ทุกวันเต็มไปด้วย โลภะ โทสะ (โมหะ ไม่ต้องพูดถึง ประกบติดอยู่แล้ว) แต่ไม่ชอบโทสะมากกว่า เพราะ โทสะ เวทนาที่เกิดเป็น ทุกข์โทมนัส (ไม่ชอบ) โลภะ เวทนาที่เกิดเป็นสุขโสมนัส (ชอบ จึงคลายยาก) "อยาก" ละ อกุศล (อกุศล ละ อกุศล !!!) คงไม่สำเร็จ เป็นผู้ "หนา" ด้วยกิเลสจริงๆ น่ารังเกียจมาก แต่ละวันก็มีแต่ "เบื่อๆ (โทสะ) อยากๆ (โลภะ) "
ขออนุโมทนาด้วยครับขณะที่ยึดถือว่า อกุศลเป็นเราก็ยิ่งอยากจะละมากๆ เลยครับความจริงแล้วขณะที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นก็ละอกุศลด้วยองค์นั้นๆ (ตทังคปหาน) ขณะที่ฟังธรรมะแล้วเข้าใจในสิ่งที่ฟัง ขณะนั้นก็ละความไม่รู้ได้ระดับหนึ่งแล้วล่ะ ถ้าบอกว่าเป็นผู้หนาด้วยกิเลส กิเลสเกิดขึ้นเพราะปัจจัยก็เป็นธรรมดามิใช่หรือ แน่นอนว่ากิเลสละกิเลสไม่ได้ แต่ปัญญาขั้นโลกุตตระ ดับกิเลสได้
รู้ว่าตัวเองก็น่ารังเกียจเหมือนกันค่ะ
อกุศลรู้ทั้งรู้ว่าไม่ดี แต่ก็น้อยครั้งเต็มทีที่จะไม่ชอบ จึงยังพอใจในสุขเวทนา บ้าบอไปกับทุกข์โทมนัสเวทนา
เรียกว่าโรคเบื่อๆ อยากๆ เป็นโรคที่น่ารังเกียจ และรักษาได้ยาก พยายามเยียวยาอยู่ด้วยการศึกษาและฟังพระธรรม
๑๑๑๑๑
ขออนุโมทนาคุณ pannipa.v
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ
ถ้ารู้จริงๆ ว่าเบื่อก็เป็นธรรมะ อยากก็เป็นธรรมะ เกิดดับตามเหตุปัจจัย บังคับบัญชา ไม่ได้ ไม่ใช่เราที่เบื่อหรืออยาก ก็คงไม่มีตัวเราที่เดือดร้อนเพราะเบื่อและอยากและ สภาพธรรมอย่างอื่นด้วย
ขออนุโมทนาค่ะ
แล้วจะทำยังไง ก็ยังดีนะที่มีแค่สองอย่าง เบื่อๆ (โทสะ) อยากๆ (โลภะ) ส่วนโมหะไม่ต้องพูดถึง ถ้ามีสักสิบอย่างคงยุ่งน่าดูเพราะสองอย่างก็แย่แล้ว ทีนี้จะยังไงกับ โลภะ โทสะ ทีมีอยู่แค่สองอย่างในวันๆ ท่านบอกว่าธรรมะที่เกิดดับล้วนไร้สาระไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น เป็นทุกข์ แล้วเราจะไปถือสิ่งไร้สาระให้รำคาญใจทำไม
บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความ ละโมบ บุรุษผู้มีปัญญาเปรียบด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลายค่ะ
ทุกวันเต็มไปด้วย โลภะ โทสะ (โมหะ ไม่ต้องพูดถึง ประกบติดอยู่แล้ว) จริงๆ ด้วยค่ะในชีวิต ปัจจุบันไม่ว่าจะเห็นอะไร ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กายกระทบสัมผัส ใจคิดนึกไปในสิ่งต่างๆ ล้วนเกิดอกุศลจิตมากมาย กุศลจิตเกิดน้อยมาก ยิ่งบอกว่าเป็นผู้หนาด้วยกิเลส มันช่างน่า รังเกียจมาก แต่จริงๆ แล้วเรารังเกียจมันจริงๆ หรือเปล่า? ขณะที่เห็นสิ่งที่น่าพอใจก็ชอบเสียแล้ว รังเกียจจริงหรือกิเลสที่พูดถึง ขณะที่ลิ้มรสที่ดีก็พึงพอใจมาก อร่อยติดในรสทันทีเช่นกัน รังเกียจจริงหรือเปล่ากับกิเลสที่เกิดขึ้นมากมายในชีวิตประจำวัน มีความจริงใจที่จะขัดเกลากิเลสหรือเปล่า? จึงควรที่จะฟังพระธรรมให้เข้าใจ อบรมเจริญกุศลทุกประการ ค่อยๆ ขัดเกลากิเลสทีละน้อยๆ อดทนที่จะอบรมเจริญปัญญาจนกว่าจะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท
ขออนุโมทนาพี่ pannipa.v ค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลของทุกท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
อยากละไม่ได้ ปัญญาละได้ครับ ไม่พ้นไปจากสภาพธรรม เพราะยังไม่มั่นคงว่าเป็นธรรม ก็เดือดร้อนกับสิ่งที่เกิดขึ้นแม้ความเดือดร้อน เบื่อก็ธรรมอีกนั่นแหละ ไม่มีใคร บังคับให้จะเบื่อหรือไม่เบื่อ มีเหตุก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดาอยู่แล้วครับ แต่การอบรมปัญญา คือค่อยๆ ฟังไปว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แม้ความจริงสติจะไม่เกิดรู้ความจริงในขณะนั้นว่าเป็นธรรมก็ตาม แต่ฟังจนมั่นคง เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมสติปัฏฐานก็จะเกิดรู้ทั่วในสภาพธรรมไม่ว่าจะเบื่อจะโกรธหรืออะไรก็ตามก็เป็นธรรมครับ ยังระลึกไมได้ ไม่เป็นไร ฟังต่อไป เบื่อก็เบื่อ เกิดแล้วนี่ครับ เป็นธรรมและเป็นธรรมดา จนกว่าจะมั่นคงว่าเป็นธรรม
ขออนุโมทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
wannee.s ความคิดเห็นที่ 5
บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความละโมบ บุรุษผู้มีปัญญาเปรียบด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลายค่ะ
มีกัลยาณมิตรและสหายธรรมก็ดีอย่างนี้ เมื่อไรที่เราหลงทางหรือเข้าใจผิดไม่ว่าด้วยเรื่องอะไร มิตรย่อมมีข้อคิด คำเตือนดีๆ มาให้ทันเวลาเสมอ
...ชื่นใจ...
