[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 202
๓. ธรรมทายาทสูตร
ธรรมทายาทและอามิสทายาท หน้า 203
ภิกษุผู้เป็นธรรมทายาท หน้า 203
อามิสทายาทถูกตําหนิด้วยเหตุ ๓ สถาน หน้า 206
ธรรมทายาทที่ได้รับสรรเสริญด้วยเหตุ ๓ สถาน หน้า 207
มัชฌิมาปฏิปทา หน้า 209
อรรถกถาธรรมทายาทสูตร หน้า 211
เหตุเกิดพระสูตร ๔ อย่าง หน้า 211
ธรรมทายาท และอามิสทายาท หน้า 214
ตถาคตอนุเคราะห์สาวก หน้า 218
ปวารณา ๔ หน้า 222
คําจํากัดความที่ที่ปราศจากของเขียวสด หน้า 226
ความหมายของวุตฺต ศัพท์ หน้า 226
บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน ๕ อย่าง หน้า 228
เหตุที่น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า หน้า 230
คุณ ๕ ประการ หน้า 233
เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับก่อน หน้า 236
พระสารีบุตรเถระแสดงธรรม หน้า 238
ฐานศัพท์ใช้ในความหมายต่างๆ หน้า 243
ผลของมัชฌิมาปฏิปทา หน้า 248
ความหมายของมรรค หน้า 249
ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก หน้า 252
ตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากบาปธรรมเหล่านี้ หน้า 255
ความแตกต่างลําดับ และวิธีแห่งการเจริญ หน้า 257
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 17]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 202
๓. ธรรมทายาทสูตร
(๒๐) ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธพจน์แล้ว.
(๒๑) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นอามิสทายาทของเราตถาคตเลย เราตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายอยู่ว่า ทําอย่างไรหนอ? สาวกทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายจะพึงเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทของเราตถาคต ข้อที่เธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทของเราตถาคตนั้น จะพึงเป็นเหตุให้ถูกวิญูชนติเตียนเอาได้ว่า สาวกทั้งหลายของพระศาสดาพากันเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทอยู่ ถึงเราตถาคตก็คงถูกวิญูชนติเตียนได้ว่า สาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทอยู่ ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลายพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาทของเราตถาคตไซร้ แม้เธอทั้งหลายจะไม่พึงถูกวิญูชนติเตียนว่า สาวกทั้งหลายของพระศาสดาเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาทอยู่. ถึงเราตถาคตก็คงไม่ถูกวิญูชนติเตียนว่า สาวกทั้งหลายของพระศาสดาเป็นธรรมทายาท ไม่เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 203
อามิสทายาทอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เราตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายอยู่ว่า ทําอย่างไรหนอ? สาวกทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท.
ธรรมทายาทและอามิสทายาท
(๒๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้วเสร็จบริบูรณ์แล้ว อิ่มแล้ว เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาตของเราตถาคตยังมีเหลืออยู่ มีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา. เวลานั้น ภิกษุ ๒ รูป ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงําแล้ว หิวโหยมาก พากันมา เราพึงกล่าวกะเธอทั้งหลายนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว อิ่มแล้ว เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาตนี้ของเราตถาคตยังมีเหลืออยู่ มีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเธอทั้งหลายประสงค์จะฉันก็จงฉันเถิด ถ้าเธอทั้งหลายไม่ประสงค์จะฉันก็อย่าฉัน เราจักทิ้งเสียในที่ที่ปราศจากของเขียวสด หรือจักเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้.
ภิกษุผู้เป็นธรรมทายาท
บรรดาภิกษุ ๒ รูป รูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว ทรงอิ่มแล้ว พอพระประสงค์แล้ว ก็บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ยังมีเหลืออยู่ มีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเราทั้งหลายจักไม่ฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จัก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 204
ทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของเขียวสด หรือจักทรงเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย ก็บิณฑบาตนี้เป็นอามิสทายาทอย่างหนึ่ง อย่ากระนั้นเลย เราจะไม่ฉันบิณฑบาตนี้ จะปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ ทั้งที่ยังมีความหิวและความอ่อนเพลียอยู่นั้นแหละ.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท
ส่วนภิกษุรูปที่ ๒ มีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว ทรงอิ่มแล้ว พอพระประสงค์แล้ว ก็บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ยังมีเหลืออยู่มีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเราทั้งหลายไม่ฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของเขียวสด หรือจักทรงเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้ อย่ากระนั้นเลย เราควรฉันบิณฑบาตนี้ บรรเทาความหิวและความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้. เธอจึงฉันบิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิวและความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น แม้จะฉันบิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิวและความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ก็จริงถึงอย่างนั้น ภิกษุรูปแรกโน้นแหละ ของเราตถาคตเป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญมากกว่า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยงง่าย ปรารภ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 205
ความเพียร แก่ภิกษุนั้น สิ้นกาลนาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคต อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เราตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายว่า ทําอย่างไรหนอ สาวกทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว พระสุคตเจ้าครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระวิหาร.
พระสารีบุตรอธิบาย
(๒๓) ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นานท่านพระสารีบุตรเถระ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคําท่านพระสารีบุตรเถระว่า ขอรับ ดังนี้.ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวคํานี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล? ก็แล เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล?
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า อาวุโส แม้ผมทั้งหลายก็มาแต่ที่ไกล เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้ ในสํานักท่านพระสารีบุตรเถระ ขอโอกาสเถิดครับ เนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้คงแจ่มแจ้งเฉพาะท่านพระสารีบุตรเถระองค์เดียว ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อท่านพระสารีบุตรเถระแล้ว จักทรงจําไว้. ท่านพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มี-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 206
อายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดี ผมจักกล่าว.ภิกษุเหล่านั้นตอบรับคําท่านพระสารีบุตรเถระว่า อย่างนั้นขอรับ.
อามิสทายาทถูกตําหนิด้วยเหตุ ๓ สถาน
(๒๔) ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคํานี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ศึกษาความสงัดตาม คือไม่ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัยลาภ) และเป็นผู้ย่อหย่อนตกอยู่ในอํานาจนิวรณ์ ๕ ทอดธุระในความสงัด. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเป็นผู้อันวิญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว พระสาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเป็นผู้อันวิญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า (สาวกทั้งหลาย) ไม่ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ และภิกษุผู้เถระทั้งหลาย เป็นผู้อันวิญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัยลาภ) ย่อหย่อน ตกอยู่ในอํานาจนิวรณ์ ๕ ทอดทิ้งธุระในความสงัด. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญูชนติเตียนได้ด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ปานกลาง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 207
ฯลฯ ภิกษุ ฯลฯ ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญูชนติเตียนได้ด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลาย อันวิญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า (สาวกทั้งหลาย) ไม่ละธรรมที่พระศาสดาตรัสให้ละ และภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมากด้วย (ปัจจัยลาภ) และเป็นผู้ย่อหย่อน ตกอยู่ในนิวรณ์๕ ทอดทิ้งธุระในความสงัด. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังใหม่เป็นผู้อันวิญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายชื่อว่าไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
ธรรมทายาทได้รับสรรเสริญด้วยเหตุ ๓ สถาน
(๒๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมศึกษาความสงัดตามคือ (สาวกทั้งหลาย) ย่อมละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ ไม่เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัย ด้วยลาภ) ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่ตกอยู่ในอํานาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระ อัน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 208
วิญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า สาวกทั้งหลายย่อมละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเป็นผู้อันวิญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่ตกอยู่ในอํานาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด.ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ปานกลาง ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายผู้ยังใหม่ เป็นผู้อันวิญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า (สาวกทั้งหลาย) ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ และภิกษุผู้ใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัยลาภ) ไม่ตกอยู่ในอํานาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด.ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังใหม่ อันวิญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายชื่อว่าศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 209
มัชฌิมาปฏิปทา
[๒๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น โลภะ และ โทสะ เป็นธรรมลามก แต่มัชฌิมาปฏิปทา เพื่อละโลภะและโทสะ มีอยู่ เป็นธรรมทําให้เกิดดวงตา ทําให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทานั้น ที่เป็นธรรมทําให้มีดวงตา ทําให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน คืออะไร? คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง ได้แก่ความเห็นชอบ ความดําริชอบ การเจรจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งมั่นชอบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล เป็นธรรมทําให้เกิดดวงตา ทําให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น ความโกรธและความผูกโกรธ เป็นธรรมลามก ... ความริษยา และความตระหนี่เป็นธรรมลามก ... มายาและความโอ้อวดเป็นธรรมลามก ... ความหัวดื้อและความแข่งดี เป็นธรรมลามก ... ความถือตัวและความดูหมิ่น เป็นธรรมลามก ... ความเมาและความเลินเล่อ เป็นความลามก แต่มัชฌิมาปฏิปทาเพื่อละความเมาและความเลินเล่อมีอยู่ เป็นธรรมทําให้เกิดดวงตาทําให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานั้น เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 210
ธรรมทําให้เกิดดวงตา ทําให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน คืออะไร คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ความเห็นชอบ ความดําริชอบ การเจรจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งมั่นชอบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้แล เป็นธรรมทําให้เกิดดวงตา ทําให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนั้นแล.
จบ ธรรมทายาทสูตร ที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 211
อรรถกถาธรรมทายาทสูตร
เหตุเกิดพระสูตร
[๒๐] ธรรมทายาทสูตรมีคําเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ. ก็เพราะเหตุที่ธรรมทายาทสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงตามที่มีเรื่องเกิดขึ้น ฉะนั้น ข้าพเจ้า (พระอรรถกถาจารย์) จักแสดงเหตุเกิดพระสูตรนั้นแล้ว จึงจะกระทําการขยายความพระสูตรนั้นไปตามลําดับบท.
ถามว่า ก็ธรรมทายาทสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเพราะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเล่า?
ตอบว่า เรื่องลาภสักการะ.
ดังได้สดับมาว่า ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยที่ได้ทรงสั่งสมทานบารมีให้บริบูรณ์แล้วตั้ง ๔ อสงไขย เป็นความจริง (เพราะ) พระบารมีทุกข้อเป็นเหมือนมาจับกลุ่ม (ตกลงกัน) ว่า จักให้ผลในอัตภาพเดียวกันนี้แหละ ดังนี้แล้วให้บังเกิดเป็นห้วงน้ำใหญ่คือลาภสักการะ ประดุจมหาเมฆที่จับกลุ่มกันเป็นคู่ๆ ก่อตัวขึ้นในทุกทิศแล้ว (ตกลงมา) ให้บังเกิดเป็นห้วงน้ำใหญ่ฉะนั้น.
ประชาชนต่างวรรณะมีกษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้นมีมือถือข้าว น้ำ ยาน ผ้า พวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องไล้ทาเป็นต้นมาจากที่นั้นๆ (ที่ต่างๆ กัน) แล้วพากันถามหาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน? พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน? พระผู้เป็นเทพของเทพ พระผู้เป็นนระผู้อาจหาญ พระผู้เป็นบุรุษประดุจราชสีห์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 212
ประทับอยู่ที่ไหน?
ประชาชนเหล่านั้นแม้ใช้เกวียนตั้งหลายร้อยเล่มบรรทุกปัจจัยมา เมื่อยังไม่ได้โอกาสเข้าเฝ้าก็จะจอดเกวียนคอยเรียงรายติดกันโดยรอบ กินเนื้อที่เป็นคาวุต เช่นอันธกวินุทพราหมณ์เป็นต้นเป็นตัวอย่าง. รายละเอียดทั้งหมด นักศึกษาจะพึงทราบได้ ตามนัยที่มาแล้วในขันธกะ (หมวด) และในสูตรนั้น.
และพระผู้มีพระภาคเจ้ามีลาภสักการะเกิดขึ้นมากฉันใด พระภิกษุสงฆ์ก็มีฉันนั้นเหมือนกันแล. ข้อนี้สมด้วยคําอ้างที่พระอานนทเถระกล่าวไว้ดังนี้ว่า ก็ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชนถวายสักการะแสดงความเคารพนับถือบูชานอบน้อม (และ) ทรงได้รับจีวรบิณฑบาตเสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เป็นประจํา ฝ่ายภิกษุสงฆ์แล (ก็เช่นกัน) คือ เป็นผู้อันมหาชนถวายสักการะ ฯลฯ (และ) ได้รับ ... ... บริขารอยู่ประจํา.
พระผู้มีพระภาคเองก็ตรัสไว้เหมือนกันว่า ดูก่อนจุนทะ หมู่หรือคณะที่อุบัติขึ้นโนโลกในบัดนี้มีอยู่จํานวนเท่าใด (บรรดาหมู่หรือคณะเหล่านั้น) หมู่หรือคณะอื่นแม้แต่หมู่หนึ่ง ตถาคตก็ยังมองไม่เห็นเลยที่จะได้รับลาภอันเลิศและยศอันเลิศเหมือนกับหมู่ภิกษุ นะจุนทะ ลาภสักการะนี้นั้นที่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ รวมกันแล้วเป็นของประมาณไม่ได้ เหมือนน้ำของแม่น้ำใหญ่ ๒ สายที่ไหลมารวมเป็นสายเดียวกันก็เป็นของประมาณไม่ได้ฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลายได้กลายเป็นผู้หนักในปัจจัย ติดในปัจจัย หมกมุ่นในปัจจัย ตามลําดับ แม้เมื่อเวลาหลังภัตร (หลังฉันอาหารแล้ว) เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 213
ประชาชนนําไทยธรรม มีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น มาถวายภิกษุเหล่านั้นครั้นเคาะระฆังแล้วก็ส่งเสียงเอ็ดอึงว่า ถวายแก่อาจารย์ของอาตมานะ ถวายแก่อุปัชฌาย์ของอาตมานะ และพฤติกรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นก็ได้ปรากฏ (ล่วงรู้) ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดธรรมสังเวชว่า ช่างไม่เหมาะเอาเสียเลย แล้วทรงดําริว่า ตถาคตไม่สามารถจะบัญญัติสิกขาบท (ห้าม) ว่า ปัจจัยเป็นของไม่สมควร เนื่องจากการบําเพ็ญสมณธรรมของกุลบุตรทั้งหลายต้องอาศัยปัจจัย แต่เอาเถอะตถาคตจักแสดงธรรมทายาทปฏิปทา (ข้อปฏิบัติของผู้เป็นธรรมทายาท) ซึ่งก็จักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบทแห่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ต่อการศึกษา และจักเป็นเหมือนกระจกสําหรับส่องดูได้ทั่วตัวที่ติดตั้งไว้ที่ประตูเมือง.
