[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 506
อามกธัญญเปยยาลวรรควรรณนา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 506
อามกธัญญเปยยาลวรรควรรณนา
พึงทราบอธิบายในอามกธัญญเปยยาลวรรค.
คำว่า สัตว์ผู้ประกอบด้วยปัญญาจักษุอันเป็นอริยะ ความว่า ผู้มีปัญญาจักษุที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ตั้งต้นแต่วิปัสสนา.
ในคำว่า ผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า สุรามี ๕ อย่างคือ สุราทำด้วยแป้ง ๑ สุราทำด้วยข้าวสุก ๑ สุราทำด้วยขนม ๑ สุราที่ใส่ด้วยส่าเหล้า ๑ สุราประกอบจากเครื่องปรุง ๑ น้ำดองอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า น้ำดองดอกไม้ น้ำดองผลไม้ ชื่อว่าเมรัย.
คำว่า น้ำเมา ได้แก่ ทั้งสอง.
อธิบายว่า ก็อีกอย่างหนึ่ง น้ำเมาชนิดใดแม้อื่นที่พ้นแล้วจากสุราและน้ำหมักดอง อันบุคคลพึงเมา. คนทั้งหลาย ย่อมดื่มสุราและเมรัยนั้น ด้วยเจตนาใด เจตนานั้นชื่อว่า เป็นฐานะแห่งความประมาท เพราะเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้เว้นแล้วจากการดื่มสุราและเมรัยนั้น.
คำว่า ผู้เกื้อกูลแก่มารดา คือ ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลแก่มารดา อธิบายว่า ผู้ปฏิบัติชอบในมารดา.
พึงทราบอธิบายในคำเป็นต้นว่า ผู้เกื้อกูลแก่บิดา. ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลต่อบิดา ชื่อว่า ผู้เกื้อกูลแก่บิดา. ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลต่อสมณะทั้งหลาย ชื่อว่า ผู้เกื้อกูลแก่สมณะ. ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลต่อพราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า ผู้เกื้อกูลแก่พรหม.
คำว่า เปตเตยยะเป็นต้นนี้ เป็นของผู้ปฏิบัติชอบในบิดาเป็นต้นเหล่านั้นๆ นั่นเทียว.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 507
คำว่า ผู้ประพฤตินอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญในสกุล ความว่า ผู้ประพฤตินอบน้อม คือ ผู้มีปกติประพฤติถ่อมตน ต่อบุคคลผู้เจริญที่สุดในสกุล.
คำว่า จากการพรากพืชคามและภูตคาม ความว่า เป็นผู้เว้นแล้วจากการพรากพืชคาม ๕ อย่าง คือ พืชเกิดจากราก พืชเกิดจากลำต้น พืชเกิดจากข้อ พืชเกิดจากยอด พืชเกิดจากเมล็ด และภูตคาม อย่างใดอย่างหนึ่งมีหญ้าสีเขียวและต้นไม้เป็นต้น จากการวิกัปโดยภาวะมีการตัดและต้มเป็นต้น.
คำว่า ผู้งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ จากการบริโภคเกินเวลา. อธิบายว่า จากการบริโภคได้ชั่วคราว ตั้งแต่เลยเวลาเที่ยงไป.
พึงทราบอธิบายในดอกไม้เป็นต้น.
คำว่า ดอกไม้ ได้แก่ ดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง.
คำว่า ของหอม ได้แก่ คันธชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง.
คำว่า เครื่องประเทืองผิว ได้แก่ เครื่องย้อมผิวเป็นต้น.
ในคำเหล่านั้น ชื่อว่า ทัดทรงอยู่ เพราะอรรถว่าประดับอยู่.
ผู้ยังฐานะที่พร่องให้เต็มอยู่ ชื่อว่า ประดับอยู่.
ผู้ยินดีด้วยอำนาจของหอม และเครื่องย้อมผิว ชื่อว่า ตบแต่งอยู่ อธิบายว่า เหตุท่านเรียกว่าฐานะ เพราะฉะนั้น มหาชนทำการทัดทรงดอกไม้เป็นต้นเหล่านั้นด้วยเจตนาแห่งความเป็นผู้ทุศีลใด เว้นจากเจตนานั้น.
