ล้วนสั่งสมมาแล้วทั้งนั้น
โดย Noparat  5 ส.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 9466

ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย

เราสั่งสมกิเลสมามากมาย เช่น โลภะ โทสะ โมหะ ความริษยา และความตระหนี่ และเราก็สั่งสมอุปนิสัยที่ดีมาแล้วด้วย วันนี้เราสนใจธรรม เราชอบฟังธรรม ความสนใจเช่นนี้มาจากไหน ต้องมีเหตุปัจจัย เราต้องเคยฟังธรรมมาแต่ในอดีต สิ่งที่เราได้เรียนรู้แล้วจะไม่สูญหายไปไหน ถ้าขณะนี้มีสติระลึกรู้ขณะหนึ่ง ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดสติขึ้นในภายหน้า



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 5 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 2    โดย พุทธรักษา  วันที่ 5 ส.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ.


ความคิดเห็น 3    โดย prakaimuk.k  วันที่ 5 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 4    โดย khampan.a  วันที่ 5 ส.ค. 2551

สังสารวัฏฏ์ยาวนาน กำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ผู้ที่ยังมีตัณหา ยังมีอวิชชาและกิเลสประการต่างๆ จึงยังต้องมีการเกิดอยู่ร่ำไป ชีวิตที่ดำเนินไปในแต่ละภพในแต่ละชาติของแต่ละบุคคลล้วนมีความแตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน บุคคลแต่ละบุคคลจึงมีอัธยาศัยที่แตกต่างกัน ตามการสั่งสม การที่เป็นคนมักโกรธในชาตินี้ ก็เพราะได้สั่งสมความโกรธมาแล้วตั้งแต่ขณะก่อนๆ ซึ่งรวมถึงในชาติก่อนๆ ด้วยถ้าชาตินี้ยังโกรธ สั่งสมความโกรธไว้อยู่ ชาติต่อๆ ไป ก็คงยังเป็นคนมักโกรธอยู่นั่นเอง ผู้ที่มีปกติริษยาผู้อื่น เห็นผู้อื่นได้ดีแล้วทนไม่ได้ ก็เพราะเคยได้สั่งสมกิเลสประเภทนี้มาแล้ว สำหรับผู้ที่มีอัธยาศัยในการให้ทาน มีอัธยาศัยในการเกื้อกูลบุคคลอื่นมีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความอดทน มีศรัทธาที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมพิจารณาพระธรรมอยู่เสมอ บ่อยๆ เนืองๆ เป็นต้น ก็เพราะได้สั่งสมมาแล้ว เหมือนกัน

เมื่อพิจารณาตามดังนี้แล้ว จึงได้เครื่องเตือนใจทีดีว่า ควรที่จะสั่งสมแต่สิ่งที่ดีงามจนเป็นอุปนิสัย เพราะสิ่งที่ดีงามเป็นสิ่งที่ควรจะอบรมเจริญให้มีขึ้นในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งที่ไม่ดี ที่เป็นอกุศล ไม่ควรที่จะสั่งสมให้มีมากขึ้น ครับ ..

...ขออนุโมทนาครับ...


ความคิดเห็น 5    โดย suwit02  วันที่ 5 ส.ค. 2551

สาธุ


ความคิดเห็น 6    โดย เมตตา  วันที่ 5 ส.ค. 2551

จิตของแต่ละคนต่างกันตามที่ได้สะสมมาในอดีต เมื่อได้ศึกษาและมีความเข้าใจใน

พระธรรมว่าทุกๆ ขณะจิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไป จะสั่งสมสันดานของตนในจิตขณะต่อไป

จึงควรที่จะสั่งสมแต่เหตุที่ดีจนเป็นอุปนิสัย เพื่อที่จะสั่งสมเป็นอุปนิสัยที่ดีต่อไปใน

อนาคต ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ ..


