[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๗
จุลวรรค ทุติยภาค
เสนาสนขันธกะ
เรื่องราชคหเศรษฐีถวายวิหาร 198/105
พุทธานุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด 200/106
ถวายวิหาร 202/107
คาถานุโมทนาวิหารทาน 203/107
พุทธานุญาตบานประตู 204/108
พุทธานุญาตลูกดาล 205/109
พุทธานุญาตบานหน้าต่าง 207/109
พุทธานุญาตเครื่องลาด 208/110
พุทธานุญาตเตียงและตั่งชนิดต่างๆ 209/110
พุทธานุญาตเตียงชนิดต่างๆ 210/110
พุทธานุญาตม้าชนิดต่างๆ 213/111
ทรงห้ามนอนเตียงสูง 214/112
พุทธานุญาตเขียงรองเท้าเตียง 215/112
พุทธานุญาตด้าย 217/113
พุทธานุญาตหมอน 218/113
พุทธานุญาตทําฟูก ๕ ชนิด 219/104
พุทธานุญาตเตียงหุ้มฟูก 221/114
พุทธานุญาตดินปนแกลบ 224/115
พุทธานุญาตภาพดอกไม้เป็นต้น 226/116
เรื่องวิหารมีพื้นที่ต่ํา 227/116
เรื่องวิหารมีพื้นโล่งโถง 228/116
เรื่องวิหารเล็ก 229/117
พุทธานุญาตไม้สําหรับแขวน 232/117
พุทธานุญาตไม้เก็บจีวร 233/118
พุทธานุญาตหอฉัน 235/118
พุทธานุญาตท่อระบายน้ํา 238/120
พุทธานุญาตโรงไฟ 239/120
เรื่องอนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าคร้งแรก 241/121
อนาถบิณฑิกคหบดีได้ดวงตาเห็นธรรม 126
อนาถบิณฑิกคหบดีถวายภัตตาหาร 255/128
อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน 256/129
เรื่องช่างชุนเข็ญใจ 259/131
กรรมวาจาให้นวกรรม 132
เรื่องความเคารพ 260/132
เรื่องสัตว์๓ สหาย 262/135
บุคคลไม่ควรไหว้๑๐ จําพวก 264/136
บุคคลควรไหว้๓ จําพวก 137
เรื่องเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ 265/137
พุทธานุญาตให้นั่งทับเตียงตั่งเป็นคิหิวิกัฎ 268/139
อนาถบิณฑิกคหบดีถวายพระเชตวนาราม 269/139
คาถาอนุโมทนาวิหารทาน 271/140
เรื่องให้ภิกษุกําลังฉันค้างอยู่ลุกข้นึ 272/141
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ไล่ภิกษุอาพาธ 273/142
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ซ่อมวิหาร 276/143
ภิกษุควรได้รับสมมติเป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ 277/144
วิธีสมมติ 278/145
กรรมวาจาสมมติ 145
การให้ถือเสนาสนะ ๓ อย่าง 282/146
เรื่องพระอุปนันทะหวงกันเสนาสนะไว้๒ แห่ง 283/147
วินัยกถา 284/148
เรื่องภิกษุแจกของที่ไม่ควรแจก 292/150
ของที่ไม่ควรแจก ๕ หมวด 151
เรื่องภิกษุแบ่งของที่ไม่ควรแบ่ง 293/153
ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด 154
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรม 295/155
ให้นวกรรมวิหารท้งหลัง 296/158
ภิกษุถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปเป็นต้น 302/160
ใช้เสนาสนะผิดสถานที่ 309/162
พุทธานุญาตให้ขอยืมเสนาสนะ 310/162
พุทธานุญาตให้แลกเปลี่ยน 312/163
พุทธานุญาตผ้าเช็ดเท้า 314/163
มีเท้าเปื้อนห้ามเหยียบเสนาสนะ 317/163
มีเท้าเปียกห้ามเหยียบเสนาสนะ 319/164
พุทธานุญาตผ้าพันเท้าเตียงตั่ง 321/164
พุทธานุญาตให้ปูลาดนอน 323/165
พุทธานุญาตภัตร 324/165
พุทธานุญาตให้สมมติภัตตุเทสก์ 326/166
วิธีสมมติ 327/166
กรรมวาจาสมมติ 166
วิธีแจกภัตร 328/267
วิธีสมมติ 330/168
กรรมวาจาสมมติ 168
สมมติภิกษุเป้นผู้แจกของเล็กน้อย 331/168
วิธีสมมติ 332/169
กรรมวาจาสมมติ 169
ของเล็กน้อยที่ควรแจก 333/170
พุทธานุญาตให้สมมติภิกษุเป็นผู้แจกผ้าเป็นต้น 334/170
วิธีสมมติ 335/171
กรรมวาจาสมมติ 171
หัวข้อประจําขันธกะ 336/171
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 105
เสนาสนขันกะ (๑)
เรื่องราชคหเศรษฐีถวายวิหาร
[๑๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติเสนาสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย และ ภิกษุเหล่านั้นก็อยู่ในที่นั้นๆ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุเหล่านั้นออกจากที่อยู่นั้นๆ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ชอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง แต่เช้าตรู่ มีอาการ เดินไปข้างหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน หน้าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ.
[๑๙๙] สมัยนั้น ราชคหเศรษฐีได้ไปสวนแต่เช้าตรู่ ได้แลเห็นภิกษุ เหล่านั้นเดินออกจากที่อยู่นั้นๆ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง แต่เช้าตรู่ มีอาการเดินไปข้างหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน หน้าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วย อิริยาบถ ครั้นแล้วก็มีจิตเลื่อมใส จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น เรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า หากข้าพเจ้าสร้างวิหารถวาย พระคุณเจ้าจะอยู่ในวิหารของข้าพเจ้า หรือไม่
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูก่อนคหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรง อนุญาตวิหาร.
(๑) ท่านว่ามี ๑๐๐ เรื่อง แต่นับได้ถึง ๑๗๕ เรื่อง ถ้ารวมเข้าคงได้จำนวนนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 106
เศรษฐีกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าจงทูลถามพระผู้- มีพระภาคเจ้า แล้วแจ้งแก่ข้าพเจ้า.
ภิกษุเหล่านั้นรับคำของราชคหเศรษฐี แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่งที่ ณ ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ราชคหเศรษฐีประสงค์จะสร้างวิหารถวาย ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึง ปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.
พุทธานุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด
[๒๐๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ วิหาร ๑ เรือนมุง แถบเดียว ๑ เรือนชั้น ๑ เรือนโล้น ๑ ถ้า ๑.
[๒๐๑] ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐีแล้วได้กล่าว ว่า คหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตวิหารแล้ว บัดนี้เป็นการสมควรที่จะ สร้างได้ ราชคหเศรษฐีให้สร้างวิหาร ๖๐ หลังโดยวันเดียวเท่านั้น ครั้นให้สร้าง เสร็จแล้ว จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลอาราธนาว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นเศรษฐีทราบว่า ทรงรับอาราธนา แล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมทำประทักษิณกลับไปแล้ว ให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตโดยล่วงราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 107
ถวายวิหาร
[๒๐๒] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสก ถือบาตร จีวรเสด็จไปยังนิเวศน์ของราชคหเศรษฐี ครั้นแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขา ปูลาดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงราชคหเศรษฐี อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยแล้ว ลดพระหัตถ์จากบาตร ห้ามภัตรแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งกราบทูลพระผู้มีภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าต้องการบุญ ต้องการสวรรค์ ได้สร้างวิหาร ๖๐ หลังนี้ไว้แล้ว ข้า พระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไรในวิหารเหล่านั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวาย วิหารเหล่านั้นแก่สงฆ์จาตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ราชคหเศรษฐีทูลรับ พระพุทธดำรัสแล้ว ได้ถวายวิหารเหล่านั้น แก่สงฆ์ จาตุรทิศ ทั้งที่มาแล้ว และยังไม่มา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่ราชคหเศรษฐีด้วย คาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้ :-
คาถานุโมทนาวิหารทาน
[๒๐๓] วิหารย่อมป้องกันหนาว ร้อน และเนื้อร้าย นอกจากนั้นยังป้องกันงูและยุง ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้นวิหาร ยังป้องกัน ลมและแดดอันร้อนกล้าที่เกิดขึ้นได้ การ ถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อ ความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 108
พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอัน เลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็ง เห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูต อยู่ในบริเวณนี้เถิด อนึ่ง พึงมีใจเลื่อมใสถวายข้าว น้ำ ผ้า และ เสนาสนะ อันเหมาะสมแก่พวกเธอ ในพวก เธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอ ย่อมแสดงธรรม อัน เป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา เขารู้ ทั่วถึงแล้ว จะเป็นผู้มีอนาสวะ ปรินิพพานใน โลกนี้.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาท่านราชคหเศรษฐี ด้วยคาถา เหล่านี้แล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ.
พุทธานุญาตบานประตู
[๒๐๔] ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตวิหาร แล้วจึงช่วยกันสร้างวิหารถวายโดยเคารพ วิหารเหล่านั้นยังไม่มีบานประตู งู แมลงป่อง และตะขาบ เข้าอาศัย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี. พระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู ภิกษุ ทั้งหลายเจาะช่องฝา ผูกบานประตูด้วยเถาวัลย์บ้าง เชือกบ้าง หนูและปลวก กัด เชือกที่ผูกไว้ถูกกัดขาด บานประตูล้มลงมา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกรอบ เช็ดหน้า ครกรับเดือยประตู ห่วงข้างบนบานประตูปิดไม่สนิท ... ตรัสว่า ดู
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 109
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตช่องเชือก ชักเชือกสำหรับชัก บานประตูปิดไม่ อยู่ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน.
พุทธานุญาตลูกดาล
[๒๐๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถปิดประตูได้ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ช่องลูกดาล ลูกดาลมี ๓ ชนิด คือ ลูกดาลโลหะ ๑ ลูกดาลไม้ ๑ ลูกดาลเขา ๑ ภิกษุทั้งหลายไขลูกดาลเข้าไป วิหารยังคุ้มไม่ได้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลิ่มยนต์.
[๒๐๖] สมัยนั้น วิหารมุงด้วยหญ้า ถึงฤดูหนาวก็หนาว ถึงฤดูร้อน ก็ร้อน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วฉาบด้วยดินทั้งข้างนอกและข้างใน.
พุทธานุญาตบานหน้าต่าง
[๒๐๗] สมัยนั้น วิหารยังไม่มีหน้าต่าง ไม่เป็นประโยชน์แก่นัยน์ตา อบกลิ่นเหม็นไว้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหน้าต่าง ๓ ชนิด คือ หน้าต่างมีชุกชี ๑ หน้าต่างมีข่าย ๑ หน้าต่างมีซี่กรง ๑ ที่ซอกหน้าต่าง กระแตและค้างคาวเข้า ไปได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าผืนเล็กสำหรับหน้าต่าง ที่ริมผ้าผืนเล็ก กระแต และค้างคาวยังเข้าไปได้ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานหน้า ต่าง มู่ลี่หน้าต่าง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 110
พุทธานุญาตเครื่องลาด
[๒๐๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนอนบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรแปด เปื้อนด้วยฝุ่น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดด้วยหญ้า หญ้าที่ลาดถูกหนูกัดบ้าง ปลวกกัดบ้าง ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดานคล้ายตั่ง เมื่อนอนบน แผ่นกระดานคล้ายตั่งเนื้อตัวไม่สบาย ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตเตียงถักหรือสาน.
พุทธานุญาตเตียงและตั่งชนิดต่างๆ
[๒๐๙] สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่า ช้าบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีแคร่สอดเข้าในเท้า ตั่งมีแม่แคร่ สอดเข้าในเท้าบังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีแคร่สอดเข้าในเท้า.
[๒๑๐] สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า บังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีแคร่ติดกับเท้า ตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า บังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า.
พุทธานุญาตเตียงชนิดต่างๆ
[๒๑๑] สมัยนั้น เตียงมีเท้าดังก้ามปู ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า บังเกิด แก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดู
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 111
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีเท้าดังก้ามปู ตั่งมีเท้าดังก้ามปูเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีเท้าดังก้ามปู.
[๒๑๒] สมัยนั้น เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า บังเกิด แก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่บังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีเท้าจดแม่แคร่.
