ผู้มัวคำนึงถึงผัสสะอยู่อย่างนั้น
โดย Graabphra  1 ก.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 19626

1 ผู้มัวคำนึงถึงผัสสะอยู่อย่างนั้น หมายความว่าอย่างไรครับ ผมเข้าใจว่าเป็นคำ

เปรียบเทียบที่กว้างขวางมากใช่ไหมครับ

2 ผู้ที่ไม่คำนึงถึงผัสสะคือผู้ที่ไกล้นิพานใช่ไหมครับ

3 ผู้มัวคำนึงถึงผัสสะอยู่อย่างนั้น เจาะจงหมายถึงตอนที่กิเลสเกิดกับจิตที่รับรู้อารมณ์

ทางผัสสเจตสิก สำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรม ใช่ไหมครับ

4 ในชีวิตประจำวันคนเราส่วนใหญ่ กิเลสเกิดทางความคิดใช่ไหมครับ

หากผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปก็ขออภัยด้วยครับ

ขออนุโมทนาที่เสียสละเวลาครับ

ขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงแด่ทุกท่านที่มีส่วนในการทำงานในเว็บไซต์

เพื่อศึกษาและเผยแพร่พระธรรมครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 1 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย1 ผู้มัวคำนึงถึงผัสสะอยู่อย่างนั้น หมายความว่าอย่างไรครับ ผมเข้าใจว่าเป็นคำ

เปรียบเทียบที่กว้างขวางมากใช่ไหมครับ

ผู้มัวคำนึงถึงผัสสะ ความหมายคือ เมื่อมีการกระทบสัมผัส หรือว่า เมือเห็น ได้ยิน ได้

กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสแล้ว คำนึงด้วยความไม่แยบคาย คือ เห็นว่างาม เป็นสุข เกิด

เลส คำนึงด้วยความติดข้องที่เป็นโลภะนั่นเองครับในสิ่งที่สัมผัส ในรูป เสียง กลิ่น รส

เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นผู้มัวคำนึงด้วยอำนาจกิเลส มีโลภะ เป็นต้นในอารมณ์ที่ปรากฎใน

ชีวิตประจำวันครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

2 ผู้ที่ไม่คำนึงถึงผัสสะคือผู้ที่ไกล้นิพานใช่ไหมครับ

ถูกต้องครับ ผู้ที่ไม่คำนึงถึงผัสสะ คือ ไม่คำนึงด้วยอำนาจกิเลส มีความติดข้องในรูป

เสียง กลิ่น รสสิ่งที่กระทบสัมผัสด้วยอำนาจการยึดถือว่างาม เป็นสุข เป็นเรา ไม่ยึดถือ

ด้วยความเห็นนั้น มีปัญญา จึงไม่คำนึงด้วยอำนาจกิเลสในอารมณ์ต่างๆ จึงชื่อว่าเป็นผู้

อยู่ใกล้พระนิพพาน เพราะสามารถถึงการดับกิเลสได้นั่นเองครับ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 1 ก.ย. 2554

3 ผู้มัวคำนึงถึงผัสสะอยู่อย่างนั้น เจาะจงหมายถึงตอนที่กิเลสเกิดกับจิตที่ รับรู้อารมณ์

ทางผัสสเจตสิก สำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรม ใช่ไหมครับ

ผู้ที่มัวคำนึงถึงผัสสะอยู่ หมายถึงตอนที่กิเลส คือ โลภะเกิดขึ้นติดข้องในอารมณ์ที่

ปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจครับ ซึ่งผู้ที่ยังคำนึงในอารมณ์ที่ปรกาฎ ด้วยกิเลส

ก็แสดงแล้วว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

4. ในชีวิตประจำวันคนเราส่วนใหญ๋ กิเลสเกิดทางความคิดใช่ไหมครับ

กิเลส คือ อกุศลจิตเกิดที่ชวนจิต ซึ่งชวนจิตเกิดได้ทั้งทางปัญจทวารและมโน

ทวาร (คิดนึก) ซึ่งในความเป็นจริง แม้เพียงเห็น ยังไม่ได้คิดนึกว่าเป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้เลย

เห็นเพียง สี ก็เกิดอกุศล เกิดกิเลสที่ติดข้อง หรือ เกิดกิเลสที่ไม่ชอบในสีนั้นแล้วครับ

