ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความตอนหนึ่งจาก ... จักกวัตติสูตรที่ ๓
[เล่มที่ 15] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 120
ว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม
[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่ อย่างไรเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นว่า ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่มีความเพียร มีสัม- ปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาละโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาสละโทมนัสในโลกเสีย ได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตน เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรม เป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่อย่างนี้แล.
[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง จักเจริญด้วยสุขบ้าง จักเจริญด้วยโภคะบ้าง จักเจริญด้วยพละบ้าง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบ ด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิปธานสังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนา ก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็น อธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวัง ในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทละโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทที่หลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอธิบายในเรื่องวรรณะของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร. ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุด ขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิด แต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่อง สุขของภิกษุ.
จบจักกวัตติสูตรที่ ๓
ขัอความตอนหนึ่งจาก ... อรรถกถาจักกวัตติสูตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 126
ปฏิเสธที่พึ่งอย่างอื่น. ความจริง คนอื่นจะเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นหาได้ไม่ เพราะคนอื่นบริสุทธิ์ด้วยความพยายามของคนอื่นไม่ได้. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้.
เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อนญฺญสรณา. ถามว่า ก็ในคำว่า อตฺตทีปา นี้ อะไรเล่า ชื่อว่าตน. แก้ว่า โลกิยธรรมและโลกุตรธรรม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ดังนี้.
คำว่า กาเย กายานุปสฺสี เป็นต้น ได้กล่าวพิสดารไว้แล้วใน
มหาสติปัฏฐานสูตร. บทว่า โคจเร ได้แก่ ในสถานที่ควรเที่ยวไป. บทว่า สเก คือที่อันเป็นของมีอยู่แห่งตน. บทว่า เปตฺติเก วิสเย คือในถิ่นที่มาจากพ่อแม่. บทว่า จรตํ คือเที่ยวไปอยู่ บาลีว่า จรนฺตํ ดังนี้ก็มี. เนื้อความก็เช่นนี้แหละ. บทว่า น ลจฺฉติ ความว่า จักไม่ได้ คือ จักไม่เห็น. บทว่า มาโร ได้แก่เทวบุตรมารบ้าง กิเลสมารบ้าง. บทว่า โอตารํ ได้แก่ ร่องรอย คือช่องทางเปิด.
ก็ความนี้บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องเหยี่ยวนกเขา ซึ่งโฉบเฉี่ยวเอานกมูลไถตัวบินออกจากที่ (หลีบ) ก้อนดิน โผจับอย่าบนเสาระเนียด (เสาค่าย) กำลังผึ่งแดดอ่อนไป. สมจริงดังคำที่ พระผู้พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เหยี่ยวนกเขา เข้าโฉบเฉี่ยวเอานกมูลไถโดยฉับพลันเอาไป ภิกษุทั้งหลาย
ครั้งนั้นแล นกมูลไถถูกเหยี่ยวนกเขานำไปอยู่คร่ำครวญอย่างนี้ว่า พวกเรานั่นแล เที่ยวไปในที่อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ นับว่าไม่มีบุญ มีบุญน้อย. ถ้าหากวันนี้เราพึงเที่ยวไปในที่โคจรอันเป็นถิ่นของพ่อแม่ ของตนไซร้ เหยี่ยวนกเขาจักไม่อาจ (จับ) เราด้วยการต่อสู้เช่นนี้.
เหยี่ยวนกเขาถามว่า ดูก่อนนกมูลไถก็สำหรับท่าน อะไรเล่า เป็นถิ่น ของพ่อแม่ของตน นกมูลไถตอบว่า คือ ที่ก้อนดินรอยไถ. ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เหยี่ยวนกเขาไม่ทรนงในกำลังของตน เชื่อในกำลังของตน ปล่อยนกมูลไถไปโดยกล่าวว่า ดูก่อนนกมูลไถ เจ้าจงไปเถิด ถึงเจ้าไปในที่นั้นก็ไม่พ้น. ครั้งนั้นแล นกมูลไถ เจ้าจงไปเถิด รอยไถ ขึ้นยังก้อนดินก้อนใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวนกเขาว่า มาเดี๋ยวนี้ซิ เจ้าเหยี่ยวนกเขา มาเดี๋ยวนี้ซิ เจ้าเหยี่ยวนกเขา.