พุทธานุญาตม้าชนิดต่างๆ
[๒๑๓] สมัยนั้น ม้าสี่เหลี่ยมบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ม้าสี่เหลี่ยม ม้าสี่เหลี่ยมชนิดสูงบังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยม ชนิดสูง ม้าสี่เหลี่ยม มีพนักสามด้านบังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้า สี่เหลี่ยมมีพนักสามด้าน ม้าสี่เหลี่ยมมีพนักสามด้านชนิดสูงบังเกิดแล้ว ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมมีพนักสามด้านชนิดสูง ตั่งหวายบังเกิดแล้ว ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหวาย ตั่งหุ้มด้วยผ้าบังเกิดแล้ว ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 112
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหุ้มด้วยผ้า ตั่งขาทรายบังเกิดแล้ว ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งขาทราย ตั่งก้ามมะขามป้อมบังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรืองนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งก้ามมะขามป้อม แผ่นกระดานบังเกิด แล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดาน เก้าอี้บังเกิดแล้ว ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเก้าอี้ ตั่งฟางบังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งฟาง.
ทรงห้ามนอนบนเตียงสูง
[๒๑๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์นอนบนเตียงสูง ชาวบ้านเที่ยวชม วิหาร เห็นแล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนบนเตียงสูง รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พุทธานุญาตเขียงรองเท้าเตียง
[๒๑๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนอนบนเตียงต่ำ ถูกงูกัด ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงรองเท้าเตียง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 113
[๒๑๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้เขียงรองเท้าเตียงสูงเจาะติดกับ เขียงรองเท้าเตียง ชาวบ้านเที่ยวชมวิหาร เห็นแล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ไม่พึงใช้เขียงรองเท้าเตียงสูง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงรองเท้าเทียงสูง ๘ นิ้ว เป็น อย่างยิ่ง.
พุทธานุญาตด้าย
[
๒๑๗] สมัยนั้น ด้ายบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตด้ายไว้ถักเตียง ตัวเตียงกินด้ายมาก ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจาะตัวเตียงแล้วถักเป็นตาหมากรุก ผ้าสามัญผืนน้อยๆ บังเกิด แล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้ารองพื้น นุ่นบังเกิดแล้ว ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สางออกทำเป็นหมอน นุ่นมี ๓ ชนิด คือ นุ่นต้นไม้ ๑ นุ่นเถาวัลย์ ๑ นุ่นหญ้า ๑.
พุทธานุญาตหมอน
[๒๑๘] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้หมอนยาวกึ่งกาย ชาวบ้านเที่ยวชม วิหารพบเห็นแล้ว เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้ พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้หมอนยาวกึ่งกาย ภิกษุ ใดใช้ ไม่ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ทำหมอนพอดีกับศีรษะ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 114
พุทธานุญาตทำฟูก ๕ ชนิด
[๒๑๙] สมัยนั้น ในเมืองราชคฤห์มีมหรสพบนยอดเขา ชาวบ้าน จัดแจงฟูกสำหรับพวกมหาอำมาตย์ คือ ฟูกขนสัตว์ ฟูกผ้า ฟูกเปลือกไม้ ฟูกหญ้า ฟูกใบไม้ ครั้นมหรสพเลิกแล้ว เขาก็เลิกผ้าหุ้มไป ภิกษุทั้งหลาย ได้เห็นขนสัตว์บ้าง ท่อนผ้าบ้าง เปลือกไม้บ้าง หญ้าบ้าง ใบไม้บ้าง เป็น อันมาก ซึ่งเขาทิ้งไว้ในที่เล่นมหรสพ ครั้นแล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฟูก ๕ ชนิด คือ ฟูกขนสัตว์ ฟูกผ้า ฟูกเปลือกไม้ ฟูกหญ้า ฟูกใบไม้.
[๒๒๐] สมัยนั้น ผ้าอันเป็นบริขารของเสนาสนะ บังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุ้มมฟูก.
พุทธานุญาตเตียงหุ้มฟูก
[๒๒๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูฟูกเตียงลงบนตั่ง ปูฟูกตั่งลงบนเตียง ฟูกทั้งหลายขาดทำลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงหุ้มฟูก ตั่งหุ้มฟูก ภิกษุทั้งหลายปูลงไปไม่ได้ใช้ผ้ารองล่าง ฟูกย้อยลงข้างล่าง ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้ารองปูฟันแล้วหุ้มฟูก โจรเลิกผ้าหุ้มฟูก ไป ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จดไว้ โจรก็ยังลักไป ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำรอยไว้ ถึงอย่างนั้นก็ยังลักไป ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พิมพ์รอยนิ้วมือไว้.
[๒๒๒] สมัยนั้น ที่อยู่อาศัยของพวกเดียรถีย์ทาสีขาว พื้นเขาแต่ง ให้เป็นสีดำ ฝาเขาทำบริกรรมให้เป็นสีเหลือง ชาวบ้านเป็นอันมาก พากัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 115
ไปดูที่อยู่พวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสีขาว สีดำ ทำ บริกรรมด้วยสีเหลือง ในวิหาร.
[๒๒๓] สมัยนั้น ฝาหยาบ สีขาวไม่จับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินปนแกลบ แล้วกวดด้วยเกรียง สีขาวจะได้จับ สีขาวยัง ไม่ติด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินละเอียด แล้วกวด ด้วยเกรียงให้สีขาวจับ สีขาวก็ยังไม่จับ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ใช้ยางไม้ แป้งเปียก.
พุทธานุญาตดินปนแกลบ
[๒๒๔] สมัยนั้น ฝาหยาบสีเหลืองไม่จับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินปนแกลบ แล้วกวดด้วยเกรียงให้มีเหลืองจับ สีเหลือง ไม่ติด ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินปนรำ แล้วกวด ด้วยเกรียงให้สีเหลืองจับ สีเหลืองก็ยังไม่ติด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ใช้แป้งเมล็ดพรรณผักกาด ขี้ผึ้งเหลว ครั้นหนาเกินไป ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เช็ดออกด้วยท่อนผ้า.
[๒๒๕] สมัยนั้น พื้นดินหยาบไป สีดำไม่จับ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินปนแกลบ แล้วกวดด้วยเกรียง สีดำจะไม่จับ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 116
สีดำก็ยังไม่จับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ยางไม้ น้ำฝาด.
พุทธานุญาตภาพดอกไม้เป็นต้น
[๒๒๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ให้ช่างเขียนภาพสตรีบุรุษไว้ในวิหาร ชาวบ้านเที่ยวชมวิหารเห็นเข้า จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวก คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้เขียนภาพสตรี บุรุษ รูปใดให้เขียน ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตภาพดอกไม้ ภาพเครือเถา ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ.
เรื่องวิหารมีพื้นที่ต่ำ
[๒๒๗] สมัยนั้น วิหารมีพื้นต่ำ น้ำท่วมได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง ดินที่ถมพัง ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตก่อกรุ ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐ ๑ ศิลา ๑ ไม้ ๑ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลง ลำบาก ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันใด ๓ อย่าง คือ บันใดอิฐ ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.
เรื่องวิหารมีพื้นโล่งโถง
[๒๒๘] สมัยนั้น วิหารมีพื้นโล่งโถง ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าม่าน ภิกษุทั้งหลายเลิกผ้าม่านมองดูกัน ภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 117
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝากึ่งหนึ่ง คนมองดูข้างบนจากฝากึ่งหนึ่งได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตห้อง ๓ ชนิด คือ ห้องสี่เหลี่ยมจตุรัส ๑ ห้องยาว ๑ ห้องคล้ายตึกโล้น ๑.
เรื่องวิหารเล็ก
[๒๒๙] สมัยนั้น วิหารเล็ก ภิกษุทั้งหลายกั้นห้องไว้ตรงกลาง อุปจารไม่มี จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำห้องไว้ส่วนข้างหนึ่งในวิหารเล็ก แต่ในวิหารใหญ่ทำไว้ตรงกลางได้.
[๒๓๐] สมัยนั้น เชิงฝาวิหารเก่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต กรอบเชิงฝา ฝาวิหารถูกฝนสาด ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต แผงกันสาด ดินปนเถ้ากับขี้วัว.
[๒๓๑] สมัยนั้น งูตกจากหลังคามุงหญ้าถูกคอภิกษุรูปหนึ่ง เธอกลัว ร้องโวยวาย ภิกษุทั้งหลายรีบเข้าไปถามเธอว่า ทำไม คุณจึงได้ร้องโวยวาย เธอจึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพดาน.
พุทธานุญาตไม้สำหรับแขวน
[๒๓๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายแขวนถุงไว้ที่เท้าเตียงบ้าง ที่เท้าตั่ง บ้าง หนูและปลวกกัดกิน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 118
ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้เดือย ติดฝา ไม้นาคทนต์.
พุทธานุญาตราวไม้เก็บจีวร
[๒๓๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บจีวรไว้บนเตียงบ้าง บนตั่งบ้าง จีวรขาด จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง ในวิหาร.
[๒๓๔] สมัยนั้น วิหารยังไม่มีระเบียง หาที่พักอาศัยมิได้ ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตระเบียง เฉลียงลับแล หน้ามุขมีหลังคา ระเบียงโล่งโถง ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกันสาดเลื่อนฝาค้ำ.
พุทธานุญาตหอฉัน
[๒๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารในที่แจ้ง ลำบากด้วยหนาว บ้าง ร้อนบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหอฉัน หอฉันมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมได้ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง ดินที่ถมพัง ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ดินที่ถม ๓ ชนิด คือ อิฐ ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด ผงหญ้าที่มุงหอฉัน ตกลงเกลื่อน ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วฉาบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 119
โบกดินทั้งข้างบนข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มีลวดลาย ดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง.
[๒๓๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูจีวรลงบนพื้นดินกลางแจ้ง จีวร เปื้อนฝุ่น ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง ไว้กลางแจ้ง ... น้ำฉันถูกแดดเผา ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต โรงน้ำฉัน ปะรำน้ำฉัน โรงน้ำฉันมีพื้นต่ำ น้ำท่วมได้ ... ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง ดินที่ถมพัง ... ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ๓ ชนิด คือ ก่อด้วยอิฐ ก่อด้วยศิลา กรุ ด้วยไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุ- ญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด ผงหญ้าที่มุงโรงน้ำฉัน ตกเกลื่อน ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดินทั้ง ข้างบนข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง ภาชนะตักน้ำฉันยังไม่มี ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังข์ตักน้ำดื่ม ขันตักน้ำดื่ม.
[๒๓๗] สมัยนั้น วิหารยังไม่มีเครื่องล้อม ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมด้วยเครื่องล้อม ๓ อย่าง คือ อิฐ ศิลา ไม้ ซุ้ม ประตูยังไม่มี ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู ซุ้มประตู มีพื้นต่ำไป น้ำท่วมได้ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมให้ สูง ซุ้มประตูไม่มีบาน ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองรับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก ผงหญ้าที่มุงซุ้มประตูตกเกลื่อน ...
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 120
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบทั้งข้างบนข้างล่าง ให้มี สีขาว สีดำ สีเหลือง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ.
พุทธานุญาตท่อระบายน้ำ
[๒๓๘] สมัยนั้น บริเวณเป็นตม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้โรยกรวดแร่ กรวดแร่ไม่เต็ม ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ปูศิลาเรียบ น้ำขัง ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ
พุทธานุญาตโรงไฟ
[๒๓๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายก่อกองไฟไว้ในที่นั้นๆ ทั่วบริเวณ บริเวณสกปรก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำโรงไฟไว้ในที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง โรงไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมได้ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ถมให้สูง ดินที่ถมพัง ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ก่อกรุ ๓ ชนิด คือ อิฐ ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก ... ตรัสว่า ดูก็ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราว สำหรับยึด โรงไฟไม่มีบานประตู ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุ- ญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้ หัวลิง ลิ่ม กลอน ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก ผงหญ้าที่มุง โรงไฟ หล่นเกลื่อน ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบทั้ง ข้างบนทั้งข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 121
ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายสะเดียง อารามไม่มีเครื่องล้อม แพะบ้าง ปสุสัตว์บ้าง เบียดเบียนสิ่งที่ปลูกไว้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ อย่าง คือ รั้วไม้ไผ่ รั้วหนาม คู ซุ้มประตูไม่มี แพะบ้าง ปสุสัตว์บ้าง ยังรบกวน สิ่งที่ปลูกไว้ตามเดิม ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู เครื่องไม้คร่าว บานประตูคู่ เสาระเนียด กลอนเหล็ก ผงหญ้าที่มุ่งซุ้มหล่น เกลื่อน ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วฉาบทั้งข้าง บนทั้งข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลีอง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ อารามเป็นตม ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้โรยหินแร่ หินแร่ไม่พอ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ปูหินเรียบ น้ำขัง ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบาย น้ำ.