ดังนั้นกิเลสเกิดทางปัญจทวาร คือ แม้ไมได้คิด (ทางมโนทวาร) ก็ได้ครับ และกิเลสที

เป็นโลภะ เป็นต้นก็เกิดขณะที่คิดนึกก็ได้ครับ ดังน้นกิเลสเกิดได้ แม้ยังไม่ได้คิดนึกว่า

เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด กิเลสก็เกิดแล้วได้ครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 1 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สภาพธรรม เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงสภาพ-ธรรมนั้นๆ ได้เลย แม้แต่ ผัสสะ ก็เช่นเดียวกัน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เกิดกับจิตทุกขณะ ทุกประเภท ไม่มีเว้นเลย และเวลาที่ผัสสะกระทบนั้น ก็กระทบกับอารมณ์ที่จิตรู้ เช่น กระทบสี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นต้น ทั้งผู้ที่ยังมีกิเลส และ ผู้หมดกิเลส แล้ว ก็กระทบอย่างนี้ เหมือนกัน แต่สำหรับผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ติดข้องยินดีพอใจในสิ่งทีผัสสะกระทบ หรือ ไม่พอใจในสิ่งที่ผัสสะกระทบ ส่วนผู้ที่หมดกิเลสแล้ว ไม่ว่าจะกระทบกับอารมณ์ใดๆ ก็ไม่มีกิเลสเกิดขึ้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหวไปด้วยอำนาจของอกุศลธรรมประการต่างๆ นี้คือ ความต่างกันของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ กับ ผู้ที่ดับกิเลสได้หมดแล้ว การที่จะดำเนินไปถึงซึ่งการดับกิเลสได้นั้น ต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกตรงตามพระธรรมที่พระสัมมาัสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะกิเลสมีมากมายเหลือเกิน แม้แต่วันนี้วันเดียว ก็มากมาย แล้วถ้าย้อนกลับไปวันก่อนๆ ชาิติก่อนๆ ก็ย่อมจะมีมากมายทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงไม่มีทางอื่นเลยที่ฟันฝ่าคลื่นของกิเลสได้ นอกจากการอบรมเจริญปัญญา เท่านั้น จากที่เคยเป็นผู้มากไปด้วยกิเลส มากไปด้วยความติดข้องต้องการ มากไปด้วยความไม่พอใจ ก็จะค่อยๆ ลดคลายลง เมื่อปัญญาเจริญขึ้นไปตามลำดับ จนกว่าจะสามารถดับได้ในที่สุด ขณะที่อกุศลเกิดขึ้นพอกพูนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ คำนึงถึงสิ่งที่ผัสสะกระทบ ด้วยความติดข้องยินดีพอใจ เป็นต้น ก็เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน ห่างไกลการรู้แจ้งอริย-สัจจธรรม แต่สำหรับผู้ที่มั่นคงในหนทางที่ถูกต้อง มั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม ถึงแม้ว่าจะมีกิเลสมาก มีอกุศลจิตเิกิดมาก แต่ก็ไม่ท้อถอยที่จะฟัง ที่จะศึกษาอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงต่อไป ก็ย่อมจะเป็นผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน เพราะผลของการอบรมเจริญปัญญาแล้ว ในที่สุดก็จะสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมประจักษ์แจ้งพระนิพพานดับกิเลสได้ตามลำัดับ ถึุงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยาวไกล แต่ถ้าสามารถถึงได้ ถ้าไม่ขาดการอบรมเจริญปัญญา ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย bsomsuda  วันที่ 1 ก.ย. 2554

"กิเลสเกิดได้ แม้ยังไม่ได้คิดนึกว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด"

"..แต่สำหรับผู้ที่มั่นคงในหนทางที่ถูกต้อง

มั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม

ถึงแม้ว่าจะมีกิเลสมาก มีอกุศลจิตเิกิดมาก

แต่ก็ไม่ท้อถอยที่จะฟัง ที่จะศึกษาอบรมเจริญปัญญา

เพื่อรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงต่อไป

ก็ย่อมจะเป็นผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน.."

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิม อ.คำปั่นและทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย pat_jesty  วันที่ 1 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 6    โดย nong  วันที่ 2 ก.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย Graabphra  วันที่ 6 ก.ย. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 8    โดย kinder  วันที่ 7 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนา