การที่เราทำการค้า โดยรู้ว่าเขาเป็นนักท่องเที่ยว ทำให้เราสามารถขายของได้ในราคาที่สูงกว่า คนในพื้นที่ วิธีการขายอย่างนี้ ในทางธรรมผิดไหมคะ
การทำการค้าขายคนนักเที่ยว ในราคาที่สูงกว่าคนในพื้นที่ ไม่ผิดศีล ๕ แต่ขาดการเอื้อเฟื้อ ขาดเมตตาและการเอารัดเอาเปรียบผู้ซื้อมากเกินไป ให้ขายตามราคาที่เป็นจริง
เป็นการสะสมความโลภ ให้ยิ่งพอกพูนเรื่อยๆ ขึ้นไป ทางที่ดีควรให้ทาน (คิดกำไรแต่พอเพียง) เพื่อจะได้รู้จักการสละ ลดการยึดมั่นถือมั่นดีกว่า
ขอเรียนถามเพิ่มเติมครับ เท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่า กำไรแต่พอเพียง ในเมื่อจุดมุ่งหมายของการค้าคือ กำไรสูงสุด ถ้าจะสละ ลดการยึดมั่นถือมั่น ก็ไม่ควรเอากำไร หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ผมถามมิใช่เพื่อเป็นข้อขัดแย้งในการสนทนานะครับ แต่ผมไม่สามารถเข้าใจได้จริงๆ ว่า อย่างไรถึงเรียกว่ากำไรแต่พอเพียง จะเอามาตรฐานใครมาวัดได้ครับ
คงต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะราคาในตลาดกลาง เป็นมาตราฐานกระมังคะ เพราะถ้าเราขายแพงกว่าราคาในท้องตลาด ต่อไป ก็จะไม่มีใครมาซื้อกับเราอีก "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นานค่ะ"
ถึงเราจะมีทรัพย์สมบัติมากมาย ก็แค่ประโยชน์ชาติเดียว ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ดีแล้ว โจรก็ลักไปไม่ได้คือ บุญนิธิ หมายถึง การให้ทาน การรักษาศีลและการอบรมปัญญา เป็นบุญนิธิที่ติดตามไปในภพหน้าค่ะ
เรียนถามต่อนะครับ อย่างห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ราคาถูกกว่าท้องตลาด จะหมายความได้ไหมว่า เป็นคนซื่อ
คนขายมีกำไรเป็นเงินเดือน โปรดอย่าเฉือนลงมาก ... หากเมตตา
การที่เราทำการค้า โดยรู้ว่าเขาเป็นนักท่องเที่ยว ทำให้เราสามารถขายของได้ในราคาที่สูงกว่าคนในพื้นที่ วิธีการขายอย่างนี้ ในทางธรรม ผิดไหมค่ะ? จิตเป็นอะไรขณะนั้น ขณะที่คิด เพื่อเอารัดเอาเปรียบ จิตเป็นอย่างไร ดังนั้น การจะตัดสินสิ่งใด ผิดหรือถูก ขึ้นอยู่กับเจตนาที่ทำว่าด้วยกุศลหรืออกุศล ต้องเป็นผู้ตรง ตั้งแต่ชาตินี้ จะขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฎก พ่อค้าที่มีคุณธรรมเวลาเขาขายของ เขาขายอย่างไร ซึ่งตัวอย่างนี้ จะแสดงให้เห็นว่า การตั้งราคาสินค้าเอง (ขายแพง) ก็เหมือนการปลงชีวิตมนุษย์ คือเหมือนบังคับขูดรีด ซึ่งพระโพธิสัตว์ไม่ทำอย่างนั้น ลองอ่านดูนะ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... อปัณณกชาดก