อธิบายว่า ประชาชน ๔ วรรณะ เห็นเงา (รูป) ของตนในกระจกสําหรับส่องดูได้ทั่วตัวซึ่งติดตั้งไว้ที่ประตูเมือง ย่อมขจัดโทษ (สิ่งที่ทําให้หมดความสวยงาม) แล้วกลับกลายเป็นผู้ไม่มีโทษฉันใด กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อการศึกษาก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ประสงค์จะประดับประดาตนด้วยเครื่องประดับคือความเพียร มาน้อมนึกถึงเทศนาซึ่งอุปมาด้วยกระจกส่องดูได้ทั่วตัว แล้วต่างพากันละเว้นอามิสทายาทปฏิปทา หันมาบําเพ็ญธรรมทายาทปฏิปทา ก็จัก (สามารถ) ทําชาติชรามรณะให้สิ้นสุดไปได้โดยฉับพลันทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ไว้ก็เพราะมีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 214
ธรรมทายาท และอามิสทายาท
ในพระสูตรนั้น พระดํารัสที่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย ดังนี้ มีคําอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงเป็นทายาทแห่งธรรมของตถาคตเถิด อย่าเป็นทายาทแห่งอามิสเลย คือ ธรรมะของตถาคตอันใดขอเธอทั้งหลายจงเป็นผู้รับไว้ซึ่งธรรมะอันนั้นเถิด ส่วนตถาคตมีอามิสใดแล ของเธอทั้งหลายอย่ารับซึ่งอามิสนั้นเลย.
ในพระดํารัสนั้น แม้ธรรมก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือ นิปปริยายธรรม (ธรรมโดยตรง) ๑ ปริยายธรรม (ธรรมโดยอ้อม) ๑ ฝ่ายอามิสก็มีอยู่ ๒ อย่าง (เช่นกัน) คือ นิปปริยายอามิส (อามิสโดยตรง) ๑ ปริยายอามิส (อามิสโดยอ้อม) ๑.
ทั้งธรรมและอามิสนั้น มีอธิบายเป็นอย่างไร?
มีอธิบายว่า โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ อย่างซึ่งแยกประเภทเป็นมรรค (๔) ผล (๔) และนิพพาน (๑) ชื่อว่า นิปปริยายธรรม คือธรรมที่ผู้ปฏิบัติให้บังเกิด (กับตนได้โดยตรง) ทีเดียว ไม่ใช่เป็นธรรมโดยปริยาย (โดยอ้อม) คือ โดยเหตุหรือโดยเลสอะไร. ส่วนกุศลที่อิงอาศัยวิวัฏฏะ (นิพพาน) นี้ เช่นคนบางคนในโลกนี้ปรารถนาอยู่ซึ่งวิวัฏฏะจึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําการบูชาพระรัตนตรัยด้วยสักการะทั้งหลายมีเครื่องหอมและพวงดอกไม้เป็นต้น ฟังธรรม (และ) แสดงธรรม ทําฌานและสมาบัติให้บังเกิด เขาทําอยู่อย่างนี้ ย่อมได้นิปปริยายธรรม คืออมตนิพพานโดยลําดับ. ก็ธรรมดังว่ามานี้แหละซื่อว่าปริยายธรรม.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 215
ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้นก็ทํานองนั้น ชื่อว่านิปปริยายอามิสแท้ทีเดียวไม่ใช่เป็นอามิสเพราะปริยายอย่างอื่น หรือเพราะเลสอย่างอื่นเลย ส่วนกุศลที่นําไปสู่วัฏฏะ (ภพ ๓) นี้ เช่นคนบางคนในโลกนี้ปรารถนาวัฏฏะมุ่งหมายภพที่มีสมบัติ (พร้อมมูล) จึงให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้บังเกิด เขาทําอยู่อย่างนี้ ย่อมได้เทวสมบัติมนุษย์สมบัติโดยลําดับ กุศลดังว่ามานี้ ชื่อว่าปริยายอามิส.
ในเรื่องธรรมและอามิสนั้น (มีอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า) แม้นิปปริยายธรรมก็ชื่อว่าเป็นธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า เนื่องจากว่าเพราะธรรมนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ ภิกษุทั้งหลายจึงได้บรรลุมรรค ผล และนิพพาน ข้อนี้สมด้วยคําอ้างที่มีกล่าวไว้ดังนี้ว่า พราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติขึ้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ส่วนพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้มาทีหลังดําเนินไปตามมรรค (ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้อุบัติแล้ว) อยู่ ดังนี้ และว่า ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อ (ทรงมีพระประสงค์) จะทรงทราบก็ทราบได้ เมื่อทรง (มีพระประสงค์) จะเห็นก็เห็นได้ พระองค์ทรงมีพระจักษุ ทรงมีพระญาณ ทรงมีธรรม ทรงเป็นพรหม ทรงเป็นผู้บอกกล่าว ทรงเป็นผู้น้อมนําไปสู่ประโยชน์ ทรงประทานอมตะ ทรงเป็นธรรมสามี เป็นพระตถาคต.
แม้ปริยายธรรมก็ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้ เนื่องจากว่าเป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ สาวกทั้งหลายจึงรู้อย่างนี้ว่า คนผู้ปรารถนาวิวัฏฏะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้บังเกิดได้นิพพานอันเป็นอมตะโดยลําดับ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 216
ฝ่ายนิปปริยายอามิสก็ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน.เนื่องจากว่าเป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้นั่นเอง ภิกษุทั้งหลายจึงได้จีวรอันประณีต เพราะทรง (ปรารภ) เรื่องหมอชีวกเป็นตัวอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าเองก็ตรัสไว้เป็นหลักฐานดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตคหบดีจีวร (จีวรที่คหบดีถวาย) ภิกษุรูปใดปรารถนา (จะสมาทานหรือครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) ก็จงเป็นผู้ถือครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตรไปเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาคหบดีจีวร ก็จงยินดีคหบดีจีวรไปเถิด ภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าตถาคตสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามได้ นะ.
อนึ่ง ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายยังไม่ได้บิณฑบาตอันประณีต จึงได้สรรเสริญคําข้าวที่แสวงหาด้วยลําแข้งโดยการเที่ยวไปตามลําดับตรอกเท่านั้น เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ได้ทรงอนุญาตไว้เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตสังฆภัตร อุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโบสถิกภัตร ปาฏิปทิกภัตร ภิกษุเหล่านั้นได้โภชนะอันประณีต เสนาสนะก็ทํานองเดียวกัน แม้ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายได้อาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ อาทิตามเงื้อมเขาที่ไม่ได้ตกแต่ง และตามควงไม้ (ร่มไม้) เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้เอง อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด ภิกษุเหล่านั้นจึงได้เสนาสนะเหล่านั้นคือ วิหาร เพิง ปราสาทมียอด ปราสาทไม่มียอด เรือนโล้น และถ้ำ.
อนึ่ง ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายได้ใช้สมอดองด้วยน้ำมูตรทําเป็นยา เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละที่ทรงอนุญาตไว้โดยนัยมีอาทิ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 217
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตเภสัช ๕ ชนิด คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุเหล่านั้นจึงได้เภสัชนานาชนิด.
ถึงปริยายอามิสก็ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน เนื่องจากว่าเป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนไว้ สาวกทั้งหลายจึงรู้อย่างนี้ว่า คนที่ปรารถนาภพที่มีสมบัติ (พร้อมมูล) ให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ ทําสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ย่อมได้ปริยายอามิสคือทิพยสมบัติ มนุษยสมบัติโดยลําดับ.
เพราะเหตุที่ทั้งนิปปริยายธรรม ทั้งปริยายธรรม ทั้งนิปปริยายอามิสทั้งปริยายอามิส ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งนั้น ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงภาวะที่พระองค์ทรงเป็นเจ้าของทั้งในธรรมและอามิสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย อธิบายว่า ธรรมทั้ง ๒ อย่างซึ่งเป็นของตถาคตอันใด ขอเธอทั้งหลายจงเป็นทายาทแห่งธรรมนั้นเถิด ส่วนอามิสนั้นใด ซึ่งเป็นของตถาคตเหมือนกัน ขอเธอทั้งหลายจงอย่าเป็นทายาทแห่งอามิสนั้นเลย คือ ขอเธอทั้งหลายจงเป็นเจ้าของแต่เฉพาะส่วนแห่งธรรมเท่านั้นเถิด อย่าเป็นเจ้าของส่วนแห่งอามิสเลย ด้วยว่าภิกษุรูปใดบวชในศาสนาของพระชินเจ้า มีปัจจัยเป็นยอดเยี่ยม คือเห็นแก่ปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นเหตุเกิดตัณหา ทอดทิ้งธุระในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ ภิกษุรูปนี้ชื่อว่าอามิสทายาท ขอเธอทั้งหลายจงอย่าเป็นเช่นนั้นเลย ส่วนภิกษุรูปใดอาศัยคุณธรรมมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้นในปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ให้พิจารณาอย่างละเอียดก่อนแล้วจึงเสพ (บริโภค) มีข้อปฏิบัติยอดเยี่ยมเห็นเอง (ดํารงอยู่) ใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 218
อริยวงศ์ ๔ ภิกษุรูปนี้ชื่อว่าธรรมทายาท ขอเธอทั้งหลายจงเป็นเช่นนั้นเถิด.
ตถาคตอนุเคราะห์สาวก
บัดนี้ ก็ชนเหล่าใดได้มีความวิตกดังนี้ว่า ในอนาคตกาลจักมีหรือไม่หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่ทรงประสงค์ให้พระสาวกทั้งหลายได้ลาภจึงตรัสอย่างนี้ เพื่อจะทรงแสดงแก่ชนเหล่านั้นว่า พระตถาคตเจ้าประสงค์จะให้พระสาวกทั้งหลายได้ลาภอันประณีตยิ่ง (กว่านี้) จึงกล่าวอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ว่า อตฺถิ เม ตุเมฺหสุ ฯลฯ โน อามิสทายาทา ดังนี้ (เราตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ฯลฯ ไม่เป็นอามิสทายาท).
พระพุทธดํารัสนั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ว่า ตถาคตมีความอนุเคราะห์ ความเอ็นดู ความมุ่งหวัง เกื้อกูล ในเธอทั้งหลายว่า ด้วยเหตุอะไรหนอ ด้วยอุบายอะไรหนอ พระสาวกทั้งหลายจึงจะเป็นธรรมทายาท เป็นเจ้าของส่วนแห่งธรรม ไม่เป็นอามิสทายาท.
อนึ่ง ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นนักบวชหลายร้อยจําพวก เป็นต้นว่าภิกษุภิกษุณีและนางสิกขมานาในอดีตกาล (ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน) มีหลักฐานปรากฏมาโดยนัยว่า แม้สังฆาฏิของกบิลภิกษุก็ถูกไฟลุกไหม้ ดังนี้เป็นต้น และนักบวชในศาสนาของพระองค์เองเช่นพระเทวทัตเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้เห็นแก่อามิสถลําเข้าไปในอามิส (ตายแล้วไปบังเกิดในอบายภูมิ จนเต็มอบายภูมิ) แต่ทรงเห็นพระสาวกผู้หนักในธรรมมีพระสารีบุตร พระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 219
มหาโมคคัลลานะและพระมหากัสสปะ เป็นต้น กลับได้บรรลุคุณมีอภิญญาและปฏิสัมภิทาเป็นอาทิ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาให้พระสาวกเหล่านั้นหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิงไปจากอบายภูมิและได้บรรลุคุณธรรมทั้งหมดจึงตรัสว่า อตฺถิ เม ตุเมฺหสุ อนุกมฺปากินฺติ เม สาวกา ธมฺมทายาทา ภเวยฺยํ โน อามิสทายาทา (ตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ทําอย่างไรหนอ สาวกของตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท) ดังนี้.
ก็ภิกษุผู้เห็นแก่ปัจจัย ย่อมสิ้นเดชอับแสงระหว่างบริษัท ๔ คล้ายกับกหาปณะเกและเถ้าถ่านไฟที่ดับแล้วฉะนั้น (ส่วน) ภิกษุผู้มีจิตหวนกลับจากปัจจัยนั้น เป็นผู้หนักในธรรม ประพฤติครอบงําอามิสอยู่เป็นนิตย์ ย่อมมีเดช (สง่าราศี) คล้ายกับราชสีห์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า อตฺถิ เม ฯเปฯ โน อามิสทายาทา ดังนี้ (เราตถาคคมี ฯลฯ อย่าเป็นอามิสทายาท).
ครั้นทรงชี้แจงให้เข้าใจว่า พระพุทธดํารัสนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย ตถาคตปรารถนาให้เหล่าพระสาวกได้ลาภที่ประณีตกว่า ตรัสไว้แล้วด้วยความอนุเคราะห์ หาใช่ไม่ต้องการให้พระสาวกได้ลาภไม่อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในเพราะไม่ยอมทําตามพระโอวาทนี้ ในบัดนี้จึงตรัสว่า ตุเมฺห จ เม ภิกฺขเวฯ เปฯ โน ธมฺมทายาทา ดังนี้ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลาย ฯลฯ ไม่พึงเป็นธรรมทายาทของตถาคตไซร้).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุเมฺหปิ เตน อาทิสฺสา ภเวยฺยาถ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 220
มีความว่า แม้พวกเธอก็จะพึงถูกรังเกียจโดยความเป็นอามิสทายาทนั้น หาถูกรังเกียจโดยความเป็นธรรมทายาทไม่ มีคําอธิบายว่า เธอทั้งหลายพึงถูกเหยียดหยาม คือถูกกระทํา ได้แก่กําหนดไว้ต่างหาก (ถูกกันไว้ต่างหาก) หมายความว่า ถูกวิญูชนติเตียน.