[๒๔๐] สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างปราสาทปูนขาวถวายสงฆ์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเกิด สนเท่ห์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเครื่องมุงชนิดไรไว้บ้างหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตเครื่องมุง ๕ ชนิด คือ กระเบื้อง ๑ หิน ๑ ปูนขาว ๑ หญ้า ๑ ใบไม้ ๑ ภาณวารที่ ๑ จบ
เรื่องอนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก
[๒๔๑] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เป็นน้องเขยของราชคห เศรษฐี ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีไปเมืองราชคฤห์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 122
[๒๔๒] สมัยนั้น ราชคหเศรษฐีได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น จึงได้สั่งทาสและกรรมกรทั้งหลายว่า พนาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกัน จัดหาอาหารที่มีรสอร่อย.
[๒๔๓] ขณะนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้คิดว่า เมื่อเรามาคราวก่อน ท่านคหบดีผู้นี้จัดทำธุระทุกอย่างเสร็จแล้ว สนทนาปราศรัยกับเราผู้เดียว บัดนี้ เขามีท่าทีเปลี่ยนไป สั่งทาสและกรรมกรทั้งหลายว่า พนาย ถ้ากระนั้นพวกท่าน จงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกันจัดหาอาหารที่มีรสอร่อยๆ บางทีคหบดีผู้นี้จักมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล หรือประกอบมหายัญ หรือ จักทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพลมาเลี้ยง ในวันรุ่งขึ้นกระมัง.
[๒๔๔] ครั้นราชคหเศรษฐีสั่งทาสและกรรมกรแล้ว เข้าไปหาอนาถบิณฑิกคหบดี ได้นั่งสนทนากัน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อนาถบิณฑิกคหบดีได้ถามว่า ท่านคหบดี คราวก่อนเมื่อฉันมาแล้ว ท่านได้จัดทำธุระทุกอย่าง เสร็จแล้วก็สนทนากับฉันผู้เดียว บัดนี้ท่านนั้นมัวสาละวนสั่งทาสและกรรมกรว่า ถ้ากระนั้นพวกท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกัน จัดหาอาหารที่มีรสอร่อยๆ บางทีท่านคหบดี จักมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคลหรือ หรือประกอบมหายัญ หรือจักทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพลมาเลี้ยงในวันพรุ่งนี้กระมัง.
ราชคหเศรษฐีตอบว่า ท่านคหบดี ฉันจะได้มีงานอาวาหมงคล หรือ วิวาหมงคล ก็หาไม่ แม้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพล ฉันก็มิได้เชิญเสด็จมาเลี้ยงในวันพรุ่งนี้ ที่ถูกฉันประกอบมหายัญ คือ ฉันได้ นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเลี้ยงในวันพรุ่งนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 123
อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ.
ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้จ๊ะ.
อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ.
ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้จ้ะ.
อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ.
ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้จ๊ะ.
อ. ท่านคหบดี แม้เสียงว่า พุทธะ นี้ก็อยากที่จะหาได้ในโลก
ท่านคหบดี ฉันสามารถจะเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในเวลานี้ได้ไหม.
ร. ท่านคหบดี เวลานี้ยังไม่ควรที่จะเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พรุ่งนี้ท่านจึงจะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
[๒๔๕] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็น อารมณ์ว่า พรุ่งนี้ เราจะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข่าวว่า เธอ ลุกขึ้นโนกลางคืนถึงสามครั้งเข้าใจว่า สว่าง แล้ว จึงได้เดินไปโดยทางอันจะไปประตูป่าสีตวัน พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ ขณะเมื่อเดินออกจากพระนคร แสงสว่างได้หายไป ความมืดปรากฏแทน ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าได้บังเกิดแล้ว เธอได้คิด กลับจากที่นั้นอีก.
[๒๔๖] ขณะนั้น สีวกยักษ์ไม่ปรากฏร่าง ให้ได้ยินแต่เสียงโดยคาถา ว่าดังนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 124
ช้าง ๑ แสน ม้า ๑ แสน รถม้า อัสดร ๑ แสน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร ๑ แสน ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่าง เท้าไปก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคหบดี เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่าน คหบดี ท่านก้าวไปข้างหน้าดีกว่า อย่าถอย กลับเลย.
[๒๔๗] ทันใดนั้น ความมืดหายไป แสงสว่างได้ปรากฏแก่อนาถบิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า อันใด ได้มีแล้ว อันนั้น ได้สงบแล้ว
แม้ครั้งที่สอง ...
แม้ครั้งที่สาม แสงสว่างหายไป ความมืดได้ปรากฏแก่อนาถบิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง เกล้าได้บังเกิด เธอคิคจะ กลับจากที่นั้นอีก แม้ครั้งที่สาม สีวกยักษ์ไม่ปรากฏร่าง ให้ได้ยินแต่เสียง ว่าดังนี้ :-
ช้าง ๑ แสน ม้า ๑ แสน รถม้าอัสดร ๑ แสน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร ๑ แสน ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไป ก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่าน คหบดี เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคหบดี ท่านก้าวไปข้างหน้าดีกว่าอย่าถอยกลับเลย.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 125
แม้ครั้งที่สาม ความมืดหายไป แสงสว่างได้ปรากฏแก่อนาถบิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าอันใดได้มีแล้ว อันนั้นได้สงบแล้ว จึงอนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปยังสีตวันแล้ว.
[๒๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นจงกรมในที่แจ้ง ณ เวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคหบดีนั้นเดินมา แต่ไกลเทียว ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคหบดีว่า มาเถิดสุทัตตะ ทันใดนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เบิกบานใจ ดีใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชื่อเรา แล้ว เข้าไปเฝ้าซบเศียรลงแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว่า พระองค์ ประทับสำราญ หรือ พระพุทธเจ้าข้า.
[๓๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบโดยคาถา ว่าดังนี้ :-
พราหมณ์ผู้ดับทุกข์ได้แล้ว ย่อมอยู่ เป็นสุขแท้ทุกเวลา ผู้ใดไม่ติดในกาม มีใจ เย็น ไม่มีอุปธิ ตัดความเกี่ยวข้องทุกอย่าง ได้แล้ว บรรเทาความกระวนระวายในใจ ถึงความสงบแห่งจิตเป็นผู้สงบระงับแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข.
[๒๕๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาแก่อนาถ บิณฑิกคหบดี คือ บรรยายถึงทาน ศีล สวรรค์ อาทีนพ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย แล้วทรงประกาศอานิสงส์ในการออกจากกาม ขณะที่พระองก์ทรงทราบว่า อนาถบิณฑิกคหบดีมีจิตควรแก่การงาน มีจิตอ่อน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 126
มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรม เทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ เหตุ ให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
อนาถบิณฑิกคหบดีได้ดวงตาเห็นธรรม
ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่ อนาถบิณฑิกคหบดี ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรได้รับ น้ำย้อม ฉะนั้น.
[๒๕๑] ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดี ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรม แล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศ จากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำ สอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ขอพระพุทธเจ้านี้ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระ พุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแด่วันนี้เป็นต้น และ ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหาร เพื่อเจริญบุญกุศล ปิติ และปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ของข้าพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ อาราธนา โดยดุษณีภาพ ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ถวายบังคม ทำประทักษิณกลับไป.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 127
[๒๕๒] ราชคหเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า อนาถบิณฑิกคหบดีนิมนต์ พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ จึงได้ถามอนาถบิณฑิกคหบดีว่า ท่านคหบดี ข่าวว่าท่านได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ แลท่านก็เป็นแขกแรกมา ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่ จะจับจ่ายสิ่งของแก่ท่าน เพื่อท่านาจะได้จัดทำอาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข
อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า ไม่ต้อง ท่านคหบดี ทรัพย์สำหรับที่จะ จับจ่ายสิ่งของเป็นเครื่องทำอาหารถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนั้น ของฉันมีแล้ว.
[๒๕๓] ชาวนิคมเมืองราชคฤห์ไค้ทราบข่าวว่า อนาถบิณฑิกคหบดี นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ จึงได้ถาม อนาถบิณฑิกคหบดีว่า ท่านคหบดี ข่าวว่าท่าได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุขเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ แลท่านก็เป็นแขกแรกมา ฉันจะให้ยืมทรัพย์ ที่จะจับจ่ายสิ่งของแก่ท่าน เพื่อท่านจะได้จัดทำอาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระ พุทธเจ้าเป็นประมุข.
อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า ไม่ต้อง ท่านผู้เจริญ ทรัพย์สำหรับที่ จะจับจ่ายสิ่งของเป็นเครื่องทำอาหารถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนั้น ของฉันมีแล้ว.
[๒๕๔] พระเจ้า พิมพิสารจอม เสนามาคธราชไค้ทรงสดับข่าวว่า อนาถบิณฑิกคหบดี นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวัน พรุ่งนี้จึงตรัสถามอนาถบิณฑิกคหบดีว่า ดูก่อนคหบดี ข่าวว่า ท่านนิมนต์ พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ แลท่านก็เป็นแขกเมือง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 128
ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของแก่ท่าน เพื่อท่านจะได้จัดทำอาหารเลี้ยง พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
อนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า ขอเดชะ เป็นพระมหากรุณาคุณ อย่างล้นเกล้า ทรัพย์ที่จะจับจ่ายเป็นเครื่องทำอาหารถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุขนั้น ของข้าพระพุทธเจ้ามีแล้ว.
อนาถบิณฑิกคหบดีถวายภัตตาหาร
[๒๕๕] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้ตกแต่งอาหารของ เคี้ยวของฉันอันประณีตในนิเวศน์ของราชคหเศรษฐี โดยล่วงราตรีนั้น แล้ว ให้กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือ บาตรจีวร เสด็จเข้านิเวศน์ของราชคหเศรษฐี ครั้นแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะ ที่ปูลาด ถวายพร้อมกับภิกษุสงฆ์ จึงอนาถบิณฑิกคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระ พุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือตนเอง จน พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จลดพระหัตถ์จากบาตร ห้ามภัตรแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พร้อมกับ ภิกษุสงฆ์จงทรงรับอาราธนาอยู่จำพรรษาในเมืองสาวัตถีของข้าพระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี พระตถาคตทั้งหลาย ย่อม ยินดีในสุญญาคาร
อนาถบิณฑิกคหบดีทูลว่า ทราบเกล้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทราบเกล้าแล้วพระสุคต ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้อนาถ บิณฑิกคหบดีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วทรงลุกจาก อาสนะเสด็จกลับ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 129
อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน
[๒๕๖] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรสหายมาก มีวาจา ควรเชื่อถือ ครั้นเสร็จกิจนั้นในเมืองราชคฤห์แล้ว กลับไปสู่พระนครสาวัตถี ได้ชักชวนชาวบ้านระหว่างทางว่า ท่านทั้งหลาย จงช่วยกันสร้างอาราม จงช่วย กันสร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทาน เพราะเวลานี้พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้ว อนึ่ง พระองค์อันข้าพเจ้าได้นิมนต์แล้ว จักเสด็จมาโดยทางนี้ ครั้งนั้น ชาว บ้านเหล่านั้นที่อนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ต่างพากันสร้างอาราม สร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทานแล้ว ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว เที่ยว ตรวจดูพระนครสาวัตถีโดยรอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะประทับอยู่ที่ไหน ดีหนอ ซึ่งเป็นสถานที่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จากหมู่บ้าน มีคมนาคมสะดวก ชาวบ้านบรรดาที่มีความประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียงอึกทึกน้อยปราศจากกลิ่นไอของคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรม ในที่ลับของมนุษย์ชนสมควรเป็นที่หลีกเร้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมารซึ่งเป็นสถานไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จากหมู่บ้าน มี การคมนาคมสะดวก ชาวบ้านบรรดาที่มีความประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมี คนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากกลิ่นไอคน เป็นสถาน ควรแก่การประกอบกรรมในที่ลับของมนุษย์ชน สมควรเป็นที่หลีกเร้น ครั้น แล้ว จึงเข้าเฝ้าเชตราชกุมาร กราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าพระบาทจงทรงประทานพระ อุทยานแก่เกล้ากระหม่อม เพื่อจัดสร้างพระอาราม พระเจ้าข้า
เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า ท่านคหบดี อารามเราให้ไม่ได้ แต่ต้อง ซื้อด้วยลาดทรัพย์เป็นโกฏิ
อ. อาราม พระองค์ทรงตกลงขายหรือ พระเจ้า
ช. อาราม ฉันยังไม่ตกลงขาย ท่านคหบดี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 130
เจ้าชายกับคหบดี ได้ถามมหาอำมาตย์ผู้พิพากษาความว่า เป็นอันตก ลงขายหรือไม่ตกลงขาย มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาตอบว่า เมื่อพระองค์ตีราคา แล้ว อารามเป็นอันตกลงขาย
จึงอนาถบิณฑิกคหบดี สั่งให้คนเอาเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียงลาด ริมจดกัน ณ อารามเชตวัน เงินที่ขนออกมาคราวเดียว ยังไม่พอแก่โอกาส หน่อยหนึ่งใกล้ซุ้มประตู จึงอนาถบิณฑิกคหบดี สั่งคนทั้งหลายว่า พนาย พวกเธอจงไปขนเงินมาเรียงในโอกาสนี้ ขณะนั้น เจ้าเชตราชกุมารทรงรำพึง ว่า ที่อันน้อยนี้จักไม่มีเหลือ โดยที่คหบดีนี้บริจาคเงินมากเพียงนั้น จึงเจ้า เชตราชกุมารตรัสกะอนาถบิณฑิกคหบดีว่า พอแล้ว ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ ลาดโอกาสนี้เลย ท่านจงให้โอกาสนี้แก่ฉัน ที่ว่างนี้ฉันจักยกให้ ดังนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี คร่ำครวญว่า เจ้าเชตคราชกุมารนี้ ทรงเรืองพระนาม มีคนรู้จักมาก อันความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ ของคนที่มีคนรู้จักมากเห็นปานนี้ ยิ่งใหญ่ นักแล จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งให้สร้าง ซุ้มประตูลงในที่ว่างนั้น ส่วนอนาถบิณฑิกคหบดีได้ให้สร้างวิหารหลายหลัง ไว้ ในพระเชตวัน สร้างบริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลาหอฉัน สร้างโรงไฟ สร้างกัปปิยกุฎี สร้างวัจจกุฎี สร้างที่จงกรม สร้างโรงจงกรม สร้างบ่อน้า สร้างศาลาบ่อนำ สร้างเรือนไฟ สร้างศาลาเรือนไฟ สร้างสระโบกขรณี สร้าง มณฑป.
[๒๕๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ไนพระนครราชคฤห์ ตาม พระพุทธาภิรมย์ แล้วได้เสด็จจาริกทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลาป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 131
[๒๕๘] ก็สมัยนั้น ชาวบ้านทั้งตังใจทำการก่อสร้าง แลอุปัฎฐากภิกษุผู้ อำนวยการก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็น ปัจจัยของภิกษุอาพาธโดยเคารพ.
เรื่องช่างชุนเข็ญใจ
[๒๕๙] ขณะนั้น ช่างชุนเข็ญใจคนหนึ่ง คิดว่า ที่อันน้อยนี้จักไม่มี เหลือ โดยที่คนเหล่านี้ตั้งใจช่วยกันทำการก่อสร้าง ไฉนเราพึงช่วยทำการ ก่อสร้างบ้าง จึงช่างชุนเข็ญใจนั้น ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝากำแพงขึ้นเอง เขาไม่ เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง แม้ครั้งที่สอง ...
แม้ครั้งที่สาม ช่างชุนเข็ญใจนั้นลงมือขยำโคลน ก่ออิฐตั้งกำแพงเอง เขาไม่เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้บอกสอนแต่เฉพาะพวกที่ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุอาพาธ และ อำนวยการก่อสร้างแก่เขาเหล่านั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจ ไม่มีใครบอกสอน หรืออำนวยการก่อสร้างแก่เรา ภิกษุทั้งหลายได้ยินช่างชุนผู้เข็ญใจนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงทำ ธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ๆ การก่อสร้าง ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อำนวยการก่อสร้าง ต้องขวนขวายว่า ทำไฉนหนอ วิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว ต้องซ่อมสิ่งที่หักพัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม. วาจา ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 132
กรรมวาจาให้นวกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ เป็นนวกรรมของ ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้วิหารของคหบดี ผู้มีชื่อนั้น เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ การให้วิหารของคหบดีผู้มี ชื่อนี้ เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้ฟังไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อ นี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้.
เรื่องความเคารพ
[๒๖๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระนครเวสาลี ตาม พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุอันเตวาสิก ของพระฉัพพัคคีย์รีบไปข้างหน้าภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จองวิหาร กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชญาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ ของพวกเรา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปล้าหลังภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข เมื่อภิกษุทั้งหลายจองวิหาร แลที่นอนหมดแล้ว หาที่นอนไม่ได้ จึงนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกขึ้น ทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตรก็กระแอมไอ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 133
พ. ใคร ที่นั่น
ส. ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า
พ. สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่โคนต้นไม้นี้เล่า
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้า.
[๒๖๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสงฆ์ให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์ รีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วจองวิหาร กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชณาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเรา จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้รีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้ว จอง วิหาร กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของ พวกเรา ที่นี้ของพวกเรา การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครันแล้วทรงทำธรรมีกถา ตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายมาถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดบวชจาก ตระกูลกษัตริย์ ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดบวชจาก ตระกูลพราหมณ์ ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 134
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดบวชจาก ตระกูลคหบดี ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดจำทรง พระสูตรไว้ได้ ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำาอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดทรงพระวินัย ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดเป็นธรรมกถึก ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดได้ปฐมฌาน ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดได้ทุติยฌาน ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดได้ตติยฌาน.. ภิกษุใดได้จตุตถฌาน ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำาอันเลิศ บิณฑบาต อันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดเป็นพระ โสดาบัน ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำาอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดเป็นพระ สกทาคามี ... ภิกษุใดเป็นอนาคามี ... ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ภิกษุนั้นควร ได้อาสนะอัน เลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า ภิกษุใดได้วิชชา ๓ ภิกษุนั้นควรได้ อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 135
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดได้อภิญญา ๖ ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ.
เรื่องสัตว์ ๓ สหาย
[๒๖๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งอยู่แถบหิมพานต์ สัตว์ ๓ สหาย คือ นกกระทา ๑ ลิง ๑ ช้าง ๑ อาศัยต้นไทรใหญ่นั้นอยู่ ทั้งสามสัตว์นั้นมิได้เคารพ มิได้ยำเกรงกัน มีความประพฤติไม่กลมเกลียวกันอยู่ จึงสัตว์ ๓ สหายนั้นปรึกษากันว่า โอ พวกเราทำอย่างไรจึงจะรู้ได้แน่ว่าบรรดา พวกเราผู้ใดเป็นใหญ่โดยกำเนิด พวกเราจะได้สักการะ เคารพ นับถือบูชา ผู้นั้น แลจะได้ทั้งอยู่ในโอวาทของผู้นั้น จึงนกกระทาและลิงถามช้างว่า สหาย ท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง
ช้างตอบว่า สหายทั้งหลาย เมื่อฉันยังเล็ก ฉันเดินคร่อม ต้นไทรนี้ไว้ ในหว่างขาหนีบได้ ยอดไทรพอระท้องฉัน ฉันจำเรื่องเก่าได้ ดังนี้
นกกระทากับช้างถามลิงว่า สหาย ท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง
ลิงตอบว่า สหายทั้งหลาย เมื่อฉันยังเล็ก ฉันนั่งบนพื้นดินเคี้ยวกินยอดไทรนี้ ฉันจำเรื่องเก่าได้ ดังนี้
ลิงและช้างถามนกกระทาว่า สหาย ท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง
นกกระทาตอบว่า สหายทั้งหลาย ในสถานที่โน้นมีต้นไทรใหญ่ ฉันกินผลจากต้นไทรใหญ่นั้น แล้วได้ถ่ายมูลไว้ ณ สถานที่นี้ ต้นไทรต้นนี้ เกิดจากต้นไทรใหญ่นั้น เพราะฉะนั้น ฉันจึงเป็นใหญ่กว่าโดยกำเนิด ลิงกับ ช้างได้กล่าวกับนกกระทาว่า บรรดาพวกเรา ท่านเป็นผู้ใหญ่กว่า โดยกำเนิด พวกเราจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านและจะตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 136
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นกกระทาได้ให้ลิงกับช้าง สมาทานศีลห้าและ ตนเองก็ประพฤติสมาทานในศีลห้า สัตว์ทั้งสามมีความเคารพรพยำเกรงกัน มีความ ประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ได้เข้าถึงสุคติ- โลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวัตรจริยานี้แล ได้ชื่อว่าติตติริยพรหมจรรย์.
[๒๖๓] คนเหล่าใด ฉลาดในธรรม ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ ย่อมเป็นผู้ อนัมหาชนสรรเสริญในปัจจุบันนี้ ทั้งสมปรายภพขอคนเหล่านั้นเป็นสุคติแล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แท้จริงสัตว์นั้นเป็นดิรัจฉาน ยังมีความ เคารพยำเกรงกัน มีความประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ การที่พวกเธอเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ มีความเคารพยำเกรงกัน มีความประพฤติ กลมเกลียวกันอยู่ นั้นจะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยสแท้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของงชุมชนที่ยังเลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การ ลุกรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม อาสนะที่เลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ตามลำดับผู้แก่กว่า อนึ่ง ภิกษุไม่ควรเกียดกันเสนาสนะของ สงฆ์ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฎ.
บุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควร ไหว้ คืออันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ๑ ไม่ควร ไหว้ อนุปสัมบัน ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 137
ไม่ควรไหว้มาตุคาม ๑ ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์ ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรมานัต ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ๑ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล อันภิกษุไม่ควรไหว้.
บุคคลที่ควรไหว้ ๓ จำพวก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ ภิกษุควรไหว้ คือภิกษุผู้ อุปสมบทภายหลัง ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน ๑ ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาส ผู้แก่กว่า แต่เป็นธรรมวาที ๑ ควรไหว้ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุควรไหว้
เรื่องเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์
[๒๖๕] สมัยนั้น ชาวบ้านตกแต่งมณฑป จัดแจงเครื่องลาดแผ้วถาง สถานที่ไว้เฉพาะสงฆ์ ภิกษุอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงอนุญาตเสนาสนะตามลำดับผู้แก่กว่า เฉพาะของสงฆ์เท่านั้น ของเหล่านี้เขาไม่ได้ทำเจาะจงไว้ จึงรีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข จองมณฑป จองเครื่องลาด จองสถานที่ไว้ว่า นี้สำหรับอุปัชฌาย์ ของพวกเรา นี้สำหรับอาจารย์ของพวกเรา นี้สำหรับพวกเรา ครั้นท่าน พระสารีบุตรไปล้าหลังภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เมื่อภิกษุเหล่านั้น จองมณฑป จองเครื่องลาด จองสถานที่หมดแล้ว หาที่ว่างไม่ได้ จึงนั่งอยู่ ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ ลุกขึ้นทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตรก็กระแอมไอ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 138
พ. ใคร ที่นั่น.
ส. ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า.
พ. สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่โคนต้นนี้เล่า.
จึงท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๒๖๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุอันเตวาสิกของภิกษุฉัพพัคคีย์ พูดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเสนาสนะตามลำดับผู้แก่กว่าเฉพาะของ สงฆ์เท่านั้น ไม่ได้ทรงหมายถึงของที่เขาทำเจาะจง จึงรีบไปก่อนหน้าภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จองมถฑป จองเครื่องลาด จองสถานที่ว่างไว้ว่า ที่นี้สำหรับอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเรา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ของที่เขาทำเจาะจง ภิกษุก็ ไม่พึงเกียดกันตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฎ.
[๒๖๗] สมัยนั้น ชาวบ้านตกแต่งที่นอนสูงที่นอนใหญ่ไว้ในโรงอาหาร ณ ละแวกบ้าน คือ เก้าอี้นอน เตียงใหญ่ ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาด ที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาด ที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดพรมขนแกะวิจิตร ด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาด ขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทอง และเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 139
หลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่อชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นั่งทับ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องลาดที่เป็นคิหิวิกัฏ เว้นเครื่องลาด ๓ ชนิด คือ เก้าอี้นอน เตียงใหญ่ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น นอกนั้นนั่งทับได้ แต่จะนอนทับไม่ได้.
พุทธานุญาตให้นั่งทับเตียงตั่งเป็นคิหิวิกัฏ
[๒๖๘] สมัยนั้น ชาวบ้านตกแต่งเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ที่ยัดนุ่นไว้ใน โรงอาหาร ณ ละแวกบ้าน ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นั่งทับ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่ง ทับเตียงตั่งที่เป็นคิหิวิกัฎได้ แต่จะนอนทับไม่ได้.
อนาถบิณฑิกคหบดีถวายพระเชตวนาราม
[๒๖๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จ ถึงพระนครสาวัตถี ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น จึงอนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับภิกษุสงฆ์จง ทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีทราบว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงรับอาราธนา แล้วลุกจากที่นั่งถวายบังคม ทำประทักษิณ กลับไป.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 140
[๒๗๐] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีต โดยล่วงราตรีนั้น แล้วสั่งให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรจีวรเสด็จ เข้าสู่นิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี ครั้นแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัด ไว้ถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ จึงอนาถบิณฑิกคหบดี อังคาสภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยอาหารของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จลดพระหัตถ์จากบาตรห้ามภัตแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะ ปฏิบัติอย่างไรในพระเชตวันวิหาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คหบดี ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา อนาถบิณฑิกคหบดีรับสนองพระพุทธบัญชาแล้ว ได้ถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์ จตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาอนาถบิณฑิกคหบดี ด้วย คาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้ :-
คาถาอนุโมทนาวิหารทาน
[๒๗๑] วิหารย่อมป้องกันหนาวร้อน และเนื้อร้าย นอกจากนั้นป้องกันงูและยุง ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้น วิหารยังป้องกัน ลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวาย วิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง พระ-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 141
พุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็น ประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ ให้ ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูตอยู่ในวิหารเถิด อนึ่ง พึงมีน้ำใจเลื่อมใส ถวายข้าว น้ำ ผ้า และ เสนาสนะอันเหมาะสมแก่พวกเธอ ในพวก เธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอย่อมแสดงธรรม อันเป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา อันเขารู้ทั่วถึงแล้วจะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาอนาถบิณฑิกคหบดี ด้วย พระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะกลับไป.
เรื่องให้ภิกษุกำลังฉันค้างอยู่ลุกขึ้น
[๒๗๒] สมัยนั้น มหาอำมาตย์ผู้หนึ่งเป็นสาวกของอาชีวกได้เลี้ยง อาหารพระสงฆ์ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรมาภายหลัง ได้ให้ภิกษุผู้นั่งใน ลำดับลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอาหารค้างอยู่ โรงอาหารได้เกิดโกลาหล จึงมหา อำมาตย์ผู้นั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ ศากยบุตรมาทีหลัง จึงได้ให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้นทั้งที่ยังฉันอาหารค้างอยู่เล่า โรงอาหารได้เกิดโกลาหลขึ้น ภิกษุผู้นั่งแม้ในที่อื่น จะพึงได้ฉันจนอิ่มอย่างไร เล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินมหาอำมาตย์ผู้นั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่าน พระอุปนันทศากยบุตรมาทีหลังจงได้ให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้น ทั้งที่ยังฉัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 142
อาหารค้างอยู่เล่า โรงอาหารได้เกิดโกลาหลขึ้น แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธอมาทีหลังได้ให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้นทั้งที่ยังฉันอาหารค้างอยู่ โรง อาหารได้เกิดโกลาหลขึ้น จริงหรือ.
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกราบทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอมา ทีหลังจึงให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้นทั้งที่ยังฉันอาหารค้างอยู่ โรงอาหารได้เกิด โกลาหลขึ้น การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้น ทั้งที่ยังฉันอาหารค้างอยู่ รูปใดให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าให้ลุกขึ้นย่อมเป็นอันห้ามภัตรด้วย พึง กล่าวว่า ท่านจงไปหาน้ำมา ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงกลืน เมล็ดข้าวให้เรียบร้อยแล้ว จึงให้อาสนะแก่ภิกษุผู้แก่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เรากล่าวมิได้หมายความว่า ภิกษุพึงหวงกันอาสนะ แก่ภิกษุผู้แก่กว่า โดยปริยายไรๆ รูปใดหวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น
[๒๗๓] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น ภิกษุอาพาธ ตอบอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกผมไม่สามารถจะลุกขึ้นได้ เพราะเป็นผู้ อาพาธ พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พวกผมจะพยุงพวกท่านให้ลุกขึ้น แล้วประคอง ให้ลุกขึ้นพอยืนแล้วก็ปล่อยเสีย ภิกษุอาพาธล้มสลบ ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง ไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น รูปใดไล่ให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 143
[๒๗๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์พูดว่า พวกผมอาพาธ ลุกไม่ขึ้น แล้วยึดเอาที่นอนดีๆ ไว้ ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ที่นอนเหมาะสมแก่ ภิกษุอาพาธ.
[๒๗๕] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์อาพาธเล็กน้อย ก็หวงกันเสนาสนะ ไว้ ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอาพาธเล็กน้อย ไม่พึงหวงกันเสนาสนะไว้ รูปใด หวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ซ่อมวิหาร
[๒๗๖] สมัยนั้น พระสัตตรสวัคคีย์ซ่อมวิหารใหญ่หลังหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ สุดเขต ด้วยหมายใจว่า พวกเราจักจำพรรษา ณ ที่นี้ พระฉัพพัคคีย์ได้เห็น พระสัตตรสวัคคีย์กำลังซ่อมวิหาร ครั้นแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระสัตตรสวัคคีย์เหล่านี้ กำลังซ่อมวิหาร พวกเราจงช่วยกันไล่พวกเธอไปเสีย เถิด ภิกษุบางพวกกล่าวกันอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงรอไว้จนกว่าจะซ่อมเสร็จ เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว จึงค่อยไล่ไป ครั้นซ่อมเสร็จ พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวกะ พระสัตตรสวัคคีย์ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงออกไป วิหารถึงแก่พวกผม.
ส. ท่านทั้งหลาย ควรจะบอกไว้ก่อนมิใช่หรือ พวกผมจะได้ซ่อมที่อื่น.
ฉ. ท่านทั้งหลาย วิหารของสงฆ์มิใช่หรือ.
ส. ขอรับ วิหารของสงฆ์.
ฉ. ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงออกไป วิหารถึงแก่พวกผม.
ส. ท่านทั้งหลาย วิหารใหญ่ แม้พวกท่านก็อยู่ได้ แม้พวกผมก็อยู่ได้.
ฉ. จงออกไป วิหารถึงแก่พวกผม แล้วทำเป็นโกรธ ขัดเคือง จับ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 144
คอลากออกมา พระสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น ถูกพระฉัพพัคคีย์ฉุดคร่าออกมา ก็ ร้องให้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า พวกท่านร้องให้ทำไม พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า ท่านทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้ โกรธ ขัดเคือง ฉุดคร่าพวกผมออกจาก วิหารของสงฆ์ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพน ทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงโกรธ ขัดเคือง ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออก จากวิหารของสงฆ์ จึงภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ โกรธ ชัดเคือง ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงโกรธ ขัดเคือง ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์ รูปใดฉุดคร่า พึงปรับตามธรรม เราอนุญาตให้ภิกษุถือเสนาสนะ.
ภิกษุควรได้รับสมมติเป็นผู้ให้เสนาสนะ
[๒๗๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายหารือกันว่า ใครพึงให้ถือเสนาสนะ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ คือ :-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้เสนาสนะที่ให้ถือแล้วและยังไม่ให้ถือ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 145
วิธีสมมติ
[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง ภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ นี้ เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ การสมมตภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ถือเสนาสนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
[๒๗๙] ต่อมา ภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้ถือเสนาสนะหารือกันว่า เราจะพึง ให้ถือเสนาสนะอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุก่อน ครั้นแล้วนับที่นอน ครั้นแล้ว จึงให้ถือตามจำนวนที่นอน เมื่อให้ถือตาม จำนวนที่นอน ที่นอนเหลือมาก ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ถือตามจำนวนวิหารเมื่อให้ถือตามจำนวนวิหาร วิหารก็ยังเหลือเป็นอันมาก.. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนบริเวณ เมื่อให้ถือ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 146
ตามจำนวนบริเวณ บริเวณก็ยังเหลืออีกมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ให้ส่วนซ้ำอีก เมื่อให้ถือส่วนซ้ำอีกแล้ว ภิกษุ รูปอื่นมา ไม่ปรารถนาก็อย่าพึงให้.
[๒๘๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ รูปใดให้ถือ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
[๒๘๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะแล้วหวงกันไว้ตลอดเวลา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุถือเสนาสนะแล้ว ไม่พึงหวงกันไว้ตลอดทุกเวลา รูปใดหวงกัน ไว้ ต้องอาบัติทุกกฎ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หวงกันไว้ได้ตลอดพรรษา ๓ เดือน หวงกันไว้ตลอดฤดูกาลไม่ได้.
การให้ถือเสนาสนะ ๓ อย่าง
[๒๘๒] ต่อมา ภิกษุทั้งหลายหารือกันว่า การให้ถือเสนาสนะมีกี่อย่าง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่าง คือ ให้ถือเมื่อวันเข้าปุริม พรรษา ๑ ให้ถือเมื่อวันเข้าปัจฉิมพรรษา ๑ ให้ถือในระหว่างพ้นจากนั้น ๑ การให้ถือเมื่อวันเข้าปุริมพรรษา พึงให้ถือในวันแรม ๑ ค่ำเดือนอาสาฬหะ การให้ถือในวันเข้าปัจฉิมพรรษา พึงให้ถือเมื่อเดือนอาสาฬหะล่วงแล้ว ๑ เดือน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 147
การให้ถือในระหว่างพ้นจากนั้น พึงให้ถือในวันต่อจากวันปวารณา คือแรม ๑ ค่ำ เพื่ออยู่จำพรรษาต่อไป การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่างนี้แล.
ภาณวาร ที่ ๒ จบ
เรื่องพระอุปนันทะหวงกันเสนาสนะไว้ ๒ แห่ง
[๒๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ถือเสนาสนะ ไว้ในเขตพระนครสาวัตถีแล้ว ได้ไปสู่อาวาสใกล้ตำบลบ้านแห่งหนึ่ง และได้ ถือเสนาสนะในอาวาสนั้นอีก จึงภิกษุเหล่านั้น ปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรรูปนี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อการ วิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิการณ์ในสงฆ์ ถ้าเธอจักอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้ พวกเราทุกรูปจักอยู่ไม่ผาสุก มิฉะนั้น เราจะถามเธอ จึงภิกษุเหล่านั้นได้ถาม ท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ท่านอุปนันทะ ท่านถือเสนาสนะในพระนคร สาวัตถีแล้ว มิใช่หรือ.
อ. ถูกละ ขอรับ.
ภ. ท่านอุปนันทะ ก็ท่านรูปเดียว เหตุไรจึงหวงกันเสนาสนะไว้ถึง สองแห่งเล่า.
อ. ผมจะละที่นี้ไปเดี๋ยวนี้ละ ขอรับ จะถือเอาที่พระนครสาวัตถีนั้น
บรรดาภิกษุทำเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรรูปเคียว จึงได้หวงกันเสนาสนะ ไว้ถึงสองแห่งแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธอรูปเดียวหวงกันเสนาสนะไว้ถึงสองแห่ง จริงหรือ.
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 148
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอผู้ เดียวจึงหวงกันเสนาสนะไว้ถึงสองแห่งเล่า เธอถือในที่นั้นแล้ว ละในที่นี้ ถือ ในที่นี้แล้ว ละในที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้เธอก็เป็นคนอยู่ภายนอกทั้งสองแห่ง การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ รูปเดียว ไม่พึงหวงกันเสนาสนะไว้สองแห่ง รูปใดหวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ
วินัยกถา
[๒๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวินัยกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย คือทรงพรรณนาคุณของวินัย คุณของการเรียนวินัย ทรง สรรเสริญคุณของท่านพระอุบาลีโดยเฉพาะเจาะจง ภิกษุทั้งหลายหารือกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวินัยกถาแก่ภิกษุทั้งหลายโดยอเนกปริยาย คือ ทรง พรรณนาคุณของวินัย คุณของการเรียนวินัย ทรงสรรเสริญคุณของท่านพระอุบาลีโดยเฉพาะเจาะจง อย่ากระนั้นเลย พวกเราจงเรียนพระวินัย ในสำนัก ท่านพระอุบาลีกันเถิด ก็แลภิกษุเหล่านั้นมากมาย ทั้งเถระ ทั้งนวกะ ทั้ง มัชฌิมะ ต่างพากันเรียนพระวินัยในสำนักท่านอุบาลี ท่านพระอุบาลียืนสอน ด้วยความเคารพพระเถระทั้งหลาย แม้พระเถระทั้งหลายก็ยืนเรียนด้วยความ เคารพธรรม บรรดาภิกษุเหล่านั้น พระเถระและท่านพระอุบาลี ย่อมเมื่อยล้า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนวกะผู้สอนนั่งบนอาสนะเสมอ กันหรือสูงกว่าได้ ด้วยความเคารพธรรม ให้ภิกษุเถระผู้เรียนนั่งบนอาสนะ เสมอกันหรือต่ำกว่าได้ ด้วยความเคารพธรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 149
[๒๘๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมากยืนรับการสอนในสำนัก ท่านพระอุบาลี ย่อมเมื่อยล้า จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีอาสนะ เสมอกัน นั่งรวมกันได้.
