[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 110
เอกนิบาต
วรรคที่ ๒
๕. กามสูตร
ว่าด้วยกามตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปนาน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 110
๕. กามสูตร
ว่าด้วยกามตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปนาน
[๑๙๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้สังโยชน์อันหนึ่งอย่างอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ประกอบแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือน สังโยชน์ คือ ตัณหานี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วย สังโยชน์ คือ ตัณหาย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุรุษ ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 111
สงสารอันมีความเป็นอย่างนี้และความเป็น อย่างอื่นไปได้ ภิกษุรู้ตัณหาซึ่งเป็นแดน เกิดแห่งทุกข์นี้โดยความเป็นโทษแล้ว เป็น ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น มีสติ พึง เว้นรอบ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบกามสูตรที่ ๕
อรรถกถากามสูตร
ในกามสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่า ผูกมัดบุคคลผู้มีสังโยชน์ไว้ด้วยกรรม และวิบากอันเป็นทุกข์ หรือด้วยลำดับของภพ ในภพ กำเนิด คติ วิญญาณ ฐิติ และสัตตาวาส เป็นต้น ชื่อว่า ตัณหา เพราะอรรถว่าเป็นที่มาของ ความอยาก. ชื่อว่า ตัณหา เพราะอรรถว่า ทำให้สะดุ้งหรือหวาดเสียว. บทว่า สํยุตฺตา ได้แก่ ผูกมัดในอภินิเวสวัตถุ (วัตถุเครื่องยึดมั่น) มีจักษุเป็นต้น. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
อนึ่ง ในที่นี้แม้อวิชชาก็เป็นสังโยชน์ และตัณหาเป็นนิวรณ์ยังมีอยู่ โดยแท้ ถึงดังนั้น ตัณหาย่อมผูกมัดสัตว์ด้วยภพอันมีโทษทีถูกอวิชชาปกปิดไว้ เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงความต่างกันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอวิชชาไว้ ในสูตรก่อนโดยความเป็นนิวรณ์ และตรัสตัณหาไว้ในสูตรนี้โดยความเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 112
สังโยชน์ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นความเป็นใหญ่ของนิวรณ์และสังโยชน์. เหมือนอย่างว่า อวิชชาเป็นใหญ่และเป็นประธานของธรรมเศร้าหมองทั้งหลาย โดยความเป็น นิวรณ์ ฉันใด ตัณหาก็เป็นใหญ่ เป็นประธานของธรรมเศร้าหมองเหล่านั้น โดยความเป็นสังโยชน์ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้นเพื่อแสดงความเป็นใหญ่ของธรรม เศร้าหมองเหล่านั้น จึงตรัสธรรมเหล่านี้อย่างนี้ในสูตรทั้งสอง. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยความต่างกันตรัสอวิชชาว่าเป็นนิวรณ์ เพราะห้ามนิพพานสุข. ตรัส ตัณหาว่าเป็นสังโยชน์ เพราะผูกมัดสัตว์ไว้ด้วยสังสารทุกข์ สูตรทั้งสอง ตรัสไว้เป็นสองส่วน โดยทำอันตรายแก่การเห็นการบรรลุหรือโดยเป็นข้าศึก ของวิชชาและจรณะ. อวิชชาเป็นข้าศึกโดยตรงของวิชชา ทำอันตรายอย่าง ยอดเยี่ยมแก่การเห็นนิพพาน และการเห็นที่ไม่วิปริต. ตัณหาเป็นข้าศึกโดยตรง ของจรณธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุ คือ แก่การปฏิบัติชอบ ด้วยประการ ฉะนี้. บุคคลนี้ถูกอวิชชาหุ้มห่อ ทำให้มืดมัว พัวพันด้วยตัณหาโดยประการ ทั้งปวง ไม่ฟัง มีกิเลสหนาผูกมัดดุจคนบอด ย่อมไม่ก้าวล่วง มหากันดาร สงสารกันดาร ไปได้เลย. เพื่อแสดงสองหมวดอันเป็นเหตุให้เกิดความพินาศ จึงตรัสสองหมวดโดยสองส่วน.
จริงอยู่ บุคคลที่มีอวิชชาย่อมเสื่อมประโยชน์ เพราะความเป็นคนโง่ และทำความพินาศให้แก่ตน. ผู้ไม่เสพสิ่งไม่เป็นสัปปายะ ทำดุจคนไม่ฉลาด เดือดร้อน ดุจคนไม่รู้เพื่อจะทำในสิ่งไม่เป็นสัปปายะ. มักกฏาเลโปปมสูตร เป็นตัวอย่างของเรื่องนี้. ในสูตรนี้ตรัสสองหมวดโดยส่วนสอง เพื่อแสดง มูลเหตุของปฏิจจสมุปบาท. ก็โดยความต่างกัน ขอบเขตของอวิชชาเป็นอดีต ยาวนาน เพราะสัมโมหะมีกำลังแรง. ขอบเขตของตัณหา เป็นอนาคตยาวนาน เพราะความปรารถนามีกำลังแรงกล้า. จริงดังนั้น คนพาลมากด้วยสัมโมหะ ย่อมเศร้าโศกถึงอดีต ควรแนะนำคนพาลผู้มากด้วยสัมโมหะนั้น ให้เข้าใจถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 113
ปฏิจจสมุปบาททั้งหมดเป็นต้นว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้. คนพาลมากไปด้วยความปรารถนาย่อมบ่นถึงอนาคต ควรแนะนำคนพาลผู้มากด้วยความปรารถนานั้นให้เข้าใจปฎิจจสมุปบาททั้งหมด ว่า ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ อุปาทานมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้. หรือว่า ด้วยบทนี้นั่นเองทรงแสดงถึงมูลเหตุของปฏิจจสมุปบาทนั้นตามลำดับ ด้วยการ เกี่ยวโยงกันจากส่วนเบื้องต้นถึงส่วนเบื้องปลาย ด้วยประการฉะนี้.