การเห็นสิ่งที่ชื่อว่าเป็นข้าศึก คือ เป็นศัตรู เพราะไม่อนุโลมตามคำสอน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เห็นสิ่งที่เป็นข้าศึก การฟ้อน การขับ การประโคมด้วยอำนาจการฟ้อนและการให้ผู้อื่นฟ้อนเป็นต้น และการดูซึ่งการฟ้อนเป็นต้นที่เป็นไปแล้ว แม้โดยที่สุดด้วยอำนาจการฟ้อนของนกยูงเป็นต้นอันเป็นข้าศึก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า การดูฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรีที่เป็นข้าศึก.
ก็การประกอบการฟ้อนเป็นต้นด้วยตนก็ดี การให้ผู้อื่น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 508
ประกอบการฟ้อนเป็นต้นก็ดี การดูการฟ้อนที่เขาประกอบแล้วก็ดี ย่อมไม่ควรแก่ทั้งภิกษุ และภิกษุณี.
ที่นอนที่เลยกำหนด ท่านเรียกว่า ที่นอนสูง. เครื่องลาดที่ไม่สมควร ชื่อว่า ที่นอนใหญ่. อธิบายว่า ผู้งดเว้นจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่.
คำว่า ชาตรูป คือ ทอง.
คำว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ คนเหล่าใดถึงการกล่าวว่า มาสกโลหะ มาสกยาง คนเหล่านั้นเป็นผู้งดเว้นจากการรับทองและเงินแม้ทั้งสองนั้น ย่อมไม่ถือเอาทองและเงินนั้น ไม่ให้คนอื่นถือเอา อธิบายว่า ย่อมไม่ถือทองและเงินที่เก็บไว้แล้ว.
คำว่า จากการรับธัญญชาติดิบ ความว่า จากการรับธัญญชาติดิบแม้ ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้.
ก็การรับธัญญชาติดิบเหล่านั้น ไม่ควรอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ แม้การถูกต้องก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายนั่นแหละ.
ในคำว่า จากการรับเนื้อดิบ ความว่า เว้นจากการรับเนื้อที่ทรงอนุญาตไว้โดยเจาะจง การรับเนื้อและปลาดิบก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งนั้น ถึงการถูกต้องก็ไม่ควร.
ในคำว่า จากการรับสตรีและกุมารี นั้น หญิงที่ไปในระหว่างชาย ชื่อว่า สตรี หญิงนอกนี้ ชื่อว่า กุมารี. การรับสตรีและกุมารีเหล่านั้นก็ดี การถูกต้องก็ดี ไม่ควรทั้งนั้น.
ในคำว่าจากการรับทาสีและทาสนี้ การรับหญิงและชายเหล่านั้น ด้วยความเป็นทาสีและทาสก็ไม่ควรทั้งนั้น.
ก็เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายกัปปิยการก ข้าพเจ้าถวายคนวัด การรับนั้นย่อมควร.
นัยที่สมควร และไม่สมควร ในสิ่งของมีแพะและแกะเป็นเบื้องต้น มีนาและสวนเป็นที่สุด ก็พึงใคร่ครวญด้วยอำนาจวินัย.
ปุพพัณณะ คือ ธัญญ-
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 509
ชาติ ย่อมงอกในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า นา อปรัณณชาติ คือ ถั่วและงา ย่อมงอกในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า สวน.
อีกอย่างหนึ่ง ปุพพัณณะและอปรัณณชาติทั้งสองนั้นงอกในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า นา ชื่อว่า สวน เพราะเป็นภูมิภาคที่ไม่ได้ทำไว้แล้ว เพื่อต้องการปุพพัณณะและอปรัณณชาตินั้น.
ก็ในคำนี้ แม้สระและบึงเป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์เอาด้วยหัวข้อว่านาและสวนนั่นเอง.
คำว่า การซื้อและการขาย ได้แก่ ซื้อด้วย ขายด้วย.
ทูตกรรม ท่านเรียกว่า ความเป็นทูต การรับหนังสือ หรือข่าวของพวกคฤหัสถ์แล้วไปที่นั้นๆ ท่านเรียกว่า การรับใช้.