[๒๘๖] ต่อมา ภิกษุทั้งหลายมีความสงสัยว่า ภิกษุชื่อว่ามีอาสนะ เสมอกันด้วยคุณสมบัติเพียงเท่าไร จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุระหว่าง ๒ พรรษา นั่งรวมกันได้.
[๒๘๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปมีอาสนะเสมอกันนั่งร่วมเตียงเดียวกัน ทำเตียงหัก นั่งร่วมตั่งเดียวกัน ทำตั่งหัก จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ ๓ รูป ตั่งละ ๓ รูป แม้ภิกษุ ๓ รูปนั่งลงบนเตียง ก็ทำเตียงหัก นั่งลงบนตั่ง ก็ทำตั่งหัก ภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี พระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต เตียงละ ๒ รูป ตั่งละ ๒ รูป.
[๒๘๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งลงบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุผู้มี อาสนะไม่เสมอกัน ก็รังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนอาสนะ ยาวร่วมกับภิกษุที่มีอาสนะไม่เสมอกันได้ เว้นบัณเฑาะก์ มาตุคาม อุภโตพยัญชนก.
[๒๘๙] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายมีความสงสัยว่า อาสนะยาวที่สุดมี กำหนดเท่าไร ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาสนะยาวที่สุดมี กำหนดนั่งได้ ๓ รูป.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 150
[๒๙๐] สมัยนั้น นางวิสาขา มิคารมารดาใคร่จะให้สร้างปราสาทมี เฉลียงประดุจเทริดที่ตั้งอยู่บนกระพองช้างถวายพระสงฆ์ ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลาย มีความสงสัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตการใช้สอยปราสาทหรือไม่ทรง อนุญาตหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการใช้สอยปราสาททุกอย่าง.
[๒๙๑] สมัยนั้น สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต เพราะพระนางทิวงคต เครื่องอกัปปิยภัณฑ์เป็นอันมากบังเกิดแก่สงฆ์ คือ เก้าอี้ นอน เตียงใหญ่ ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่อง ลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและ เงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาด ที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่อชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีที่ทำด้วยหนัง ชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเก้าอี้นอนแล้วใช้สอยได้ เตียงใหญ่ทำลายรูปสัตว์ร้ายเสียแล้ว ใช้สอยได้ ฟูกที่ยัดนุ่นรื้อแล้วทำเป็นหมอน นอกนั้นทำเป็นเครื่องลาดพื้น.
เรื่องภิกษุแจกของที่ไม่ควรแจก
[๒๙๒] สมัยนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่งไม่ห่างจาก พระนครสาวัตถี เป็นผู้จัดเสนาสนะแก่ภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมเดินทาง ย่อมลำบาก ภิกษุเหล่านั้นจึงปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย บัดนี้พวกเรา จัด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 151
เสนาสนะแก่ภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมเดินทาง ย่อมลำบาก เราตกลงจะ มอบเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เราจักใช้สอยเสนาสนะของเธอ ภิกษุ เหล่านั้นได้มอบหมายเสนาสนะของสงฆ์ทุกๆ อย่าง แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุ- อาคันตุกะได้กล่าวคำนี้กะภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายโปรดจัดเสนาสนะ ให้พวกผม ภิกษุเจ้าถิ่นตอบว่า เสนาสนะของสงฆ์ไม่มี ขอรับ พวกผมมอบ แก่ภิกษุรูปหนึ่งหมดแล้ว
ท่านอาคันตุกะ: ก็พวกท่านแจกจ่ายเสนาสนของสงฆ์หรือ ขอรับ
เจ้าถิ่น : เป็นเช่นนั้น ของรับ
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ จึงได้แจกจ่ายเสนาสนะของสงฆ์เล่า จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวก ภิกษุแจกจ่ายเสนาสนะของสงฆ์ จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ของที่ไม่ควรแจก ๕ หมวด
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงแจกจ่ายเสนาสนะของสงฆ์เล่า การกระทำของโมฆบุรุษ เหล่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ ควรแจกจ่าย ๕ หมวดนี้อันภิกษุไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้สงฆ์ คณะ หรือ บุคคล แจกจ่ายไปแล้วก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 152
ของไม่ควรแจกจ่าย ๕ หมวด อะไรบ้าง คืออาราม พื้นที่อาราม นี้ เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๑ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจก จ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
วิหาร พื้นวิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๒ สงฆ์ก็ดี คณะ ก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๓ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอัน แจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๔ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคล ก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใด แจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน เครื่อง ไม้ เครื่องดิน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่าย หมวดที่ ๕ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูป ใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแจกจ่ายมี ๕ หมวดนี้แล สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอัน แจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 153
เรื่องภิกษุแบ่งของที่ไม่ควรแบ่ง
[๒๙๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครสาวัตถี ตาม พุทธาภิรมย์แล้วเสด็จจาริกทางกิฏาคิรีชนบท พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประ มาณ ๕๐๐ รูป ทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสุกะได้ทราบข่าวแล้วกล่าวกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จสู่กิฏาคิรีชนบทพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ทั้งพระสารีบุตรและโมคคัลลานะ เชิญเถิด! พวกเราตกลงแบ่งเสนาสนะของสงฆ์ให้หมด เพราะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมีความปรารถนาลามก ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนา อันชั่วช้า พวกเราจะได้ไม่ต้องจัดหาเสนาสนะถวายท่าน ภิกษุเหล่านั้นได้แบ่ง เสนาสนะของสงฆ์หมดแล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้ ถึงชนบทกิฏาคิรีแล้ว จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก เธอจงไปหาภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะแล้วบอกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาพร้อมด้วยยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ทั้ง พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ขอท่านจงจัดหาเสนาสนะถวายพระผู้มี พระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์และพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ ภิกษุเหล่านั้นรับ สนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ครั้นแล้ว ได้แจ้งว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ทั้งพระสารีบุตรและโมคคัลลานะ ก็แลพวกท่านจงจัดหา เสนาสนะถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าภิกษุสงฆ์ และพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะตอบว่า ท่านทั้งหลาย เสนาสนะของ สงฆ์ไม่มี พวกผมแบ่งกันหมดแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาดีแล้ว พระองค์ ทรงพระประสงค์จะประทับในวิหารใดก็จักประทับในวิหารนั้น พระสารีบุตร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 154
และพระโมคัลลานะ มีความปรารถนาลามก ไปสู่อำนาจของความปรารถนา อันชั่วช้า พวกผมจักไม่จัดหาเสนาสนะถวายท่าน
ภ. ท่านทั้งหลาย พวกท่านแบ่งเสนาสน ะของสงฆ์หรือ
อ. เป็นเช่นนั้น ขอรับ
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจึงได้แบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุ พวกอัสสชิ และปุนัพพสุกะ แบ่งเสนาสนะของสงฆ์ จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้แบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า การกระทำของโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของที่ ไม่ควรแบ่งมี ๕ หมวดนี้ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่ง ไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่งต้องอาบัติถุลลัจจัย ของไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด อะไรบ้าง คืออาราม พื้นที่อารามนี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๑ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัยจัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 155
วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๒ สงฆ์ก็ดี คณะ ก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง อาบัติถุลลัจจัย
เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๓ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๔ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน เครื่อง ไม้ เครื่องดิน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๕ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวดนี้แล สงฆ์ก็ดี คณะ ก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
[๒๙๔] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กิฏาคิรีชนบทตาม พุทธาภิรมย์แล้วเสด็จจาริกทางเมืองอาฬวี เสด็จจาริกโดยลำดับถึงเมืองอาฬวี แล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวีนั้น.
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรม
[๒๙๕] สมัยนั้น ภิกษุชาวเมืองอาฬวีย่อมให้นวกรรมเห็นปานนี้ คือ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 156
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงวางก้อนดินบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงฉาบฝาบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงประตูบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดสายยูบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดกรอบเช็ดหน้าบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีขาวบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงสีขาวบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีดำบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีเหลืองบ้าง.
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงมุงหลังคาบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพังบ้าง
ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงขัดถูบ้าง
ให้นวกรรม ๒๐ ปีบ้าง
ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง
ให้นวกรรม ตลอดชีวิตบ้าง
ให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ยังอยู่ในเวลาแห่งควันก็มี บรรดา ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุชาวเมือง อาฬวี จึงได้ให้นวกรรมเห็นปานนี้ คือ:-
ได้ไห้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงวางก้อนดินบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงฉาบทาฝาบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุ เพียงตั้งประตูบ้าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 157
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดสายยูบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงคิดกรอบเช็ดหน้าบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีขาวบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีดำบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีเหลืองบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงมุงหลังคาบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพังบ้าง
ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงขัดถูบ้าง
ได้ให้นวกรรม ๒๐ ปีบ้าง
ได้ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง
ได้ให้นวกรรม ตลอดชีวิตบ้าง
ได้ให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ยังอยู่ในเวลาแห่งควันก็มี จึง ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุ ชาวเมืองอาฬวี ... จริงหรือ..
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงวางก้อนดิน
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงฉาบทาฝา
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียง ตั้งประตู
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 158
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดสายยู
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดกรอบเช็ดหน้า
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีขาว
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีดำ
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีเหลือง
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงมุงหลังคา
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงผูกมัดหลังคา
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบ
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพัง
ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงขัดถู
ไม่พึงให้นวกรรม ๒๐ ปี
ไม่พึงให้นวกรรม ๓๐ ปี
ไม่พึงให้นวกรรม ตลอดชีวิต
ไม่พึงให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ยังอยู่ในเวลาแห่งควัน รูป ใดให้นวกรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้ทำหรือที่ ทำค้างไว้เฉพาะวิหารเล็กไห้ตรวจดูงานแล้ว ให้นวกรรม ๕ - ๖ ปี เรือนมุง แถบเดียว ให้ตรวจดูงานแล้ว ให้นวกรรม ๗- ๘ ปี วิหารใหญ่หรือปราสาท ให้ตรวจดูงานแล้วให้นวกรรม ๑- ๒ ปี.
ให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง
[๒๙๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรม วิหารทั้งหลังจึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 159
[๒๙๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรม ๒ ครั้งแก่วิหาร ๑ หลัง จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ๒ ครั้ง แก่วิหาร ๑ หลัง รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๒๙๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้วให้ภิกษุรูปอื่นอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอานวกรรมแล้วไม่พึงให้ภิกษุรูปอื่นอยู่ รูปใดให้ อยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ.
[๒๙๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้วเกียดกันเสนาสนะ ของสงฆ์ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ สั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอานวกรรมแล้วไม่พึงเกียดกันเสนาสนะ ของสงฆ์ รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือที่นอนอย่างดีแห่งหนึ่ง.
[๓๐๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรม แก่วิหารที่ตั้งอยู่นอกสีมา จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม แก่วิหารที่ทั้งอยู่นอกสีมา รูปใด ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๓๐๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้ว เกียดกันตลอด กาลทั้งปวง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอานวกรรมแล้ว ไม่พึงเกียดกันตลอด กาลทั้งปวง รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เกียดกันเฉพาะ ๓ เดือนฤดูฝน ไม่ ให้เกียดกันตลอดฤดูกาล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 160
ภิกษุถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปเป็นต้น
[๓๐๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้ว หลีกไปบ้าง สึก เสียบ้าง ถึงมรณภาพบ้าง ปฏิญาณเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้บอกลา สิกขาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันเติมวัตถุบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริตบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่ กระทำคืออาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามกบ้าง ปฏิญาณเป็นบิณเฑาะก์บ้าง ปฏิญาณเป็นลักเพศบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ บ้าง ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง ปฏิญาณ เป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษ ร้ายภิกษุณีบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาทบ้าง ปฎิญาณเป็นอุภโทพยัญชนกบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ถือเอานวกรรมแล้ว หลีกไป สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่ง ว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้ว สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณ เป็นผู้ต้องอันทิมวัตถุ ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็น อาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่กระทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยก วัตรฐานไม่สละคืนทิฎฐิอันลามก ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นผู้ลักเพศ ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่า มารดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 161
ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาท ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ ของสงฆ์เสียหาย.
[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปในเมื่อยังทำไม่เสร็จ สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้ว สึกในเมื่อทำยังไม่เสร็จ ... ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึง มอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย.
