ได้ไปทำบุญที่วัดต่างจังหวัดช่วงหยุดสงกรานต์ มีพระที่วัดทำพิธีทำบุญสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตาให้ญาติโยมที่ไปทำบุญที่วัดนั้น แบบนี้ถือว่าผิดหลักธรรมวินัยทางพระหรือไม่
กิจของสงฆ์มีเพียง 2 อย่าง คือการศึกษาพระธรรมวินัย และการอบรมเจริญวิปัสสนาค่ะ นอกจากนี้แล้วไม่ใช่กิจของสงฆ์ค่ะ ถ้าพระภิกษุรูปใดดูดวง ต่อชะตา ผิดพระวินัยค่ะ
ขอย้อนถามกลับนะคะ
การสะเดาะห์เคราะห์นั้น ผิดหรือถูกอย่างไร
การต่อชะตา เป็นไปได้หรือไม่
เห็นด้วยกับคุณวรรณี
คำถามของป้าจาย น่าคิด
ขออนุโมทนาครับ
ความเชื่อในเรื่องของเคราะห์ เป็นของศาสนาพราหมณ์ เชื่อว่ามีเคราะห์แล้วก็ ลอยเคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์ได้
แต่ในหลักของพระพุทธศาสนา พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงเรื่องของ กรรม กุศลกรรม และ อกุศลกรรม กุศลวิบาก และ อกุศลวิบาก
ภิกษุผู้บวชแล้วในพระพุทธศาสนา ต้องมั่นคงใน กมฺมสฺสกตญาณ
ภิกษุทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตาให้ญาติโยม คุณoom คิดว่าอย่างไร?
สำหรับตัวเอง คิดว่าพระท่านคงมีเมตตาต่อญาติโยม ที่มาทำบุญที่วัด ก็ปราถนาดีอยากให้ญาติโยมมีความสุขในช่วงปีใหม่ไทย จึงทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาให้ ซึ่งญาติโยมก็จะมีความเชื่อว่า ได้ทำบุญ สะเดาะเคราห์ ต่อชะตาแล้ว ชีวิตก็จะอยู่ดีมีสุขตลอดไป
ถ้าตามหลักจิตวิทยา ความเชื่อ เป็นพลังอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้คนเราสามารถต่อสู้หรือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้มากมาย เหมือนเช่น ดิฉันก็มีความเชื่อในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ดิฉันก็ปฏิบัติตามหลักคำสอนต่างๆ
กรณีเช่นนี้ พระท่านอาจจะผิดทางวินัย ที่ทำผิดหน้าที่ ผิดหรือถูกก็คงอยู่ที่เจตนาของผู้ให้และผู้รับ ถ้าสิ่งที่ทำนั้น มีผลทำให้คนมีความสุข ก็คงไม่เป็นไร
เราต้องแยก ความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฎฐิ ออกจาก ความเห็นถูก หรือ สัมมาทิฎฐิ ยิ่งถ้าเรามีมุมมองของศาสนาพุทธเป็นหลัก ยิ่งสำคัญมากค่ะ คิดว่า คุณเจ้าของกระทู้คงต้องตั้งหลักศึกษาเรื่องนี้ใหม่แล้วค่ะ ชีวิตจะอยู่ดีมีสุข ขึ้นกับผลแห่งกรรม และการกระทำความดี หรือ การทำกุศลกรรม พิธีต่อชะตา สืบชะตา หรือ สะเดาะเคราะห์เป็นพิธีกรรม ที่มีพื้นฐานความเชื่อว่า เราแก้ไขกรรมได้ เราทำพิธีกรรมอย่างนี้ แล้วเราจะอยู่ดีมีสุข จิตและเจตสิก ที่ทำกรรมเป็นกุศล จะให้ผล เป็นจิตและเจตสิก ที่เป็นกุศลวิบากเท่านั้นค่ะ จิตและเจตสิกที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ไม่อาจให้ผลเป็นกุศลวิบากได้เลย ป้าไม่ได้ต่อต้านหรือปฏิเสธพิธีกรรมธรรมเนียม ประเพณี หรือหลักจิตวิทยา แต่ป้ามีหลักของพระสัทธรรม ที่มั่นคงในเรื่องกรรม จึงไม่ประพฤติในทางสีลพรตปรมาสใดๆ เช่น เปลี่ยนชื่อ เชื่อถือวัตถุมงคล ต้นไม้ จะดลบันดาล ไม่เชื่อเรื่องจิ้งจกทัก หรือคำทักทายที่ไร้เหตุผลมาสนับสนุน เช่น เขาว่ากันว่า อย่างนี้ เป็นต้น......
