นามธรรม
โดย บ้านธัมมะ  10 มี.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 7808

นามธรรม

นาม (น้อมไป สภาพรู้) + ธมฺม (ธรรม)

ธรรมที่น้อมไปสู่อารมณ์ หมายถึง สภาพธรรมที่รู้อารมณ์ได้คือ จิตและเจตสิกทั้งจิตและเจตสิกเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ แต่จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เจตสิกเป็นเพียงส่วนประกอบ เป็นเครื่องช่วยปรุงแต่งให้เป็นประเภทต่างๆ ถ้าจิตไม่เกิดขึ้น เจตสิกจะเกิดไม่ได้เลย แต่เจตสิกบางดวงไม่เกิดร่วมกับจิต จิตก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น ทวิปัญจวิญญาณเกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีวิตกเจตสิก วิจารเจตสิกเกิดร่วมด้วย โสภณจิตที่เป็นญาณวิปยุตต์เกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยโมหมูลจิตเกิดขึ้นโดยไม่ต้องมี โลภเจตสิก โทสเจตสิก เกิดร่วมด้วย เป็นต้น นิพพานก็เป็นนามธรรม แต่เป็นสภาพที่ไม่รู้อารมณ์ที่เป็นนามธรรมเพราะไม่ใช่รูปและเป็นสภาพธรรมที่ถูกน้อมไปเป็นอารมณ์ของจิตเจตสิกได้



ความคิดเห็น 1    โดย chatchai.k  วันที่ 16 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย สิริพรรณ  วันที่ 3 ก.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