[ผู้ตั้งอยู่ในสังวรไม่เป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔]หลายบทว่า สุภรตาย ฯเปฯ วิริยารมฺภสฺส วณฺณ ภาสิตฺวา มีความว่าทรงสรรเสริญคุณแห่งสังวร อันเป็นที่ตั้งแห่งคุณทั้งหลาย มีความเป็นผู้เลี้ยงง่ายเป็นต้น.
จริงอยู่ ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นสภาพที่เลี้ยงง่ายบำรุงง่าย ย่อมถึงความเป็นผู้มักน้อย คือ หมดความทะยานอยากในปัจจัย ๔ และย่อมเป็นไปเพื่อความสันโดษ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง
ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ และยถาสารุปสันโดษ ในปัจจัยอย่างหนึ่งๆ เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ความเป็นผู้บำรุงง่าย ความมักน้อย และความสันโดษ.
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร ตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้ขัดเกลากิเลส และความเป็นผู้กำจัดกิเลสออก, เพราะเหตุนั้น สังวร
ท่านจึงเรียกว่า ความขัดเกลา และความกำจัด.
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ไม่เข้าไปใกล้
กายทุจริต และวจีทุจริต ซึ่งไม่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส คือไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความเลื่อมใส ไม่สงบ ไม่เรียบร้อยแห่งกายและวาจา และไม่เข้าไปใกล้
อกุศลวิตก ๓ ซึ่งไม่ยังชวนจิตให้เกิดความผ่องใส คือ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
ผ่องใสแห่งจิต ไม่สงบ ไม่เรียบร้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริบูรณ์แห่ง.......
* องฺ อฏฺก. ๒๓/๓๔๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 735
...กายสุจริต วจีสุจริต และกุศลวิตก ๓ ซึ่งผิดแผกจากนั้นนั่นแล ที่ชวนให้
เกิดความเลื่อมใส คือ เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส สงบ เรียบร้อย, เพราะ
เหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นอาการให้เกิดความเลื่อมใส.
เหมือนกันครับ เป็นธรรมดา ค่อยๆ ขัดเกลา เราเป็นใคร เป็นผู้มีกิเลสหนา (ปุถุชน) อบรมไปเรื่อยๆ พระธรรมเปลี่ยนเรามาก หลายๆ ปีกลายเป็นคนละคนยังมีได้ นะครับ