ขันธ์ ๕ คือ สภาพธรรมทั้งหลายที่เกิดแล้วดับ จึงจำแนกเป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สภาพธรรมใดเกิดแล้วแต่ยังไม่ดับ ขณะที่ยังไม่ดับก็เป็นปัจจุบัน เมื่อดับแล้วก็เป็นอดีต สภาพธรรมใดที่ยังไม่เกิดแต่จะเกิดขึ้น ก็เป็นอนาคต ในขณะที่กำลังนั่งอยู่นี้เป็นขันธ์ ๕ ทั้งนั้น จิตเห็น จิตได้ยินก็เป็นขันธ์ เสียงที่เกิดขึ้นแล้วดับไปก็เป็นขันธ์
ขันธ์ ๕ แบ่งเป็น รูปขันธ์ ๑ และนามขันธ์ ๔
ขันธ์ ๕ คือ
รูปขันธ์ ๑
เวทนาขันธ์ ๑
สัญญาขันธ์ ๑
สังขารขันธ์ ๑
วิญญาณขันธ์ ๑
รูปขันธ์ ได้แก่ รูปทุกรูป รูปทุกชนิด ทุกประเภท
เวทนาขันธ์ ได้แก่ เวทนาเจตสิก (ความรู้สึกสุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เฉยๆ ) ๑ ดวง
สัญญาขันธ์ ได้แก่ สัญญาเจตสิก (ความจำหมายรู้อารมณ์) ๑ ดวง
สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิก ๕๐ ดวง (เว้นเวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก)
วิญญาณขันธ์ ได้แก่ จิตทุกดวง
อนุโมทนากับคำอธิบาย และความกระจ่าง ครับ ขอบพระคุณครับ แต่ มีข้อสงสัยว่า เมื่อ จิตคือ วิญญาณขันธ์ แล้ว ทำไม ไม่เรียกว่า วิญญาณ ครับ มีเหตุผลพิเศษหรือไม่ ที่เรียกว่า จิต
พระพุทธเจ้าเป็นผู้ฉลาดในการแสดงพระธรรม ธรรมประเภทเดียวกัน แต่ทรงใช้ชื่อ พยัญชนะ ที่ต่างกัน ในบางแห่ง เพื่อความสมบูรณ์และไพเราะของภาษา ดังนั้น คำว่าจิต จึงมีหลายชื่อ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
สมกับเป็นบ้านธรรมะจริงๆ อ่านเข้าใจได้ง่าย ขอ อนุโมทนา ครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณค่ะ และขออนุโมทนาบุญค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