ขึ้นชื่อว่าการไปเล็กน้อยของภิกษุที่เขาส่งไปเรือนเล็กเรือนใหญ่. การทำทั้งสองอย่างนั้น ชื่อว่า การประกอบ เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในบทนี้ว่า การประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
การหลอกลวง ชื่อว่า การโกง ในคำเป็นต้นว่าโกงด้วยตาชั่ง.
ในคำว่าโกงนั้น การโกงด้วยตาชั่งมี ๔ อย่าง คือ การโกงโดยรูป การโกงโดยภาชนะ การโกงโดยการรับ การโกงโดยปกปิด.
บรรดาการโกงเหล่านั้น บุคคลทำตาชั่งสองอันให้เหมือนกัน เมื่อถือเอา ย่อมถือเอาด้วยตาชั่งใหญ่ เมื่อจะให้ก็ให้ด้วยตาชั่งเล็กนี้ ชื่อว่า โกงโดยรูป เมื่อจะรับเอา ก็เอามือกดตาชั่งข้างหลังไว้ เมื่อจะให้ก็เอามือกดข้างหน้าไว้ นี้ ชื่อว่า โกงโดยภาชนะ. เมื่อจะรับก็ยึดเชือกที่โคน เมื่อจะให้ก็ยึดเชือกข้างปลาย นี้ ชื่อว่า โกงโดยการรับ. ทำตาชั่งให้กลวงแล้วใส่ผงเหล็กข้างใน เมื่อจะรับ ก็ทำตาชั่งนั้นไว้ข้างหลัง เมื่อจะให้ ก็เอาไว้ข้างหน้า นี้ ชื่อว่าโกงโดยการปกปิด.
ถาดทอง ท่านเรียกว่า ภาชนะ การหลอกลวงด้วยถาดทองใดนั้นชื่อว่า การโกงโดยภาชนะ.
อย่างไร คือทำถาดทองใบหนึ่ง แล้วทำถาดโลหะอย่างอื่น ๒ - ๓ ใบให้มีสีเหมือนทอง แต่นั้นจึงไปชนบท แล้วเข้าไปหา
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 510
ตระกูลที่มั่งคั่งไรๆ นั่นเทียว กล่าวว่า พวกท่านจงถือเอาถาดทองเถิด เมื่อพวกเขาสอบถามถึงราคา ก็ทำทีเป็นเหมือนจะให้ถาดใบที่มีค่ามากกว่า ลำดับนั้น เมื่อพวกเขากล่าวว่า จะรู้ว่าถาดเหล่านี้เป็นทองได้อย่างไร จึงกล่าวว่า จงเลือกถือเอาเถิด แล้วก็สีถาดทองลงที่หินให้ถาดทั้งหมดแล้วไป.
การโกงด้วยเครื่องนับมี ๓ ประเภท ด้วยอำนาจประเภทแห่งหทยะ ประเภทแห่งยอด และประเภทแห่งเชือก.
การโกงเหล่านั้น ประเภทแห่งหทยะ ย่อมได้ในเวลานับเนยใสและน้ำมันเป็นต้น ก็เมื่อจะถือวัตถุเหล่านั้นก็กล่าวว่า จงค่อยๆ หยอด เพราะเครื่องนับเป็นรูข้างล่าง แล้วจึงให้ไหลเข้าไปในภาชนะเป็นอันมากถือเอา เมื่อจะให้ก็ปิดรูแล้วให้เต็มอย่างเร็วให้.
ประเภทแห่งยอด ย่อมได้ในเวลาตวงงาและข้าวสารเป็นต้น ก็เมื่อจะถือเอางาและข้าวสารเป็นต้นเหล่านั้น จึงค่อยๆ พูนให้สูงเป็นยอดถือเอา เมื่อจะให้ก็รีบทำลายยอดเสียจึงให้.
ประเภทแห่งเชือก ย่อมได้ในเวลาวัดนาและสวน ก็เมื่อไม่ได้อะไรๆ อยู่นาที่ไม่ใหญ่ก็วัดให้ใหญ่.
การทำเจ้าของมิให้เป็นเจ้าของแล้วรับสินบน ชื่อว่า การรับสินบน ในเหตุมีการรับสินบนเป็นต้น.