ความคิดเห็น 7    โดย เซจาน้อย  วันที่ 5 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 8    โดย paderm  วันที่ 5 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ้าหากมีคนถามว่าทำไมคุณถึงมีนิสัยอย่างนี้ หรือคนนั้นทำไมถึงมีนิสัยอย่างนี้ ก็คง

ต้องตอบไปว่าเป็นไปตามการสะสมมาในอดีต อะไรคือธรรมชาติที่สะสม จิตนั้นเองที่

สะสม เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ประกอบด้วยเจตสิกฝ่ายดีและไม่ดี ก็สะสมสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งฝ่ายดี

และไม่ดีครับ

อาจมีคำถามอีกว่า ทำยังไงสะสมอกุศลมามาก แล้วก็เพิ่งฟังธรรม ปัญญาก็น้อย

เมื่อเทียบกับกิเลส (อกุศลจิต) ที่เกิดขึ้นมากในแต่ละวัน กับขณะที่เข้าใจธรรม เทียบกัน

ไม่ได้เลย แล้วอย่างนี้ก็สะสมอกุศลมาก สะสมปัญญาน้อย จะดับกิเลสได้อย่างไร ซึ่งดู

เหมือนจำนวนที่เป็นอกุศลและความเข้าใจพระธรรมต่างกันมาก


ความคิดเห็น 9    โดย paderm  วันที่ 5 ส.ค. 2551

ตอบว่า ปัญญาแม้จะเกิดขึ้นทีละน้อย แต่สภาพธรรมที่เป็นกุศลและมีปัญญานั้นเป็น

สภาพธรรมที่มีกำลังมากกว่าอกุศล แม้ว่าจะมีอกุศลเกิดมากก็ตาม และที่สำคัญก็คงไม่มี

ตัวตนที่อยากหรือพยายามให้สะสมสิ่งที่ดีหรือให้กุศลเกิดบ่อยๆ เป็นไปไม่ได้แต่ก็สะสม

ปัญญาทีละน้อยจนถึงวันหนึ่ง แม้อกุศลจะมีมากก็ตามแต่เมื่อปัญญาถึงระดับที่สามารถ

ดับกิเลสได้หมด แม้อกุศลที่สะสมมากเท่าไหร่ก็ดับหมดได้ อาศัยการฟังพระธรรมที่

เข้าใจทีละเล็กละน้อยครับ ไม่ต้องห่วงเรื่องอกุศลเกิดมาก สะสมสิ่งที่ไม่ดีมากแต่ควร

เริ่มจากเหตุคือปัญญาเพราะเมื่อปัญญาเจริญขึ้น กุศลประการต่างๆ ก็เกิดขึ้นตามปัญญา

ก็ทำให้สะสมสิ่งที่ดีๆ ต่อไป จนถึงการดับกิเลส ขออนุโมทนาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 10    โดย Pararawee  วันที่ 6 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ............การสนทนาธรรมเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง หายากในปัจจุบัน


ความคิดเห็น 11    โดย wannee.s  วันที่ 6 ส.ค. 2551

ผู้ที่เป็นคนดี นิสัยดี แต่ไม่ได้ศึกษาธรรมะ กับผู้ที่ศึกษาธรรมะแต่ยังเป็นคนไม่ดี แต่

วันหนึ่งข้างหน้า เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมเขาก็มีโอกาสกลับมาเป็นคนดี เป็นพระอริยบุคคล

เช่น พระเจ้าสรกานิดื่มสุรา แต่ท่านสั่งสมปัญญาด้วยภายหลังท่านได้เป็นพระโสดาบันค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย choonj  วันที่ 7 ส.ค. 2551


การสั่งสมนี่สำคัญ ชีวิตในวันหนึ่งๆ กำลังสั่งสม ผู้ที่ไม่ใช่อริยบุคลก็สั่งสมทั้งกุศลและอกุศล สองอย่างนี้สั่งสมไปพร้อมๆ กันจึงมีคนด้อยทรัพย์ คนขี้เมา คนเป็นโรคเรื้อน คนด้อยอาหาร คนมีทุกข์ๆ ลๆ และได้ฟังธรรมในชาติเดียวกันนั้นแล้วภายหลังได้เป็นอริยบุคล การสั่งสมอกุศลก็เบาบางลง เมื่อกิริยาจิตเกิดการสั่งสมก็จบ เข้าใจผิดถูกอย่างไรผู้รู้ช่วยแก้ไขด้วย ขอบคุณ