ติเตียนว่าอย่างไร?
ติเตียนว่า เหล่าสาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่ หาเป็นธรรมทายาทอยู่ไม่.
บทว่า อหมฺปิ เตน อาทิสฺโส ภเวยฺยํ ความว่า ถึงเราตถาคตก็จะพึงถูกตําหนิได้ โดยที่ทําให้เธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาทนั้นหาถูกตําหนิโดยที่เธอทั้งหลายเป็นธรรมทายาทไม่.
ถูกตําหนิว่าอย่างไร?
ถูกตําหนิว่า เหล่าสาวกของพระศาสดาอยู่อย่างเป็นอามิสทายาท หาอยู่อย่างเป็นธรรมทายาทไม่.
คําตําหนินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก็เพื่อทําให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกลายเป็นคนอ่อนโยนอย่างยิ่งทีเดียว.
ก็ในพระพุทธดํารัสตอนนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายจักลุ่มหลงในอามิสท่องเที่ยวไป ในเพราะความลุ่มหลงอามิสของพวกเธอนั้น วิญูชนทั้งหลายก็จักพากันติเตียนตถาคตว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญู (รู้ทุกสิ่ง) ไฉนจึงไม่สามารถทําเหล่าสาวกของพระองค์ให้เป็นธรรมทายาท ไม่ให้เป็นอามิสทายาทได้เล่า เปรียบเหมือน (เมื่อ) ชาวโลกเห็นพระมีมรรยาทไม่เหมาะสม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 221
ย่อมติเตียนถึงอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า ท่านเหล่านี้เป็นสัทธิวิหาริกของใคร? เป็นอันเตวาสิกของใคร? อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือน (ผู้ใหญ่) เห็นเด็กชายหรือเด็กหญิงที่มีตระกูล เป็นคนไม่ดีมีความประพฤติเสียหายย่อมติเตียนถึงบิดามารดาว่า เด็กพวกนี้เป็นลูกชายลูกสาวของใคร ฉันใด วิญูชนทั้งหลายก็จักติเตียนตถาคต ฉันนั้นเหมือนกัน คือ จักติเตียนว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญู ไฉนจึงไม่ทรงสามารถทําเหล่าสาวกของพระองค์ให้เป็นธรรมทายาท ไม่ให้เป็นอามิสทายาทได้เล่า?
ครั้นทรงแสดงโทษในการไม่ยอมทําตามพระพุทธโอวาทนี้อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ในการยอมทําตาม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตุเมฺห จ เม ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหมฺปิ เตน อาทิสฺโส น ภเวยฺยํ ความว่า อุปมาเสมือนว่าชาวโลกเห็นพวกภิกษุหนุ่มประพฤติวัตรบริบูรณ์ถึงพร้อมด้วยอุเทศและปริปุจฉา (การเรียนและการสอบถาม) มีอากัปปกิริยาเหมาะสมเหมือนหนึ่งพระเถระร้อยพรรษา จึงถามว่า ท่านเหล่านี้เป็นสัทธิวิหาริกของใคร เป็นอันเตวาสิกของใคร? เมื่อมีคนบอกว่าของอาจารย์และอุปัชฌาย์รูปโน้นก็จะพากันสรรเสริญว่า พระเถระช่างอาจสามารถตักเตือนพร่ําสอน อาจารย์และอุปัชฌาย์ย่อมไม่ถูกตําหนิไม่ถูกติเตียนฉันใด แม้เราตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ โดยความที่เธอทั้งหลายเป็นธรรมทายาทนั้น ไม่ใช่โดยความที่เธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาท ชาวโลกก็จะพากันถามว่า สาวกของใครกันนะปฏิบัตินาลกปฏิปทา ปฏิบัติตุวฏกปฏิปทา ปฏิบัติจันทูปมปฏิปทา ปฏิบัติรถวินีตปฏิปทา ปฏิบัติมหาโคสิงคสาลปฏิปทา ปฏิบัติมหาสุญญตาปฏิปทา เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 222
พยานในอริยวงศ์ ซึ่งมีความสันโดษในปัจจัย ๔ และภาวนาเป็นที่มายินดี มีใจหลีกออกห่างจากความกําหนัดในปัจจัยอยู่ไป เปรียบเหมือนดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอก เมื่อมีคนบอกว่า สาวกของพระสมณโคดม ก็จะพากันสรรเสริญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญูแท้หนอ ได้ทรงสามารถแท้หนอ ที่จะทรงแนะนําเหล่าสาวกให้ละทิ้งอามิสทายาทปฏิปทาแล้วหันมาบําเพ็ญข้อปฏิบัติของผู้เป็นธรรมทายาท พระองค์ย่อมไม่ถูกวิญูชนทั้งหลายตําหนิติเตียนอย่างนี้แล นักศึกษาทราบคําอธิบายในบทนี้อย่างนี้ รายละเอียดที่ยังเหลือ พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามจากนัยที่กล่าวแล้วในกัณหปักษ์ (ฝ่ายที่ไม่ดี).
ปวารณา ๔
ครั้นทรงแสดงอานิสงส์ในการย่อมทําตามพระโอวาทนี้อย่างนี้แล้วบัดนี้ เมื่อจะทรงมอบพระโอวาทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตสฺมาติห เม ภิกฺขเวฯ เปฯ โน อามิสทายาทา ดังนี้.
[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงมอบพระพุทธโอวาทนี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงชมเชยเหล่าภิกษุผู้บําเพ็ญข้อปฏิบัติของผู้เป็นธรรมทายาทนั้น จึงมีพุทธดํารัสมีอาทิว่า อิธาหํ ภิกฺขเว ดังนี้.
จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายพอได้ฟังคําตรัสชมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ต่างย่อมพากันปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้นทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ นี้ เป็นบทนิบาต.
บทว่า ภุตฺตาวี แปลว่า เสวยแล้วเสร็จ อธิบายว่า ทรงกระทําภัตตกิจแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 223
บทว่า ปวาริโต แปลว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ทรงห้ามภัตรแล้วด้วยการปวารณา (การห้าม) เมื่อพอแก่ความต้องการแล้ว อธิบายว่า เสวยจนพอแก่ความต้องการแล้ว จึงทรงห้ามโภชนะหรือทรงอิ่มแล้ว.
อธิบายว่า ปวารณา (การยอมให้ตักเตือน การยอมให้ขอ การห้าม). มี ๔ อย่างคือ ปวารณาของภิกษุผู้อยู่จําพรรษาแล้ว ๑ ปวารณาด้วยปัจจัย ๑ ปวารณาทั้งที่มีของอยู่พร้อม ๑ ปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการแล้ว ๑.
ในบรรดาปวารณา ๔ นั้น ปวารณานี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราผู้ตถาคตอนุญาตให้ภิกษุอยู่จําพรรษาแล้วปวารณากันได้ ย่อมให้ตักเตือนโดยเหตุ ๓ สถาน ดังนี้ ชื่อว่าปวารณาของภิกษุผู้อยู่จําพรรษาแล้ว.
ปวารณานี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะปวารณา (ยอมให้ขอ) สงฆ์ด้วยเภสัชตลอด ๔ เดือน และปวารณานี้คือ ปวารณายกเว้น ปวารณาซ้ำอีก ยกเว้นปวารณาเป็นนิตย์ ชื่อว่าปวารณาด้วยปัจจัย.
ปวารณานี้คือ ภิกษุชื่อว่า (ห้ามภัตร) แล้ว คือ การฉันปรากฏอยู่ ๑ โภชนะปรากฏอยู่ ๑ คนอยู่ในหัตถบาส ๑ น้อมของเข้าไป ๑ การห้ามปรากฏ ๑ ภิกษุนี้ชื่อว่า ห้ามภัตรแล้ว ชื่อว่าปวารณาทั้งที่มีของพร้อม.
ปวารณานี้คือ ทายกเลี้ยงภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนําสําราญด้วยขาทนียะ (ของเคี้ยว) และ โภชนียะ (ของฉัน) ด้วยมือของตน (จน) ให้บอกห้าม (ภัตร) ชื่อว่าปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 224
ปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการนี้ ท่านประสงค์เอาแล้วในที่นี้ด้วยเหตุนั้น จึงได้กล่าวไว้ว่า:-
บทว่า ปวาริโต แปลว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ทรงห้ามภัตรแล้วด้วยการปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการแล้ว.
บทว่า ปริปุณฺโณ แปลว่า ทรงบริบูรณ์แล้วด้วยโภชนะ.
บทว่า ปริโยสิโต แปลว่า มีโภชนะอันพระองค์ให้สิ้นสุดแล้ว (ฉันเสร็จแล้ว). (ในบทว่า ปริโยสิโต นี้) พึงเห็นว่าท่านลบบทหลัง (โภชโน) ออกเสีย อธิบายว่า เราตถาคตพึงฉันได้เท่าใด ก็ฉันเท่านั้น กิริยาคือการฉันของเราตถาคตสิ้นสุดลงแล้ว.
บทว่า สุหิโต แปลว่า ทรงอิ่มแล้ว อีกอย่างหนึ่งหมายความว่า ทรงสําราญแล้ว เพราะไม่มีทุกข์คือความหิว.
บทว่า ยาวทตฺโถ ความว่า ความต้องการด้วยโภชนะของตถาคตมีอยู่เท่าใด ความต้องการนั้นทั้งหมดตถาคตได้บรรลุ (ถึงที่สุด) แล้ว.
ก็ในคําเหล่านี้ (คือคําว่า ภุตฺตาวี ปวาริโต ปริปุณฺโณ ปริโยสิโต สุหิโต ยาวทตฺโถ) ๓ คําหลังมีความหมายเท่ากับ ๓ คําแรก อธิบายว่า ภิกษุผู้มีโภชนะอันตนให้สิ้นสุดแล้ว ชื่อว่ามีโภชนะอันตนฉันแล้ว ภิกษุผู้อิ่มแล้ว ชื่อว่าห้ามภัตรแล้วด้วยการห้ามเมื่อพอแก่ความต้องการแล้ว ภิกษุผู้เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว อีกอย่างหนึ่ง ๓ คําแรกมีความหมายเท่ากับ ๓ คําหลัง. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ภิกษุฉันเสร็จ ฉะนั้น จึงชื่อว่ามีโภชนะอันตนให้สิ้นสุดแล้ว เพราะเหตุที่ภิกษุห้ามภัตรแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่าอิ่มแล้ว เพราะเหตุที่ภิกษุบริบูรณ์แล้วฉะนั้น จึงชื่อว่าพอแก่ความต้องการ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ผู้ศึกษาพึงทราบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 225
เถิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกําหนด (ความหมายของ) คําทุกคํานั้นไว้แล้วจึงตรัสไว้.
บทว่า สิยา ใช้ในอรรถว่า เป็นส่วนหนึ่งๆ และในอรรถว่าคาดหมาย.
ใช้ในอรรถว่า เป็นส่วนหนึ่งๆ คือ (ในประโยคที่ว่า) ปวีธาตุสิยา อชฺฌตฺติกา สิยา พาหิรา (ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี).
ใช้ในอรรถว่า คาดหมายคือ (ในประโยคที่ว่า) สิยา อฺตรสฺส ภิกฺขุโน อาปตฺติวีติกฺกโม (คงจะมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งล่วงละเมิดอาบัติ) ในที่นี้ ใช้ได้ทั้งสองความหมาย.
บิณฑบาตมากเกินนั้นเอง ชื่อว่าเป็นของเหลือเพื่อเป็นธรรมดา และธรรมดาก็จะต้องทิ้งไป. อธิบายว่า ทั้งเป็นของเหลือเฟือ ทั้งเป็นของจะต้องทิ้ง จึงไม่ต้องทําอะไรอย่างอื่น.
บทนิบาตว่า อถ คือ ตมฺหิ โยค กาเล (แปลว่า ในกาลนั้น).
บทว่า ชิฆจฺฉาทุพฺพลฺยปเรตา ความว่า อันความหิวและความอ่อนกําลังครอบงําแล้ว คือประทุษร้ายแล้ว ได้แก่ติดตามแล้ว.
ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางเหล่าแม้หิวมาตั้ง ๘ วันบ้าง ๑๐ วันบ้างก็ยังไม่อ่อนกําลัง ยังสามารถข่มความหิวไว้ได้ แต่ภิกษุ (๒ รูป) นี้ไม่เป็นเช่นนั้น เพื่อแสดงเหตุผลดังกล่าวมาแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ทั้งสองอย่าง (ทั้งความหิวและความอ่อนกําลัง).
บทว่า ตฺยาหํ ตัดบท เป็น เต อหํ (แปลว่า เราตถาคตกะภิกษุ๒ รูปนั้น).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 226
คําจํากัดความที่ที่ปราศจากของสดเขียว
บทว่า สเจ อากงฺขถ ความว่า ถ้าเธอทั้งสองปรารถนาไซร้
บทว่า อปฺปหริเต แปลว่า ปราศจากของเขียวสดที่งอกขึ้นแล้ว อธิบายว่า ในที่ที่ไม่มีหญ้าซึ่งธรรมดาจะต้องตายไปเพราะถูกก้อนข้าวที่ตกลงไปทับ ในที่ที่แม้จะทิ้งบิณฑบาตไปเป็นเล่มเกวียน หญ้าทั้งหลายก็ไม่ตายหมด ที่นั้นจะไม่มีหญ้าเลยก็ตาม มีหญ้ามากก็ตาม ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกําหนดถึงแล้วด้วยบทว่า อปฺปหริเต นั้น ก็บทว่า อปฺปหริเต นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อไม่ให้ภิกษุละเมิดภูตคามสิกขาบท.
