๙. อุทายิสูตร ว่าด้วยองค์คุณแห่งพระธรรมกถึก
โดย บ้านธัมมะ  28 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 39234

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 333

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรคที่ ๑

๙. อุทายิสูตร

ว่าด้วยองค์คุณแห่งพระธรรมกถึก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 333

๙. อุทายิสูตร

ว่าด้วยองค์คุณแห่งพระธรรมกถึก

[๑๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระอุทายี อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่ แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 334

บริษัทหมู่ใหญ่ แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการ ไว้ภายในแล้ว จึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ๑ เราจักแสดงอ้างเหตุผล ๑ เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู ๑ เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม ๑ เราจักไม่แสดงให้กระทบตน และผู้อื่น ๑ แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ดูก่อนอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ ไว้ในภายในแล้ว จึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น.

จบอุทายิสูตรที่ ๙

อรรถกถาอุทายิสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอุทายิสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุปุพฺพิกถํ กเถสฺสามิ ความว่า ยกลำดับแห่งเทศนา อย่างนี้ว่า ศีลในลำดับทาน สวรรค์ในลำดับศีล หรือบทพระสูตร หรือบทคาถาใดๆ หรือพึงตั้งจิตว่า เราจักกล่าว กถาสมควรแก่บทนั้นๆ แล้ว แสดงธรรมแก่ผู้อื่น. บทว่า ปริยายทสฺสาวี ได้แก่ แสดงถึงเหตุนั้นๆ แห่งเนื้อความ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 335

นั้นๆ. จริงอยู่ในสูตรนี้ ท่านกล่าวเหตุว่าปริยาย. บทว่า อนุทฺทยตํ ปฏิจฺจ ได้แก่ อาศัยความเอ็นดูว่า เราจักเปลื้องสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถึงความยากลำบากมาก จากความยากลำบาก. บทว่า น อามิสนฺตโร ได้แก่ ไม่เห็นแก่อามิส อธิบายว่า ไม่หวังลาภ คือ ปัจจัย ๔ เพื่อตน. บทว่า อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ ได้แก่ ไม่กระทบตน และผู้อื่นด้วย การกระทบคุณโดยยกตนข่มผู้อื่น.

จบอรรถกถา อุทายิสูตรที่ ๙