ในคาถาทั้งหลายพึงทราบเนื้อความดังต่อไปนี้ บทว่า ตณฺหา ทุติโย คือ เป็นเพื่อนกับตัณหา. จริงอยู่ ตัณหาย่อมทำสัตว์ผู้ถูกความระหายครอบงำ ถูกความทุกข์ที่ไม่สนองคุณครอบงำบ้าง อันเป็นหน้าที่ของสหายด้วยความพอใจ และชักนำ ดุจความสำคัญว่าน้ำในพยับแดด ในที่กันดารไม่มีน้ำ กระทำไม่ให้ เบื่อหน่ายในภพเป็นต้น แล้วเวียนกลับมา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ตัณหาเป็นเพื่อนของคน ดังนี้. ถามว่า ก็กิเลสเป็นต้นแม้เหล่าอื่น เป็นปัจจัย เพื่อให้เกิดในภพมิใช่หรือ. ตอบว่า ข้อนั้นจริง. แต่เป็นปัจจัย พิเศษไม่เหมือนตัณหา. เพราะตัณหาเว้นจากกุศล อกุศล ส่วนปัจจัยพิเศษ เว้นจากกามาวจรกุศลเป็นต้น เพื่อให้เกิดในภพด้วยรูปาวจรกุศลเป็นต้น เพราะ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สมุทยสจฺจํ ดังนี้.
บทว่า อิตฺถภาวญฺถาภาวํ ได้แก่ความเป็นอย่างนี้ และความเป็น อย่างอื่น ชื่อว่า อิตฺถภาวญฺถาภาโว. สงสาร ชื่อว่า อิตฺถภาวญฺถาภาโว เพราะอรรถว่า สงสารมีความเป็นอย่างนี้และความเป็นอย่างอื่น. ในบทนั้น ความเป็นอย่างนี้ คือ ความเป็นมนุษย์. ความเป็นอย่างอื่น คือ ที่อยู่ของ สัตว์นอกจากความเป็นมนุษย์นั้น. หรือว่าความเป็นอย่างนี้ ได้แก่ อัตภาพ ปัจจุบันของเหล่าสัตว์นั้นๆ. ความเป็นอย่างอื่น ได้แก่อัตภาพอนาคต. หรือว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 114
อัตภาพอื่นมีรูปอย่างนี้ ชื่อว่า อิตถการะ ไม่มีรูปอย่างนี้ ชื่อว่า อัญญถาภาวะ. บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ย่อมไม่ก้าวล่วงสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และ ความเป็นอย่างอื่นนั้น คือ ลำดับ ขันธ์ ธาตุ อายตนะไปได้.
บทว่า เอตมาทีนวํ ตฺวา ตณฺหํ ทุกฺขสฺส สมฺภวํ แปลว่า ภิกษุรู้ตัณหาอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์นี้ โดยความเป็นโทษ ความว่า ภิกษุรู้ ตัณหาอันเป็นแดนเกิด คือ เป็นเหตุเกิดแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้นนี้ อธิบายว่า รู้โดยความเป็นโทษ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอตมาทีนวํ ตฺวา ได้แก่ รู้โทษ คือ ความชั่วร้ายอันจะไม่ทำให้ก้าวล่วงสงสารตามที่กล่าวแล้วนั้นไปได้. บทว่า ตณฺหํ ทุกฺขสฺส สมฺภวํ ได้แก่ รู้ตัณหาว่าเป็นเหตุให้เกิดวัฏทุกข์ โดยนัยที่กล่าวแล้ว.
บทว่า วีตตณฺโห อนาทาโน สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช แปลว่า ภิกษุ เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น มีสติ พึงเว้นเสีย ความว่า ภิกษุ กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ อย่างนี้ เจริญวิปัสสนาไปปราศจากตัณหาตามลำดับ มรรค ชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากตัณหา คือ มีตัณหาพ้นไปแล้ว โดยประการ ทั้งปวงด้วยมรรคอันเลิศ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ถือมั่น เพราะไม่มีแม้อะไรๆ ใน อุปาทาน ๔ เพราะปราศจากตัณหานั้น หรือเพราะไม่มีการยึดถือ อันได้แก่ ปฏิสนธิต่อไป ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะทำอย่างมีสติในที่ทั้งปวง ด้วยมีสติ ไพบูลย์ เป็นผู้กำจัดกิเลสได้แล้ว พึงเว้น คือ พึงประพฤติ หรือพึงออกไป จากความเป็นไปของสังขารด้วยขันธปรินิพพาน.
จบอรรถกถากามสูตรที่ ๕