บทว่า อปฺปาณเก แปลว่า ไม่มีสัตว์เล็ก คือในน้ำจํานวนมากซึ่งปราศจากสัตว์เล็กที่จะต้องตาย เพราะถูกก้อนข้าวที่ตกลงไป เป็นความจริง เมื่อน้ำน้อยคละเคล้า ด้วยการใส่ข้าวลงไปเท่านั้น พวกสัตว์เล็กๆ จึงจะตาย (แต่) ในสถานที่ทั้งหลายมีสระใหญ่เป็นต้น พวกสัตว์เล็กๆ จะไม่ตาย เพื่ออนุรักษ์สัตว์มีชีวิตดังกล่าวมานี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้อย่างนี้.
บทว่า โอปิลาเปสฺสามิ แปลว่า จักทิ้ง ความว่า จักให้จมลง
บทว่า ตตฺเรกสฺส ความว่า ในบรรดาภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่ง (ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ... ) แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภิกษุรูปนั้น คือรูปที่ตั้งใจฟังธรรมเทศนานี้แล้วน้อมนึกถึงบ่อยๆ
ความหมายของ วุตฺตศัพท์
ในคําว่า วุตฺตํ โข ปเนตํ มีอธิบายว่า วุตฺต ศัพท์นี้ (ใช้ใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 227
ความหมายต่างๆ กัน) คือ :-
๑. ใช้ในความหมายว่า ปลงผม บ้าง (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า มาณพหนุ่มชื่อว่า กาปติกะ โกนหัวแล้ว.
๒. ใช้ในความหมายว่า เพาะปลูก บ้าง (เช่น) ในประโยคเป็นต้น ว่า พืชที่งอกในสรทกาลปลูกลงไปในไร่นาแล้วย่อมงอกขึ้น ฉันใด.
๓. ใช้ในความหมายว่า กล่าว บ้าง (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า คํานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสไว้แล้ว.
แต่ในที่นี้ นักศึกษาพึงเห็นว่าใช้ในความหมายว่า กล่าว. ก็คําว่า วุตฺตํ โข ปเนตํ นั้นมีอธิบายดังนี้ว่า กถิตํ โข ปเนตํ แปลว่า (แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้ไว้แล้วนะว่า ... ).
บทว่า อามิสฺตรํ ความว่า อามิสคือปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอามิสคือปัจจัย ๔ อธิบายว่า อามิสคือปัจจัยอย่างหนึ่ง.
บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต (และ) มีรูปเป็นเช่นนั้นนั่นแหละในทุกลิงค์ วิภัตติ และทุกวจนะ นักศึกษาพึงใช้ให้ถูกความหมาย ในลิงค์วิภัตติและวจนะนั้นๆ. แต่ว่าในที่นี้ บทว่า ยทิทํ นั้น มีความหมายเท่า โย เอโส. มีคําอธิบายไว้ว่า ชื่อว่าบิณฑบาต นั่นใด บิณฑบาตนี้เป็นอามิสอย่างหนึ่ง.
บทว่า ยนฺนูนาหํ ได้แก่ สาธุ วตาหํ (แปลว่า ดีละหนอเรา ... ).
บทว่า เอวํ ความว่า แม้ปล่อยวันคืน (ให้ล่วงไป) เหมือนอย่างที่บุคคลปล่อยขณะนี้ให้ล่วงไปอยู่ในบัดนี้.
บทว่า วีตินาเมยฺยํ แปลว่า พึง ... ให้สิ้นไป คือ พึงให้ล่วง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 228
เลยไป.
บทว่า โส ตํ ปิณฺฑปาตํ ความว่า ภิกษุนั้นไม่ฉันบิณฑบาตนั้น แบบที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกพึงรับไว้ด้วยเศียรเกล้าที่เหลือจากที่พระสุคต (เสวย) หวังอยู่ซึ่งความเป็นธรรมทายาท พิจารณาถึงข้ออุปมาด้วยบุคคลที่ถูกไฟไหม้ศีรษะแล้ว พึงปล่อยให้คืนและวันนั้นล่วงไปอย่างนั้น ด้วยความหิวและความอ่อนกําลังนั้นเอง.
บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน ๕ อย่าง
ก็ในวาระนี้ว่า อถ ทุติยสฺส มีความย่อดังต่อไปนี้ ถ้าภิกษุนั้นเมื่อจะคิดว่า ดีละ เรา ฯลฯ พึงยังคืนและวันให้ล่วงไป ก็พึงคิดอย่างนี้ด้วยว่าการที่บรรพชิตจะแสวงหาบิณฑบาตในหมู่บ้านที่เกลื่อนกล่นด้วยสัตว์ร้ายคือเบญจกามคุณเป็นการยากลําบาก เช่นเดียวกับการแสวงหาเภสัชในป่าซึ่งชุกชุมไปด้วยสัตว์ร้าย แต่ว่าบิณฑบาตนี้พ้นโดยสิ้นเชิงจากโทษในการแสวงหาดังว่ามานี้ และเป็นบิณฑบาตที่เป็นเดนของพระสุคต เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหมือนขัตติยกุมารผู้อุภโตสุชาต (มีพระราชสมภพดีแล้วจากทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายพระชนกและฝ่ายพระชนนี).
อนึ่ง บิณฑบาตเป็นของภิกษุไม่ควรฉัน เพราะเหตุ ๕ ประการเหล่าใดคือ.
๑. เป็นของไม่ควรฉัน เพราะบุคคล (ผู้ถวาย) มีข้อน่าตําหนิคือเป็นบิณฑบาตของบุคคลอลัชชี.
๒. เป็นของไม่ควรฉัน เพราะบิณฑบาตมีการเกิดขึ้นไม่บริสุทธิ์ คือเกิดขึ้นมาจากการแนะนําของนางภิกษุณี และจากการสรรเสริญคุณที่ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 229
จริง (ในตน).
๓. เป็นของไม่ควรฉันเพื่อเป็นการอนุเคราะห์เจ้าของ คือภิกษุเจ้าของบิณฑบาตก็กําลังหิว.
๔. (แม้) ภิกษุเจ้าของบิณฑบาตนั้นจะอิ่มแล้ว แต่บิณฑบาตก็ยังเป็นของไม่ควรฉัน เพื่อเป็นการอนุเคราะห์อันเตวาสิกเป็นต้นของท่านนั่นเอง (เนื่องจาก) อันเตวาสิกหรือคนอื่นๆ ที่อาศัยบิณฑบาตนั้นยังหิวอยู่.
๕. แม้คนเหล่านั้นจะอิ่มหนําสําราญแล้ว แต่ว่าบิณฑบาทก็ยังเป็นของไม่ควรฉันเพราะความไม่มีศรัทธา คือ ภิกษุเจ้าของบิณฑบาตยังไม่มีศรัทธา.
บิณฑบาตนี้ก็พ้นแล้วโดยสิ้นเชิงจากเหตุ ๕ ประการเหล่านั้น ความจริงแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นยอดของลัชชีบุคคลทั้งหลาย บิณฑบาตมีความเถิดขึ้นโดยบริสุทธิ์ และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอิ่มหนําสําราญแล้ว ทั้งบุคคลอื่นที่หวังเฉพาะเจาะจงในบิณฑบาตก็ไม่มี คนเหล่าใดเป็นผู้มีศรัทธาในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นยอดของคนเหล่านั้น ดังนี้ และภิกษุนั้นครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว ฯลฯ ปล่อยให้คืนและวันล่วงไป.
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาเพียงเท่านี้ แม้ภิกษุใดไม่ฉัน (บิณฑบาตที่เป็นเดนพระสุคต) แต่บําเพ็ญสมณธรรม ภิกษุนั้นชื่อว่าไม่ฉันบิณฑบาตที่ควรฉันทีเดียว ส่วนภิกษุใดฉันแล้ว (บําเพ็ญสมณธรรม) ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันบิณฑบาตที่ควรฉันโดยแท้.
ความแปลกกันในบิณฑบาตไม่มี แต่มีความแปลกกันอยู่ในบุคคล
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 230
เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงความแปลกกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กิฺจาปิ โส ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิฺจาปิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่ายอมรับ และใช้ในความหมายว่า สรรเสริญ.
ถามว่า ยอมรับซึ่งอะไร?
ตอบว่า ซึ่งการฉันอันไม่มีโทษนั้นของภิกษุนั้น.
ถามว่า สรรเสริญซึ่งอะไร?
ตอบว่า ซึ่งการฉันแล้วบําเพ็ญสมณธรรม.
มีคํากล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถ้าภิกษุรูปนั้นฉันบิณฑบาตที่ควรฉันแล้วบําเพ็ญกิจที่ควรบําเพ็ญไซร้ ข้อว่าโดยที่แท้แล้วภิกษุรูปแรกโน้นแหละของเราตถาคต ความว่า ภิกษุรูปแรกผู้ปฏิเสธบิณฑบาตนั้นแล้วบําเพ็ญสมณธรรมโน้นนั่นแลของตถาคต ดูเหมือนจะเป็นผู้แกล้วกล้ากว่าในบรรดาสาวก ๒ รูป ของตถาคตซึ่งเป็นผู้แกล้วกล้า และดูเหมือนจะเป็นบัณฑิตกว่าในบรรดาสาวก ๒ รูปผู้เป็นบัณฑิตของเราตถาคต ชื่อว่าเป็นผู้น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า มีคําอธิบายไว้ว่า น่าบูชาและน่าสรรเสริญยิ่งกว่าภิกษุรูปที่ ๒.
เหตุที่น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า
บัดนี้ เมื่อจะยกเหตุ (การณะ) ขึ้นมาขยายความนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคําว่า ตํ กิสฺส เหตุ ดังนี้เป็นต้น.
คํานั้นมีอธิบาย (เพิ่มเติม) ว่า ในข้อนั้น เธอทั้งหลายคงมี (ข้อกังขา) ว่า เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้น่าบูชากว่าน่าสรรเสริญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 231
กว่าของพระผู้มีพระภาคเจ้า?
คําตอบก็คือ ตฺหิ ตสฺส ความว่า เพราะการห้ามบิณฑบาตนั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย ฯลฯ เพื่อความปรารภความเพียรสิ้นกาลนานสําหรับภิกษุนั้น.
จักเป็นไปอย่างไร?
คือภิกษุนั้น ถ้าสมัยต่อมาจักเกิดความมักได้ ความปรารถนาลามกหรือความมักมากในปัจจัยทั้งหลายขึ้น ลําดับนั้น ภิกษุ (รูปอื่น) พิจารณาเห็นอยู่อย่างนั้นจักกันเธอไว้ด้วยตาขอ คือการห้ามบิณฑบาตนี้ว่า นี่แน่ท่าน ท่านปฏิเสธบิณฑบาตแม้ที่เป็นเดนของพระสุคต แล้วก็ยังเกิดความปรารถนาเช่นนี้ขึ้นจนได้ นี่เป็นนัยในการห้ามความไม่ขัดเกลากิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ การปฏิเสธบิณฑบาตนั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ (และ) ความขัดเกลากิเลสสําหรับเธอก่อน.
ในคําว่า สุภรตาย (เพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่าย) นี้ มีการพรรณนาดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เลี้ยงยากบํารุงยากทั้งแก่ตนเองทั้งแก่อุปัฏฐาก (ส่วน) บางรูปเป็นผู้เลี้ยงง่ายบํารุงง่ายทั้งแก่ตนเองทั้งแก่อุปัฏฐาก.
เป็นอย่างไร?
อธิบายว่า ภิกษุรูปใดได้อาหารที่เปรี้ยวเป็นต้นแล้วยังแสวงหาอาหารอื่น มีอาหารที่มีรสไม่เปรี้ยวเป็นต้น ทิ้งสิ่งของที่ได้ในเรือนของคนหนึ่งไว้ในเรือนของอีกคนหนึ่ง เที่ยวจาริกไปจนหมดเวลา (บิณฑบาต) แล้วมีบาตรเปล่ากลับเข้าวัดนอน ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงยากสําหรับตนเอง ส่วนภิกษุรูปใดแม้ทายกจะถวายข้าวสาลีเนื้อและข้าวสุกเป็นต้นจนเต็มบาตรแล้วก็ยังแสดงสีหน้าบึ้งตึงและความไม่พอใจ ยิ่งไปกว่านั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 232
เมื่อจะดูแคลนบิณฑบาตนั้นต่อหน้าคนเหล่านั้นว่า พวกท่านถวายของอะไร ดังนี้ จึงให้แก่อนุปสัมบันมีสามเณรและคฤหัสถ์ (อื่น) เป็นต้นไป (เป็นการประชด) ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงยากสําหรับผู้อุปัฏฐากทั้งหลาย พวกชาวบ้านเห็นเธอเข้าก็จะพากันหลีก (หลบหน้า) เสียแต่ไกลทีเดียว ด้วยนึกตําหนิว่า พระเลี้ยงยาก พวกเราไม่สามารถจะเลี้ยงดูท่านได้หรอก.
ส่วนภิกษุใด ได้อาหารอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นของชนิดดีหรือชนิดเลวก็ตาม มีจิตสันโดษฉันอาหารนั้นแล้วกลับวัดไปทํางานของตน (ต่อไป) ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงง่ายสําหรับตน. และภิกษุรูปใดไม่ดูหมิ่นทานของคนอื่นจะน้อยหรือมากจะดีหรือเลวก็ตาม มีจิตยินดีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ฉันต่อหน้าคนเหล่านั้นแล้วจึงค่อยไป ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงง่ายสําหรับผู้อุปัฏฐาก พวกชาวบ้านครั้นเห็นพระรูปนั้นแล้วต่างก็พากันดีใจอย่างยิ่งยวดว่า พระคุณเจ้าของพวกเราเป็นผู้เลี้ยงง่าย สันโดษแม้ด้วยอาหารเล็กๆ น้อยๆ พวกเราจักเลี้ยงดูท่าน ครั้นตกลงแล้ว ก็พากันบํารุงเลี้ยงดู. ในพฤติกรรมนั้น ถ้าสมัยต่อมาเธอจักเกิดความคิดขึ้นในทํานองจะเป็นผู้เลี้ยงยากทั้งแก่ตนเองหรืออุปัฏฐากทั้งหลายไซร้ ครานั้นภิกษุรูปอื่นพิจารณาเห็นอย่างนี้ก็จักช่วยกันเธอไว้ด้วยตาขอคือการปฎิเสธบิณฑบาตนี้ว่า นี่แน่ท่าน ท่านปฏิเสธบิณฑบาตที่เป็นเดนของพระสุคตแล้ว ยังมาเกิดความคิดเช่นนี้ขึ้นจนได้. เมื่อเป็นอย่างนี้การปฏิเสธบิณฑบาตก็จักเป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่ายสําหรับเธอ.
