คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ไม่หลอกลวงใคร เพราะเป็นคำจริง
โดย nattawan  9 ต.ค. 2566
หัวข้อหมายเลข 46758

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

ที่ไม่หลอกลวงใคร

เพราะเป็นคำจริง

ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๖๘

www.dhammahome.com

Photo cr. Fongchan Walsh

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย nattawan  วันที่ 9 ต.ค. 2566

สิ่งที่ประเสริฐที่สุด คือ ความเข้าใจธรรม

ใคร มีปัญญา ใคร ฟังพระธรรมเข้าใจ ผู้นั้น เป็นชาวพุทธ

ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๖๘

www.dhammahome.com

Photo crFongchan Walsh


ความคิดเห็น 2    โดย nattawan  วันที่ 9 ต.ค. 2566

การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ที่แม้จะเล็กๆ น้อยๆ เช่น ที่โต๊ะอาหาร มีการรินน้ำ ตักข้าวให้ หรือเห็นใครทำของตกก็รีบเก็บให้ เป็นต้น นี้คือการสงเคราะห์ช่วยเหลือ ทำให้ผู้อื่นมีความสุขในชีวิตประจำวัน ก็เพราะเรารู้ว่า หากมีใครประพฤติอย่างนั้นกับเรา เราก็ชอบ และถ้าเราสามารถประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ได้บ่อยๆ เนืองๆ ก็จะเป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและกับผู้อื่น เป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้น ขัดเกลากิเลสในจิตใจให้เบาบางลง จากการเป็นคนเห็นแก่ตัว เป็นคนโลภมาก เป็นคนโกรธมาก มาเป็นผู้ที่สามารถเสียสละด้วยการช่วยเหลือผู้อื่นได้

เพราะชีวิตวันหนึ่งๆ ล่วงไปๆ ทุกขณะ และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้เลยแม้แต่ขณะเดียว แล้วได้รับประโยชน์อะไรจากชีวิตที่ล่วงไปแล้ว หรือมีความเห็นว่า หาความสุขใส่ตัวไปวันๆ ก็พอแล้ว นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เราเสียเวลากับชีวิตที่เป็นอยู่ โดยไม่ได้อะไรเลย แต่ละขณะก็ผ่านไปๆ แล้วได้อะไร นอกจากอกุศลที่เพิ่มพูนขึ้น แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ดี เป็นกุศล ย่อมเป็นประโยชน์มาก เป็นการสละความเห็นแก่ตัว ไม่นึกถึงแต่ตัวเอง ที่สำคัญ คือ ไม่ควรเลือกเลยว่าจะสงเคราะห์ช่วยเหลือใคร เพราะจิตที่เป็นกุศลอย่างแท้จริง จะไม่เลือกบุคคลเลย

www.dhammahome.com


ความคิดเห็น 3    โดย nattawan  วันที่ 9 ต.ค. 2566

จิตใจเสื่อมทรามในขณะที่เป็นอกุศล เสื่อมจากกุศล เสื่อมจากความเข้าใจ ยิ่งถ้าเดินไปในทางที่ผิด ก็ยิ่งหนักเข้าไปอีก

ต้นเหตุของทุจริตกรรมทั้งหลาย คือ กิเลส ผิดแล้ว ต้องรีบแก้ไขทันที ได้สาระอะไรจากพระธรรม แม้จะอ่านพระสูตรหรือชาดกก็ตาม ใครจะยับยั้งสภาพธรรมได้?

อ่านเพิ่มเติม ...

ปันธรรม-ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๐๐๒


ความคิดเห็น 4    โดย nattawan  วันที่ 9 ต.ค. 2566

อกุศล หลอกลวง แต่ถ้าเป็นกุศลแล้ว จะไม่หลอกลวง มั่นคงจริงๆ ว่า ขณะนี้เป็นธรรม ปัญญาจะมากได้ ก็มาจากทีละเล็กทีละน้อย

อ่านเพิ่มเติม ...