ความคิดเห็น 13    โดย ajarnkruo  วันที่ 7 ส.ค. 2551

ขอแสดงความเห็นตามความเข้าใจนะครับ

1. พระอริยบุคคลที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ยังมีการสั่งสมทั้งกุศล - อกุศล แต่ว่า การสั่งสมอกุศลของท่านเหล่านั้น ไม่เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิในอบายภูมิอีก2. ตามความเป็นจริง กุศลและอกุศล เกิดคนละขณะ ไม่ได้สะสมไปพร้อมๆ กัน แต่ถ้าหมายถึงสิ่งที่สะสมอยู่ในจิต ได้แก่ กรรมและกิเลสนั้น สิ่งนั้นไม่เกิดดับ แต่จะเป็นปัจจัยให้เกิดผลได้ตราบเท่าที่ยังมีสังสารวัฏฏ์3. เมื่ออรหัตตมรรคจิตเกิด ปหานกิเลสได้หมดสิ้น บรรลุอรหัตตผลสู่ความเป็น พระอรหันต์แล้ว ก็จะไม่มีการสั่งสมของทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตอีกเพราะดับ ทั้งกุศลและอกุศลที่จะเกิดและให้ผลในชาติต่อไปได้ แต่เมื่อยังมีชีวิต มี ขันธ์ ยังไม่ปรินิพพาน ท่านก็ยังจะต้องมีการรับผลของกรรมดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่กิริยาจิตที่เกิดขึ้นแทนกุศล/อกุศลในชวนจิตของท่าน ก็มีการสะสม แต่ ไม่เป็นการสะสมที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดผลได้อีกในชาติต่อไปครับ


ความคิดเห็น 14    โดย pornpaon  วันที่ 7 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 15    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 7 ส.ค. 2551

"... ปัญญาแม้จะเกิดขึ้นทีละน้อย แต่สภาพธรรมที่เป็นกุศลและมีปัญญานั้นเป็น

สภาพธรรมที่มีกำลังมากกว่าอกุศล แม้ว่าจะมีอกุศลเกิดมากก็ตาม และที่สำคัญก็คงไม่มี

ตัวตนที่อยากหรือพยายามให้สะสมสิ่งที่ดีหรือให้กุศลเกิดบ่อยๆ เป็นไปไม่ได้แต่ก็สะสม

ปัญญาทีละน้อยจนถึงวันหนึ่ง แม้อกุศลจะมีมากก็ตามแต่เมื่อปัญญาถึงระดับที่สามารถ

ดับกิเลสได้หมด แม้อกุศลที่สะสมมากเท่าไหร่ก็ดับหมดได้ อาศัยการฟังพระธรรมที่

เข้าใจทีละเล็กละน้อยครับ ไม่ต้องห่วงเรื่องอกุศลเกิดมาก สะสมสิ่งที่ไม่ดีมากแต่ควร

เริ่มจากเหตุ คือ ปัญญา เพราะเมื่อปัญญาเจริญขึ้น กุศลประการต่างๆ ก็เกิดขึ้นตาม

ปัญญาก็ทำให้สะสมสิ่งที่ดีๆ ต่อไป จนถึงการดับกิเลส..." ..

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 16    โดย choonj  วันที่ 8 ส.ค. 2551

ขอขอบพระคุณ อาจารย์ครู ความคิดเห็นที่ ๑๓ อ่านแล้วทำให้เข้าใจดีขึ้นละเอียดเพิ่มขึ้นเป็นประโยชน์ทำให้เวปนี้น่าเรื่อนรมณ์ ที่ว่าละเอียดนั้นคือที่เขียนว่า กุศลอกุศลสังสมพร้อมกัน ความจริงแล้วผู้ศึกษาธรรมต้องเข้าใจว่า จิตเกิดดับที่ละขณะไม่เป็นกุศลก็อกุศลจึงพร้อมกันไม่ได้ แต่ถ้าเขียนอย่างนี้ผู้ไม่รู้ ก็จะเข้าใจผิดได้ว่าสังสมพร้อมกัน จึงเป็นความละเอียด ซึ่งผมจะขอจำไว้ในการศึกษา ส่วนเหตุผลอื่นๆ ก็ไพเราะขออนุโมทนาครับ