อนึ่ง ถ้าเธอจักเกิดความเกียจคร้านขึ้น ภิกษุรูปอื่นก็จักช่วยกันไว้ด้วยตาขอนั้นเหมือนกันว่า นี่แน่ท่าน ท่านปฏิเสธบิณฑบาตที่เป็นเดน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 233
ของพระสุคตแล้ว คราวนั้นแม้จะถูกความหิวและความอ่อนกําลังครอบงําก็ยังบําเพ็ญสมณธรรมได้ (ไฉน) วันนี้จึงหันมาหาความเกียจคร้านเสียเล่า เมื่อเป็นอย่างนี้ การปฏิเสธบิณฑบาตจักเป็นไปเพื่อการปรารภความเพียรสําหรับเธอ การปฏิเสธบิณฑบาตนี้ของภิกษุนั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย ฯลฯ เพื่อการปรารภความเพียรตลอดกาลนานดังกล่าวมานี้.
คุณ ๕ ประการ
คุณ ๕ นี้ (ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลากิเลส ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย และการปรารภความเพียร) ของภิกษุนั้นบริบูรณ์อย่างนี้แล้วก็จักช่วยให้กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์อย่างไร?
อธิบายว่า ในจํานวนคุณธรรมทั้ง ๕ นั้น กถาวัตถุ ๓ ประการ คือความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ และการปรารภความเพียรที่มาในพระบาลีนี้นั้นแล รวมกันเข้าได้กับสัลเลขธรรม. เพราะว่าสัลเลขธรรมนี้เป็นชื่อของกถาวัตถุเหมือนกันทุกข้อ สมด้วยพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ก็แลกถานี้นั้นเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง สะดวกแก่การเปิดเผยจิต (ออกจากกิเลส) เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ (การสํารอกกิเลส) เพื่อนิโรธะ (การดับกิเลส) เพื่ออุปสมะ (การสงบระงับกิเลส) เพื่ออภิญญา (ปัญญาอันยิ่ง) เพื่อสัมโพธะ (การตรัสรู้) เพื่อพระนิพพาน ความดับสนิทแห่งกิเลส กถานี้นั้นคืออะไร? ได้แก่ อัปปิจฉกถา (กถาว่าด้วยควานมักน้อย).
ความพิสดารเป็นดังว่ามานี้ คุณ ๕ ประการบริบูรณ์ก็จักช่วยให้กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์ได้อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 234
กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์ก็จักช่วยให้สิกขา ๓ บริบูรณ์.
อย่างไร?
อธิบายว่า ในกถาวัตถุทั้ง ๑๐ นั้น กถา ๔ นี้คือ อัปปิจฉกถา (กถาว่าด้วยความมักน้อย) สันโตสกถา (กถาว่าด้วยความสันโดษ) อสังสัคคกถา (กถาว่าด้วยความไม่ระคนด้วยหมู่คณะ) สีลกถา (กถาว่าด้วยเรื่องศีล) สงเคราะห์เข้าในอธิสีลสิกขาเท่านั้น กถา ๓ นี้ ปวิเวกกถา (กถาว่าด้วยความสงัด) วิริยารัมภกถา (กถาว่าด้วยการปรารภความเพียร) สมาธิกถา (กถาว่าด้วยเรื่องสมาธิ) สงเคราะห์เข้าในอธิจิตตสิกขา กถา ๓ นี้คือ ปัญญากถา (กถาว่าด้วยเรื่องปัญญา) วิมุตติกถา (กถาว่าด้วยเรื่องวิมุติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา (กถาว่าด้วยเรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ) สงเคราะห์เข้าในอธิปัญญาสิกขา กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์จักช่วยให้สิกขา ๓ บริบูรณ์อย่างนี้. สิกขา ๓ บริบูรณ์จักช่วยให้กองแห่งอเสกขธรรม ๔ อย่างบริบูรณ์.
อย่างไร?
อธิบายว่า อธิสีลสิกขาบริบูรณ์ก็จะเป็นหมวดศีลที่เป็นอเสกขะทีเดียว อธิจิตตสิกขาบริบูรณ์ก็จะเป็นหมวดสมาธิที่เป็นอเสกขะ อธิปัญญาสิกขาบริบูรณ์ก็จะเป็นหมวดแห่งปัญญาวิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะที่เป็นอเสกขะทีเดียว รวมความว่า สิกขา ๓ บริบูรณ์จักช่วยให้หมวดแห่งอเสกขธรรม ๕ บริบูรณ์อย่างนี้. (และ) หมวดแห่งอเสกขธรรม ๕ บริบูรณ์ก็จักช่วยให้อมตนิพพานบริบูรณ์. เปรียบเหมือนเมฆก้อนมหึมากลั่นตัวเป็นน้ำฝนตกกระหน่ําลงบนยอดเขาไหลลงมาเต็มซอกเขา ลําธาร ละหาน. ซอกเขา ลําธาร ละหานเหล่านั้นเต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 235
หนอง หนองเต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็มบึง บึงเต็มแล้ว ถึงไหลบ่าออกมาเต็มแม่น้ำน้อย (แคว) แม่น้ำน้อย (แคว) เต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็มแม่น้ำใหญ่ แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็มสมุทรสาครฉันใด คุณ ๕ ข้อนี้ของภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ บริบูรณ์แล้วก็จักช่วยให้คุณธรรมเริ่มตั้งแต่กถาวัตถุ ๑๐ จนกระทั่งถึงอมตนิพพานให้บริบูรณ์ ภิกษุนี้ปฏิบัติปฎิปทาแห่งธรรมทายาทแล้วจักได้เป็นธรรมทายาทอย่างยอดเยี่ยม ด้วยประการดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นประโยชน์อย่างนี้แลจึงได้ตรัสไว้ว่า ตํ กิสฺส เหตุ ตฺหิ ตสฺส ภิกฺขเว ภิกฺขุโนดังนี้เป็นต้น (แปลว่า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อ ... สําหรับภิกษุนั้นนะภิกษุทั้งหลาย).
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงยกเหตุที่ทําให้ภิกษุนั้นเป็นผู้น่าบูชาและน่าสรรเสริญกว่าขึ้นมาอธิบายประกอบอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงสําทับภิกษุเหล่านั้นเพื่อให้เป็นอย่างนั้น จึงตรัสว่า ตสฺมาติห เม ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
ตรัสไว้ว่าอย่างไร?
ตรัสไว้ว่า เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว บําเพ็ญสมณธรรม เป็นผู้เหินห่างจากคุณธรรมที่เป็นรากเหง้า ๕ ประการเหล่านี้ ส่วนภิกษุผู้ไม่ฉันแล้วบําเพ็ญ จะเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณธรรมเหล่านี้ ฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็น ฯลฯ ของเรา อย่าเป็นอามิสทายาท.
บทว่า อิทมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้คือ อุปเทศแห่งพระสูตรว่า ตั้งแต่ท้ายนิทาน (๑) จนกระทั่งถึงอย่าเป็นอามิสทายาท.
(๑) ปาฐะเป็น นิพฺพานปริโยสานโต ฉบับพม่าเป็น นิทานปริโยสานโต แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 236
บทว่า อิทํ วตฺวาน สุคโต ความว่า และครั้นตรัสอุปเทศแห่งพระสูตรนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้รับการถวายพระนามว่าพระสุคตนั้นแหละ เพราะทรงดําเนินไปด้วยปฏิปทาอันงาม.
บทว่า อุฏฺายาสนา วิหารํ ปาวิสิ ความว่า เสด็จลุกขึ้นจากบวรพุทธอาสน์ที่มีผู้ปูลาดถวายไว้แล้วก็เสด็จเข้าไปสู่วิหาร คือมหาคันธกุฎีของพระองค์.
เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับก่อน
ถามว่า ในเมื่อบริษัทยังไม่แยกย้ายกันกลับเลย เพราะเหตุไร (พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหารเล่า) ?
ตอบว่า เพื่อจะทรงยกย่องพระธรรม ได้สดับมาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะเสด็จเข้าไปสู่วิหารในเมื่อเทศนายังไม่ทันจบ ก็จะเสด็จเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือเพื่อจะทรงยกย่องบุคคล ๑ เพื่อจะทรงยกย่องพระธรรม ๑.
เมื่อเสด็จเข้าไปเพื่อทรงยกย่องบุคคล จะทรงดําริอย่างนี้ว่า เหล่าภิกษุผู้รับเอาธรรมเรียนเอาอุทเทศนี้ ที่เราตถาคตแสดงโดยย่อแล้ว แต่ยังไม่ได้จําแนกให้พิสดาร จักพากันเข้าไปเรียนถามพระอานนท์หรือไม่ก็พระมหากัจจายนะ เธอทั้งสองนั้นก็จักอธิบายสอดคล้องกับญาณของเราตถาคต จากนั้นเหล่าภิกษุผู้รับเอาธรรม จักกลับมาถามเราตถาคตอีก เราตถาคตก็จักชมเธอทั้งสองนั้น แก่เหล่าภิกษุผู้รับเอาธรรมนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์อธิบายดีแล้ว กัจจายนะ (๑) ก็อธิบายดีแล้ว ความข้อนี้แม้พวกเธอทั้งหลายจะพึงมาถามเราตถาคตไซร้ เราตถาคตก็จักอธิบายความ
(๑) ปาฐะเป็น กจฺฉาเนน เห็นว่าควรจะเป็น กจฺจายเนน จึงได้แปลอย่างนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 237
ข้อนั้นแบบเดียวกันนั้นแหละ จากนั้นภิกษุทั้งหลายก็จักเกิดความเคารพในเธอทั้งสองแล้วพากันเข้าไปหา. แม้เธอทั้งสองก็จักแนะนําภิกษุทั้งหลายไว้ในอรรถและธรรม ภิกษุเหล่านั้นอันเธอทั้งสองนั้นแนะนําแล้วก็จักพากัน บําเพ็ญสิกขา ๓ กระทําที่สุดทุกข์ได้.
เมื่อจะเสด็จเข้าไปเพื่อยกย่องพระธรรม จะทรงพระดําริเหมือนที่ได้ทรงพระดําริในที่นั้นนั่นเองว่า เมื่อเราตถาคตเข้าไปสู่วิหารแล้ว พระสารีบุตรนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทนี้นั้นแล จักแสดงธรรมตําหนิอามิสทายาทและยกย่องธรรมทายาทนั้นเหมือนกัน เทศนานี้ที่เราทั้งสองแสดงแล้วอย่างนี้ตามมติที่เป็นไปในแนวเดียวกัน จักเป็นเทศนาที่เลิศและหนัก (มีความสําคัญ) เฉกเช่นฉัตรหิน จักเป็นเหมือนเรือที่จอดอยู่ที่ท่าแล้ว เพราะหมายความว่าข้ามโอฆะ ๔ ได้ และจักเป็นเหมือนรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๔ ตัว เพราะหมายความว่าเป็นเหตุให้ไปสู่สวรรค์.
อนึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อพระราชาทรงออกพระราชบัญญัติในที่ประชุมว่า คนที่ทําความผิดอย่างนี้ต้องถูกปรับสินไหมเท่านี้ แล้วเสด็จลุกจากพระราชอาสน์ขึ้นสู่ปราสาท เสนาบดีที่นั่งอยู่ในที่นั้นนั่นแลจะรักษาการณ์ให้เป็นไปตามพระบัญญัตินั้นฉันใด เทศนาที่เราแสดงแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน สารีบุตรนั่งอยู่ในที่ประชุมนี้นั่นแหละจักแสดงยกย่อง. เทศนาที่ตถาคตกับสารีบุตรแสดงแล้วตามมติของเราทั้งสองจักรุ่งเรืองมีกําลัง ดุจพระอาทิตย์ยามเที่ยงวันฉะนั้น.
เพื่อทรงยกย่องธรรมในที่นี้อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหาร.
อนึ่ง ในฐานะเช่นนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายพระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 238
องค์ไปบนพุทธอาสน์ที่ประทับนั่งนั่นเอง เสด็จเข้าไปสู่วิหารด้วยการเสด็จไปด้วยอํานาจจิต เพราะถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงเสด็จไปด้วยการไปด้วยพระกายไซร้ บริษัททั้งหมด (ที่ประชุมอยู่ในที่นั้น) ก็คงจะพากันแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้. บริษัท (ที่ประชุมกันอยู่) นั้นแตกกลุ่มกันชั่วคราวแล้วก็ยากที่จะมาชุมนุมกันได้อีก (เพราะฉะนั้น) พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปด้วยการเสด็จไปด้วยอํานาจจิตนั่นเอง (หายตัวไป).
พระสารีบุตรเถระแสดงธรรม
[๒๓] ก็แล ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป (สู่วิหาร) ด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร (นั่ง) อยู่ ณ ที่นั้นแล ประสงค์จะยกย่องธรรมนั้นให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้กล่าวคํานี้ไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายสฺมา เป็นคําเรียกคนที่รัก.
คําว่า สาริปุตฺโต เป็นนามของพระเถระนั้น ก็แล นามนั้นได้มาจากข้างฝ่ายมารดา มิใช่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดา เพราะพระเถระนั้นเป็นบุตรของพราหมณีชื่อรูปสารี ฉะนั้น จึงชื่อว่า สารีบุตร.
คําว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส แปลว่า เพิ่งหลีกไปได้ไม่นาน.