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
อนุโมทนา...ค่ะ
(หายเบื่อได้บ้างเล็กน้อย)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปกติในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่กล่าวถึงขณะที่เป็นกุศล ขณะที่เป็นวิบากแล้ว ทั้งวันที่เหลือนั้น เป็นอกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะหลังเห็น หลังได้ยิน หลังได้กลิ่น หลังลิ้มรส หลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส กิเลสเกิดขึ้นทำกิจการงานอยู่ตลอดเวลา จึงแสดงให้เห็นว่าที่เป็นผู้ที่หนาแน่นด้วยกิเลสเป็นอย่างนี้ เป็นจริงอย่างนี้ เกิดขึ้นเป็นไปตามการสั่งสมมาของแต่ละบุคคล เป็นความจริงที่ว่า เวลาที่โทสะเกิดขึ้นย่อมไม่ชอบใจในขณะนั้น (ไม่อยากให้เกิด แต่เกิดแล้ว เพราะเหตุปัจจัย) แล้วขณะที่เป็นโลภะเป็นอย่างไร (ชอบ ติดข้อง) จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดน่าพิจารณาทีเดียว เพราะเหตุว่ากิเลสทุกประการล้วนเป็นโทษ ไม่นำประโยชน์อะไรมาให้เลย กิเลสที่มีมากจะดับไปไม่ได้เลย ถ้าหากว่าปราศจากการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน จึงไม่มีหนทางอื่นเลย ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาพระธรรมไปตามลำดับ ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
สาธุ
ผู้ที่ถึงฝั่งพระนิพพาน
หมดไม่รู้ หมดอยาก พระอรหันต์ หมดเบื่อ พระอนาคามี อยากเบาบาง เบื่อเบาบาง พระสกทาคามี หมดความเห็นผิด พระโสดาบัน
ผู้ที่ยังอยู่ฝั่งแห่งกิเลส
มีทั้งอยาก มีทั้งเบื่อ มีทั้งไม่รู้แต่ศึกษาพระธรรมเพื่อเข้าใจเพื่อคลายความเห็นผิด กัลยาณปุถุชน มีทั้งอยาก มีทั้งเบื่อ มีทั้งไม่รู้ แต่ไม่ศึกษาพระธรรม ปุถุชน มีทั้งอยาก มีทั้งเบื่อ มีทั้งไม่รู้ ไม่ศึกษาพระธรรม กระทำอกุศลกรรม พาลปุถุชน
ขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
จากความเห็นที่ ๑
ขณะที่ยึดถือว่า อกุศลเป็นเราก็ยิ่งอยากจะละมากๆ เลยครับ ถ้าบอกว่าเป็นผู้หนาด้วยกิเลส กิเลสเกิดขึ้นเพราะปัจจัยก็เป็นธรรมดามิใช่หรือ แน่นอนว่ากิเลสละกิเลสไม่ได้ แต่ปัญญาขั้นโลกุตตระดับกิเลสได้
จากควมเห็นที่ ๔
เพราะยังไม่มั่นคงว่าเป็นธรรม ก็เดือดร้อนกับสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ความเดือดร้อน เบื่อก็ธรรมอีกนั่นแหละ ไม่มีใครบังคับให้จะเบื่อหรือไม่เบื่อมีเหตุก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดาอยู่แล้วครับ แต่การอบรมปัญญา คือค่อยๆ ฟังไปว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แม้ความจริงสติจะไม่เกิดรู้ความจริงในขณะนั้นว่าเป็นธรรมก็ตาม แต่ฟังจนมั่นคง เหตุปัจจัยพร้อม สติปัฏฐานก็จะเกิด รู้ทั่วในสภาพธรรมไม่ว่าจะเบื่อจะโกรธหรืออะไรก็ตามก็เป็นธรรมครับ ยังระลึกไมได้ ไม่เป็นไร ฟังต่อไป เบื่อก็เบื่อ เกิดแล้วนี่ครับ เป็นธรรมและเป็นธรรมดา จนกว่าจะมั่นคงว่าเป็นธรรม
ขออนุโมทนาค่ะ