ครั้นนั้นเหยี่ยวนกเขา ผู้ไม่ทรนงในกำลังของตน เชื่อมั่นในกำลังของตน ลู่ปีกทั้งสองพลันโฉบลงตรงนกมูลไถ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งใดแล นกมูลไถรู้ตัวว่า เหยี่ยวนกเขาตัวนี้สามารถพุ่งตัวลงมาแล้ว ครั้งนั้นแล นกมูลไถก็หลบซ่อนตรงระหว่างก้อนดินนั้นนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เหยี่ยวนกเขา จึงได้แต่ให้อกกระแทก ที่ก้อนดินนั้นแล. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นก็เหมือนกับที่ภิกษุเที่ยวไปในที่ อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอจงอย่าเที่ยวไปในที่อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์. เมื่อเธอเที่ยว ไปในแดนอโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ มารย่อมได้ช่อง มารย่อมได้อารมณ์.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าคืออโคจร ถิ่นของปรปักษ์ สำหรับภิกษุ คือ กามคุณ ๕. กามคุณ ๕ เป็นไฉน? ได้แก่รูปที่พึงรู้ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพึงใจประกอบด้วยความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย ฯลฯ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ คืออโคจรอันเป็นถิ่นของปรปักษ์สำหรับภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเหี่ยวในโคจร ฯลฯ มารย่อมไม่ได้อารมณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรคือโคจรของภิกษุ ซึ่งเป็นถิ่นของบิดามารดา ของตน คือสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นภายในกายอยู่ ฯลฯ ธรรมที่ เป็นถิ่นบิดาของตน.
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอมากครับ
ได้ประโยชน์จากการพิจารณาธรรมสาระจากพระสูตรนี้ดีทีเดียว ผมขออนุญาตเรียนสอบถามรายละเอียดเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมสักนิดครับ ที่ท่านกล่าวว่า
เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ท่านหมายเอาคำว่า "ตน" คือ กาย เวทนา และจิต เป็นสำคัญ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่.
ท่านหมายเอาคำว่า "ธรรม" คือ ธรรม เป็นสำคัญ อันรวมอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ใช่หรือไม่ครับ หรือมีการพิจารณาแยกแยะอย่างไรครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นมีธรรมะเป็นเกาะ มีธรรมะเป็นที่พึ่ง ค่ะ
ตอบ คุณผู้ร่วมเดินทาง
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
คำว่า"ตน"ขออธิบายว่า ชื่อว่าตน. แก้ว่า โลกิยธรรมและโลกุตรธรรม. คำว่า "ธรรม" คือ สติปัฏฐาน ๔ ใช่ครับ
(สรณ แปลว่า ความระลึก ที่ระลึก ที่พึ่ง)
ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณเซจาน้อยและทุกท่านครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ
ขออนุโมทนาครับ
คงต้องอนุญาตทำความเข้าใจเพิ่มเติมไปอีกว่า
ชื่อว่า "ตน" นั้น หมายถึง โลกิยธรรมและโลกุตรธรรม ใช้เป็นเกาะ เป็นที่พึ่งอย่างไร หรือ ปรับเข้าในสติปัฏฐาน ๔ เป็นองค์รวมครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ
ตอบความคิดเห็นที่ 7
คำว่าตน ชื่อว่าตน. แก้ว่า โลกิยธรรมและโลกุตรธรรม.
โลกิยธรรมและโลกุตรธรรม ก็คือ รูปขันธ์๑ และนามขันธ็๔ นั่นเอง ซึ่งหมายถึง "ตน"
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตน เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้.
มีธรรมเป็นเกาะมีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่ อย่างไรเล่า.
(เนื่องจาก ลรณ แปลว่า ความระลึก ที่ระลึก ที่พึ่ง)
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ ในที่นี้ ธรรม หมายถึง กาย เวทนา จิต ธรรม หรือ สติปัฏฐาน ๔ ควรเข้าใจว่า กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่ออาศัยให้ ระลึก และเป็นที่พึ่งด้วย ท่านจึงใช้คำว่า
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่ อย่างไรเล่า.
ผมมีความเห็นดังกล่าวมาแล้ว ผิดพลาดประการใด คุณผู้ร่วมเดินทางและท่านผู้รู้ทั้งหลาย กรุณาชี้แจง แก้ไขด้วยครับ
ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทาง และทุกท่านครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอมากครับ