญญัติทั้งหลายมีหญิงและบุรุษ เป็นต้น อันไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์, ไม่แล่นไปแม้ในวิชชมานบัญญัติมีขันธ์เป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า อวิชชา.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชา เพราะปกปิดเสียซึ่งวัตถุและอารมณ์แห่งวิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้น และธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นปฏิจจสมุปบาทและที่เป็นปฏิจจสมุปปันนะ.
ธรรมชาติใดย่อมปรุงแต่งซึ่งสังขตธรรม (๑) ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า สังขาร.
ธรรมชาติใดย่อมรู้อารมณ์ต่างๆ ได้ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า วิญญาณ.
ธรรมชาติใดย่อมรู้อารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า นาม, อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปสู่อารมณ์ ฉะนั้น
๑. สังขตธรรม : จิต ๘๙, รูป ๒๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 249
ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า นาม, ธรรมชาติใดย่อมแตกดับไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า รูป.
ธรรมชาติใดย่อมแผ่ไปในจิตและเจตสิกอันเป็นที่เกิด และนำไปสู่สังสารทุกข์อันยืดเยื้อต่อไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า อายตนะ.
ธรรมชาติใดย่อมถูกต้อง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ผัสสะ.
ธรรมชาติใดย่อมเสวยอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า เวทนา.
ธรรมชาติใดย่อมอยากได้ในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ตัณหา.
ธรรมชาติใดย่อมเข้าไปยึดในอารมณ์ คือย่อมถือไว้อย่างมั่นคง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า อุปาทาน. ธรรมชาติใดย่อมเป็น คือย่อมเกิด ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ภพ.
การเกิด ชื่อว่า ชาติ.
การแก่ ชื่อว่า ชรา.
สัตว์ทั้งหลายย่อมตายด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า มรณะ.