ก็ในคําว่า อาวุโส ภิกฺขเว นี้ มีวินิจฉัยดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเมื่อจะทรงเรียกสาวก (ของพระองค์) ก็จะทรงเรียกว่า ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย) ฝ่ายสาวกทั้งหลายคิดว่า เราทั้งหลายจงอย่าเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย ดังนี้แล้ว (เมื่อจะร้องทักกัน) ก็กล่าวว่า อาวุโส (แปลว่า ดูก่อนผู้มีอายุ) ก่อนแล้ว จึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 239
ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย) ทีหลัง. อนึ่ง ภิกษุสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสเรียกแล้วก็จะทูลรับว่า ภทนฺเต (พระเจ้าข้า) สงฆ์ที่พระสาวกทั้งหลายเรียกจะตอบรับว่า อาวุโส (ดูก่อนผู้มีอายุ).
คําว่า กิตฺตาวตา ในบทว่า กิตฺตาวตา นุ โข อาวุโส นี้เป็นคําแสดงความกําหนด แปลว่า ด้วยเหตุเท่าไร? นุ อักษรใช้ในอรรถแห่งคําถาม. โข อักษรเป็นเพียงนิบาต.
บทว่า สตฺถุ ปวิวิตฺตสฺส วิหรโต ความว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ด้วยวิเวก ๓ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก.
บทว่า วิเวกนฺนานุสิกฺขนฺติ ความว่า ไม่ศึกษาตามซึ่งวิเวกทั้ง ๓ แม้แต่วิเวกข้อใดข้อหนึ่ง.
บทว่า อามิสทายาทาว โหนฺติ ความว่า ท่านพระสารีบุตรถามเนื้อความนี้กะภิกษุทั้งหลาย. แม้ในสุกกปักษ์ (ฝ่ายที่ดี) ก็นัยนี้.เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายประสงค์จะสดับเนื้อความนั้น จึงได้กล่าวว่า ทูรโตปิ โข ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรโตปิ ความว่า จากภายนอกแว่นแคว้นบ้าง จากภายนอกชนบทบ้าง อธิบายว่า จากที่ไกลนับได้หลายร้อยโยชน์บ้าง.
บทว่า สนฺติเก แปลว่า ในที่ใกล้.
บทว่า อฺาตุํ แปลว่า เพื่อรู้ คือเพื่อเข้าใจ.
บทว่า อายสฺมนฺตํ เยว สาริปุตฺตํ ปฏิภาตุ ความว่า จงเป็นหน้าที่ส่วนของท่านพระสารีบุตรเถิด อธิบายว่า ขอให้ท่านพระสารีบุตรช่วยแจกแจง (ขยายความ) ให้เป็นส่วนของตนด้วยเถิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 240
ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า การขยายความเป็นหน้าที่ของท่านพระสารีบุตร ส่วนการฟังเป็นหน้าที่ของพวกกระผม คําอธิบายอย่างนี้สมกับลักษณะของศัพท์. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปฏิภาตุ คือ ทิสฺสตุ (จงแสดง). อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า อุปฏฺาตุ (จงปรากฏ).
บทว่า ธาเรสฺสนฺติ (จักทรงจําไว้) ได้แก่จักเรียน.
ลําดับนั้น พระเถระประสงค์จะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น จึงกล่าวคําว่า เตนหิ ดังนี้เป็นต้น.
ในคําว่า เตนหิ นั้น มีอธิบายว่า บทว่า เตน เป็นตติยาวิภัตติ.หิ อักษรเป็นนิบาต. มีคําอธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายประสงค์จะฟังและบอกกล่าวให้เป็นภาระของผม ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟังเถิด.เหล่าภิกษุรับรองคําพูดของพระเถระแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอวมาวุโส ฯเปฯ ปจฺจสฺโสสุํ ดังนี้.
[๒๔] ลําดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเมื่อจะแสดงเนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงตําหนิความเป็นอามิสทายาท ตรัสไว้แล้วโดยอาการอย่างเดียวกันนั้นเองว่า แม้เธอทั้งหลายก็จะพึงถูกตําหนิ โดยความเป็นอามิสทายาทนั้น ดังนี้ โดยอาการ ๓ อย่างแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงได้กล่าวคํานี้ว่า อิธาวุโส ฯเปฯ สาวกา วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ.
ด้วยคําเพียงเท่านี้พระเถระได้กล่าวไว้แล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตําหนิปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทอันใด แม้ท่านทั้งหลายก็จะพึงถูกตําหนิด้วยปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทนั้น. และพระเถระได้ถามคำถามใดด้วยตนเองว่า กิตฺตาวตา นุโข ฯเปฯ นานุสิกฺขนฺติ. ความหมายแห่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 241
คําถามนั้นแบบพิสดารเป็นอันพระเถระได้แจกแจงไว้ดีแล้ว.
ก็แต่ว่าความหมายนั้นมิได้พาดพิงถึงว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้องถูกตําหนิด้วยเลย. เพราะพระพุทธดํารัสที่ตรัสไว้แล้วว่า อหมฺปิ เตนอาทิสฺโส ภวิสฺสามิ (แม้เราตถาคตก็จักถูกตําหนิด้วยความเป็นอามิสทายาทนั้นด้วย) เป็นพระดํารัสที่ถูกต้องแล้วของพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง ซึ่งทรงประสงค์จะสงเคราะห์สาวก ไม่ใช่เป็นถ้อยคําของพระสาวก.แม้ในฝ่ายที่ดี (สุกกปักษ์) ก็นัยนี้. ในตอนนี้มีโยชนา (การประกอบความ) ลําดับแห่งอนุสนธิเท่านี้ก่อน.
ส่วนการขยายความในเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้.
บทว่า สตฺถุ ปวิวิตฺตสฺส ความว่า เมื่อพระศาสดาผู้ทรงสงัดแล้วอย่างแท้จริงด้วยวิเวก ๓.
บทว่า วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ ความว่า ไม่ตามศึกษา คือไม่บําเพ็ญให้บริบูรณ์ซึ่งกายวิเวก. ก็ถ้าว่าพระเถระจะพึงกล่าวหมายถึงวิเวกทั้ง ๓ ไซร้ คําถามก็คงไม่มีเป็นพิเศษ เพราะว่าวิเวกในคําว่า วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ นี้เป็นฝ่ายแห่งคําพยากรณ์อยู่แล้วเพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงกายวิเวกด้วยบทนี้ว่า (วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ) แสดงจิตตวิเวกด้วยบทว่า เยสฺจ ธมฺมานํ และแสดงอุปธิวิเวกด้วยว่า พาหุลฺลิกา ดังนี้เป็นต้น. ในตอนนี้พึงทราบความโดยย่อดังพรรณนามาฉะนี้.
ด้วยบทว่า เยสฺจ ธมฺมานํ พระเถระกล่าวหมายเอาอกุศลธรรมมีโลภะเป็นต้น ซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้าโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนอาวุโส บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น โลภะเป็นบาป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 242
บทว่า นปฺปชหนฺติ ได้แก่ไม่ละทิ้ง อธิบายว่า ไม่บําเพ็ญให้บริบูรณ์ซึ่งจิตตวิเวก.
บทว่า พาหุลฺลิกา แปลว่า ปฏิบัติเพื่อความเป็นผู้หมกมุ่น ด้วยปัจจัยมีจีวรเป็นต้น. ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า สาถลิกา เพราะนับถือศาสนาแบบย่อหย่อน.
ในบทว่า โอกฺกมเน ปุพฺพงฺคมา นี้ มีอธิบายว่า นิวรณ์ ๕ เรียกว่า โอกกมนะ เพราะเป็นเหตุให้ตกต่ํา ภิกษุเหล่านั้น นับว่าเป็นแนวหน้า (นํา) ด้วยการทํานิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์นั้น.
บทว่า ปวิเวเก คือในอุปธิวิเวก ได้แก่ในนิพพาน.
บทว่า นิกฺขิตฺตธุรา ความว่า มีธุระอันปลงลงแล้ว คือไม่ทําการเริ่มความเพียรเพื่อบรรลุนิพพานนั้น. ด้วยคําเพียงเท่านี้เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้วว่า ไม่บําเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์. พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวโดยไม่จํากัดแน่นอนด้วยคํามีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะจํากัดเทศนาให้แน่นอน จึงกล่าวคําว่า ตตฺราวุโส ดังนี้เป็นต้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร? เมื่อพระเถระกล่าวไม่จํากัดแน่นอนลงไปอย่างนี้ว่า สาวกทั้งหลาย (ย่อมถูกตําหนิ) โดยเหตุ ๓ สถาน ภิกษุเหล่านั้นย่อมพากันบ่นว่า เรื่องนั้นพระเถระพูดว่า คนอื่นไม่ได้ว่าพวกเรา แต่เมื่อพระเถระกล่าวกําหนดแน่นอนลงไปอย่างนี้ว่า เถรา (สาวกที่เป็นพระเถระ) นวา (สาวกที่เป็นนวกะ) มชฺฌิมา (สาวกที่มีพรรษาปานกลาง) ภิกษุเหล่านั้นพากันทําความเอื้อเฟื้อว่า เรื่องนี้พระเถระว่าพวกเรา.
ตอบว่า อุปมาเหมือนเมื่อเหล่าราชอํามาตย์แม้จะบอกว่าประชาชน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 243
ต้องช่วยกันทําความสะอาดถนนในเมือง ต่างพากันสงสัยอยู่ว่า ใครกันนะต้องทําความสะอาด แล้วไม่ (มีใคร) ลงมือทําความสะอาด ต่อเมื่อตีกลองป่าวประกาศว่า ประชาชนต้องทําความสะอาดประตูเรือนของตนๆ ชาวเมืองทั้งหมดต่างก็จะช่วยทําความสะอาด และประดับประดาให้สวยงามโดยใช้เวลาเพียงชั่วครู่ฉันใด อุปไมยก็พึงทราบฉันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ได้แก่ เตสุ โยค สาวเกสุ (บรรดาสาวกเหล่านั้น).
ภิกษุทั้งหลายที่ถูกเรียกว่าเป็นพระเถระ เพราะหมายเอาผู้มีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป.
ฐานศัพท์ใช้ในความหมายต่างๆ
บทว่า ตีหิ าเนหิ ได้แก่โดยเหตุ ๓ อย่าง
ก็ฐานศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ตําแหน่ง (อิสฺสริย) เป้าหมาย= ที่ตั้งอยู่, ที่ดํารงอยู่, (ฐิติ) ขณะ และเหตุ (การณ์) (มีตัวอย่างดังต่อไปนี้) :-
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ตําแหน่ง (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า ก็ท้าวสักกะจอมเทพนี้ทํากรรมอะไรไว้จึงได้รับตําแหน่งนี้.
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เป้าหมาย (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า เป็นผู้ฉลาดในเป้าหมาย เป็นผู้ยิงทันสายฟ้า (ยิงไม่ขาดระยะ).
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ขณะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า ก็คํานี้แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยขณะ (โดยฉับพลัน).
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เหตุ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 244
รู้จักเหตุที่เป็นไปได้โดยความเป็นไปได้.
แต่ในที่นี้ ใช้ในอรรถว่า เหตุ เท่านั้น. อธิบายว่า เหตุเรียกว่าฐานะเพราะเป็นที่ตั้งอยู่แห่งผล โดยมีความเป็นไปเกี่ยวเนื่องกันกับผลนั้น.ด้วยเหตุข้อที่ ๑ นี้ พระเถระย่อมแสดงว่า บทว่า คารยฺหา ในคําว่า เถรา ภิกฺขู คารยฺหา นี้ แปลว่า พึงถูกตําหนิ. พระเถระทั้งหลายจะต้องถูกนินทาอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเป็นพระเถระแล้ว ยังไม่เข้าไปสู่เสนาสนะ อันเป็นแนวไพร คืออันสงัดในป่า ไม่ยอมละทิ้งเสนาสนะใกล้บ้าน เที่ยวคลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่ ไม่บําเพ็ญกายวิเวกเลย, ในเวลาที่เป็นภิกษุนวกะและมัชฌิมะ ท่านเหล่านี้ (ประพฤติ) เป็นเช่นไรมาแล้ว? คือพระเถระทั้งหลายย่อมได้รับคํานินทานี้นะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.
แม้ในบทว่า ทุติเยน (ด้วยเหตุข้อที่ ๒) นี้ พระเถระทั้งหลายจะต้องถูกนินทาอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ถึงจะเป็นพระเถระ แต่ก็ไม่ยอมละธรรม มีความโลภเป็นต้นที่พระศาสดาตรัสให้ละ นั่งในที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ก็ไม่ได้ความแน่วแน่สงบนิ่งแห่งจิตแม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือ ในเวลาที่เป็นภิกษุนวกะและมัชฌิมะ ท่านเหล่านี้ (ประพฤติ) เป็นเช่นไรมาแล้ว? คือพระเถระทั้งหลายย่อมได้รับคํานินทานี้นะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.ควรทําการประกอบความดังพรรณนามาอย่างนี้.
แม้ในบทว่า ตติเยน (ด้วยเหตุข้อที่ ๓) นี้ พระเถระย่อมแสดงว่า อาวุโส พระเถระทั้งหลายจะต้องถูกนินทาอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ถึงจะเป็นพระเถระ แต่ก็ไม่ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ยังมัวประดับประดาตกแต่งจีวร บาตร เสนาสนะ และร่างกายที่เปือยเน่าอยู่ ไม่ยอมบําเพ็ญอุปธิวิเวก ในเวลาที่เป็นภิกษุนวกะและมัชฌิมะ ท่านเหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 245
เป็นเช่นไรมาแล้ว? คือพระเถระทั้งหลายย่อมได้รับคํานินทานี้นะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. นักศึกษาพึงทราบการประกอบความดังพรรณนามานี้.
ในวาระเป็นมัชฌิมภิกษุและนวกภิกษุก็นัยนี้.
ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุทั้งหลายที่ชื่อว่า มัชฌิมะ พระเถระกล่าวหมายเอาภิกษุที่มีพรรษา ๕ พรรษา จนกระทั่งถึงภิกษุมีพรรษาครบ ๙ พรรษา ดังนี้.ภิกษุทั้งหลายที่ชื่อว่านวะ พระเถระกล่าวว่า ได้แก่ภิกษุที่มีพรรษา ๕ ลงมา ดังนี้. เหมือนอย่างว่า เวลาเป็นพระเถระนั้น ท่านกล่าวว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ ในเวลาที่เป็นนวกภิกษุและมัชฌิมภิกษุได้เป็นเช่นไรมาแล้วฉันใด ในเวลานี้ก็ฉันนั้น คือภิกษุผู้ปานกลางและผู้ใหม่พึงประกอบอธิบายว่า ในกาลเป็นภิกษุใหม่ได้เป็นเช่นไรมาแล้ว ในกาลเป็นพระเถระจักเป็นเช่นไร ในกาลเป็นมัชฌิมภิกษุและเป็นพระเถระจักเป็นเช่นไร. และความหมายในสุกกปักษ์ (ฝ่ายดี) ก็พึงทราบตามนัยอันตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้วในกัณหปักษ์ (ฝ่ายไม่ดี) นี้. ส่วนในที่นี้มีความย่อ ดังต่อไปนี้ :-
[๒๕] อีกอย่างหนึ่ง พระเถระทั้งหลายย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ คือย่อมได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า ภิกษุเหล่านี้แม้จะเป็นพระเถระ แต่ก็ยังอยู่ในเสนาสนะที่เป็นแนวไพรในป่าที่อยู่ห่างไกลกันเป็นโยชน์ แม้ถึงเวลาที่ควรจะเข้าไปใกล้เสนาสนะใกล้บ้านก็ไม่เข้าไป ถึงจะมีร่างกายชราอย่างนี้ ก็ยังสู้ปรารภความเพียร ทําให้ผู้ถวายปัจจัยเกิดความเลื่อมใส ในกาลที่เป็นนวกภิกษุและมัชฌิมภิกษุได้เป็นเช่นไรมาแล้ว ดังนี้,ท่านเหล่านั้นย่อมละอกุศลธรรมมีโลภะเป็นต้น บําเพ็ญจิตตวิเวกอยู่ให้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 246
บริบูรณ์.
ด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ คือย่อมได้รับการสรรเสริญว่า ภิกษุนี้ถึงจะเป็นพระเถระผู้ใหญ่วัยเช่นนี้ เป็นเวลาควรจะนั่งให้สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกห้อมล้อมได้แล้ว ฉันเสร็จแล้วก็ยังเข้า (ห้องบําเพ็ญธรรม) ตอนเย็นจึงค่อยออกมา เข้าไปตอนเย็นแล้วตอนเช้าจึงค่อยออกมา กระทําบริกรรมกสิณให้สมาบัติเกิด บรรลุมรรคผล บําเพ็ญจิตตวิเวกให้บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง.
ด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ พระเถระย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ คือย่อมได้รับการสรรเสริญว่า ในกาลที่พระเถระควร (ใช้) จีวรเบาซึ่งมีสัมผัสสบายเช่นผ้าธรรมดาผ้าทําด้วยเปลือกไม้และผ้าแพรเป็นต้น พระมหาเถระนี้ก็ยังนุ่งห่มผ้าบังสุกุล. ท่านนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัดปราศจากนิวรณ์เข้าผลสมาบัติ บําเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์อยู่ (ในบัดนี้ยังปฏิบัติได้ถึงขนาดนี้) ในกาลที่เป็นนวกภิกษุและมัชฌิมภิกษุได้เป็น (ปฏิบัติ) เช่นไรมาแล้ว. ในวาระที่เป็นมัชฌิมภิกษุก็มีนัยนี้.
[๒๖] ถามว่า ในบทว่า ตตฺราวุโส มีอนุสนธิ (การสืบต่อของเรื่อง) เป็นอย่างไร?
ตอบว่า พระสารีบุตรเถระเมื่อตําหนิปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทด้วยอาการ ๙ อย่าง (และ) ยกย่องปฏิปทาของผู้เป็นธรรมทายาทด้วยอาการ ๙ อย่าง ยังเทศนาให้จบลงด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงถึงธรรมที่ควรละที่ท่านได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า พระศาสดาตรัสการละธรรมเหล่าใดไว้ ธรรมเหล่านั้นภิกษุยังละไม่ได้ แก่ภิกษุเหล่านั้นโดยสรุปว่าได้แก่ธรรมเหล่านี้นั้น จึงได้กล่าวคํานี้ไว้ว่า ตตฺราวุโส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 247
โลโภ จ ดังนี้เป็นต้น นี้คืออนุสนธิ (ในสองบทนั้น). อีกอย่างหนึ่งธรรมทั้งหลาย ท่านได้กล่าวไว้โดยอ้อมแล้วในตอนต้นนั่นแล. ส่วนอามิสก็ได้กล่าวไว้แล้วทั้งโดยอ้อมทั้งโดยตรง.
บัดนี้ เพื่อจะกล่าวธรรมโดยตรง คือโลกุตตรมรรค พระเถระจึงได้กล่าวคํานี้ไว้ และในคํานี้ก็มีอนุสนธิดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตตฺร เป็นบทแสดงถึงเทศนาที่ผ่านมาแล้ว. มีคําอธิบายว่าในเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อพระศาสดาทรงอยู่อย่างสงัด เหล่าพระสาวกกลับไม่ศึกษาตาม ซึ่งวิเวก (การอยู่อย่างสงัด). ด้วยคําว่า โลภะเป็นบาปธรรมและโทสะก็เป็นบาปธรรม พระเถระย่อมแสดงว่า ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้เป็นบาป คือต่ําช้า ฉะนั้นธรรมเหล่านี้จึงต้องละเสีย.
ในบรรดาโลภะและโทสะทั้ง ๒ นั้น โลภะมีลักษณะอยากได้ โทสะมีลักษณะประทุษร้ายใจ.
ในจํานวนโลภะและโทสะนั้น โลภะมีแก่ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทในเพราะการได้ปัจจัยทั้งหลาย. ส่วนโทสะมีเพราะอลาภะคือต้องการสิ่งที่ยังไม่ได้ (ไม่ต้องการสิ่งที่ได้อยู่แล้ว) หรือมีเพราะโทสะ (โดยตรง) คือเมื่อไม่ได้ก็นําความคับแค้นใจมาให้.
โลภะมีในเพราะไทยธรรม (ของทําบุญ). ส่วนโทสะมีในเพราะบุคคลที่ไม่ถวายหรือในบุคคลที่ถวายของที่ไม่ถูกใจ. เพราะโลภะจึงทําให้ (อกุศล) ธรรมซึ่งมีตัณหา ๙ อย่างเป็นมูลบริบูรณ์. เพราะโทสะจึงทําให้มัจฉริยะ ๕ อย่างบริบูรณ์.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะเหล่านั้น พระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 248
สารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า โลภสฺส จ โทสสฺส จ ปหานาย ดังนี้เป็นต้น. คําของพระเถระนั้นมีอธิบายความว่า ก็ข้อปฏิบัติสายกลางเพื่อละโลภะและโทสะอันเป็นบาปนั้นมีอยู่. คํานี้พระเถระกล่าวหมายถึงมรรค.
เพราะว่ามรรคจะไม่เข้าใกล้ คือไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ นี้ คือโลภะก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง โทสะก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง พ้นแล้วอย่างสิ้นเชิงจากที่สุดทั้ง ๒ นี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติสายกลาง). ที่ชื่อว่ามัชฌิมา เพราะอยู่ในระหว่างกลางที่สุดทั้ง ๒ นั้นที่ชื่อว่าปฏิปทา เพราะอันบุคคลผู้ต้องการนิพพานพึงปฏิบัติ
อนึ่งกามสุขัลลิกานุโยคก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง อัตตกิลมถานุโยคก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง สัสสตทิฏฐิก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยนัยแรกนั่นเถิด.
ผลของมัชฌิมาปฏิปทา
ก็พระสารีบุตรเถระย่อมยกย่องปฏิปทานั้นนั่นเอง ด้วยคําว่า จกฺขุกรณี เป็นต้น เพราะว่า ปฏิปทานั้นย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อการเห็นสัจจะทั้งหลาย โดยหมายความว่าเป็นตัวนําในการเห็น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าจักขุกรณี, ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลาย โดยหมายความว่าเป็นเหตุทําให้รู้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ญาณกรณี.
อนึ่ง ชื่อว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความสงบ เพราะทําให้กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นสงบ ชื่อว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่ออภิญญา (ความรู้ยิ่ง) เพราะเป็นเหตุเห็นว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง.
มรรค ชื่อว่าสัมโพธะ (การตรัสรู้) มัชฌิมาปฏิปทาย่อมเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 249
ไปเพื่อสัมโพธะ เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์แก่มรรคนั้น, แท้จริงมรรคนั่นเอง ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์แก่มรรค.
ธรรมชาติ ชื่อว่าพระนิพพาน เพราะทํากิจที่มรรคต้องทํา แต่ปฏิปทาท่านกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นไปพร้อมเพื่อพระนิพพาน เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อกระทําให้แจ้ง คือทําให้ประจักษ์ชัดซึ่งนิพพานนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ใจความสําคัญในเรื่องนี้มีเท่านี้.การพรรณนาอย่างอื่นนอกไปจากนี้จะทําให้เนิ่นช้าไป.
บัดนี้ พระเถระประสงค์จะแสดงมัชฌิมาปฏิปทานั้นโดยสรุปจึงถามว่า กตมาวุโส ดังนี้แล้ว วิสัชนาโดยนัยเป็นต้นว่า อยเมว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยเมว (แปลว่านี้เท่านั้น) เป็นคําอวธารณะ (ห้ามคําอื่น). พระเถระกล่าวคํานี้ไว้เพื่อเป็นการปฏิเสธมรรค (ทางไปสู่นิพพาน) สายอื่น เพื่อจะได้แสดงว่ามรรคนั้นเป็นของมีทั่วไปแก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า.ข้อนี้สมด้วยพระพุทธดํารัสที่ตรัสไว้ว่า
มรรค (ทาง) สายนี้เท่านั้น ไม่มีมรรคอื่น เพื่อความบริสุทธิ์แห่งทัสสนะ.
ความหมายของมรรค
มรรคนี้นั้น ชื่อว่าอริยะ เพราะทํากิเลสให้อยู่ห่างไกลบ้าง เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อละข้าศึก (กิเลส) บ้าง เพราะเป็นมรรคที่พระอริยะแสดงไว้บ้าง เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อให้ได้ความเป็นพระอริยะบ้าง. (มรรค) ชื่อว่ามีองค์ ๘ เพราะประกอบด้วยองค์ ๘ และจะพ้นไปจากองค์หาได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 250
ไม่ เปรียบเหมือนเครื่องดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นต้น ฉะนั้น
ที่ชื่อว่ามรรค เพราะหมายความว่า ฆ่ากิเลสทั้งหลายไปบ้าง ดําเนินไปสู่นิพพานบ้าง อันบุคคลผู้ต้องการนิพพานแสวงหาบ้าง อันบุคคลผู้ต้องการนิพพานเหล่านั้นดําเนินไป คือปฏิบัติบ้าง.
บทว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต. นิบาตว่า เสยฺยถีทํ นั้น มีความหมายเท่ากับ กตโม โส (แปลว่า มรรคนั้นคืออะไรบ้าง) หรือมีความหมายเท่ากับ กตมานิ ตานิ อฏฺงฺคานิ (แปลว่าองค์ ๘ นั้นคืออะไรบ้าง).
ความจริงแล้ว องค์แต่ละองค์ก็คือมรรคนั่นเอง. สมด้วยคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า สัมมาทิฏฐิเป็นมรรคด้วย เป็นเหตุด้วย. แม้โบราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า สัมมาทิฏฐิเป็นทางเป็นเหตุให้เห็น สัมมาสังกัปปะเป็นทางเป็นเหตุให้ฝังใจ (ในอารมณ์) ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นทางเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน.
อนึ่ง ในบรรดาองค์มรรค (๑) ทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้ สัมมาทิฏฐิมีความเห็นชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะมีความฝังใจโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาวาจามีการหวงแหนโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมากัมมันตะมีการดังขึ้นพร้อมโดยธรรมเป็นลักษณะ สัมมาอาชีวะมีความผ่องแผ้วโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาวายามะมีการประคอง (จิต) โดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาสติมีความปรากฏโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาสมาธิมีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ แม้วิเคราะห์มรรคเหล่านั้นก็พึงทราบโดยนัยนั้นนั่นเหมือนกันว่า ที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นโดยชอบ.
(๑) ปาฐะว่า สมฺมาทฏฺีสุ ฉบับพม่าเป็น สมฺมาทิฏฺฐาทีสุ แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 251
ในจํานวนมรรคเหล่านั้น
(๑) สัมมาทิฏฐิ เมื่อเกิดขึ้นย่อมละมิจฉาทิฏฐิ กิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐินั้นและอวิชชาได้ กระทํานิพพานให้เป็นอารมณ์ เห็นสัมปยุตธรรมทั้งหลาย และเห็นสัมปยุตธรรมเหล่านั้นโดยความไม่งมงาย ไม่ใช่เห็นโดยความเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ.
(๒) สัมมาสังกัปปะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสังกัปปะและกิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสังกัปปะนั้นได้ กระทํานิพพานให้เป็นอารมณ์และปลูกฝังสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้ในใจโดยชอบ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัมมาสังกัปปะ.
(๓) สัมมาวาจา (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาวาจาและกิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาวาจานั้นได้ กระทํานิพพานให้เป็นอารมณ์ หวงแหนสัมปยุตธรรมทั้งหลายโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาวาจา.
(๔) สัมมากัมมันตะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉากัมมันตะและกิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมากัมมันตะนั้นได้ กระทํานิพพานให้เป็นอารมณ์และย่อมยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ตั้งขึ้นโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมากัมมันตะ.
(๕) สัมมาอาชีวะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาอาชีวะและกิเสสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาอาชีวะนั้นได้ กระทํานิพพานให้เป็นอารมณ์และย่อมยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาอาชีวะ.
