๑๓. ปาฏลิยสูตร ว่าด้วยทรงรู้จักมายา
โดย บ้านธัมมะ  1 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 37547

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 234

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ว่าด้วยทรงรู้จักมายา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 234

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ว่าด้วยทรงรู้จักมายา

[๖๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อุตตรนิคมแห่งชาวโกฬิยะในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าปาฏลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงรู้จักมายา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงรู้จักมายา ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 235

ภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไรๆ คล้อยตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้แลหรือ เพราะว่าข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนนายคามณี ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงทราบมายา ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ย่อมไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไรๆ คล้อยตามวาทะ ย่อมไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

คา. ข่าวเล่าลือข้อนั้นจริงเทียวพระองค์ แต่พวกข้าพระองค์มิได้เชื่อถือสมณพราหมณ์พวกนั้นว่า พระสมณโคดมทรงรู้จักมายา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวว่า พระสมณโคดมมีมายา.

พ. ดูก่อนนายคามณี ผู้ใดแลพูดอย่างนี้ว่า เรารู้จักมายา ผู้นั้นย่อมจะพูดอย่างนี้ว่า เรามีมายา.

คา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นย่อมเป็นดังนั้นเทียว ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นย่อมเป็นดังนั้นเทียว.

พ. ดูก่อนนายคามณี ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึงแก้ตามที่ท่านชอบใจ.

[๖๕๐] ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านย่อมรู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะหรือ.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้จักพวกอำมาตย์มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ พระเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 236

พ. ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะมีประโยชน์อย่างไร.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะมีประโยชน์ดังนี้ คือ เพื่อป้องกันพวกโจรแห่งชาวโกฬิยะ เพื่อละความเป็นคนนำข่าวแห่งชาวโกฬิยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะมีประโยชน์อย่างนี้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านย่อมรู้จักอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวในนิคมแห่งชาวโกฬิยะว่า เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีล.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะว่าเป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทรามและพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งโกฬิยะ เป็นพวกหนึ่งในจำนวนบุคคลผู้ทุศีลมีธรรมเลวทรามในโลก.

พ. ดูก่อนนายคามณี ผู้ใดแลพึงพูดอย่างนี้ว่า นายบ้านนามว่าปาฏลิยะ รู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ ซึ่งเป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้นายบ้านปาฏลิยะก็เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ดังนี้ ผู้นั้นเมื่อพูดถึงพึงพูดถูกหรือหนอแล.

คา. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่ง ข้าพระองค์เป็นพวกหนึ่ง พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะเป็นคนมีธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์เป็นคนมีธรรมเป็นอย่างหนึ่ง.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 237

พ. ดูก่อนนายคามณี ก็ที่จริง ท่านจักไม่ได้เป็นดังนี้ว่า นายบ้านนามว่าปาฏลิยะ รู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ ซึ่งเป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่นายบ้านปาฏลิยะไม่ใช่เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ฉะนั้นตถาคตจักไม่ได้เป็นดังนี้ว่า ตถาคตรู้จักมายา แต่ว่าตถาคตไม่มีมายา.

[๖๕๑] ดูก่อนนายคามณี เรารู้ชัดทั้งมายา ผลของมายา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้มีมายาปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งปาณาติบาต ผลของปาณาติบาต และตลอดถึงความที่บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งอทินนาทาน ผลของอทินนาทาน และตลอดถึงความที่บุคคลผู้ลักทรัพย์ปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งกาเมสุมิจฉาจาร ผลของกาเมสุมิจฉาจาร และตลอดถึงความที่บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งมุสาวาท ผลของมุสาวาท และตลอดถึงความที่บุคคลผู้พูดเท็จปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งปิสุณาวาจา ผลของปิสุณาวาจา และตลอดถึงความที่บุคคลกล่าวคำส่อเสียดปฏิบัติอย่าไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งผรุสวาจา ผลของผรุสวาจา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้กล่าวคำหยาบปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้ง


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 238

สัมผัปปลาปะ ผลของสัมผัปปลาปะ และตลอดถึงความที่บุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งอภิชฌา ผลของอภิชฌา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้มีอภิชฌาปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งความพยาบาท ประทุษร้ายเขา ผลของความ พยาบาทประทุษร้ายเขา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้มีจิตพยาบาทปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งมิจฉาทิฏฐิ ผลของมิจฉาทิฏฐิ และตลอดถึงความที่บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

[๖๕๒] ดูก่อนนายคามณี มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคลผู้ลักทรัพย์ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามคุณทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคลผู้พูดเท็จทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน.

[๖๕๓] ดูก่อนนายคามณี ก็และบุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผมและหนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผมและหนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 239

ชนทั้งหลายได้พูดถึงชายคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ข่มข้าศึกของพระราชาแล้วฆ่ามันเสีย พระราชาทรงโสมนัส ได้ทรงพระราชทานรางวัล ฉะนั้น ชายคนนี้จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผมและหนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูก่อนนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวแน่นมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้วโกนศีรษะเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไรไว้ จึงถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวแม่นมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้วโกนศีรษะเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พูดถึงชายคนนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ฆ่าบุรุษหรือสตรีที่มีเวรกับพระราชา ฉะนั้น พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดังนี้ ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหม.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย.

[๖๕๔] พ. ดูก่อนนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 240

คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า.

พ. ก็พวกที่กล่าวเท็จเปล่าๆ นั้น เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีลเล่า.

คา. เป็นคนทุศีล พระเจ้าข้า.

พ. ก็พวกที่เป็นคนทุศีลมีธรรมเลวทรามนั้น เป็นคนปฏิบัติผิด หรือเป็นคนปฏิบัติชอบเล่า.

คา. เป็นคนปฏิบัติผิด พระเจ้าข้า.

พ. ก็พวกที่ปฏิบัติผิดนั้น เป็นคนมีความเห็นผิดหรือเป็นคนมีความเห็นชอบเล่า.

คา. เป็นคนมีความเห็นผิด พระเจ้าข้า.

พ. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น.

ค. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า.

[๖๕๕] พ. ดูก่อนนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงชายคนนี้อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ข่มขี่ ลักเอาทรัพย์ของข้าศึกของพระราชา พระราชาทรงโสมนัสได้พระราชทานรางวัลแก่เขา ฉะนั้น ชายคนนี้จึงประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูก่อนนายคามณี บุคคลบางคน


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 241

ในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว ฯลฯ ตัดศีรษะทางด้านทิศทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนเอามือไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว ฯลฯ ตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งแห่งโจรกรรม จากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง ฉะนั้น พระราชาจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย.

[๖๕๖] พ. ดูก่อนนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ลักทรัพย์ทุกคนต้องเสวยทุกขโทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ.

คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น.

คา. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า.

[๖๕๗] ดูก่อนนายคามณี ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 242

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ประพฤติผิดในภรรยาของข้าศึกของพระราชา พระราชาทรงโสมนัสได้พระราชทานรางวัลแก่เขา เพราะเหตุนั้น ชายคนนี้จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูก่อนนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคง ฯลฯ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้กระทำอะไรไว้จึงถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคง ฯลฯ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทิศทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายพากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ประพฤติผิดในกุลสตรีในกุลธิดา ฉะนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขา แล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย.

[๖๕๘] พ. ดูก่อนนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามคุณทุกคนต้องเสวยทุกขโทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 243

คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น.

คา. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า.

[๖๕๙] พ. ดูก่อนนายคามณี ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผมและหนวด แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผมและหนวด แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ทำพระราชาให้ทรงพระสรวลได้ด้วยการพูดเท็จ พระราชาทรงโสมนัสได้พระราชทานรางวัลแก่เขา ฉะนั้นชายคนนั้นจึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผมและหนวด แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูก่อนนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้วโกนหัวเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอกด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงถูกเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้วโกนหัวเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอกด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะ


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 244

เสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ทำลายประโยชน์ของคฤหบดีบ้าง ของบุตรแห่งคฤหบดีบ้าง ด้วยการพูดเท็จ ฉะนั้น พระราชาจึงรับสั่งให้จับเขา แล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย.

[๖๖๐] พ. ดูก่อนนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้พูดเท็จทุกคนต้องเสวยทุกข์และโทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ.

คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า.

พ. ก็พวกที่กล่าวเท็จเปล่าๆ นั้น เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีลเล่า.

คา. เป็นคนทุศีล พระเจ้าข้า.

พ. ก็พวกที่เป็นคนทุศีลมีธรรมอันเลวทรามนั้น เป็นคนปฏิบัติผิดหรือเป็นคนปฏิบัติชอบเล่า.

คา. เป็นคนปฏิบัติผิด พระเจ้าข้า.

พ. ก็พวกที่ปฏิบัติผิดนั้น เป็นคนมีความเห็นผิดหรือเป็นคนมีความเห็นชอบเล่า.

คา. เป็นคนมีความเห็นผิด พระเจ้าข้า.

พ. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 245

คา. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา ข้าพระองค์มีเรือนพักอยู่หลังหนึ่ง ในเรือนนั้นมีเตียงนอน มีที่นั่ง มีหม้อน้ำ มีประทีปน้ำมัน ข้าพระองค์จะแจกจ่ายแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้เข้าไปอยู่ในเรือนพักนั้นตามสติกำลัง.

ว่าด้วยวาทะของศาสดา ๔ ท่าน

[๖๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดา ๔ ท่านชึ่งมีความเห็น มีความพอใจ มีความชอบใจต่างๆ กัน พากันเข้าไปอยู่ในเรือนพักนั้น ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำให้โลกนี้และโลกหน้าแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก.

[๖๖๒] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานมีผล การบูชามีผล การเช่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก.

[๖๖๓] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 246

ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่เชื่อว่าบาป หากแม้น ผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา.

[๖๖๔] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้เขาดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 247

ย่อมมีแก่เขา มีบาปถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้น เป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขาด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความสงสัยสนเท่ห์ว่า บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านี้ ใครหนอพูดจริง ใครหนอพูดเท็จ.

พ. ดูก่อนนายคามณี ก็ควรแล้วที่ท่านจะสงสัย ควรแล้วที่ท่านจะสนเท่ห์ ก็และความสนเท่ห์ของท่านเกิดแล้วในฐานะที่น่าสงสัย.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าสามารถแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยที่ข้าพระองค์พึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๖๕] พ. ดูก่อนนายคามณี ธรรมสมาธิมีอยู่ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ดูก่อนนายคามณี ก็ธรรมสมาธิเป็นไฉน. ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นปาณาติบาต เป็นผู้ละอทินนาทาน งดเว้นอทินนาทาน เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้ละมุสาวาท งดเว้นมุสาวาท


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 248

เป็นผู้ละปิสุณาวาจา งดเว้นปิสุณาวาจา เป็นผู้ละผรุสวาจา งดเว้นผรุสวาจา เป็นผู้ละสัมผัปปลาปะ งดเว้นสัมผัปปลาปะ เป็นผู้ละอภิชฌา ไม่มากด้วยอภิชฌา เป็นผู้ละความพยาบาทประทุษร้าย มีจิตไม่พยาบาท เป็นผู้ละความเห็นผิด มีความเห็นชอบ.

[๖๖๖] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 249

เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๖๗] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระ อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานมีผล การบูชามีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามมีอยู่ในโลก ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดาผู้นั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้ เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใคร คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แล ธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 250

[๖๖๘] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในที่เปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่า ไม่ทำบาป หากแม้นผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในพื้นปฐพีนี้ ให้เป็นลาน ให้เป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เรา จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอา


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 251

ชัยชนะในข้อนี้ เพราะว่าเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้นพึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๖๙] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ด้วยการ


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 252

ให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๗๐] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... มีใจประกอบด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวง


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 253

ไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรม สมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๗๑] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานมีผล การบูชามีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลกดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 254

ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนั้น เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๗๒] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ชี้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพี ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 255

ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ถ้าถ้อยคำของศาสดาผู้นั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เมื่อมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งมั่นอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๗๓] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่าเมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้า


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 256

โศก ทำเขาให้ลำบากเองใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคล จะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เรา จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้ เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือมั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แล ธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 257

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าปาฏลิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักแลเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต.

จบ ปาฏลิยสูตรที่ ๑๓

จบ คามณิสังยุต

อรรถกถาปาฏลิยสูตรที่ ๑๓

ในปาฏลิยสูตรที่ ๑๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทูเตยฺยานิ แปลว่า งานทูต เป็นหนังสือก็มี เป็นข่าวสาส์นจากปากก็มี. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภคำนี้ว่า ปาณาติปาตญฺจาหํ ดังนี้. ทรงปรารภเพื่อแสดงความเป็นพระสัพพัญญูว่า เรามิได้รู้มายาอย่างเดียว แม้เรื่องอื่นๆ เราก็รู้อย่างนี้ๆ. ทรงปรารภคำนี้ว่า สนฺติ หิ คามณิ เอเก สมณพฺราหฺมณา ดังนี้ เพื่อทรงแสดง


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 258

ลัทธิของสมณพราหมณ์ที่เหลือ แล้วให้ละลัทธินั้นเสีย. บทว่า มาลี กุณฺฑลี ความว่า ประดับดอกไม้ด้วยพวงดอกไม้ ใส่ตุ้มหูด้วยตุ้มหูทั้งหลาย. บทว่า อิตฺถีกาเมหิ ความว่า ความใคร่กับหญิงทั้งหลาย ชื่ออิตถีกาม (ให้บำเรอตน) ด้วยอิตถีกามเหล่านั้น. บทว่า อาวสถาคารํ ได้แก่ห้องนอนที่ทำไว้ในที่แห่งหนึ่งของเรือนตระกูล เพื่ออยู่สบายสำหรับคนเดียวเท่านั้น. บทว่า เตนาหํ ยถาสตฺติ ยถาพลํ สมฺภชามิ ความว่า ข้าพระองค์จะแจกจ่ายห้องนอนนั้น โดยสมควรแก่สติและโดยสมควรแก่กำลัง. บทว่า อลํ แปลว่า ควร. บทว่า กงฺขนิเย าเน ได้แก่ในเหตุที่น่าสงสัย.

ด้วยบทว่า จิตฺตสมาธึ ทรงแสดงว่า ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้นแล้ว พึงกลับได้จิตตสมาธิ ด้วยอำนาจมรรค ๔ พร้อมกับวิปัสสนา. บทว่า อปณฺณกตาย มยฺหํ ความว่า ปฏิปทานี้ย่อมเป็นไปอย่างนี้ เพราะเราเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด คือไม่มีความผิด. บทว่า กฏคฺคาโห แปลว่า ถือเอาชัยชนะ. บทว่า ธมฺมสมาธิ ในคำว่า อยํโข คามณิ ธมฺมสมาธิ ตตฺร เจ ตฺวํ จิตฺตสมาธึ ปฏิลเภยฺยาสิ นี้ ได้แก่กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า จิตฺตสมาธิ ได้แก่มรรค ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนา. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปามุชฺชํ ชายติ ความว่า ธรรม ๕ กล่าวคือความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิ ที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ ดังนี้ ชื่อ ธรรมสมาธิ. ส่วนมรรค ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนา ชื่อ จิตตสมาธิ. อีกอย่างหนึ่ง กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อ จิตตสมาธิ. ข้อว่า พรหมวิหาร ๔ นี้


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 259

ชื่อธรรมสมาธิ ความที่จิตแน่วแน่ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้บำเพ็ญธรรมสมาธินั้น ชื่อจิตตสมาธิ. บทว่า เอวํ ตฺวํ อิมํ กงฺขาธมฺมํ ปชเหยฺยาสิ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธิมีประเภทดังกล่าวแล้วนี้ พึงกลับได้จิตตสมาธิอย่างนี้ พึงละความสงสัยนี้ได้โดยส่วนเดียว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเทียวแล.

จบ อรรถกถาปาฏลิยสูตรที่ ๑๓

จบ อรรถกถาคามณิสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จันทสูตร

๒. ตาลปุตตสูตร

๓. โยธาชีวสูตร

๔. หัตถาโรหสูตร

๕. อัสสาโรหสูตร

๖. ภูมกสูตร

๗. เทศนาสูตร

๘. อสังขาสูตร

๙. กุลสูตร

๑๐. มณิจูฬสูตร

๑๑. คันธภกสูตร

๑๒. ราสิยสูตร

๑๓. ปาฏลิยสูตร.