[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 319
ข้อความบางตอนจาก
เผณปิณฑสูตร
ภิกษุเพ่งพินิจพิจารณา (เบญจขันธ์) อยู่ โดยแยบคาย ด้วยประการใดๆ เบญจขันธ์ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า ด้วยประการ นั้นๆ แก่เธอผู้เห็นอยู่โดยแยบคาย ก็การละ ธรรม ๓ อย่าง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงมี ปัญญาเสมอแผ่นดิน ทรงปรารภกายนี้แล้ว แสดงไว้ เธอทั้งหลาย จงดูรูปที่เขาทิ้งแล้วเถิด อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละกายนี้ไปเมื่อใด เมื่อ นั้นกายนี้จะถูกเขาทอดทิ้ง นอนอยู่ ไม่มีจิตใจ เป็นเหยื่อของสัตว์ การสืบเนื่องกันนี้เป็นเช่นนี้ นี้เป็นมายากล ที่คนโง่พร่ำเพ้อถึง ขันธ์ เรา ตถาคตกล่าวว่า เป็นเพชฌฆาต ตนหนึ่ง สาระใน เบญจขันธ์นี้ไม่มี
ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว มีสติ สัมปชัญญะ พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลาย อย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน ภิกษุเมื่อ ปรารถนา อจุติบท (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ ทั้งปวง ทำที่พึ่งแก่ตน ประพฤติดุจบุคคลผู้มี ไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น ดังนี้.
จบ เผณปิณฑสูตรที่ ๓
บทว่า มายายํ พาลลาปินี ความว่า ขันธ์นี้นั้น ชื่อว่า วิญญาณขันธ์นี้ชื่อว่า เป็นมายาที่มหาชนผู้โง่เขลา พร่ำเพ้อถึง.
บทว่า วธโก ความว่าเพชฌฆาต กล่าวคือขันธ์นี้ เป็นได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการฆ่ากันเอง ๑ โดยพระบาลีว่า เมื่อขันธ์มีอยู่ ผู้ฆ่าก็ปรากฏดังนี้ ๑ อธิบายว่า ปฐวีธาตุอย่างเดียว เมื่อแตกสลาย ก็พาเอาธาตุที่เหลือแตกสลายไปด้วย ธาตุทั้งหลายมีอาโปธาตุ เป็นต้น ก็เหมือนกัน ส่วนรูปขันธ์ เมื่อแตกสลาย ก็พาเอาอรูปขันธ์แตกสลายไปด้วย ในอรูปขันธ์ก็เหมือนกัน คือ เวทนา เป็นต้น (เมื่อแตกสลาย) ก็พาเอาสัญญา เป็นต้น (แตกสลายไปด้วย) ก็ในที่นี้พึงทราบว่า เบญจขันธ์เป็นตัวสังหารกันและกันอย่างนี้ คือ อรูปขันธ์ทั้ง ๔ กับรูปซึ่งเป็นที่อาศัยของอรูปขันธ์ ทั้ง ๔ นั่น (ต่างก็สังหารกันแลกัน) อนึ่ง เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ การฆ่า การจองจำ และการตัด (มือเท้า) เป็นต้น จึงมี พึงทราบว่า เบญจขันธ์ เป็นผู้ฆ่า เพราะเมื่อขันธ์เหล่านี้มี การฆ่าจึงมีอย่างนี้บ้าง
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