[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 9
๕. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยพึงเห็นเวทนา ๓ โดยความเป็นทุกข์เป็นต้น
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 9
๕. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยพึงเห็นเวทนา ๓ โดยความเป็นทุกข์เป็นต้น
[๓๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้ โดยชอบ.
[๓๖๘] ถ้าภิกษุใดเห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขซึ่งมีอยู่นั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้ ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรม ถึงที่สุดเวทนา เมื่อตายไปย่อมไม่นับว่าเป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้งมงาย.
จบ ทัฏฐัพพสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 10
อรรถกถาทัฏฐัพพสูตรที่ ๕
พึงทราบวินิจฉัยในทัฏฐัพพสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุกฺขโต ทฏฺพฺพา ความว่า พึงเห็นโดยความเป็นทุกข์ ด้วยอำนาจความเปลี่ยนแปลง. บทว่า สลฺลโต ความว่า ส่วนทุกข์พึงเห็นว่าเป็นลูกศรด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องแทง. บทว่า อนิจฺจโต ความว่า พึงเห็นอทุกขมสุขโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยอาการมีแล้วก็ไม่มี. บทว่า อทฺท คือ ได้เห็นแล้ว. บทว่า สนฺตํ คือ มีอยู่เป็นภาพ.
จบ อรรถกถาทัฏฐัพพสูตรที่ ๕