๘. ทักขิณาสูตร ว่าด้วยทักขิณาวิสุทธิ ๔ ประการ
โดย บ้านธัมมะ  23 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38868

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 236

ทุติยปัณณาสก์

อปัณณกวรรคที่ ๓

๘. ทักขิณาสูตร

ว่าด้วยทักขิณาวิสุทธิ ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 236

๘. ทักขิณาสูตร

ว่าด้วยทักขิณาวิสุทธิ ๔ ประการ

[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา) ๔ ประการนี้ ทักขิณาวิสุทธิ ๔ ประการคืออะไร คือ ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็มี ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกก็มี ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกก็มี ทักษิณาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหกก็มี


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 237

ก็ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกเป็นอย่างไร? ทายกเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม อย่างนี้ ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก

ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร? ทายกเป็นผู้ทุศีลมีบาปกรรม ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม อย่างนี้ทักษิณา บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก

ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร? ทายกเป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม ปฏิคาหกเล่าก็เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม อย่างนี้ ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก

ทักษิณาบริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร? ทายกเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม แม้ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมอย่างนี้ ทักษิณาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ทักษิณาวิสุทธิ ๔.

จบทักขิณาสูตรที่ ๘

อรรถกถาทักขิณาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทักขิณาสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทกฺขิณาวิสุทฺธิโย ได้แก่ เหตุทั้งหลายแห่งความบริสุทธิ์ ของทักษิณา คือ ทาน. บทว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ ความว่า ย่อมบริสุทธิ์ โดยความมีผลมาก. บทว่า กฺลยาณธมฺโม คือ เป็นผู้มีธรรมอันสะอาด. บทว่า ปาปธมฺโม คือ เป็นผู้มีธรรมลามก. ในบทว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ นี้ ควรกล่าวถึงเวสสันดรมหาราช. ได้ยินว่า เวสสันดรมหาราชนั้น ให้ทารก


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 238

แก่พราหมณ์ชื่อชูชก ท่านหาปฐพีให้ไหวแล้ว. ในบทว่า ปฏิคฺคาหกโต วิสุชฺฌติ นี้ ควรกล่าวถึงชาวประมง ผู้อยู่ที่ประตูปากแน่น้ำกัลยาณี. ได้ยินว่า ชาวประมงนั้น ได้ถวายบิณฑบาตสามครั้งแก่พระทีฆสุมนเถระ นอนบทเตียง มรณะกล่าวว่า บิณฑบาตที่ได้ถวายแก่พระเป็นเจ้าทีฆสุมนเถระยกเราขึ้นได้. ในบทว่า เนว ทายกโต นี้ ควรกล่าวถึงนายพรานผู้อยู่บ้านวัฒมานะ ได้ยินว่า นายพรานนั้นเมื่อทำบุญอุทิศเพื่อคนที่ตายแล้ว จึงได้ให้แก่ปฏิคาหกผู้ทุศีล คนเดียวสามครั้ง. ในครั้งที่สาม อมนุษย์ (ผู้ตายไปเกิดเป็นเปรต) ร้องว่า ปฏิคคาหกทุศีลปล้นเราดังนี้. ทักษิณาถึงผู้ตายนั้นในเวลาที่ทักษิณาอันเขาถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่งแล้ว. ในบทว่า ทายกโต เจว ปฏิคฺคาหกโต จ วิสุชฺฌติ นี้ บัณฑิตควรกล่าวอสทิสทานแล.

จบอรรถกถาทักขิณาสูตรที่ ๘