การหลอกลวงคนพวกอื่นด้วยอุบายเหล่านั้น ชื่อว่า การหลอกลวง.
ในข้อนั้นมีเรื่องหนึ่งนี้เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า นายพรานคนหนึ่ง จับเนื้อและลูกเนื้อได้มาอยู่. นักเลงคนหนึ่งจึงกล่าวกับเขาว่า ผู้เจริญ เนื้อราคาเท่าไร ลูกเนื้อราคาเท่าไร และเมื่อนายพรานกล่าวว่า เนื้อสองกหาปณะ ลูกเนื้อหนึ่งกหาปณะ จึงให้เงินหนึ่งกหาปณะ ถือเอาลูกเนื้อแล้วกลับมากล่าวว่า ผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ต้องการลูกเนื้อ ท่านจงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า.
พราน. ถ้าอย่างนั้น แกจงให้สองกหาปณะ.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 511
นักเลง. พ่อ ครั้งก่อน ข้าพเจ้าให้หนึ่งกหาปณะแล้วมิใช่หรือ.
พราน. เออ, ให้แล้ว.
นักเลง. เจ้าจงรับลูกเนื้อแม้นี้ นั้นเป็นกหาปณะหนึ่งอย่างนี้ และลูกเนื้อนี้มีค่าหนึ่งกหาปณะ รวมแล้วเป็นสองกหาปณะ.
นายพรานนั้น กำหนดแล้วว่า เขากล่าวมีเหตุ จึงได้รับเอาลูกเนื้อแล้วให้เนื้อไปแล.
การทำของที่มิใช่สังวาลว่าเป็นสังวาล มิใช่แก้วมณีว่าเป็นแก้วมณี มิใช่ทองว่าเป็นทอง แล้วหลอกลวงด้วยของเทียม ด้วยอำนาจการประกอบ หรือด้วยอำนาจมายา ชื่อว่า การโกง.
การประกอบการโกง ชื่อว่า ทำปลอม คำว่า ทำปลอมนี้ เป็นชื่อแห่งการรับสินบนเป็นต้น เหล่านั้นนั่นเอง.
เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในบทนี้ว่า จากการรับสินบน จากการล่อลวง จากการทำของปลอม นั่นแล.
อาจารย์บางพวก แสดงเหตุอื่นแล้วย่อมกล่าวว่า การเปลี่ยนแก่ผู้อื่น ชื่อว่า การทำปลอม.
ก็คำนั้น ท่านสงเคราะห์เอาการล่อลวงนั่นเอง.
การตัดมือเป็นต้น ชื่อว่า การตัด ในเหตุมีการตัดเป็นต้น.
การให้ตาย ชื่อว่า การฆ่า.
การผูกด้วยเครื่องผูกคือเชือกเป็นต้น ชื่อว่า การผูก.
ชื่อว่า การตีชิงมี ๒ อย่าง คือ การตีชิงในเวลาหิมะตก ๑ การตีชิงด้วยการปกปิดด้วยกอไม้ ๑.
เวลาหิมะตก โจรทั้งหลายปกปิดด้วยหิมะ แล้วตีชิงคนที่หลงทาง นี้ ชื่อว่า การตีชิงในเวลาหิมะตก.
โจรทั้งหลายปกปิดด้วยกอไม้เป็นต้น แล้วตีชิง นี้ ชื่อว่า การตีชิงด้วยการปกปิดด้วยกอไม้.
กระทำการปล้นหมู่บ้านและนิคมเป็นต้น ท่านเรียก การปล้น.
การทำอย่างหยาบช้า คือ การเข้าไปในบ้านแล้ว ปักมีดที่อกของคนทั้งหลาย แล้วถือเอาสิ่งของที่ตน
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 512
ปรารถนา ชื่อว่า กรรโชก.
เว้นจากการตัดและการกรรโชกนั้นอย่างนี้แล.
คำที่เหลือ ในบททั้งปวง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.
ขยายความอามกธัญญเปยยาลวรรค ในอรรถกถาสังยุตตนิกาย ชื่อ สารัตถปกาสินี จบแล้ว.
และจบการขยายความอรรถกถามหาวรรคแล.