เรียนถามต่อนะครับ อย่างห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ราคาถูกกว่าท้องตลาด จะหมายความได้ไหมว่า เป็นคนชื่อ? คำว่าคนซื่อคืออะไร คือไม่เป็นอกุศลนั่นเอง ตรง ดังนั้นขึ้นอยู่กับเจตนานั่นเองว่า เป็นไปในทางกุศลหรืออกุศล ห่วงคนอื่นที่ถูกกดราคาไหม หรือเพื่อตัวเอง ไม่สนใจคนอื่นว่า คนอื่นจะเดือดร้อนไหม ขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นสำคัญครับ
การทำการค้าขาย หรือธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกทุนนิยม เป้าหมายคือกำไรสูงสุด จนในที่สุด อาจได้อีกเหตุหนึ่งที่ตรงกับ คำกล่าวว่า อรหันต์ไม่สามารถครองตนในเพศคฤหัสน์ได้ (ถ้าผมเขียนหรืออธิบายผิด โปรดช่วยแก้ไขให้ด้วยนะครับ)
ผู้ซื้อ ขณะที่คิดจะซื้อ เมื่อพอใจซื้อราคาเท่าใหร่ สำคัญไหม? สำคัญที่ใจ (จิต) คิดแทนกันไม่ได้หรอกครับ ขณะจิตที่ซื้อ ขณะจิตที่ขาย ใครรู้? พอดี ใครรู้ ใครพอ? พอของใคร? ใจของใคร? กุศลและอกุศลอย่างไร? ผมเองก็ค้าขาย ลูกค้าหลายคนไม่สนใจเลยครับ เท่าใหร่ก็เท่านั้น ไม่ต่อราคา ดีจนเราลดให้เอง แม้กระนั้น ที่ลดราคาให้ ท่านยังเฉยๆ สำหรับผู้ที่คอยจะคิดแต่ว่า ขายของนี้ต้องได้กำไร (มากๆ ) อย่างที่เรียกว่า มองโลกในแง่ร้าย ก็จะแสดงอาการสารพัด ต่อราคาพูดจาหาเมตตากรุณาไม่ได้ เยอะไปครับ รู้ได้จริงๆ ว่า ใครมีความสะสมอย่างไร ตัวตน (ที่เห็นแก่ตน) มากน้อยแค่ไหน? ไม่คิด ไม่หวังหรอกครับ ทำหน้าที่ของเราให้สมควร ให้ถูกต้องเท่านั้น แล้วแต่กุศลและ อกุศลของใครเถิด ห้ามและหวังไม่ได้ทั้งนั้น
ขออธิบายความเพิ่มเติมนะครับ ตามที่ผมอ่านมา มีหลายกระดานนะครับ รวมทั้งกระดานนี้ด้วย ที่หลายๆ ท่านพยายามอธิบายด้วยหลักธรรม ปัญหาที่ผมไม่เข้าใจคือ ความไม่สอดคล้องกันระหว่าง โลกทุนนิยมกับหลักธรรม ปัญหาที่ว่าคือ ในโลกทุนนิยม กำไรสูงสุด คือจุดหมายของระบบนี้ แสดงว่า เราต้องไม่ทำการค้าขายหรือประกอบธุรกิจในแนวทางทุนนิยมนี้ใช่หรือไม่ เพราะถ้าเราตั้งเป้าหมายไว้ ตามความมุ่งหมายของระบบทุนนิยม เราจะมีอกุศลจิตทันที ผมขอตัวอย่าง ตุ๊กตาง่ายๆ นะครับประกอบเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน สมมติมีครอบครัวหนึ่ง ทำการค้าขอเพียงกำไร ๑ % ด้วยความไม่โลภ แต่ผู้อื่น ตั้งกำไรไว้ ๑๐ % เป็นขั้นต่ำใน ที่สุดครอบครัวนี้ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะไม่สามารถนำกำไร ๑ % ไปซื้อสินค้า และบริการอื่นได้อย่างพอเพียง ก็จำเป็นต้องเพิ่มกำไรเป็น ๑๐ % ตามผู้อื่น ที่จะนำส่วนต่างมาเลี้ยงชีพได้ แต่ปัญหาก็ยังไม่จบ เพราะผู้อื่นก็ยังไม่ยอมหยุด จะทำกำไร ให้สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ เสมือนหนึ่งว่า เมื่อสังคมเป็นเช่นนี้แล้วเราจะทำอย่างไร ครั้นจะตั้งกำไรให้สูงสุด ก็ดูเหมือน จิตเต็มไปด้วยความโลภ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เหตุการณ์คล้ายตุ๊กตา ที่ผมตั้งขึ้น กำลังดำเนินอยู่ ถ้าจะตั้งหัวข้อเรื่องใหม่ก็จะเป็นว่า เราจะประยุกต์ธรรมะ มาใช้ ในโลกทุนนิยมได้อย่างไร หรือจะทำอย่างไร ให้ธรรมะดำรงอยู่ได้ ในโลกทุนนิยม ผู้ที่ทำการค้า หรือประกอบธุรกิจในระบอบทุนนิยมก็จะต้องขยายตัวเองไป อย่างไม่สิ้นสุด ถ้าหากบริษัทเรา สามารถทำกำไรได้ ๑๐๐ ล้านบาท แต่เราไม่เอา เราบอกว่าปีนี้ ขอกำไรเพียง ๑ หมื่นบาท เอาไว้เผื่อฉุกเฉินก็พอแล้ว ในที่สุด เราก็ต้องเลิกกิจการ เพราะไม่สามารถแข่งขันได้ในโลกแห่งความเป็นจริงนี้แหละครับ ที่ผมบอกว่า ผมไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะโลกแห่งความเป็นจริง ช่างขัดแย้งกับโลกแห่งธรรมะ ที่เราต้องการอยู่ด้วยมากเสียเหลือเกิน สรุปว่าอยู่ยากครับ เว้นแต่เราจะต้องเข้าใจธรรมะให้พ้นไปจากเพียงแค่ ฟัง อ่าน หรือจำ ดูเหมือนเป็นธรรมะ ที่จะต้องปฏิบัติให้ได้จริง ในชีวิตประจำวัน ต้องพ้นไปจาก โลภ รัก เกลียด หลง จริงๆ ชึ่งเป็นปัญหา ที่ผมก็ถามตัวเองด้วยเหมือนกันว่า ทำได้มาก
น้อยแค่ใหน และเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องไปหาที่ใหน ปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา ทุกวัน และผูกพันธ์กับวิถีชีวิตเรา จนแทบแยกไม่ออก หวังว่า ท่านจะกรุณาอธิบายผมเพิ่มเติมนะครับ เพราะผมถือว่า ปัญหาอย่างนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องทางธรรมได้เช่นกัน แม้จะไม่มีภาษาบาลี หรือไม่ทราบพระไตรปิฏก
สวัสดีค่ะคุณchackapong
ดิฉันก็เป็นคนหนึ่ง ที่ทำธุรกิจนะคะ แต่ก่อนก็สงสัยนะว่า อาชีพที่ทำนี้เต็มไปด้วยความโลภทั้งนั้นเลย เพราะต้องคอยเอากำไร ตามหลักการตลาด ตลอดเวลา แต่จริงๆ แล้วตามปรกติ การค้าก็จำเป็นต้องเอากำไรอยู่ดี เพราะกำไรก็เป็นรายได้เลี้ยงชีพ และธรรมชาติของปุถุชน ก็ยังหาต้องเลี้ยงชีพอยู่ คือมีโลภะเป็นปรกติ เวลาตั้งกำไรขายของ บางทีถ้าขายถูกไป ก็ไปตัดราคาคนอื่น ทำให้คนอื่นขายไม่ได้ ของถูกๆ ใครๆ ก็ชอบ ขายออกไว หายากนะคะที่ว่า ขายถูกแล้วจะขายไม่ได้ แต่ถ้าถูกเกินไป คนก็อาจไม่เชื่อถือ เพราะคนที่คิดว่า ของดีต้องราคาแพง ก็มีมากในสังคม จะไม่กำไรเลยก็ไม่ได้ คิดเสียว่า เป็นค่าฝากซื้อก็แล้วกัน เพราะเราก็ต้องไปซื้อวัตถุดิบมาทำขาย ให้เขากินเขาใช้ ก็ขอค่าแรงบ้าง วิธีทำให้ยุติธรรม มันไม่มีสูตรตายตัวหรอกค่ะ เพราะว่า มันอยู่ที่ความพอใจ ความสบายใจของคนซื้อ เราเองก็ไม่ต้องวิตกให้เป็นอกุศลจิตหรอก เพียงแต่ก็อย่าขายแพงนัก ขณะที่คิด จะเอาให้มากๆ มันก็โลภะ จริงๆ มันก็ปกตินะคะที่จะมีโลภะ แต่ว่า ความพอดี เป็นเรื่องที่ควรควบคุม ซึ่งควบคุมยากมากๆ ต้องอบรมเพื่อละคลายโลภะบ่อยๆ เพราะว่า ถ้าเป็นโลภะ เท่าไหร่ก็ไม่พอจริงๆ
พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ดิฉันว่าท่านทรงสอนไว้ครอบคลุมหมดทุกเรื่อง แต่ว่ายาก ละเอียดลึกซึ้ง ยิ่งเรื่องการทำมาหากินก็เป็นอะไรที่ตามกระแสอยู่แล้ว พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เป็นการสวนกระแสโลก ดังนั้น ถ้าเรายังทวนกระแสไม่ได้ ก็ต้องคิดตามกระแสอยู่เรื่อยๆ ตามปกติของปุถุชนเลยน่ะค่ะ
ถ้าจะนำมาใช้ตามปรกติในชีวิตประจำวัน เวลาจะขายของ ได้เงินเขามาก็เหมือนลูกค้าเป็นนายจ้างเรา ก็ต้องทำให้ดีสมราคา ที่เขาจ่ายที่สุด เป็นการแลกเปลี่ยน กำไรมากน้อย อาจไม่สำคัญเลย ถ้าเราให้ลูกค้าเต็มที่ ทั้งบริการ คุณภาพ แพงเท่าไหร่ เขาก็ยอมจ่าย ก็คงจะไม่ใช่การเบียดเบียนลูกค้าหรอกค่ะ เพียงแต่เราต้องหาทาง เจริญกุศลทางการค้าไว้ด้วย เช่นแถมบ้าง ลดราคาบ้าง แจกบ้าง บริการเต็มที่บ้าง ฯลฯ คือ สละเพื่อคนอื่นบ้าง แม้จะเรียกว่าการค้า แต่ลูกค้าเขาก็มีความทุกข์กันทุกคนเหมือนกับเรานั่นแหละ ก็เหมือนเป็นเพื่อนกันทั้งนั้น
ทำแบบนี้ ก็เพื่อเป็น เมตตา กรุณา จาคะ บ้างก็ยังดีกว่าปล่อยให้เป็นโลภะตลอดเวลานะคะ
ขอขอบพระคุณครับ คุณวันชัย และคุณmedulla ที่กรุณาแสดงความเห็น สำหรับคำตอบ คุณวันชัย แสดงให้เห็นว่า เจตนาหรือที่ตั้งของจิต ในขณะนั้นๆ สำคัญที่สุด ส่วนคุณMedulla สรุปว่า ยังดีกว่าปล่อยให้เป็นโลภะอยู่ตลอดเวลา ผมเห็นด้วยครับ แต่ที่ผมมีข้อแย้งคือว่า หลายคำตอบดูเสมือนว่า แม้จะทำธุรกิจ ก็ต้องทำด้วยปราศจากความโลภใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งผมไม่เคยเห็น (อาจจะมีก็ได้ แต่ผมไม่เคยเห็น) และไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน ที่เราดำเนินอยู่ เพราะเรายังเป็นปุถุชน ยังมีกิเลสอยู่ ไม่มากก็น้อย ตามปกติ เรื่องราคาก็เช่นกัน ไม่เพียงแต่การตั้งราคาสูง จะแสดงให้เห็นถึงความโลภ แม้การตั้งราคาต่ำกว่า ก็เป็นกลยุทธ์อันหนึ่งเหมือนกันผลลัพธ์ที่ต้องการสุดท้าย ก็คือ กำไรสูงสุด เช่นเดียวกัน ราคาไม่ไช่ตัวกำหนดเพียงตัวเดียวผมต้องขอเรียนตามตรงนะครับว่า ผมใหม่ต่อที่นี้มาก ผมไม่เคยมาที่มูลนิธิฯ ด้วยช้ำ ดาวน์โหลดปรมัตถธรรมมาอ่าน ก็ยังอ่านไม่จบ มีผู้แสดงความเห็นว่า ผมไม่ควรก้าวกระโดดเหมือนกบ ผมรับฟังโดยตลอด ผมจึงมีคำถามพื้นฐาน เช่นนี้ เพื่อตรวจสอบ ความเข้าใจ ของทั้งตัวเอง และอาจมีผู้มาใหม่เช่นผม จะได้รับประโยชน์บ้าง ตามสมควร ผมไม่เคยนั่งสมาธิ ไม่เคยปฏิบัติธรรม แต่วิถีชีวิตประจำวันนี้แหละครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง หวังว่าจะได้รับคำตอบ ที่ตรงไปตรงมา เช่นเดียวกับความกรุณาจากท่านเช่นนี้อยู่เสมอ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