[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 803
ทุติยปัณณาสก์
อรหันตวรรคที่ ๓
๔. สุขสูตร
ว่าด้วยธรรมทําให้มีสุขโสมนัส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 803
๔. สุขสูตร
ว่าด้วยธรรมทำให้มีสุขโสมนัส
[๓๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้มากด้วยสุข และโสมนัส อยู่ในปัจจุบันเทียว และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ยินดีธรรม ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีภาวนา ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีการละ ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีปวิเวก ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีความไม่พยาบาท ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้มากด้วยสุข และโสมนัส อยู่ในปัจจุบันเทียว และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย.
จบสุขสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 804
อรรถกถาสุขสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในสุขสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โยนิ จสฺส อารทฺธา โหติ ความว่า อนึ่ง เหตุเป็นอันเธอทำให้บริบูรณ์ คือ ประคองไว้. บทว่า ธมฺมาราโม ความว่า ประสบความยินดีในธรรม. ภิกษุชื่อว่า ภาวนาราโม เพราะยินดีในภาวนา หรือ เมื่อภาวนาอยู่ก็ยินดี. ชื่อว่า ปหานาราโม เพราะยินดีในการละ หรือเมื่อละอยู่ก็ยินดี. ชื่อว่า ปวิเวการาโม เพราะยินดีในปวิเวก ๓ อย่าง. ชื่อว่า อพฺยาปชฺฌาราโม เพราะยินดีในความไม่เบียดเบียน คือ ในความไม่มีทุกข์. ชื่อว่า นิปฺปญฺจาราโม เพราะยินดีในพระนิพพาน กล่าวคือ ธรรมที่ไม่มีความเนิ่นช้า.
จบอรรถกถา สุขสูตรที่ ๔