เคยฟังพระสูตรหนึ่งหรือเปล่าคะ ที่นักแสดงฟ้อนรำ คิดว่า ตัวเองจะได้ไปสวรรค์ เพราะการแสดงที่ทำให้ผู้คนมีความสุข แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ
ผมได้ฟังจากคำบรรยายจากท่าน อ. สุจินต์ว่า พระรูปหนึ่ง ท่านประพรมน้ำมนต์แก่ผู้ที่มาวัดที่ท่านอยู่ แต่ท่านเป็นผู้ที่มีความเห็นถูก ท่านบอกว่า...ท่านกระทำลงไปด้วยคิดในใจว่า " หากกุศลกรรมของผู้นั้นจักให้ผลดีแก่เขา เขาก็จักได้รับผลดีนั้นแต่หากกุศลกรรมของผู้นั้นจักยังไม่ให้ผลดีแก่เขา เขาก็จักไม่ได้รับผลดีนั้น " คือเราถูก สอนให้ขอมานาน อะไรๆ ก็ขอ ขอจนเป็นประเพณี ทุกวันนี้ ชาวบ้านก็ยังนิยมไปขอจากพระ ซึ่งถ้าหากพระท่านมีความเห็นถูก ท่านก็อาจจะกระทำได้ในบางพิธีกรรมที่จะไม่ส่งเสริมให้ชาวบ้านเกิดความเห็นผิด แม้ว่าชาวบ้านอาจจะไม่อยากเข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรม และอาจจะคิดว่าที่พระท่านทำอย่างนี้ก็เป็นชื่อพิธีกรรมตามความเชื่อของเขาอย่างนั้น ซึ่งก็เป็นไปตามการสะสมของเขา ห้ามไม่ได้ แต่สำหรับชาวบ้านที่พอจะมีโอกาสศึกษาพระธรรมอย่างเรา ในกาลวิบัตินี้ จะหาที่พึ่งจากพระท่านฝ่ายเดียวคงลำบาก เราจึงควรศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องก่อนที่จะไปทำอะไรก็ตามที่เรายังไม่แน่ใจ ต้องคิดพิจารณาเหตุผลให้ละเอียด รอบคอบ จะได้รู้ทันสิ่งที่ชาวโลกกระทำตามประเพณีนิยมว่าเป็นความเห็นถูก หรือความเห็นผิด ถ้าขาดปัญญาแล้ว บอกได้คำเดียว "อันตรายจากความไม่รู้" มีแน่นอนครับ
สำหรับตัวเอง ก็ไม่เห็นด้วยในเรื่องการสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตาพวกนี้ แต่ก็คงไม่สามารถตัดสินใครได้ เหมือนวันที่ไปทำบุญสงกรานต์ น้องก็ชวนให้อยู่ร่วมพิธีด้วยเหมือนกัน แต่ดิฉันไม่ได้อยู่ด้วย เพราะคิดว่าไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ก็คงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล คงยากที่ทำให้ทุกคนเข้าใจ เพราะแต่ละคนสะสมเหตุมาต่างกัน
ความไม่รู้เป็นมูลรากของอกุศลทั้งปวง ผู้ที่ทำอกุศลหรือภิกษุที่ประพฤติผิดพระธรรมวินัยจะอ้างความไม่รู้เป็นเหตุบรรเทาผลร้ายที่จะตามมาไม่ได้ ดังนั้น ผู้ฉลาดควรศึกษาให้รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร และเมื่อรู้แล้วก็ควรปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมครับ
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นด้วย ผิดถูกกรุณาช่วยแนะนำด้วย ผมเห็นว่าถ้าเป็นพระในพุทธศาสนาไม่ควรกระทำเลย ท่านน่าจะมีทางออกดีกว่านี้ครับ เพราะเป็นการผิดพระธรรมวินัย ผมเคยเห็นคนใส่บาตรด้วยเงินกับพระรูปหนี่ง พระท่านก็รับเงินจากโยมแล้ว พระท่านก็สนทนากับโยมที่ใส่บาตรด้วยเงินว่า ด้วยกุศลเจตนาของโยม บุญกุศลได้เกิดขึ้นแล้ว อาตมาก็รับไว้ เงินนี้ก็เป็นของอาตมาแล้วใช่ไหม แต่เนื่องด้วยอาตมามีเงินไม่ได้ผิดพระธรรมวินัย ดังนั้น วันนี้อาตมาขอคืนเงินนี้เพื่อเป็นขวัญถุงให้แก่โยมนะ
เจริญธรรม
กรณีถ้าญาติโยมมีความต้องการที่จะให้พระท่านทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตาให้ พระท่านก็รู้ว่าผิดวินัย แต่ทำให้ด้วยความเมตตา และถือว่าช่วยสงเคราะห์ผู้ที่ต้องการความสุขทางใจ พระท่านควรจะทำหรือไม่ หรือว่าต้องสอนญาติโยมให้เข้าใจในสิ่งที่ถูก โดยที่ไม่ปล่อยให้เขาหลงงมงายในสิ่งเหล่านี้ กรณีที่พระท่านทำให้เพราะมีเมตตา แบบนี้ถือเป็นเมตตาได้หรือไม่ เพราะไม่ถูกต้องตามคำสอน