[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปในเมื่อทำเสร็จแล้ว นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง.
[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ถือเอา นวกรรมแล้ว พอทำเสร็จแล้ว ก็สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ.
[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอา นวกรรมแล้ว พอทำเสร็จ ก็ปฎิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นมีจิ ฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็น อาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่กระทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยก วัตรฐานไม่สละคืนทิฎฐิอันลามก นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง.
[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอา นวกรรมแล้ว พอทำเสร็จ ก็ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นผู้ลักเพศ ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้าย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 162
ภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาท ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของแล.
ใช้เสนาสนะผิดสถานที่
[๓๐๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้สอยเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้ สำหรับวิหารของอุบาสกคนหนึ่ง ในวิหารหลังอื่น ครั้งนั้น อุบาสกนั้นจึง เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงได้เอาเครื่องใช้ ในวิหารแห่งหนึ่ง ไปใช้ในวิหารอีกแห่งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้ในวิหารแห่งหนึ่ง ภิกษุไม่พึงเอาไปใช้ในวิหารอีกแห่งหนึ่ง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พุทธานุญาตให้ขอยืมเสนาสนะ
[๓๑๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะรักษาโรงอุโบสถบ้าง ที่นั่ง ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน ทั้งร่างกาย ทั้งจีวร ย่อมเปรอะเปื้อนด้วยฝุ่น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับ สั่งว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปใช้ฐานเป็นของขอยืม.
พุทธานุญาตให้เก็บเสนาสนะไปรักษา
[๓๑๑] สมัยนั้น มหาวิหารของสงฆ์ชำรุด ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่นำเสนาสนะออกไป จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปเพื่อเก็บรักษา ไว้ได้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 163
พุทธานุญาตให้แลกเปลี่ยน
[๓๑๒] สมัยนั้น ผ้ากัมพลมีราคามาก เป็นบริขารสำหรับเสนาสนะ เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี พระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อ ประโยชน์แก่ผาติกรรมได้.
[๓๑๓] สมัยนั้น ผ้ามีราคามาก เป็นบริขารสำหรับเสนาสนะเกิดขึ้น น แก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์แก่ ผาติกรรมได้.
พุทธานุญาตผ้าเช็ดเท้า
[๓๑๔] สมัยนั้น หนังหมีบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า.
[๓๑๕] สมัยต่อมา เครื่องเช็ดเท้ารูปวงล้อบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ทำเป็นผ้าเช็คเท้า.
[๓๑๖] สมัยต่อมา ผ้าท่อนน้อยบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า.
มีเท้าเปื้อนห้ามเหยียบเสนาสนะ
[๓๑๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเหยียบเสนาสนะด้วยเท้าที่ยังมิได้ล้าง เสนาสนะเปรอะเปื้อน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 164
พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบเสนาสนะ ด้วยเท้าที่ยังมิได้ล้าง รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
มีเท้าเปียกห้ามเหยียบเสนาสนะ
[๓๑๘] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเหยียบเสนาสนะด้วยเท้าที่ยังเปียก เสนาสนะเปรอะเปื้อน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบเสนาสนะ ด้วยเท้าที่ยังเปียก รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สวมรองเท้าห้ามเหยียบเสนาสนะ
[๓๑๙า สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเปรอะเปื้อน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวมรองเท้าไม่พึง เหยียบเสนาสนะ รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ทรงห้ามถ่มเขฬะบนพื้นที่ขัดถู
[๓๒๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่มเขฬะบนพื้นที่ขัดถูแล้ว ความงาม ย่อมเสียไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี พระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่มเขฬะบนพื้นที่ขัดถู แล้ว รูปใดถ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระโถน
พุทธานุญาตผ้าพันเท้าเตียงตั่ง
[๓๒๑] สมัยนั้น ทั้งเท้าเตียง ทั้งเท้าตั่ง ย่อมครูดพื้นที่ขัดถูแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพัน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 165
[๓๒๒] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายพิงฝาที่ขัดถูแล้ว ความงามย่อมเสีย ไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงพิงฝาที่ขัดถูแล้ว รูปใดพิง ต้อง อาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพนักอิง พนักอิงส่วนล่างครูดพื้น และส่วนบนครูดฝา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพัน ทั้งข้างล่างและข้างบน.
พุทธาญาตให้ปูลาดนอน
[๓๒๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายล้างเท้าแล้วย่อมรังเกียจที่จะนอน จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูลาดก่อนแล้วนอน
พุทธานุญาตภัตร
[๓๒๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองอาฬวีตาม พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึง กรุงราชคฤห์ ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น.
[๓๒๕] สมัยต่อมา กรุงราชคฤห์มีข้าวแพง ประชาชนไม่สามารถจะ ทำสังฆภัตร แต่ปรารถนาจะทำอุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโปสถิกภัตร ปาฎิปทิกภัตร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต สังฆภัตร อุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโปสถิกภัตร ปาฏิปทิกภัตร.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 166
พุทธานุญาตให้สมมติภัตตุเทสก์
[๓๒๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์รับภัตตาหารดีๆ ไว้สำหรับพวกตน ให้ภัตตาหารเลวๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นภัตตุเทสก์ คือ :-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักภัตรที่แจกแล้วและยังมิได้แจก.
วิธีสมมติ
[๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง ภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็น ภัตตเทสก์ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 167
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นภัตตุเทสก์ แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
วิธีแจกภัตร
[๓๒๘] ครั้งนั้น พระภัตตุเทสก์มีความสงสัยว่า จะพึงแจกภัตร อย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เขียนชื่อลงในสลากหรือแผ่นผ้า รวมเข้าไว้ แล้วจึงแจกภัตร.
สมมติภิกษุเป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น
[๓๒๙] สมัยนั้น สงฆ์ไม่มีภิกษุแต่งตั้งงเสนาสนะ ...
ไม่มีภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง..
ไม่มีภิกษุผู้รับจีวร ...
ไม่มีภิกษุผู้แจกจีวร ... ไม่มีภิกษุผู้แจกข้าวยาคู ...
ไม่มีภิกษุผู้แจกผลไม้ ...
ไม่มีภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ของเคี้ยวที่ยังมิได้แจกย่อมเสีย ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้แจกของ เคี้ยว คือ :-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 168
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักของเคี้ยวที่แจกแล้วและยังมิได้แจก.
วิธีสมมติ
[๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง ภิกษุก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว นี้เป็น ญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อเป็น ผู้แจกของเคี้ยว การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยวชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้แจกของเคี้ยวแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
สมมติภิกษุเป็นผู้แจกของเล็กน้อย
[๓๓๑] สมัยนั้น บริขารเล็กน้อยเกิดขึ้นในเรือนคลังของสงฆ์ ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้ แจกของเล็กน้อย คือ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 169
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความสำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักของที่แจกแล้ว และมิได้แจก.
วิธีสมมติ
[๓๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง ภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็กน้อย นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็น ผู้แจกของเล็กน้อย การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็กน้อย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้แจกของเล็กน้อยแล้ว ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 170
ของเล็กน้อยที่ควรแจก
[๓๓๓] อันภิกษุผู้แจกของเล็กน้อยนั้น เข็มเล่มหนึ่งก็ควรให้ มีดก็ ควรให้ รองเท้าก็ควรให้ ประคดเอวก็ควรให้ สายโยกบาตรก็ควรให้ ผ้ากรองน้ำก็ควรให้ ธมกรกก็ควรให้ ผ้ากุสิก็ควรให้ ผ้าอัฑฒกุสิก็ควรให้ ผ้ามณฑลก็ควรให้ ผ้าอัฑฒมณฑลก็ควรให้ ผ้าอนุวาตก็ควรให้ ผ้าด้านสะกัด ก็ควรให้ ถ้าเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อยของสงฆ์มีออยู่ ควรให้ลิ้มได้ คราวเดียว ถ้าต้องการอีก ก็ควรให้อีก ถ้าต้องการแม้อีก ก็ควรให้อีก
พุทธานุญาตให้สมมติภิกษุเป็นผู้แจกผ้าเป็นต้น
[๓๓๔] สมัยนั้น สงฆ์ไม่มีภิกษุผู้แจกผ้า ...
ไม่มีภิกษุผู้แจกบาตร ...
ไม่มีภิกษุผู้ใช้คนวัด ...
ไม่มีภิกษุผู้ใช้สามเณร ... สามเณรทั้งหลายอันภิกษุไม่ใช้ ย่อมไม่ทำ การงาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ ภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วย องค์ ๕ เป็นผู้ใช้สามเณร คือ :-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักการงานที่ใช้แล้วและยังมิได้ใช้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 171
วิธีสมมติ
[๓๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง ภิกษุก่อน ครั้น แล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุชื่อนี้เป็น ผู้ใช้สามเณร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้ใช้สามเณรแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ด้วยอย่างนี้.
