ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นเรื่องซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปัญญาที่จะต้องอบรม ต้องมีตั้งแต่ความเข้าใจที่ถูกต้องในขั้นต้น ถ้าความเข้าใจในขั้นต้นไม่มี ปัญญาก็เจริญไม่ได้แล้วก็ได้สนทนาธรรมกับท่านผู้ฟังอีกท่านหนึ่ง ท่านก็บอกว่า เรื่องของการเจริญกุศลเป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ เพราะว่าแต่ละท่านก็มีฉันทะ มีอัธยาศัย มีการสะสมไม่เหมือนกัน บางคนก็ฟังพระธรรม แล้วพอใจที่จะเกิดสัทธา ในการที่จะกระทำกรรมดี แต่ไม่อยากที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ดับกิเลส รู้สึกว่าเป็นสี่งที่ฝืนใจ ที่จะดับกิเลส ที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะฉะนั้นก็เพียงแต่ต้องการที่จะมีชีวิตที่ดำเนินไป เป็นคนดีในวันหนึ่งๆ
นี่่ก็แสดงให้เห็นถึง โยนิโสมนสิการของแต่ละท่าน ซึ่งฟังพระธรรมด้วยกัน แต่มีการพิจารณาธรรม มีสัทธาต่างๆ กัน แต่ละท่านต้องยอมรับตามความเป็นจริง ถ้าท่านยังเป็นเพียงขั้นที่ฟังพระธรรมแล้วเกิดสัทธาที่จะเป็นคนดี แล้วยังไกลนัก ต่อการที่จะดับกิเลส เพราะว่ายังไม่ถึงขั้นที่จะดับกิเลส หรือว่าจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ก็เป็นความจริงเพราะว่าแต่ละท่านไม่เหมือนกัน
ด้วยเหตุนี้เมื่่อได้ฟังพระธรรมแล้ว กุศลสัทธาของแต่ละท่าน จะเป็นระดับใด ก็จะเห็นได้ว่า จะต้องเป็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น แต่ก็จะต้องฟังพระธรรมต่อไปอีก ไม่ใช่ให้หยุดเพียงขั้นเป็นคนดี และไม่สนใจที่จะละคลายกิเลสมากกว่านั้น
ด้วยเหตุนี้ทุกท่านจึงต้องเป็นผู้ที่ฟังอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้เห็นประโยชน์ของพระธรรมจริงๆ แล้วก็ค่อยๆ มีสัทธาที่จะละคลายกิเลสเพี่มขึ้น ชีวิตของแต่ละท่านซึ่งดำรงอยู่ และดำเนินไปในวันหนึ่งๆ นั้น คือ "ศีล" เพระว่าศีลคือ การกระทำางกายทางวาจา ซึ่งมีทั้ง อกุศลศีล กุศลศีล และ อัพยากตศีล ถ้ากายวาจาเป็นไปทางฝ่ายอกุศลเป็นปกติ ก็เป็นอกุศลศีล ขณะใดที่กายวาจาเป็นไปทางฝ่ายกุศลเป็นปกติเหมือนกัน ก็เป็นกุศลศีล สำหรับ อัพยากตศีล ก็สำหรับผู้ดับกิเลสหมด เพราะฉะนั้นเรื่องศีล ซึ่งเป็นเรื่องของการกระทำ ทางกาย ทางวาจา ย่อมเป็นการวัดกำลังของกิเลส ปกติทุกคนมี โลภะ โทสะ โมหะ มีความขุ่นเคิองใจ แต่ถ้าล่วงศีลเมื่อไร เมื่อนั้นก็แสดงให้เห็นถึง กำลังของอกุศลว่ามีมาก ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมทั้งหมดเพื่อที่จะให้พุทธบริษัท มีความประพฤติดี ให้กุศลจิตเกิดทุกระดับ ตั้งแต่ขั้นต้นในชีวิตประจำวัน จนกว่าจะถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม
แต่ถ้าบางท่านละเลยการที่จะขัดเกลาอกุศลในเบื้องต้น มุ่งหน้าที่จะไปสู่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมอย่างเดียว ย่อมเป็นผู้ที่ประมาท เพราะว่าในขั้นต้น เบื้องต้นยังเป็นคนดีไม่ได้ แล้วจะรู้แจ้งอริสัจจธรรมได้ อย่างไร และสำหรับการเป็นคนดี ทุกท่านที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล ยังไม่ดีพอ เพราะความดีของท่านนั้นยังเสื่อมได้ ยังสามารถที่จะล่วงศืล เมื่อพร้อมด้วยเหตุปัจจัย แต่สำหรับผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลยั้น ความหมายของ "อริยะ" คือ เป็นผู้ที่ไม่เสื่อม เพราะฉะนั้นก็ได้อบรมเจริญคุณความดี จนถึงระดับขั้นที่ไม่เสื่อม ไม่ทำให้เกิดในอบายภูมิ ซึ่งการที่จะอบรมเจริญกุศล จนกระทั่งรู้อริยสัจจธรรมก็จะต้อง อาศัย "สัจจะ"ความจริงใจในการที่จะเป็นผู้ที่ประพฤติดี เป็นคนดี แล้วก็ขัดเกลากิเลส โดยที่ไม่หวังสี่งใดตอบแทน นอกจากการที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม ตามความเป็นจริง
สำหรับชีวิตประจำวันของทุกท่านนี้ บางท่านอาจไม่ได้สังเกตโดยละเอียดว่า ความประพฤติของคนที่ดีโดยละเอียดนั้นเป็นอย่างไร แต่ถ้าจะศึกษาความประพฤติของพระโพธิสัตว์ เป็นแบบอย่างของความประพฤติที่ดี ก่อนที่พระองค์จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะได้ประพฤติตามแบบอย่าง ชีวิตของพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีความละเอียดในเรื่องของความดี
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณหมอ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
"...ต้องเป็นผู้ที่ฟังอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้เห็นประโยชน์ของพระธรรมจริงๆ แล้วก็ค่อยๆ มีสัทธาที่จะละคลายกิเลสเพี่มขึ้น.."
"...การที่จะอบรมเจริญกุศลจนกระทั่งรู้อริยสัจจธรรม ก็จะต้องอาศัย "สัจจะ" ความจริงใจในการที่จะเป็นผู้ที่ประพฤติดี เป็นคนดี แล้วก็ขัดเกลากิเลส โดยที่ไม่หวังสี่งใดตอบแทน นอกจากการที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม ตามความเป็นจริง..."
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ คุณ คำปั่น และทุกท่านมาก ขออนุโมทนาทุกท่านครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