(๖) สัมมาวายามะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาวายามะ ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาวายามะนั้นและความเกียจคร้านได้ กระทํานิพพานให้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 252
เป็นอารมณ์ และย่อมรับไว้โดยชอบ ซึ่งสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาวายามะ.
(๗) สัมมาสติ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสติและกิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสตินั้นได้ ย่อมกระทํานิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อมยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ปรากฏโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาสติ.
(๘) สัมมาสมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่เป็นข้าศึกษาต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทํานิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะกล่าวย้ำปฏิปทานั้นนั่นแลจึงกล่าวว่า อยํ โข สา อาวุโส ดังนี้เป็นต้น คําที่กล่าวนั้นมีอธิบายว่า มรรคมีองค์ ๘ นี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมโลกุตตรมรรคทั้ง ๔ เข้าด้วยกันว่า ดูก่อนอาวุโส มรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ มัชฌิมาปฏิปทานั้น ย่อมเป็นไปพร้อม ฯลฯ เพื่อนิพพาน.
ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก
ครั้นแสดงโลภะ โทสะ และอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะนั้นในจํานวนธรรมทั้งหลายที่ต้องละอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีกและอุบายเป็นเครื่องละธรรมเหล่านั้น จึงกล่าวคําว่า ตตฺราวุโส โกโธ จ ดังนี้เป็นต้น บรรดาธรรมที่ต้องละเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 253
(๑) โกธะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเดือดดาลหรือความดุร้ายมีหน้าที่คือผูกอาฆาต (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความประทุษร้าย
(๒) อุปนาหะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความผูกโกรธ มีหน้าที่คือไม่ยอมสลัดทิ้งการจองเวร (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือโกรธติดต่อเรื่อยไป สมด้วยคําที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า โกธะเกิดก่อน อุปนาหะจึงเกิดภายหลัง เป็นต้น.
(๓) มักขะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือลบหลู่คนอื่น มีหน้าที่คือทําคุณของคนอื่นนั้นให้พินาศ (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการปกปิดคุณของคนอื่นนั้น.
(๔) ปฬาสะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการถือเป็นคู่แข็ง (ตีเสมอ) มีหน้าที่คือการทําคุณของตนให้เสมอกับคุณของคนอื่น (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความปรากฏโดยการชอบประมาณ (ตีค่า) เทียบคุณของคนอื่น.
(๕) อิสสา มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความริษยาต่อสมบัติของคนอื่น หรือไม่ก็ทนไม่ได้ต่อสมบัติของคนอื่นนั้น มีหน้าที่คือความไม่ยินดียิ่ง ในสมบัติของคนอื่นนั้น (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความเบือนหน้าหนีจากสมบัติของคนอื่นนั้น.
(๖) มัจเฉระ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการซ่อนเร้นสมบัติของตน มีหน้าที่คือความไม่สบายใจ เมื่อสมบัติของตนมีคนอื่นร่วมใช้สอยด้วย (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความเคืองแค้น.
(๗) มายา มีลักษณะ (เฉพาะ) คือปกปิดบาปที่ตนเองกระทําแล้ว หน้าที่คือซ่อนเร้นบาปที่ตนเองกระทําแล้วนั้น (และ) ผลที่ปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 254
ออกมาคือการปิดกั้นบาปที่ตนเองกระทําแล้วนั้น.
(๘) สาเถยยะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการชอบเปิดเผยคุณที่ตนเองไม่มี มีหน้าที่คือการประมวลมาซึ่งคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้น (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการทําคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้นให้ปรากฏออกมาแม้โดยอาการทางร่างกาย.
(๙) ถัมภะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความที่จิตผยอง มีหน้าที่คือพฤติการที่ไม่ยําเกรง (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความไม่อ่อนโยน.
(๑๐) สารัมภะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการทําความดีให้เหนือไว้ มีหน้าที่คือแสดงตนเป็นข้าศึกต่อคนอื่น (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความไม่เคารพ.
(๑๑) มานะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มีหน้าที่คือความถือตัวว่า เป็นเรา (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความจองหอง
(๑๒) อติมานะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มีหน้าที่คือความถือตัวว่า เป็นเราจัด (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความหยิ่งจองหอง.
(๑๓) มทะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความมัวเมา มีหน้าที่คือความยึดถือด้วยการมัวเมา (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความคลั่งไคล้
(๑๔) ปมาทะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการปล่อยจิตไปในเบญจกามคุณ มีหน้าที่คือการกระตุ้นให้ปล่อยจิตมากขึ้น (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความขาดสติ.
นักศึกษาพึงทราบถึงลักษณะเป็นต้น ของธรรมเหล่านี้ดังกล่าวมานี้เถิด ที่กล่าวมานี้เป็นความย่อในข้อนี้ ส่วนความพิสดารนักศึกษาพึง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 255
ทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในคัมภีร์วิภังค์นั่นเองว่า ตตฺถ กตโม โกโธ ดังนี้เป็นต้น.
ตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากบาปธรรมเหล่านั้น
อนึ่ง ในธรรมที่ต้องละเหล่านี้พึงทราบความโดยพิเศษขึ้นไปอีกดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท ย่อมโกรธคนอื่นที่ได้ลาภ เพราะตนเองไม่ได้ (๑) ความโกรธที่เกิดขึ้นครั้งเดียวของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น ชื่อว่าโกธะอย่างเดียว โกธะที่เกิดขึ้นมากกว่าครั้งเดียวขึ้นไป ชื่อว่า อุปนาหะ.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นนั่นแล เมื่อโกรธแล้วด้วย และผูกโกรธด้วย ย่อมหลู่คุณของคนอื่นที่มีลาภและถือเป็นคู่แข่ง และว่าแม้เราก็ต้องเป็นเช่นนั้นให้ได้ อันนี้เป็นมักขะ (ความลบหลู่) และปฬาสะ (ตีเสมอ) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นมีปกติลบหลู่ มีปกติตีเสมอดังกล่าวมาแล้วนี้ ย่อมริษยา ย่อมประทุษร้ายในลาภและสักการะเป็นต้น ของผู้มีลาภนั้นว่าภิกษุนี้จะมีประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้ อันนี้เป็นอิสสา (ความริษยา).
ก็ถ้าว่าเธอมีสมบัติบางอย่าง ย่อมทนไม่ได้ที่สมบัตินั้นมีคนอื่นนั้นร่วมใช้ อันนี้เป็นมัจเฉระ (ความตระหนี่) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
ก็เพราะลาภเป็นเหตุแท้ๆ เธอย่อมปกปิดโทษของตนที่มีอยู่เสีย
(๑) ปาฐะเป็น อลภนฺโต เป็นปฐมาวิภัตติ เข้าใจว่าจะเป็นอลภนโต คือโตปัจจัยที่ใช้แทนปัญจมีวิภัตติได้ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 256
อันนี้เป็นมายาของภิกษุ ผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
เธอย่อมอวดคุณที่ไม่มีอยู่จริง อันนี้เป็นสาเถยยะ (ความโอ้อวด) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
เธอปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ถ้าได้ลาภตามที่ประสงค์ ย่อมเป็นผู้แข็งกระด้างมีจิตใจไม่อ่อนโยนเพราะลาภนั้น เป็นผู้ที่ใครๆ ไม่สามารถจะว่ากล่าวได้ ว่า ท่านไม่ควรทํากรรมนี้อย่างนี้ อันนี้เป็นถัมภะ (ความหัวดื้อ) ของเธอ.
แต่ถ้าจะมีใครว่ากล่าวอะไรเธอ ว่า ท่านไม่ควรทํากรรมนี้อย่างนี้ เธอเป็นผู้มีจิตใจปรารมภ์ คํากล่าวนั้น ทําหน้านิ่วคิ้วขมวด พูดข่มขู่ว่าท่านเป็นอะไรกับผม อันนี้เป็นสารัมภะ (ความแข่งดี) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
ต่อจากนั้นไป เพราะถัมภะ (ความดื้อรั้น) เธอจะสําคัญตัวอยู่ว่า เรานี้แหละดีกว่าคนอื่น เป็นผู้ถือตัวเพราะสารัมภะ (ความแข็งดี) เธอกลับดูถูกคนอื่นว่า พวกนี้เป็นใครกัน เป็นผู้ถือตัว อันนี้เป็นมานะ (ความถือตัว) และอติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
เพราะมานะและอติมานะเหล่านี้ เธอย่อมเกิดความเมาหลายแบบมีความเมาในชาติ (กําเนิดตระกูล) เป็นต้น เธอเมาแล้วย่อมประมาท (เผลอสติ) ในวัตถุทั้งหลายแยกประเภทออกไป มีกามคุณเป็นต้น อันนี้เป็นมทะ (ความเมา) และปมาทะ (ความเผลอสติ) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
รวมความว่า ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เธอย่อมไม่พ้นจากความเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 257
อามิสทายาทไปได้ นักศึกษาพึงทราบธรรมที่ต้องละในการเป็นอามิสทายาทโดยธรรมที่เป็นบาปเหล่านี้ และโดยธรรมเหล่าอื่นแบบนี้อย่างนี้ก่อน. ส่วนอุบายเป็นเหตุละ ว่าโดยบาลีและเนื้อหาสาระแล้วก็ไม่มีพิเศษอะไรเลยในธรรมทุกข้อ.
ความแตกต่าง ลําดับ และวิธีแห่งการเจริญ
แต่เพื่อความแจ่มชัดแห่งการประมวลความรู้ ผู้ศึกษาควรทราบความแตกต่าง ลําดับ และวิธีแห่งการเจริญ ในอุบายเป็นเครื่องละดังต่อไปนี้ :-
บรรดาความแตกต่าง ลําดับ และวิธีแห่งการเจริญเหล่านั้น จะอธิบายถึงความแตกต่างก่อน ก็มัชฌิมาปฏิปทานี้ ได้แก่มรรค ซึ่งบางครั้งก็มีองค์ ๘ บางคราวก็มีองค์ ๗ เพราะว่ามรรคนี้เมื่อเกิดขึ้นด้วยอํานาจปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระย่อมมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจฌานที่เหลือย่อมมีองค์ ๗ แต่ในที่นี้เป็นการอธิบายความขั้นสูงสุด ท่านจึงกล่าวว่า มรรคมีองค์ ๘. ก็องค์มรรคที่เกินจากนั้นไปไม่มี นักศึกษาพึงทราบความแตกต่างกันในที่นี้เท่านี้ก่อน.
ก็เพราะเหตุที่สัมมาทิฏฐิ ประเสริฐที่สุดในบรรดากุศลธรรมทั้งปวง ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐที่สุด. และสัมมาทิฏฐินั้นก็เป็นประธาน (ตัวนํา) ในวาระแห่งการทํากุศล ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นประธานอย่างไร? คือ (เป็นประธานเพราะ) รู้ชัดเจนซึ่งสัมมาทิฏฐิว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมิจฉาทิฏฐิว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 258
และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิชชาเป็นประธานแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ในสมาบัติ ดังนี้.
อนึ่ง องค์ (มรรค) ที่เหลือทั้งหลายก็เกิดขึ้นเพราะมีสัมมาทิฏฐินั้นเกิดก่อน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า คนที่มีสัมมาทิฏฐิย่อมมีสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ และคนที่มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ. ฉะนั้น องค์ทั้งหลายเหล่านี้ท่านจึงกล่าวไว้แล้วโดยลําดับนี้ นักศึกษาพึงทราบลําดับ (แห่งองค์มรรค) ในอุบายเป็นเครื่องละนี้อย่างนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า วิธีแห่งการเจริญ (สมถะและวิปัสสนา) ต่อไป พระโยคาวจรบางท่านเจริญวิปัสสนามีสมถะนําหน้า บางท่านเจริญสมถะมีวิปัสสนานําหน้า เจริญอย่างไร? (เจริญอย่างนี้คือ) พระโยคาวจรบางรูปในพระศาสนานี้ ทําสมถะอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เกิดขึ้น นี้เป็นสมถะ (ต่อมา) พระโยคาวจรนั้น พิจารณาเห็นซึ่งสมาธินั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธินั้น โดยภาวะทั้งหลายมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น นี้เป็นวิปัสสนา อย่างนี้ สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลังอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะนําหน้า.
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะนําหน้าอยู่ มรรคย่อมเกิด เธอส้องเสพ เจริญ กระทําให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป อย่างนี้พระโยคาวจร ชื่อว่า เจริญวิปัสสนาแบบมีสมถะนําหน้า.
แต่ว่า พระโยคาวจรบางรูปในพระศาสนานี้ไม่ยังสมถะมีประการดังกล่าวแล้วให้เกิดขึ้น พิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ โดยสภาวะมีความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 259
เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น นี้เป็นวิปัสสนา. เอกัคคตาแห่งจิตจะเกิดขึ้นจากอารมณ์ คือการสลัดธรรมที่เกิดขึ้นในวิปัสสนานั้น เพราะความบริบูรณ์แห่งวิปัสสนาของเธอ นี้เป็นสมถะ อย่างนี้ วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนานําหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนานําหน้าอยู่ มรรคย่อมเกิด เธอส้องเสพ เจริญ กระทําให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพมรรคนั้นอยู่ ฯลฯ อนุสัยทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป อย่างนี้แหละพระโยคาวจรชื่อว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนานําหน้า เจริญวิปัสสนาแบบมีสมถะนําหน้า ก็เมื่อเธอเจริญวิปัสสนาแบบมีสมถะนําหน้าอยู่ก็ดี เจริญสมถะแบบมีวิปัสสนานําหน้าอยู่ก็ดี ในขณะแห่งโลกุตตรมรรคแล้ว สมถะและวิปัสสนาย่อมอยู่เป็นคู่กัน (อย่างแยกไม่ออก) นักศึกษาพึงทราบนัยแห่งการเจริญ (สมถะและวิปัสสนา) ในที่นี้อย่างนี้แล.
จบ อรรถกถาแห่งธรรมทายาทสูตร
จบ พระสูตรที่ ๓