ภาณวาร ที่ ๓ จบ
เสนาสนขันธกะ ที่ ๖ จบ
หัวข้อประจำขันธกะ
[๓๓๖] ๑. เรื่องพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยังมิได้ทรงบัญญัติวิหาร ใน ครั้งนั้น สาวกของพระชินเจ้าเหล่านั้นอยู่ในที่นั้นๆ ย่อมออกมาจากที่อยู่ ๒. เรื่องเศรษฐีคหบดีเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้วได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ว่า ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหาร ท่านทั้งหลายพึงอยู่ ภิกษุทูลถามพระโลกนายก ๓.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 172
เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตที่เร้น ๕ อย่าง คือ ก. วิหาร ช. เรือนมุง แถบเดียว ค. เรือนชั้น ง. เรือนโล้น จ. ถ้า ๔. เรื่องเศรษฐีสร้างวิหาร ๖๐ หลัง ๕. เรื่องมหาชนสร้างวิหารไม่มีบานประตู ๖. เรื่องภิกษุไม่ระวัง ๗. เรื่องทรงอนุญาตบานประตู ๘. เรื่องทรงอนุญาตกรอบเช็ดหน้า ครกรองรับเดือยประตู ห่วงข้างบน ๙. เรื่องทรงอนุญาตช่องเชือกชัก และเชือก สำหรับชัก ๑๐. เรื่องทรงอนุญาตสายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน ๑๑. เรื่อง ทรงอนุญาตช่องลูกดาลทำด้วยโลหะ ไม้ และเขา ๑๒. เรื่องทรงอนุญาต ลิ่มยนต์ ๑๓. เรื่องหลังคาฉาบด้วยดิน ทั้งข้างนอกข้างใน ๑๔. เรื่องหน้าต่าง มีชุกชี หน้าต่างมีตาข่าย หน้าต่างมีซี่กรง ๑๕. เรื่องผ้าผืนเล็กสำหรับหน้าต่าง ๑๖. เรื่องมู่ลี่หน้าต่าง ๑๗. เรื่องทรงอนุญาตเครื่องปูลาด ๑๘. เรื่องทรง อนุญาตแผ่นกระดานคล้ายตั่ง ๑๙. เรื่องทรงอนุญาตเตียงถักหรือสาน ๒๐. เรื่องทรงอนุญาตเตียงมีแน่แคร่สอดเข้าในเท้า ๒๑. เรื่องทรงอนุญาตตั่งมีแม่- แคร่สอดเข้าในเท้า ๒๒. เรื่องทรงอนุญาตเตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า ๒๓. เรี่องทรงอนุญาตตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า ๒๔. เรื่องทรงอนุญาตเตียงมีเท้าดั่ง ก้ามปู ๒๕. เรื่องทรงอนุญาตตั่งมีเท้าดั่งก้ามปู ๒๖. เรื่องทรงอนุญาตเตียง มีเท้าจดแม่แคร่ ๒๗. เรื่องทรงอนุญาตตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ ๒๘. เรื่องทรง อนุญาตม้าสี่เหลี่ยม ๒๙. เรื่องทรงอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมชนิดสูง ๓๐. เรื่องทรง อนุญาตม้าสี่เหลี่ยมชนิดสูงมีพนักสามด้าน ๓๑. เรื่องทรงอนุญาตม้าสี่เหลี่ยม มีพนักสามด้านชนิดสูง ๓๒. เรื่องทรงอนุญาตตั่งหวาย ๓๓. เรื่องทรง อนุญาตตั่งหุ้มด้วยผ้า ๓๔. เรื่องทรงอนุญาตตั่งขาทราย ๓๕. เรื่องทรง อนุญาตตั่งก้านมะขามป้อม ๓๖. เรื่องทรงอนุญาตแผ่นกระดาน ๓๗. เรื่อง ทรงอนุญาตเก้าอี้ ๓๘. เรื่องทรงอนุญาตตั่งฟาง ๓๙. เรื่องทรงห้ามนอน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 173
บนเตียงสูง ๔๐. เรื่องภิกษุนอนเตียงต่ำถูกงูกัด จึงทรงอนุญาตเขียงรองเท้า เตียง ๔๑. เรื่องทรงอนุญาตเขียงรองเท้าเตียงสูง ๘ นิ้วเป็นอย่างยิ่ง ๔๒. เรื่องทรงอนุญาตด้ายสำหรับถักเตียง ๔๓. เรื่องทรงอนุญาตให้เจาะตัวเตียง แล้วถักเป็นตาหมากรุก ๔๔. เรื่องทรงอนุญาตให้ทำเป็นผ้ารองพื้น ๔๕. เรื่องทรงอนุญาตให้รื้อออกทำเป็นหมอน ๔๖. เรื่องทรงห้ามใช้หมอนกึ่งกาย ๔๗. เรื่องมีมหรสพบนยอดเขา ทรงอนุญาตฟูก ๕ ชนิด ๔๘. เรื่องทรง อนุญาตผ้าสำหรับเสนาสนะ ๔๙. เรื่องทรงอนุญาตเตียงและตั่งบุ ๕๐. เรื่อง ฟูกย้อยลงข้างล่าง ๕๑. เรื่องโจรลักเลิกผ้าหุ้มนำไป ทรงอนุญาตให้ทำรอยไว้ ๕๒. เรื่องทรงอนุญาตให้พิมพ์รอยนิ้วมือ ๕๓. เรื่องที่อยู่อาศัยของพวก เดียรถีย์ ทรงอนุญาตสีขาว สีดำ ทำบริกรรมด้วยสีเหลือง ในวิหาร ๕๔. เรื่องทรงอนุญาตดินปนแกลบ ๕๕. เรื่องทรงอนุญาตดินละเอียด ๕๖. เรื่อง ทรงอนุญาตยางไม้ ๕๗. เรื่องทรงอนุญาตดินปนรำ ๕๘. เรื่องทรงอนุญาต แป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๕๙. เรื่องทรงอนุญาตขี้ผึ้งเหลว ๖๐. เรื่องขี้ผึ้งเหลว หนา ทรงอนุญาตใช้ผ้า เช็ด ๖๑. เรื่องพื้นหยาบสีดำไม่จับ ทรงอนุญาตดินขุย ไส้เดือน ๖๒. เรื่องทรงอนุญาตยางไม้ ๖๓. เรื่องรูปภาพ ๖๔. เรื่องวิหาร มีพื้นที่ต่ำ ๖๕. เรื่องก่อ ๖๖. เรื่องภิกษุขึ้นลงพลัดตก ๖๗. เรื่องวิหารมี พื้นโล่งโถง ทรงอนุญาตฟากกึ่งหนึ่ง ๖๘. เรื่องทรงอนุญาตห้องอีก ๓ ห้อง ๖๙. เรื่องวิหารเล็ก ๗๐. เรื่องเชิงฝา ๗๑. เรื่องฝนสาด ๗๒. เรื่องภิกษุ ร้องโวยวาย ๗๓. เรื่องไม้เดือยติดฝา ๗๔. เรื่องราวจีวร ๗๕. เรื่อง ระเบียงกับฝาค้ำ ๗๖. เรื่องทรงอนุญาตราวสำหรับยึด ๗๗. เรื่องผงหญ้า มีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง ๗๘. เรื่องที่กลางแจ้ง น้ำฉันถูกแดดเผา ทรงอนุญาตโรงน้ำฉัน ๗๙. เรื่องภาชนะน้ำฉัน ๘๐. เรื่องวิหาร ๘๑. เรื่องซุ้ม ๘๒. เรื่องบริเวณ เรื่องโรงไฟ ๘๓. เรื่องอาราม ๘๔. เรื่อง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 174
ซุ้มประตูมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง ๘๕. เรื่องอนาถบิณฑิกคหบดีมีศรัทธา ผ่องใส ได้ไปสู่ป่าสีตวัน ได้เห็นธรรมแล้วทูลอาราธนาสมเด็จพระนายก พร้อมกับภิกษุสงฆ์ในระหว่างหนทางได้ชักชวนประชาชนให้สร้างอาราม ๘๖. เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในเมืองเวสาลี เรื่องนวกรรม เรื่องพระศิษย์ ของพระฉัพพัคคีย์รีบไปจองเสนาสนะ ๘๗. เรื่องใครควรได้ภัตรอันเลิศ ๘๘. เรื่องติดติรพรหมจรรย์ ๘๙. เรื่องบุคคลไม่ควรไหว้ ๙๐. เรื่องพระศิษย์ ของพระฉัพพัคคีย์เกียดกันเสนาสนะ ๙๑. เรื่องประชาชนตกแต่งปูที่นั่งที่ นอนสูงใหญ่ในละแวกบ้าน ๙๒. เรื่องเตียงดังหุ้นนุ่น ๙๓. เรื่องพระผู้มี พระภาคเจ้าเสด็จเมืองสาวัตถี อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างอารามถวาย ๙๔. เรื่อง เกิดโกลาหลในโรงภัตร ๙๕. เรื่องพระอาพาธ ๙๖. เรื่องที่นอนดี ๙๗. เรื่องอ้างเลศ ๙๘. เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ซ่อมวิหารอยู่จำพรรษาในที่นั้น ๙๙. เรื่องภิกษุมีความสงสัยว่า ใครหนอควรให้ถือเสนาสนะ ๑๐๐. เรื่องเสนาสนคาหาปกภิกษุมีความสงสัยว่า ควรให้ถือเสนาสนะอย่างไรหนอ ๑๐๑. เรื่องให้ แจกตามจำนวนวิหาร ๑๐๒. เรื่องให้แจกตามจำนวนบริเวณ ๑๐๓. เรื่อง ทรงอนุญาตให้แจกส่วนเพิ่ม แต่ไม่ปรารถนาก็อย่าให้ ๑๐๔. เรื่องให้ภิกษุ อยู่นอกสีมา ๑๐๕. เรื่องทรงห้ามเกียดกัน เสนาสนะตลอดกาลเป็นนิตย์ ๑๐๖. เรื่องการให้ถือเสนาสนะ ๓ ประการ ๑๐๗. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร ๑๐๘. เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญพระวินัย ๑๐๙. เรื่องภิกษุยืนเรียน พระวินัย ๑๑๐. เรื่องทรงอนุญาตให้นั่งอาสนะเสมอกัน ๑๑๑. เรื่องภิกษุมี อาสนะเสมอกันทำเตียงตั่งหัก ๑๑๒. ทรงอนุญาตให้นั่งได้ ๓ รูป และ ๒ รูป ๑๑๓. เรื่องทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วมกับผู้นีอาสนะไม่เสมอกันไ่ด้ ๑๑๔. เรื่องทรงอนุญาตให้ใช้สอยปราสาทมีเฉลียงรอบ ๑๑๕. เรื่องสมเด็จ พระอัยยิกา ๑๑๖. เรื่องภิกษุเจ้าถิ่นในห่างเมืองสาวัตถีแบ่งเสนาสนะของสงฆ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 175
๑๑๗. เรื่องกิฏาคิรีชนบท ๑๑๘. เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรมด้วย เหตุเพียงวางก้อนดินฉาบทาฝา ตั้งประตู ติดสายยู ติดกรอบเช็ดหน้า ทำให้ มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มุงหลังคา ผูกมัดหลังคา ปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบ ปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพัง ขัดถู ให้นวกรรมทั้ง ๒๐ ปี ๓๐ ปี ตลอดปี ชั่วเวลา ควันขึ้น ในเมื่อวิหารสำเร็จแล้ว เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ นวกรรมแก่วิหารที่ยังไม่ได้ทำ ที่ทำยังไม่เสร็จ ให้ตรวจการงานในวิหารเล็ก แล้วให้นวกรรม ๕ - ๖ ปี ให้ตรวจการงานในวิหารมุงแถบเดียว แล้วให้ นวกรรม ๗ - ๘ ปี ให้ตรวจการงานในวิหารหรือปราสาทใหญ่ แล้วให้นวกรรม ๑๐ ปี ๑๒ ปี ๑๑๙. เรื่องภิกษุให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ๑๒๐. เรื่องภิกษุ ให้นวกรรม ๒ แก่วิหารหนึ่งหลัง ๑๒๑. เรื่องภิกษุถือนวกรรมแล้วให้ภิกษุ อื่นอยู่ ๑๒๒. เรื่องภิกษุถือนวกรรมแล้วเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ ๑๒๓. เรื่องภิกษุให้นวกรรมแก่วิหารที่ตั้งอยู่นอกสีมา ๑๒๔. เรื่องภิกษุถือเอานวกรรม แล้วเกียดกันตลอดฤดูกาล ๑๒๕. เรื่องภิกษุถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปเสียบ้าง สึกเสียบ้าง มรณภาพบ้าง ปฏิญาณเป็นสามเณรบ้าง บอกลาสิกขาบ้าง ต้อง อันติมวัตถุบ้าง วิกลจริตบ้าง มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง กระสับกระส่ายเพราะเวทนา บ้าง ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติบ้าง ฐานไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ฐานไม่สละคืน ทิฏฐิอันลามกบ้าง ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์บ้าง เป็นเถยยสังวาสบ้าง เข้ารีต เดียรถีย์บ้าง เป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง เป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง ผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ผู้ทำลายสงฆ์บ้าง ผู้ทำโลหิ- ตุปบาทบ้าง เป็นอุภโตพยัญชนกบ้าง พึงมอบแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ ของสงฆ์เสียหาย เมื่อยังไม่เสร็จ ควรมอบให้แก่ภิกษุอื่น เมื่อทำเสร็จ แล้ว หลีกไป นวกรรมเป็นของภิกษุนั้นนั่งเอง สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็น สามเณร บอกลาสิกขา ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 176
กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ถูกยกวัตร ฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฐานไม่สละคืนทิฎฐิอันลามก นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นนั่นเอง เป็น บัณเฑาะก์ เป็นเถยยสังวาส เข้ารีต เดียรถีย์ เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ประทุษร้ายภิกษุณี ทำลายสงฆ์ ทำโลหิตุปบาท ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ ๑๒๖. เรื่องภิกษุนำเสนาสนะ ไปใช้ในที่อื่น ๑๒๗. เรื่องภิกษุรังเกียจ ๑๒๘. เรื่องวิหารใหญ่ชำรุด ๑๒๙. เรื่องผ้ากัมพล ๑๓๐. เรื่องผ้ามีราคามาก ๑๓๑. เรื่องหนังหุ้ม ๑๓๒. เรี่อง ผ้าเช็ดเท้ารูปวงล้อ ๑๓๓. เรื่องผ้าผืนเล็ก ๑๓๔. เรื่องภิกษุ เหยียบเสนาสนะ เรื่องเท้าเปียก ๑๓๖. เรื่องสวมรองเท้า ๑๓๗. เรื่องถ่มเขฬะ ๑๓๘. เรื่อง เท้าเตียงตั่งครูดฟัน ๑๓๙. เรื่องภิกษุพิงฝา ทรงอนุญาตพนักอิง พนักอิง ครูดฝาอีก ๑๔๐. เรื่องล้างเท้า ทรงอนุญาตให้ปูเครื่องลาดนอน ๑๔๑. เรื่องประทับในกรุงราชคฤห์ ประชาชนไม่อาจถวายสังฆภัตร ๑๔๒. เรื่อง แจกภัตรเลว สมมติพระภัตตุเทสก์ เรื่องแจกภัตรอย่างไร ๑๔๓. เรื่องสมมติ ภิกษุเป็นผู้ทั้งเสนาสนะ สมมติภิกษุเป็นผู้รักษาเรือนคลัง ... เป็นผู้รับจีวร ... เป็นผู้รับแจกจีวร ... เป็นผู้แจกข้าวยาคู ... เป็นผู้แจกผลไม้ ... เป็นผู้แจก ของเคี้ยว ... เป็นผู้แจกของเล็กน้อย ... เป็นผู้แจกผ้า ... เป็นผู้แจกบาตร ... เป็นผู้ใช้คนวัด ... เป็นผู้ใช้สามเณร พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงครอบงำ ซึ่งสรรพธรรม ทรงรู้จักโลก มีพระหทัยเกื้อกูล เป็นผู้นำชั้นเยี่ยม ทรง บัญญัติแล้วเพื่อหลีกเร้น เพื่อความสุข เพื่อเพ่ง และเพื่อเห็นแจ้ง ดังนี้แล.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