กุศลจิตกับอกุศลจิตเกิดดับสลับกันเร็วมาก มีความหวังดีก็จริง แต่ขณะที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูก เช่น สะเดาะห์เคราะห์ เป็นอกุศล เปรียบเหมือน คนที่เขาทรมานใกล้ตาย สงสารเขาอยากให้เขาพ้นจากความทุกข์ ขณะสงสารเป็นจิตขณะหนึ่ง แต่ฆ่าเขาเพื่อให้เขาพ้นจากทุกข์ก็จิตอีกขณะหนึ่งครับ ดังนั้นพระจึงมีกิจสองอย่างเท่านั้นคือ วิปัสสนาธุระและคันธะธุระ (ศึกษาพระธรรม) ขออนุโมทนา
สาธุค่ะ สรุปการทำกุศล และอกุศลนั้น เป็นของคู่กันตลอดเวลา อยู่ที่ว่าจะเกิดอะไรมากกว่ากัน และมีปัญญาหรือไม่ ถ้าปัญญาเกิด อกุศลก็ไม่เกิด
จริงหรือคะ เพราะเคยฟังธรรมที่อจ.สุจินต์ สอนว่า กุศลจะเกิดโดยไม่มีปัญญาไม่ได้ กุศลจะเกิดได้ ต้องมีปัญญาเท่านั้น หรือว่าดิฉันเข้าใจผิด กุศลก็เกิดได้โดยไม่มีปัญญา
ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นอาจจะมีปัญญาหรือไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ได้ครับ
ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นแต่ละครั้ง จะมีปัญญาหรือไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยนั้น เป็นเรื่องที่รู้ได้ยาก ต้องเป็นปัญญาของบุคคลคนนั้นถึงจะรู้ได้ ตัวอย่างของกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา เช่น การให้ทานโดยมีความเชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรม เป็นต้น ที่เป็นเหตุผลตามความเป็นจริงชื่อว่า ใช้ทานประกอบด้วยปัญญา (เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา) ขณะที่ให้ทาน ขณะนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์บุคคลใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้นเป็นไปในทาน มีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อการที่จะเป็นผู้ตระหนี่ ครับ
ผู้ที่เป็นพุทธบริษัท ย่อมไม่เชื่อในมงคลตื่นข่าว แต่เป็นผู้มีความมั่นคงที่จะรู้ว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตนเอง มีใครบ้างที่เกิดมาแล้ว ไม่สุข ไม่ทุกข์ (แต่มีทั้งสุขทั้งทุกข์) ไม่ใช่เพราะคนอื่นทำ แต่เป็นผลของกรรม ครับ
เมื่อได้ศึกษาพระธรรม เห็นประโยชน์ของพระธรรม เห็นคุณค่าของกุศลธรรม ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายดีแล้ว ก็ควรที่จะได้สั่งสมเหตุที่ดีต่อไป ครับ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 18 โดย oom
จริงหรือค่ะ เพราะเคยฟังธรรมที่อจ.สุจินต์ สอนว่า กุศลจะเกิดโดยไม่มีปัญญาไม่ได้ กุศลจะเกิดได้ ต้องมีปัญญาเท่านั้น หรือว่าดิฉันเข้าใจผิด กุศลก็เกิดได้โดยไม่มีปัญญา
ปัญญาคือความเห็นถูก ซึ่งปัญญาก็มีหลายระดับครับ เช่นเห็นถูกว่ากรรมมี ผลของกรรมมี เป็นต้น ขณะที่คิดช่วยเหลือใคร เช่น หิ้วของ ขณะนั้นอาจไม่ได้คิดว่ากรรมนี้ทำแล้วมีผล แต่ก็คิดจะช่วยเท่านั้นจึงไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ครับ ดังนั้นจึงต้องเข้าใจคำว่าปัญญาในพระพุทธศาสนาให้ถูกต้องว่าคืออะไร ดังเช่นคุณ khampan.a ได้อธิบายเรื่องของทาน เอาไว้ครับว่ามีปัญญาก็ได้ ไม่มีปัญญาก็ได้ครับ
ขออนุโมทนา
ต้องขอโทษด้วยค่ะ ถ้าดิฉันเข้าใจผิด ว่าฟังมาจากท่านอจ.สุจินต์ และต้องขอบคุณมากค่ะ ที่ทำให้เข้าใจได้ถูกต้องมากขึ้น กรณีที่เราช่วยคนอื่นถือของนั้น ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญา ถือเป็นเมตตาได้หรือไม่
ถ้าใจเราช่วยสงเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
ขณะที่ปราถนาดี ช่วยคนอื่นถือของเป็นเมตตาค่ะ
การทำบุญ ทำทาน แล้วหวังผลในวัฎฎะ หรือ การทำบุญนอกพระศาสนา เป็นตัวอย่างของกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะปัญญา คือ หนทางออกจากวัฏฏะค่ะ