ปันธรรม-ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๐๐๑


ความคิดเห็น 5    โดย nattawan  วันที่ 9 ต.ค. 2566

สภาพธรรมะ ขณะนี้ กำลังเกิด ดับ

ใครจะไปรู้ได้?

นอกจาก "ปัญญา"

และ ปัญญา ระดับไหน?

ปัญญา ที่ได้อบรมแล้ว

จะอบรมได้อย่างไร? ถ้าไม่มีความเข้าใจ

อ่านเพิ่มเติม ...

ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่ บ้านคุณฟองจันทร์ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๖


ความคิดเห็น 6    โดย nattawan  วันที่ 9 ต.ค. 2566

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ หน้าที่ 328 - 330

นาคราช ชื่อว่า เอรกปัตตะ กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ เช่นกับด้วยพระองค์ ได้ทำสมณธรรมสิ้น ๒ หมื่นปี แม้สมณธรรมนั้นก็ไม่อาจเพื่อจะช่วยข้าพระองค์ได้ ข้าพระองค์อาศัยเหตุสักว่าให้ใบตะไคร้น้ำขาดไปมีประมาณเล็กน้อย ถือปฏิสนธิในอเหตุกสัตว์ เกิดในที่ที่ต้องเลื้อยไปด้วยอก ย่อมไม่ได้ความเป็นมนุษย์เลย ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยพระองค์ตลอดพุทธันดรหนึ่ง”

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของนาคราชนั้นแล้ว ตรัสว่า "มหาบพิตร ชื่อว่าความเป็นมนุษย์หาได้ยากนัก, การฟังพระสัทธรรม ก็อย่างนั้น การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากเหมือนกัน, เพราะว่า ทั้งสามอย่างนี้ บุคคลย่อมได้โดยลำบากยากเย็น "

เมื่อจะทรงแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท

"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก, ชีวิต ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรม เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก"

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบดังนี้ว่า " ก็ขึ้นชื่อว่า ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ชื่อว่าเป็นการยาก คือหาได้ยาก เพราะความเป็นมนุษย์ บุคคลต้องได้ด้วยความพยายามมาก ด้วยกุศลมาก ถึงชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นอยู่ยาก เพราะทำกรรมมีกสิกรรมเป็นต้นเนืองๆ แล้วสืบต่อความเป็นไปแห่งชีวิตบ้าง เพราะชีวิตเป็นของน้อยบ้าง แม้การฟังพระสัทธรรม ก็เป็นการยาก เพราะค่าที่บุคคลผู้แสดงธรรมหาได้ยาก ในกัปแม้มิใช่น้อย

อนึ่ง ถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นการยากเหมือนกัน คือ ได้ยากยิ่งนัก เพราะอภินิหารสำเร็จด้วยความพยายามมาก และเพราะการอุบัติขึ้นแห่งท่านผู้มีอภินิหารอันสำเร็จแล้ว เป็นการได้โดยยาก ด้วยพันแห่งโกฏิกัปป์ แม้มิใช่น้อย"

ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่ โรงแรมสายลม อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๑๙ - ๒๑ กันยายน ๒๕๖๐


ความคิดเห็น 7    โดย nattawan  วันที่ 9 ต.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

กราบบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย chatchai.k  วันที่ 9 ต.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตครับ


ความคิดเห็น 9    โดย nattawan  วันที่ 10 ต.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

©ข้อความโดยสรุป©

เวสารัชชกรณสูตร

(ว่าด้วยธรรมที่ทำให้แกล้วกล้า ๕ ประการ)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรม ๕ ประการ ที่เป็นธรรมที่กระทำความแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม แก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ (คือผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่) ได้แก่ มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร และ มีปัญญา

อ่านเพิ่มเติม ...

เวสารัชชกรณสูตร ... วันเสาร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๒


ความคิดเห็น 10    โดย chatchai.k  วันที่ 10 ต.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